พบผลลัพธ์ทั้งหมด 185 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6718/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้มีประกันจากการบังคับคดี
หนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 1958/2539 ของศาลแพ่งที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ ศาลแพ่งมีคำพิพากษาวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2539 และเป็นคดีที่ลูกหนี้ (จำเลย) อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เนื่องจากลูกหนี้ขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) คดีย่อมถึงที่สุดเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้สิ้นสุดลง ทั้งนี้ เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง
พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่ลูกหนี้โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2539 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การส่งคำบังคับมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง คำบังคับที่ส่งให้แก่ลูกหนี้จึงมีผลในวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 ลูกหนี้อาจยื่นคำขอ ให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล
กำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก ตอนท้าย (เดิม) จะนำมาใช้บังคับก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้ลูกหนี้ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วันซึ่งตามคำฟ้องและอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ไม่ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังได้เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้ถือได้ว่าลูกหนี้ทราบคำบังคับหลังจากล่วงพ้นกำหนดไปแล้ว 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 23 พฤษภาคม 2539 คดีจึงถึงที่สุดนับแต่วันถัดจากวันดังกล่าว
หนี้ของเจ้าหนี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด มีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 เจ้าหนี้นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 และยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 พ้นกำหนดอายุความสิบปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งในคดีหมายเลขแดงที่ 1958/2539 เจ้าหนี้เดิมได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ ห้องชุดเลขที่ 722/74 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 และต่อมาเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องและหลักประกันดังกล่าวมาจากเจ้าหนี้เดิม เช่นนี้ สิทธิของเจ้าหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนในจำนวนเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่มีการดำเนินการบังคับคดีแล้วย่อมได้รับการคุ้มครอง โดยเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภายในวงเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ส่วนหากว่าขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ในกรณีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดอายุความตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้อีกสำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่
พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่ลูกหนี้โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2539 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การส่งคำบังคับมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง คำบังคับที่ส่งให้แก่ลูกหนี้จึงมีผลในวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 ลูกหนี้อาจยื่นคำขอ ให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล
กำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก ตอนท้าย (เดิม) จะนำมาใช้บังคับก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้ลูกหนี้ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วันซึ่งตามคำฟ้องและอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ไม่ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังได้เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้ถือได้ว่าลูกหนี้ทราบคำบังคับหลังจากล่วงพ้นกำหนดไปแล้ว 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 23 พฤษภาคม 2539 คดีจึงถึงที่สุดนับแต่วันถัดจากวันดังกล่าว
หนี้ของเจ้าหนี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด มีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 เจ้าหนี้นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 และยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 พ้นกำหนดอายุความสิบปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งในคดีหมายเลขแดงที่ 1958/2539 เจ้าหนี้เดิมได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ ห้องชุดเลขที่ 722/74 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 และต่อมาเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องและหลักประกันดังกล่าวมาจากเจ้าหนี้เดิม เช่นนี้ สิทธิของเจ้าหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนในจำนวนเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่มีการดำเนินการบังคับคดีแล้วย่อมได้รับการคุ้มครอง โดยเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภายในวงเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ส่วนหากว่าขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ในกรณีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดอายุความตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้อีกสำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6625/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลายและการพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด โดยมีเจตนาหลบหนีคดี
