พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดก: สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่มีผลผูกพันทายาทอื่น & การปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสาม จำเลย และ ล. เป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก การที่ ล. กับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและจำเลยถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามไม่ได้ให้ความยินยอมทั้งไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสาม ทั้งกรณีดังกล่าวถือว่า ล. และจำเลยปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก ย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้นจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดก และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่น ๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้นจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดก และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่น ๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11978/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกโดยทุจริตและผลกระทบต่อสัญญาจำนอง: กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของกองมรดก
จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าตนเองไม่มีสิทธิรับมรดกของ ค. เนื่องจาก ค. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์กับพวก แต่ไปร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ค. ต่อศาล จนกระทั่งศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก และเมื่อได้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 ไปแจ้งความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าโฉนดที่ดินพิพาทสูญหาย แล้วนำหลักฐานการแจ้งความไปขอใบแทนโฉนดที่ดินแปลงพิพาท ทั้งที่ขณะนั้นโฉนดที่ดินตัวจริงอยู่กับโจทก์ จากนั้นจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธ์ที่ดินเป็นชื่อของตนโดยใช้ใบแทนโฉนดที่ดินเป็นหลักฐาน การได้มาซึ่งที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นการได้มาโดยทุจริตอาศัยคำสั่งศาลที่สั่งโดยหลงผิด และการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานในระหว่างที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ค. ย่อมเป็นตัวแทนบรรดาทายาทในการจัดการมรดก จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทของ ค. ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1719 และจะทำนิติกรรมใดๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกไปรับโอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของ ค. มาเป็นของตนเองในฐานะส่วนตัวโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมและเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก จึงไม่เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกโดยสุจริตตามข้อกำหนดในพินัยกรรม แต่เป็นการทำนิติกรรมให้จำเลยที่ 1 มีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ ค. อันเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1712 นิติกรรมการโอนตกเป็นโมฆะตามมาตรา 150 ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นของกองมรดกของ ค. อยู่ตามเดิม หาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเสียแล้ว ก็ไม่มีสิทธิจะเอาที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ผู้ใดได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิจะจำนองได้ ย่อมไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามนิติกรรมจำนอง แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ารับจำนองไว้โดยสุจริตก็ตามการจำนองจึงไม่ผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการแบ่งทรัพย์มรดก เจ้าของรวมมีหน้าที่ส่งมอบโฉนด
ป.พ.พ. มาตรา 1719 บัญญัติว่า "ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก" ตามบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาท เมื่อ ส. เจ้ามรดกเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทได้เพื่อนำที่ดินส่วนที่เป็นมรดกดังกล่าวมาแบ่งปันให้ทายาทต่อไป
โจทก์ทั้งสองขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ส. แต่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วยได้นำโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวไปจำนองไว้แก่จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 เป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินดังกล่าว ก่อนฟ้องโจทก์ทั้งสองได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 4 ส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อนำมาแบ่งแยก แต่จำเลยที่ 4 เพิกเฉยไม่ส่งมอบโฉนดที่ดินให้ ถือว่าจำเลยที่ 4 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งสองขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ส. แต่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วยได้นำโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวไปจำนองไว้แก่จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 เป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินดังกล่าว ก่อนฟ้องโจทก์ทั้งสองได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 