คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1719

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกในการขายทรัพย์มรดกและการแบ่งปันผลประโยชน์
จำเลยที่ 1 เป็นทายาทและเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของว. ท. และ ส. ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ และจำเลยที่ 1 ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย ก่อนจำเลยที่ 1 จะขายที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ได้เรียกประชุมทายาทโดยมีจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้ง3 คน และมีทายาทอื่นรวมทั้ง ห. ผู้แทนของโจทก์ร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ ให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการนำที่ดินพิพาทจัดการหาผลประโยชน์เข้ามากองมรดกต่อไป หลังจากมีการขายที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้แบ่งปันเงินที่ได้ให้แก่ทายาทตามส่วน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทไปในขอบเขตอำนาจของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดก ไม่ใช่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกซึ่งจะนำ ป.พ.พ. มาตรา 1574 มาใช้บังคับไม่ได้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทไม่เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนด ตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม แต่คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความในคดีเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดก แม้จะยังไม่ได้โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดนั้นก็ตามก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทจำเลยที่ 1 มีอำนาจโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6214/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ vs. การจัดการมรดก: สิทธิในทรัพย์มรดกและการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องการครอบครองปรปักษ์การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าที่พิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่1โดยการครอบครองตามกฎหมายจึงแตกต่างไปจากที่เคยให้การต่อสู้คดีไว้ไม่มีประเด็นและมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกา เมื่อข. ตายที่พิพาทของข. ย่อมเป็นมรดกตกทอดเป็นของทายาทซึ่งรวมทั้งโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่1อย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกันการที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยที่1เป็นผู้จัดการมรดกตามที่ได้ยื่นคำร้องขอจัดการมรดกที่พิพาทแสดงว่าจำเลยที่1ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกถือว่าจำเลยที่1ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นและเป็นตัวแทนของบรรดาทายาทเหล่านั้นในการแบ่งปันมรดกการที่จำเลยที่1ไปรับโอนมรดกที่พิพาทแล้วโอนให้ตนเองในฐานะส่วนตัวและจำเลยที่2จึงมิใช่การแบ่งปันมรดกตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยสุจริตเมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวจึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากผู้จัดการมรดกและจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคหนึ่งมาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4701/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์และสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อแบ่งแยกที่ดิน
โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกของที่ดินโฉนดเลขที่10228ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาโดยสงบและเปิดเผยจนถึงวันที่พ.บิดาจำเลยทั้งสองร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาลเป็นระยะเวลาเกินกว่า10ปีแล้วโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382 การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์และการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวด้านทิศตะวันออกของพ. โจทก์กับพ.ได้ตกลงกันให้พ. เป็นผู้ร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่10228ทั้งแปลงแต่เพียงผู้เดียวโดยโจทก์จะเป็นพยานในฐานะเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่เมื่อได้กรรมสิทธิ์แล้วพ.จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในภายหลังต่อมาพ. ได้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินต่อศาลและศาลได้มีคำสั่งให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเป็นของพ.และพ.ได้ทำหนังสือยินยอมมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ดังนี้การที่ได้มีการทำหนังสือสัญญายินยอมมอบที่ดินดังกล่าวโดยระบุส่วนไว้ชัดเจนว่าให้โจทก์ได้ที่ดินทางทิศตะวันตกก็เพื่อให้โจทก์กับพ. คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยินยอมผ่อนผันให้แก่กันหากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเกิดขึ้นในภายหลังว่าฝ่ายใดได้ที่ดินส่วนใดแน่ถึงแม้ข้อความในหนังสือดังกล่าวจะมิได้ระบุถึงข้อที่ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทไว้แต่เมื่อนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาประกอบกับข้อสัญญาที่ระบุไว้แล้วถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้เมื่อพ. บิดาจำเลยทั้งสองถึงแก่ความตายไปแล้วจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่ดินดังกล่าวและจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกของพ.ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วย ในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนั้นปรากฏว่าเดิมจำเลยที่1ประสงค์จะโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มาตั้งแต่แรกแต่โจทก์ไม่ยินยอมเสียภาษีอากรและค่าฤชาธรรมเนียมการโอนจึงไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ทำให้จำเลยที่1กลับใจไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นเหตุให้เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีนี้ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดผู้ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนตามคำพิพากษาไว้เพื่อประโยชน์ในการจะปฏิบัติตามคำพิพากษาในชั้นบังคับคดีเมื่อการโอนที่ดินให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในคดีนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งแยกที่ดินของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมสมควรให้เสียภาษีอากรค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการโอนฝ่ายละเท่าๆกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดกในการจัดการทรัพย์สินมรดก และการส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อจดทะเบียน
โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของป. ย่อมมีสิทธิเข้าจัดการที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นมรดกของป. เพื่อนำมาแบ่งแก่ทายาทและขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกของป. ในโฉนดที่ดินมรดกได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา82โดยต้องนำโฉนดที่ดินมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วยเมื่อโฉนดที่ดินอยู่ในความครอบครองของจำเลยโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบโฉนดได้ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยยังจัดการมรดกของอ. ในที่ดินดังกล่าวไม่เสร็จก็ดีไม่ใช่เหตุที่จะลบล้างสิทธิของโจทก์ให้จำเลยไม่ต้องส่งมอบโฉนดที่ดินแก่โจทก์แต่เมื่อโจทก์ดำเนินการจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกเสร็จแล้วต้องมอบโฉนดที่ดินคืนแก่จำเลยตามเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5745/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิสูจน์ความเสียหายและขอบเขตความรับผิด