โจทก์อ้างส่งสำเนาหนังสือรับรอง ระบุว่า จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัท ส. จำกัด และเคยเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนและประกอบกิจการในราชอาณาจักรโดยจำเลยที่ 2 ไม่มีพยานหลักฐานมาหักล้างในเรื่องความเกี่ยวพันของจำเลยที่ 2 กับบริษัทดังกล่าวจนถึงวันฟ้องคดีนี้ จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 2 ยังคงมีความเกี่ยวพันกับบริษัทดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 2 ยังคงประกอบกิจการด้วยตนเองหรือตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
กระบวนพิจารณาในกรณีขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ ประกอบมาตรา 207 การที่ศาลจะอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จะต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่า การขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณาของคู่ความที่ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่มิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันควรและผู้ขออาจมีทางชนะคดีได้
การที่จำเลยที่ 2 เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ก็เพื่อหลบหนีการจับกุมตัวมาดำเนินคดีอาญา หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกจนสำนักงานอัยการสูงสุดต้องดำเนินการขอให้ทางการประเทศแคนาดาออกหมายจับและควบคุมตัวของจำเลยที่ 2 ไว้ แล้วดำเนินเรื่องขอส่งตัวกลับมาในราชอาณาจักร จนได้ตัวจำเลยที่ 2 มาดำเนินคดีในราชอาณาจักร ภายหลังจำเลยที่ 2 เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า 13 ปี แสดงถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ว่าไม่ประสงค์ต่อสู้คดีทุกเรื่องที่ถูกฟ้องในประเทศไทย ทั้งการที่จำเลยที่ 2 หลบหนีคดีอาญาไปนอกราชอาณาจักรเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 เอง จะนำมาอ้างในทำนองว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ เพื่อขอให้พิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ใหม่ หาได้ไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้พิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ใหม่
กระบวนพิจารณาในกรณีขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ ประกอบมาตรา 207 การที่ศาลจะอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จะต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่า การขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณาของคู่ความที่ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่มิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันควรและผู้ขออาจมีทางชนะคดีได้
การที่จำเลยที่ 2 เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ก็เพื่อหลบหนีการจับกุมตัวมาดำเนินคดีอาญา หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกจนสำนักงานอัยการสูงสุดต้องดำเนินการขอให้ทางการประเทศแคนาดาออกหมายจับและควบคุมตัวของจำเลยที่ 2 ไว้ แล้วดำเนินเรื่องขอส่งตัวกลับมาในราชอาณาจักร จนได้ตัวจำเลยที่ 2 มาดำเนินคดีในราชอาณาจักร ภายหลังจำเลยที่ 2 เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า 13 ปี แสดงถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ว่าไม่ประสงค์ต่อสู้คดีทุกเรื่องที่ถูกฟ้องในประเทศไทย ทั้งการที่จำเลยที่ 2 หลบหนีคดีอาญาไปนอกราชอาณาจักรเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 เอง จะนำมาอ้างในทำนองว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ เพื่อขอให้พิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ใหม่ หาได้ไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้พิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6625/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย & เหตุขอพิจารณาคดีใหม่: การหลบหนีคดีอาญาไม่อาจอ้างเป็นเหตุสุดวิสัย
โจทก์อ้างส่งหนังสือรับรอง ระบุว่า จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัท ส. และเคยเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนและประกอบกิจการในราชอาณาจักรโดยจำเลยที่ 2 ไม่มีพยานหลักฐานมาหักล้างในเรื่องความเกี่ยวพันของจำเลยที่ 2 กับบริษัทดังกล่าวจนถึงวันฟ้องคดีนี้ จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 2 ยังคงมีความเกี่ยวพันกับบริษัทดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 2 ยังคงประกอบกิจการด้วยตนเองในราชอาณาจักร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
กระบวนพิจารณาในกรณีขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ ประกอบมาตรา 207 การที่ศาลจะอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จะต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าการขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณาของคู่ความที่ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่มิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันควรและผู้ขอมีทางชนะคดีได้
การที่จำเลยที่ 2 เดินทางออกนอกราชอาณาจักรในวันที่ 16 พฤษภาคม 2539 ก็เพื่อหลบหนีการจับกุมตัวมาดำเนินคดีอาญา หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกจนสำนักงานอัยการสูงสุดต้องดำเนินการขอให้ทางประเทศแคนาดาออกหมายจับและควบคุมตัวของจำเลยที่ 2 ไว้ ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2539 แล้วดำเนินเรื่องขอส่งตัวกลับมาในราชอาณาจักร จนได้ตัวจำเลยที่ 2 มาดำเนินคดีในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2552 ภายหลังจำเลยที่ 2 เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า 13 ปีแสดงถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ว่าไม่ประสงค์ต่อสู้คดีทุกเรื่องที่ถูกฟ้องในประเทศไทย ทั้งการที่จำเลยที่ 2 หลบหนีคดีอาญาไปนอกราชอาณาจักรเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 เองจะนำมาอ้างในทำนองว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้เพื่อขอให้พิจารณาคดีในสำนวนของจำเลยที่ 2 ใหม่หาได้ไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้พิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ใหม่
กระบวนพิจารณาในกรณีขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ ประกอบมาตรา 207 การที่ศาลจะอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จะต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าการขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณาของคู่ความที่ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่มิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันควรและผู้ขอมีทางชนะคดีได้
การที่จำเลยที่ 2 เดินทางออกนอกราชอาณาจักรในวันที่ 16 พฤษภาคม 2539 ก็เพื่อหลบหนีการจับกุมตัวมาดำเนินคดีอาญา หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกจนสำนักงานอัยการสูงสุดต้องดำเนินการขอให้ทางประเทศแคนาดาออกหมายจับและควบคุมตัวของจำเลยที่ 2 ไว้ ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2539 แล้วดำเนินเรื่องขอส่งตัวกลับมาในราชอาณาจักร จนได้ตัวจำเลยที่ 2 มาดำเนินคดีในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2552 ภายหลังจำเลยที่ 2 เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า 13 ปีแสดงถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ว่าไม่ประสงค์ต่อสู้คดีทุกเรื่องที่ถูกฟ้องในประเทศไทย ทั้งการที่จำเลยที่ 2 หลบหนีคดีอาญาไปนอกราชอาณาจักรเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 เองจะนำมาอ้างในทำนองว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้เพื่อขอให้พิจารณาคดีในสำนวนของจำเลยที่ 2 ใหม่หาได้ไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้พิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6518/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้องเมื่อเหตุผลและหลักฐานเหมือนคดีก่อน
คดีหมายเลขแดงที่ ล.7761/2551 ของศาลล้มละลายกลางกับคดีนี้โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ มาฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ แม้เหตุในการพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัวในคดีหมายเลขแดงที่ ล.7761/2551 โจทก์กล่าวอ้างข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) แต่โจทก์ไม่นำสืบให้เห็นถึงพฤติการณ์อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว เป็นเหตุให้ศาลล้มละลายกลางรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัวและพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนเหตุที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวในคดีนี้ โจทก์กล่าวอ้างข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) และ (9) แต่การที่โจทก์เพิ่งไปดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 แล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ เพื่อแสดงถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 8 (5) นั้น เป็นเหตุเดียวกับที่โจทก์เคยกล่าวอ้างและนำสืบให้รับฟังไม่ได้ในคดีหมายเลขแดงที่ ล.7761/2551 กรณีเป็นเพียงการแก้ไขข้อบกพร่องของโจทก์ในคดีก่อนด้วยการนำเสนอพยานหลักฐานของโจทก์ในคดีนี้เท่านั้น มิใช่เหตุที่เกิดขึ้นใหม่อันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ในสาระสำคัญ ส่วนที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ด้วยวิธีส่งไปรษณีย์และประกาศ หนังสือพิมพ์แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้เป็นการดำเนินการภายหลังจากในคดีหมายเลขแดงที่ ล.7761/2551 ศาลล้มละลายกลางพิพากษายกฟ้อง การกระทำของโจทก์ดังกล่าวก็เพื่อให้โจทก์สามารถกล่าวอ้างและนำสืบถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (9) ในคดีนี้ ทั้งที่โจทก์สามารถดำเนินการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่น้อยกว่าสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันได้ตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีหมายเลขแดงที่ ล.7761/2551 แต่โจทก์ก็มิได้ปฏิบัติ ดังนั้น เหตุที่โจทก์กล่าวอ้างและนำสืบดังกล่าวในคดีนี้จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ควรกระทำได้อยู่แล้วในคดีก่อนมิใช่เหตุที่เกิดขึ้นใหม่อันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เช่นกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับเหตุในคดีหมายเลขแดงที่ ล.7761/2551 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ล.7761/2551 ของศาลล้มละลายกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6067/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการค้ำประกันหลังล้มละลาย: โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามขั้นตอน หากไม่ทำ สิทธิขาดอายุ และจำเลยหลุดพ้นจากหนี้
จำเลยที่ 2 ถูกศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2535 อำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ห้ามมิให้จำเลยที่ 2 กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ดังที่บัญญัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ มาตรา 24 แต่เมื่อศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2536 จำเลยที่ 2 ย่อมกลับมามีอำนาจในการประกอบกิจการและทรัพย์สินของตนเองได้อีกต่อไปจวบจนกระทั่งศาลจังหวัดแพร่ได้มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้ และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ได้ความตามสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3657/2542 ของศาลจังหวัดเชียงราย ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน และตามสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3741/2542 ส. และ ว. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีดังกล่าวกู้ยืมเงินโจทก์เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2540 โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน อันเป็นช่วงเวลาที่จำเลยที่ 2 กลับมามีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของตนเองเนื่องจากศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจทำสัญญาค้ำประกันหนี้แก่โจทก์ได้โดยชอบ มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยที่ 2 ทั้งสองคดีดังกล่าวจึงสมบูรณ์ ไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24
ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ในคำโฆษณาให้ระบุชื่อ ตำบลที่อยู่ อาชีพของลูกหนี้ และวันที่ได้มีคำพิพากษาทั้งให้แจ้งกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายเสนอคำขอรับชำระหนี้ที่ลูกหนี้ได้กระทำขึ้นในระหว่างวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงวันที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งทั้งสองคดีเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 2 ถึงวันที่ศาลจังหวัดแพร่พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย ซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 60 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 81/1 วรรคท้าย และมาตรา 77 ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีมีมูลแห่งหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 กระทำขึ้นในระหว่างวันที่ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงวันที่ศาลจังหวัดแพร่พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย อันเป็นหนี้ที่โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.3/2535 ของศาลจังหวัดแพร่ ตามมาตรา 60 วรรคสอง ทั้งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) จำเลยที่ 2 ย่อมหลุดพ้นจากหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีล้มละลายได้อีก
ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ในคำโฆษณาให้ระบุชื่อ ตำบลที่อยู่ อาชีพของลูกหนี้ และวันที่ได้มีคำพิพากษาทั้งให้แจ้งกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายเสนอคำขอรับชำระหนี้ที่ลูกหนี้ได้กระทำขึ้นในระหว่างวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงวันที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งทั้งสองคดีเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 2 ถึงวันที่ศาลจังหวัดแพร่พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย ซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 60 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 81/1 วรรคท้าย และมาตรา 77 ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีมีมูลแห่งหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 กระทำขึ้นในระหว่างวันที่ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงวันที่ศาลจังหวัดแพร่พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย อันเป็นหนี้ที่โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.3/2535 ของศาลจังหวัดแพร่ ตามมาตรา 60 วรรคสอง ทั้งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) จำเลยที่ 2 ย่อมหลุดพ้นจากหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีล้มละลายได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีล้มละลาย: การมีหนี้สินล้นพ้นตัว การพิสูจน์ทรัพย์สิน และขอบเขตความรับผิดของคู่สมรส
การยื่นฟ้องและชั้นตรวจคำฟ้องในคดีล้มละลาย ไม่มีกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและข้อกำหนดคดีล้มละลายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 18 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวไม่ได้บังคับว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นเอกสารที่ต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้อง ประกอบกับโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาแล้วว่า โจทก์มอบอำนาจให้ว่าที่พันตรี ส. หรือ ข. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ อีกทั้งโจทก์ยื่นคำร้องอ้างเหตุที่มิได้ส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจ เนื่องจากหลงลืมและขอส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลและจำเลยทั้งสี่ ก่อนวันนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสี่เป็นเวลาประมาณ 1 ปี จำเลยทั้งสี่ย่อมมีโอกาสแก้ไขคำให้การได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยไม่ชอบ ดังนั้น แม้ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจะไม่มีหนังสือมอบอำนาจแนบมาด้วยก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์จะเคยนำหนี้ในคดีนี้ไปฟ้องจำเลยทั้งสี่ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 862/2549 ของศาลจังหวัดปราจีนบุรี ขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ โดยโจทก์และจำเลยทั้งสี่เป็นคู่ความคนเดียวกันและคดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ก็ตาม แต่ในคดีดังกล่าวประเด็นแห่งคดีมีว่า จำเลยทั้งสี่จะต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ ส่วนในคดีนี้ประเด็นแห่งคดีมีว่า จำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัวและสมควรถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ จึงเป็นการยื่นคำฟ้องคนละเรื่องกัน ฟ้องของโจทก์หาเป็นฟ้องซ้อนไม่
