พบผลลัพธ์ทั้งหมด 185 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5687/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลให้วางค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลายที่ไม่ถูกต้อง ผู้ร้องขอให้ศาลรับคำร้องพิจารณาปล่อยทรัพย์ที่ยึด
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 แต่เป็นของผู้ร้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะสอบสวนให้ได้ความเสียก่อน เพื่อพิจารณาว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดในคดีล้มละลายหรือไม่ แล้วดำเนินการต่อไป การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด่วนสั่งยกคำร้องโดยปฏิเสธว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจสั่งถอนการยึด จึงมิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนและมีคำสั่งไม่ให้ถอนการยึดตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 บัญญัติไว้ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณา จึงมิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอเพื่อคัดค้านการยึดทรัพย์ต่อศาลตามมาตรา 158 ที่บัญญัติให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งชี้ขาดเหมือนอย่างคดีธรรมดาซึ่งผู้ร้องขอต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ขอให้ถอนการยึดนั้น แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 146 ซึ่งตามตารางท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย มิได้กำหนดให้ผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลหรือเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำร้องต่อศาล การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ขอให้ปล่อยก็ดี และมีคำสั่งไม่งดเว้นค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ก็ดี จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: เจ้าหนี้ไม่ให้ความร่วมมือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการตามกฎหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดของเจ้าหนี้
กรณีผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่มีเจ้าหนี้ซึ่งเป็นโจทก์เหมือนกรณีฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย เพื่อชำระสะสางกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายล้มละลาย โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการและศาลต้องสอดส่องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสั่งตามที่เห็นสมควรตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 151 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติไม่ยอมรับเจ้าหนี้ที่เสนอรับจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และไม่มีเจ้าหนี้รายอื่นที่มาประชุมเสนอรับเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ก็ตาม แต่มีเจ้าหนี้มาประชุม 96 ราย จากเจ้าหนี้ทั้งหมด 182 ราย คิดเป็นเงินที่ขอรับชำระหนี้จำนวนมาก โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ที่ไม่มาประชุมไม่สามารถและเต็มใจที่จะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นใหม่เพื่อสรรหาเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ไม่ชอบที่จะขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 135 (1)
โดยที่ลูกหนี้มิได้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย แม้มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกจะมีมติไม่สมควรขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม แต่มติดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อกฎหมาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ และขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 31 และมาตรา 36 แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ดำเนินการตามหน้าที่ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย กลับรายงานศาลขอให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติดังกล่าว อันมีผลเท่ากับเจ้าหนี้ไม่ลงมติแต่ประการใดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 61 และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้
โดยที่ลูกหนี้มิได้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย แม้มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกจะมีมติไม่สมควรขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม แต่มติดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อกฎหมาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ และขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 31 และมาตรา 36 แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ดำเนินการตามหน้าที่ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย กลับรายงานศาลขอให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติดังกล่าว อันมีผลเท่ากับเจ้าหนี้ไม่ลงมติแต่ประการใดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 61 และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4974/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลล้มละลายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ต้องห้าม เหตุไม่อยู่ในข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้มีคำสั่งงดการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และขอให้กันส่วนที่ดินส่วนที่ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ออกก่อนมีการขายทอดตลาดที่ดินของลูกหนี้ที่ 3 นั้น มิใช่คำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) อุทธรณ์ของผู้ร้องดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ทั้งศาลฎีกาพิจารณาแล้วไม่มีกรณีจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4083/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละหลักทรัพย์ในคดีล้มละลาย และหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์เมื่อไม่มีการขายทอดตลาด
การที่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 อย่างเจ้าหนี้มีประกัน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) คือ ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ ซึ่งผู้ร้องก็ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์หลักประกันคือที่ดินโฉนดเลขที่ 10576 ไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 12/2542 ของศาลจังหวัดชลบุรี อันเป็นไปตามความประสงค์ในคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้แล้ว การที่ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอสละหลักทรัพย์คือที่ดินแปลงดังกล่าวก็เป็นเพราะที่ดินมีสภาพเป็นถนน ประกาศขายทอดตลาดหลายครั้งแต่ขายทอดตลาดไม่ได้ เห็นได้ถึงความประสงค์ที่แท้จริงของผู้ร้องว่าต้องการที่จะไม่ดำเนินการกับที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไป ซึ่งก็หมายถึงถอนการยึดทรัพย์หลักประกันนั่นเอง ประกอบกับที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาแล้วเห็นว่าการจะรวบรวมที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วนำออกขายทอดตลาดย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่กองทรัพย์สิน มีแต่จะก่อภาระแก่กองทรัพย์สินจึงไม่ประสงค์จะดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินแปลงดังกล่าว กล่าวคือบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (1) และ (3) โดยการสละสิทธิในที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ร้องย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายและค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี หาใช่เป็นภาระของกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3754/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายหลังล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อ โดยไถ่ถอนจำนองจากกองทรัพย์สิน