เอกสารท้ายฟ้องย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง คำฟ้องจะชัดแจ้งหรือไม่ต้องพิจารณาทั้งหมด เมื่อปรากฏตามสำเนาคำสั่งและหนังสือคู่มือรับจดทะเบียนเอกสารท้ายฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทของ พ. ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่อง-หมายการค้ารูปวัวชนกันประกอบคำว่า ตราวัวชนกัน ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วดังนี้ เท่ากับโจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า โจทก์เป็นทายาทและเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงชัดแจ้งแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า จำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วผลิตสินค้ายาฉุนเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ออกขายเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์จำหน่ายสินค้าได้ลดลงอย่างมาก ต้องเสียหายขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ เท่ากับโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 และ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 27 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท โจทก์ไม่ว่าในฐานะผู้จัดการมรดกหรือในฐานะส่วนตัวย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
เมื่อโจทก์ไม่อาจนำสืบเรื่องค่าเสียหายได้ถึงจำนวนตามฟ้องศาลจึงกำหนดค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ได้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
เมื่อไม่ปรากฏว่าภายหลังจากวันฟ้องจำเลยในคดีอาญาข้อหาปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงวันฟ้องคดีนี้ จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ปลอมต่อไปอีกโจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายในช่วงระยะเวลาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5284/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ผู้จัดการมรดกต้องโอนตามสัญญา ไม่สามารถเกี่ยงค่าใช้จ่ายได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามโอนที่ดินมีโฉนดแก่โจทก์โดยอ้างว่าปู่และย่าได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์โดยไม่ได้จดทะเบียน แต่ได้มอบการครอบครองให้เป็นเวลาเกิน 10 ปี โจทก์เป็นผู้รับมรดกที่ดินพิพาทจากบิดาแล้วครอบครองต่อมาจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382เมื่อจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลรับว่าจะโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว จะเกี่ยงให้โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้จำเลยที่ 3 ก่อนโอนไม่ได้ ข้อที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าเป็นบันทึกข้อตกลงให้ชำระค่าใช้จ่ายนั้น ความจริงเป็นเพียงบันทึกรายงานการประชุมเท่านั้น ประกอบกับจำเลยที่ 3 ไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกเงินจำนวนดังกล่าวเข้ามาด้วย การที่จะให้โจทก์ชำระเงินค่าใช้จ่ายก่อนโอนนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 จะต้องไปว่ากล่าวกันต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการแบ่งสินสมรสและมรดก แม้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยมิได้มีคู่ความร่วมด้วย
แม้จำเลยในฐานะ ผู้จัดการมรดกของ ส. ได้ทำ สัญญาประนีประนอมยอมความโอนขาย ที่ดินทรัพย์ มรดกซึ่งเป็น สินสมรสระหว่างโจทก์ที่1กับ ส. ให้แก่บุคคลอื่นและศาลมี คำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดไปแล้วคำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่ผูกพันโจทก์ที่1ซึ่งมิได้เป็น คู่ความด้วยโจทก์ที่1ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินได้ส่วนปัญหาว่าจะแบ่งกันได้เพียงใดเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดกขอแบ่งแยกโฉนดที่ดินมรดก แม้ผู้รับพินัยกรรมไม่มีตัวตน และการกำหนดค่าทนายความ
โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อขอแบ่งแยกและลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม มิได้ฟ้องทายาทขอให้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังนั้น ผู้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจะมีตัวตนอยู่หรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี และแม้ผู้มีชื่อรับพินัยกรรมจะไม่มีตัวตนก็ตามก็มีผลเพียงทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับการยกทรัพย์มรดกแก่บุคคลที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมสิ้นผลไปเท่านั้นส่วนข้อกำหนดที่ระบุให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนั้นหาได้เสื่อมเสียไปไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ยึดถือโฉนดที่ดินตามพินัยกรรมไว้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมย่อมมีสิทธิขอแบ่งแยกและใส่ชื่อตนในโฉนดในฐานะผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายได้
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินซึ่งเป็นมรดก เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้ ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความเกินอัตราขั้นสูงตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ. ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมในการแบ่งแยกทรัพย์มรดก แม้ผู้รับมรดกไม่มีตัวตน
โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อขอแบ่งแยกและลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม มิได้ฟ้องทายาทขอให้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรม ดังนั้น ผู้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจะมีตัวตนอยู่หรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี และแม้ผู้มีชื่อรับพินัยกรรมจะไม่มีตัวตนก็ตามก็มีผลเพียงทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับการยกทรัพย์มรดกแก่บุคคลที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมสิ้นผลไปเท่านั้น ส่วนข้อกำหนดที่ระบุให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนั้นหาได้เสื่อมเสียไปไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ยึดถือโฉนดที่ดินตามพินัยกรรมไว้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมย่อมมีสิทธิขอแบ่งแยกและใส่ชื่อตนในโฉนดในฐานะผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินซึ่งเป็นมรดก เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้ ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความเกินอัตราขั้นสูงตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้จัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดแม้ผู้รับพินัยกรรมเสียชีวิต ต้องสืบหาทายาทเพื่อโอนมรดกตามพินัยกรรม
เมื่อผู้จัดการมรดกยังไม่ได้จัดการโอนทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทตามที่พินัยกรรมกำหนดไว้การจัดการมรดกจึงยังไม่เสร็จสิ้นแม้ต่อมาผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมจะถึงแก่ความตายผู้จัดการมรดกก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจัดการตามที่จำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดแห่งพินัยกรรมโดยการสืบหาทายาทของผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมเพื่อแจ้งให้ทราบและรับโอนทรัพย์มรดกดังกล่าวของผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1719ซึ่งไม่ใช่เป็นการจัดการมรดกของผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรม
of 22