ในการฟ้องคดีล้มละลายเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามกระบวนการกฎหมายล้มละลาย โจทก์มีสิทธิที่ฟ้องได้ภายในอายุความที่กฎหมายกำหนด ส่วนจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ ย่อมมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เมื่อผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยได้ตามข้อตกลงในสัญญาแห่งมูลหนี้นั้น ๆ เหตุที่ดอกเบี้ยค้างชำระจำนวนมากก็เนื่องมาจากจำเลยทั้งสี่ผิดนัดชำระหนี้ แม้หากดอกเบี้ยเป็นเบี้ยปรับในชั้นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ นอกจากนี้ แม้โจทก์จะเคยฟ้องจำเลยทั้งสี่ในคดีแพ่งและขอถอนฟ้อง และจำเลยทั้งสี่คัดค้านก็ตาม แต่ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีล้มละลายอีกได้ ประกอบกับศาลในคดีแพ่งได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องยังไม่อาจฟังได้ว่าเป็นการใช้สิทธิเพื่อบีบบังคับแก่จำเลยทั้งสี่ และใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้ยืมเงิน และหนี้สินอื่น ๆ ที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 4 ทำหนังสือให้ความยินยอมในฐานะเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 แม้หนี้ดังกล่าวจะไม่ใช่หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสดั่งที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 2 สามีของจำเลยที่ 4 ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวที่จำเลยที่ 4 ผู้เป็นภริยาได้ให้สัตยาบันแล้วจึงเป็นหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในหนี้ที่มีต่อโจทก์
หนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาวงเงินขายลดตั๋วเงินซึ่งสามารถคิดคำนวณยอดหนี้จนถึงวันฟ้องได้ว่าเป็นจำนวนเท่าใดโดยหาจำต้องรอให้ศาลในคดีแพ่งพิพากษากำหนดจำนวนหนี้จนคดีถึงที่สุดแล้วนำมาฟ้องคดีล้มละลายไม่ เนื่องจาก พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) เพียงแต่กำหนดว่าหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตามเท่านั้น โดยหาได้บัญญัติว่าหนี้นั้นศาลต้องพิพากษากำหนดจำนวนแน่นอนเสียก่อนไม่ หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์ย่อมมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ให้ล้มละลายได้
ก่อนฟ้องโจทก์ได้สืบหาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่โดยยื่นคำขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยทั้งสี่มีภูมิลำเนาในเขตรับผิดชอบแล้วปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงชำระหนี้ได้ นอกจากนี้โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้แล้วสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ยอมชำระหนี้ ข้อนำสืบของโจทก์ดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่า จำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) และ (9) แล้ว จำเลยทั้งสี่มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
แม้โจทก์จะเคยนำหนี้ในคดีนี้ไปฟ้องจำเลยทั้งสี่ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 862/2549 ของศาลจังหวัดปราจีนบุรี ขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ โดยโจทก์และจำเลยทั้งสี่เป็นคู่ความคนเดียวกันและคดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ก็ตาม แต่ในคดีดังกล่าวประเด็นแห่งคดีมีว่า จำเลยทั้งสี่จะต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ ส่วนในคดีนี้ประเด็นแห่งคดีมีว่า จำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัวและสมควรถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ จึงเป็นการยื่นคำฟ้องคนละเรื่องกัน ฟ้องของโจทก์หาเป็นฟ้องซ้อนไม่
ในการฟ้องคดีล้มละลายเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามกระบวนการกฎหมายล้มละลาย โจทก์มีสิทธิที่ฟ้องได้ภายในอายุความที่กฎหมายกำหนด ส่วนจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ ย่อมมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เมื่อผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยได้ตามข้อตกลงในสัญญาแห่งมูลหนี้นั้น ๆ เหตุที่ดอกเบี้ยค้างชำระจำนวนมากก็เนื่องมาจากจำเลยทั้งสี่ผิดนัดชำระหนี้ แม้หากดอกเบี้ยเป็นเบี้ยปรับในชั้นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ นอกจากนี้ แม้โจทก์จะเคยฟ้องจำเลยทั้งสี่ในคดีแพ่งและขอถอนฟ้อง และจำเลยทั้งสี่คัดค้านก็ตาม แต่ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีล้มละลายอีกได้ ประกอบกับศาลในคดีแพ่งได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องยังไม่อาจฟังได้ว่าเป็นการใช้สิทธิเพื่อบีบบังคับแก่จำเลยทั้งสี่ และใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้ยืมเงิน และหนี้สินอื่น ๆ ที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 4 ทำหนังสือให้ความยินยอมในฐานะเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 แม้หนี้ดังกล่าวจะไม่ใช่หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสดั่งที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 2 สามีของจำเลยที่ 4 ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวที่จำเลยที่ 4 ผู้เป็นภริยาได้ให้สัตยาบันแล้วจึงเป็นหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในหนี้ที่มีต่อโจทก์
หนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาวงเงินขายลดตั๋วเงินซึ่งสามารถคิดคำนวณยอดหนี้จนถึงวันฟ้องได้ว่าเป็นจำนวนเท่าใดโดยหาจำต้องรอให้ศาลในคดีแพ่งพิพากษากำหนดจำนวนหนี้จนคดีถึงที่สุดแล้วนำมาฟ้องคดีล้มละลายไม่ เนื่องจาก พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) เพียงแต่กำหนดว่าหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตามเท่านั้น โดยหาได้บัญญัติว่าหนี้นั้นศาลต้องพิพากษากำหนดจำนวนแน่นอนเสียก่อนไม่ หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์ย่อมมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ให้ล้มละลายได้
ก่อนฟ้องโจทก์ได้สืบหาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่โดยยื่นคำขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยทั้งสี่มีภูมิลำเนาในเขตรับผิดชอบแล้วปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงชำระหนี้ได้ นอกจากนี้โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้แล้วสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ยอมชำระหนี้ ข้อนำสืบของโจทก์ดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่า จำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) และ (9) แล้ว จำเลยทั้งสี่มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5696/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินของบริษัทประกันภัยที่ขัดต่อกฎหมาย ทำให้การโอนเป็นโมฆะและเพิกถอนได้