4 ส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อนำมาแบ่งแยก แต่จำเลยที่ 4 เพิกเฉยไม่ส่งมอบโฉนดที่ดินให้ ถือว่าจำเลยที่ 4 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5153/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิของคู่ความเมื่อถึงแก่ความตาย และการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ตามคำสั่งศาล ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมสิ้นสุดลง หาได้ตกทอดไปยังทายาทของโจทก์ไม่ ส. เป็นเพียงทายาทของโจทก์เท่านั้น ไม่ปรากฏว่า ส. เป็นผู้ปกครองที่พิพาทหรือมีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกของ ช. แต่อย่างใด ส. ย่อมไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้ ส. เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสินสมรส, การจัดการมรดก, สัญญาจะซื้อจะขาย, การบังคับคดี: ทายาทผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำสัญญาและโอนทรัพย์สินได้
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ตาย โดยจดทะเบียนสมรสเมื่อปี 2478 หลังจากนั้นปี 2490 ผู้ร้องและผู้ตายร่วมกันซื้อและจับจองที่ดินพิพาทแล้วใส่ชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว โดยผู้ร้องมีสินเดิมแต่ผู้ตายไม่มีสินเดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสซึ่งเป็นของผู้ร้องสองในสามส่วน อันเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มาตรา 1462 วรรคสอง และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องกับผู้ตายได้ทำสัญญาก่อนสมรสให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินบริคณห์หรือให้จัดการร่วมกับผู้ตาย ที่ดินพิพาทจึงมิใช่สินเดิมของผู้ร้องหรือสินสมรสที่ผู้ร้องได้มาโดยทางยกให้หรือพินัยกรรมและการจำหน่ายที่ดินพิพาทมิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หา ผู้ตายจึงมีอำนาจจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ได้แต่ผู้เดียวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้องก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1468 และ 1473 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 ก็ระบุให้กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อผู้ตายทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในปี 2515 และผู้ตายถึงแก่ความตายปี 2521 สิทธิในการรับชำระเงินและหน้าที่ในการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินตามสัญญาที่ผู้ตายทำไว้ก่อนตายจึงเป็นกองมรดกของผู้ตาย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่าผู้ตายผิดสัญญาไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทและรับค่าที่ดินไปจากโจทก์ จึงเป็นการเรียกร้องสิทธิในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกของผู้ตายเพื่อบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตายให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามสัญญา และการที่จำเลยต่อสู้คดีแต่ในที่สุดก็ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ก็เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกเพื่อชำระหนี้ของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนตาย และเพื่อนำทรัพย์สินที่เหลือมาแบ่งปันแก่ทายาทผู้ตายอันเป็นการจัดการทรัพย์มรดกตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 ซึ่งเมื่อศาลพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามโจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีให้จำเลยดำเนินการโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ และแม้ผู้ร้องจะมีสิทธิในที่ดินพิพาทสองในสามส่วนก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องเรียกร้องหรือว่ากล่าวแก่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายให้นำค่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ชำระตามคำพิพากษาตามยอมมาแบ่งแก่ผู้ร้องตามสิทธิที่มีอยู่ก่อนการแบ่งปันมรดกแก่ทายาท ผู้ร้องไม่อาจขอกันส่วนในที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยพินัยกรรมและสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์หมดอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินที่แบ่งไป
โจทก์และ ส. ตกลงแบ่งมรดกเจ้ามรดกทั้งที่มีพินัยกรรมและไม่มีพินัยกรรมตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 1.3 ว่า โจทก์ยอมสละที่ดินตามฟ้องทั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคสอง เมื่อโจทก์และ ส. ลงลายมือชื่อไว้จึงต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้ถือได้ว่าที่ดินตามฟ้องทั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้แบ่งปันไปเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะผู้จัดการมรดกที่จะใช้สิทธิขอแบ่งหรือมีอำนาจจัดการอีกต่อไป ดังนั้นหากจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าจะก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ประการใดก็เป็นเรื่องเจ้าของที่ดินจะไปว่ากล่าวแก่จำเลยต่างหากหาเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกเป็นของผู้จัดการมรดก ไม่ใช่อำนาจศาล ทายาทขัดขวางต้องฟ้องร้องต่างหาก