คำร้องของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างว่านิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 และมาตรา 88 ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เป็นอันเสียเปล่าไม่มีผล ผู้ร้องจึงขอให้ศาลเพิกถอนรายการจดทะเบียนในโฉนดที่ดินพิพาท ดังนี้ จึงหาใช่การขอให้เพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่ แต่เป็นการที่ผู้ร้องซึ่งมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
ลูกหนี้เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย จึงต้องอยู่ใต้การควบคุมของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 2 การควบคุมบริษัท มาตรา 52 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง หากบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 52 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา 88 (เดิม) บทบัญญัติดังกล่าวจึงมุ่งหมายที่จะคุ้มครองการประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและต่อผู้เอาประกันซึ่งเป็นผู้บริโภค ผู้ฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดทางอาญา จึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดน้อยลง เข้าลักษณะจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ทั้งนี้ไม่ว่าคู่กรณีจะรู้หรือไม่ก็ตามว่านิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายอันตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการทำนิติกรรมนั้นโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อให้มีผลล้มล้างบทกฎหมายได้ การจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรก ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทต่อไปให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทกลับเป็นชื่อลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังเดิมได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับบุคคลภายนอกที่ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกลับมาเป็นชื่อลูกหนี้ตามเดิม ผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย
ลูกหนี้เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย จึงต้องอยู่ใต้การควบคุมของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 2 การควบคุมบริษัท มาตรา 52 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง หากบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 52 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา 88 (เดิม) บทบัญญัติดังกล่าวจึงมุ่งหมายที่จะคุ้มครองการประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและต่อผู้เอาประกันซึ่งเป็นผู้บริโภค ผู้ฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดทางอาญา จึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดน้อยลง เข้าลักษณะจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ทั้งนี้ไม่ว่าคู่กรณีจะรู้หรือไม่ก็ตามว่านิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายอันตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการทำนิติกรรมนั้นโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อให้มีผลล้มล้างบทกฎหมายได้ การจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรก ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทต่อไปให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทกลับเป็นชื่อลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังเดิมได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับบุคคลภายนอกที่ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกลับมาเป็นชื่อลูกหนี้ตามเดิม ผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5696/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินของบริษัทประกันภัยที่ขัดต่อกฎหมายประกันภัย ทำให้การโอนเป็นโมฆะ
คำร้องของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างว่านิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 และมาตรา 88 ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เป็นอันเสียเปล่าไม่มีผล ผู้ร้องจึงขอให้ศาลเพิกถอนรายการจดทะเบียนในโฉนดที่ดินพิพาท ดังนี้ จึงหาใช่การขอให้เพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่ แต่เป็นการที่ผู้ร้องซึ่งมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
ลูกหนี้เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย จึงต้องอยู่ใต้การควบคุมของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 2 การควบคุมบริษัท มาตรา 52 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง หากบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 52 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา 88 (เดิม) บทบัญญัติดังกล่าวจึงมุ่งหมายที่จะคุ้มครองการประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและต่อผู้เอาประกันซึ่งเป็นผู้บริโภค ผู้ฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดทางอาญา จึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดน้อยลง เข้าลักษณะจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ทั้งนี้ไม่ว่าคู่กรณีจะรู้หรือไม่ก็ตามว่านิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายอันตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการทำนิติกรรมนั้นโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อให้มีผลล้มล้างบทกฎหมายได้ การจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรกไม่มีผลใดๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทต่อไปให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทกลับเป็นชื่อลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังเดิมได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับบุคคลภายนอกที่ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกลับมาเป็นชื่อลูกหนี้ตามเดิม ผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย
ลูกหนี้เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย จึงต้องอยู่ใต้การควบคุมของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 2 การควบคุมบริษัท มาตรา 52 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง หากบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 52 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา 88 (เดิม) บทบัญญัติดังกล่าวจึงมุ่งหมายที่จะคุ้มครองการประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและต่อผู้เอาประกันซึ่งเป็นผู้บริโภค ผู้ฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดทางอาญา จึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดน้อยลง เข้าลักษณะจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ทั้งนี้ไม่ว่าคู่กรณีจะรู้หรือไม่ก็ตามว่านิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายอันตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการทำนิติกรรมนั้นโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อให้มีผลล้มล้างบทกฎหมายได้ การจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรกไม่มีผลใดๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทต่อไปให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทกลับเป็นชื่อลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังเดิมได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับบุคคลภายนอกที่ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกลับมาเป็นชื่อลูกหนี้ตามเดิม ผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5695/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลายและการรับสภาพหนี้ การชำระหนี้บางส่วนไม่กระทบอายุความ
การนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งอันถึงที่สุดมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ไม่ใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาที่ถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 คดีดังกล่าวศาลแพ่งอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นวันที่คดีถึงที่สุด อายุความจึงเริ่มนับ แต่ปรากฏว่าระหว่างยังไม่พ้นอายุความในวันที่ 21 มกราคม 2554 จำเลยชำระหนี้บางส่วนตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์เป็นเงิน 2,064,440 บาท กรณีถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วน ย่อมมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นจึงไม่นับเข้าในอายุความ ต้องเริ่มนับอายุความใหม่นับถัดจากวันที่ 21 มกราคม 2554 ไปอีก 10 ปี ตามมาตรา 193/14 (1) ประกอบมาตรา 193/15 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2555 จึงอยู่ในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธินำมูลหนี้ตามคำพิพากษานั้นมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ และแม้ว่าเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2554 จำเลยได้นำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์บางส่วนเป็นเงิน 2,064,440 บาท เพื่อให้โจทก์ถอนการบังคับคดีแพ่งเฉพาะจำเลย ซึ่งโจทก์ไม่ดำเนินการ แต่ก็เป็นเงินจำนวนไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับยอดหนี้ตามคำพิพากษาและจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์ถึงวันฟ้องเป็นเงินรวมทั้งสิ้นถึง 12,584,200.40 บาท และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีกเลย พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5687/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้วางค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลายที่ไม่ถูกต้อง ผู้ร้องขอให้ศาลรับคำร้องเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 แต่เป็นของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะสอบสวนให้ได้ความเสียก่อน เพื่อพิจารณาว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดในคดีล้มละลายหรือไม่ แล้วดำเนินการต่อไป การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด่วนสั่งยกคำร้องโดยปฏิเสธว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจสั่งถอนการยึด จึงมิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนและมีคำสั่งไม่ให้ถอนการยึดตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 บัญญัติไว้
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณา จึงมิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอเพื่อคัดค้านการยึดทรัพย์ต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 ที่บัญญัติให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งชี้ขาดเหมือนอย่างคดีธรรมดา ซึ่งผู้ร้องขอต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ขอให้ถอนการยึดนั้น แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลตาม มาตรา 146 ซึ่งตามตารางท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย มิได้กำหนดให้ผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลหรือเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำร้องต่อศาล
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณา จึงมิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอเพื่อคัดค้านการยึดทรัพย์ต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 ที่บัญญัติให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งชี้ขาดเหมือนอย่างคดีธรรมดา ซึ่งผู้ร้องขอต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ขอให้ถอนการยึดนั้น แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลตาม มาตรา 146 ซึ่งตามตารางท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย มิได้กำหนดให้ผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลหรือเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำร้องต่อศาล