การนำที่ดินมรดกออกขายโดยประมูลราคากันเองหรือการนำออกขายทอดตลาดให้บุคคลภายนอกนั้น ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของผู้จัดการมรดกที่สามารถกระทำได้เองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 ไม่ใช่อำนาจของศาลที่จะสั่งได้ หากผู้จัดการมรดกไม่สามารถจัดการเช่นนั้นได้เพราะเหตุทายาทขัดขวาง ก็เป็นเรื่องมีข้อโต้แย้งสิทธิในการแบ่งทรัพย์มรดก ซึ่งผู้จัดการมรดกชอบที่จะฟ้องร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเป็นอีกคดีหนึ่งเพื่อบังคับให้ผู้ขัดขวางกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้การจัดการมรดกดำเนินไปตามสิทธิและหน้าที่ มิใช่มายื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งตามที่เห็นสมควรเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกเป็นของผู้จัดการมรดก หากมีข้อขัดแย้งต้องฟ้องร้องบังคับสิทธิ ไม่ใช่ยื่นคำร้องต่อศาล
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลกับทายาทบางคนมีความเห็นแตกต่างกันไม่สามารถตกลงแบ่งที่ดินมรดกได้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของผู้จัดการมรดกที่สามารถกระทำได้เอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 หากผู้ร้องไม่อาจจัดการมรดกได้เพราะเหตุทายาทบางคนขัดขวาง ก็เป็นเรื่องมีข้อโต้แย้งสิทธิในการจัดการแบ่งทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ร้องชอบที่จะไปดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเป็นอีกคดีหนึ่งบังคับให้ผู้ที่ขัดขวางกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้การจัดการมรดกดำเนินไปได้ตามสิทธิและหน้าที่ หาใช่มายื่นคำร้องในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดเฉพาะการตั้ง/ถอดผู้จัดการมรดก การจัดการทรัพย์มรดกเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกเอง
คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกศาลมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการตั้งและถอนผู้จัดการมรดกเท่านั้น แต่ตามคำร้องของผู้ร้องได้ความว่าผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกกับทายาทบางคนไม่สามารถตกลงแบ่งที่ดินมรดกได้ ผู้ร้องขอนำที่ดินมรดกออกขายโดยประมูลราคากันเองหรือนำออกขายทอดตลาดนั้น ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกทั้งสิ้นซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของผู้จัดการมรดกที่สามารถกระทำได้เองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 อยู่แล้ว กรณีไม่ใช่อำนาจของศาลที่จะสั่งให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการตามขอหากผู้ร้องไม่อาจจัดการเช่นนั้นได้เพราะเหตุทายาทบางคนขัดขวางก็เป็นเรื่องมีข้อโต้แย้งสิทธิในการจัดการแบ่งทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ร้องชอบที่จะไปดำเนินการฟ้องร้องเป็นอีกคดีหนึ่งหาใช่มายื่นคำร้องในคดีที่ตั้งผู้จัดการมรดกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8676/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดกและการส่งคืนโฉนดที่ดิน ผู้จัดการมรดกมีสิทธิเรียกคืนจากผู้ยึดถือโดยมิชอบ
ผู้ตายมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จำเลยได้ยึดถือต้นฉบับโฉนดที่ดินไว้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกฟ้องเรียกต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทจากจำเลยมิใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืน แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับโฉนด จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
การวินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องคืนโฉนดที่ดินที่พิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ศาลต้องวินิจฉัยเป็นก่อนว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าวเป็นของผู้ตายหรือไม่ หากเป็นทรัพย์สินของผู้ตายแล้ว ก็เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่โจทก์ในฐานะ ผู้จัดการมรดกมีอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวมาแบ่งปันแก่ทายาทและมีสิทธิเรียกทรัพย์สินของผู้ตายที่ผู้อื่นยึดถือไว้โดยมิชอบกลับคืนมาได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย จำเลยจึงต้องส่งคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์
ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยชำระแทนเกินอัตราค่าทนายความขั้นสูง จึงไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดให้ถูกต้องได้
การวินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องคืนโฉนดที่ดินที่พิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ศาลต้องวินิจฉัยเป็นก่อนว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าวเป็นของผู้ตายหรือไม่ หากเป็นทรัพย์สินของผู้ตายแล้ว ก็เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่โจทก์ในฐานะ ผู้จัดการมรดกมีอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวมาแบ่งปันแก่ทายาทและมีสิทธิเรียกทรัพย์สินของผู้ตายที่ผู้อื่นยึดถือไว้โดยมิชอบกลับคืนมาได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย จำเลยจึงต้องส่งคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์
ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยชำระแทนเกินอัตราค่าทนายความขั้นสูง จึงไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดให้ถูกต้องได้