ผู้ร้องได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านกับลูกหนี้และได้ชำระเงินค่าที่ดินและบ้านแก่ลูกหนี้ครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย แต่เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านให้แก่ผู้ร้องได้เนื่องจากลูกหนี้ได้นำที่ดินและบ้านดังกล่าวไปจำนองแก่บริษัท บ. ซึ่งต่อมาบริษัทดังกล่าวได้โอนสิทธิการรับจำนองแก่ผู้คัดค้านที่ 2 แล้ว เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวได้ โดยลูกหนี้ไม่มีสิทธิอย่างใดตามสัญญาอีก คงเหลือเฉพาะหน้าที่ของลูกหนี้ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา สิทธิตามสัญญานั้นเป็นของผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียว จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่ 1 ที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามสัญญาที่ผู้ร้องจะพึงได้มีรับภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ เพราะประโยชน์ที่จะพึงได้ในการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาตกได้แก่ผู้ร้อง หาตกได้แก่ลูกหนี้ไม่ ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้จึงไม่อาจปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อผู้ร้องได้ ดังนั้น เมื่อผู้ร้องประสงค์จะขอรับโอนกรรมสิทธิ์พร้อมบ้านที่พิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงชอบที่จะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้อง โดยปลอดจำนอง โดยให้ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจากผู้คัดค้านที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3209/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย แม้ผู้รับโอนสุจริตแต่มีส่วนร่วมยักย้ายทรัพย์สิน ยึดหลักสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 (จำเลย) ไปยังผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 4 ก่อนที่โจทก์จะฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 เป็นคดีล้มละลายประมาณ 5 เดือนเศษ และต่อมาผู้คัดค้านที่ 4 ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 อันเป็นการทำให้เจ้าหนี้ของผู้คัดค้านที่ 1 เสียเปรียบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 237 ถือเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีล้มละลายคดีนี้เอง ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีสิทธิที่จะต่อสู้คดีได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แต่จะนำ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) มาใช้บังคับในกรณีไม่ได้
ส่วนการเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน การโอนนั้นก็ยังชอบด้วยกฎหมายอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
ส่วนการเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน การโอนนั้นก็ยังชอบด้วยกฎหมายอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความดอกเบี้ยค้างชำระคดีล้มละลาย: ผลกระทบการฟ้องคดีของลูกหนี้ชั้นต้นและการสะดุดหยุดของอายุความ
แม้สิทธิเรียกร้องสำหรับดอกเบี้ยค้างชำระจะมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) แต่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ฟ้องลูกหนี้ชั้นต้นให้ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระ อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14 (2) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนหน้านั้นจึงไม่นับเข้าในอายุความตามมาตรา 193/15 วรรคสอง การที่อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้ชั้นต้น ย่อมเป็นโทษแก่ลูกหนี้ที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย ตามมาตรา 692 ปรากฏว่าคดีที่เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ชั้นต้นให้ชำระหนี้ ศาลแพ่งอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2547 โดยคู่ความมิได้ฎีกา คดีย่อมถึงที่สุดในวันที่ 22 กันยายน 2547 อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุด ณ เวลาดังกล่าว จึงให้เริ่มนับอายุความใหม่สำหรับลูกหนี้ที่ 4 ตั้งแต่เวลานั้น ตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ค้ำประกันจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 4 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2550 จึงยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 5 ปี สิทธิเรียกร้องสำหรับดอกเบี้ยที่ค้างชำระตามสัญญากู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งลูกหนี้ที่ 4 ค้ำประกันไว้ จึงยังไม่ขาดอายุความ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยได้ หาใช่ว่ามีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยย้อนหลังจากวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดขึ้นไป 5 ปี ไม่ อย่างไรก็ตามความรับผิดของลูกหนี้ที่ 4 ในเรื่องต้นเงินและดอกเบี้ยย่อมจำกัดเพียงไม่เกินความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนและการฟ้องล้มละลาย: แม้มีการอุทธรณ์คำพิพากษา ก็ไม่ทำให้หนี้เปลี่ยนแปลง
จำเลยทั้งสิบเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 8 ซึ่งเป็นคู่ความย่อมต้องผูกพันในกระบวนพิจารณาของศาลนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนกว่าคำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้พิพากษาแก้ไขหรือกลับ จำเลยที่ 1 และที่ 8 ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว ประกอบกับหนี้ดังกล่าวสามารถที่จะคิดคำนวณได้ถึงวันฟ้องว่ามีจำนวนเท่าใด ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 8 อุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว หาทำให้หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้วกลับกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไปไม่ และเมื่อหนี้ดังกล่าวมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทสำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและไม่น้อยกว่าสองล้านบาทสำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์ย่อมมีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 8 ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา/ละเมิดที่ไม่สามารถกำหนดจำนวนแน่นอน ไม่เป็นเหตุฟ้องล้มละลาย
การกระทำของจำเลยจะเป็นการกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานหรือตัวแทนและกระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่ไม่ปรากฏว่าตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กำหนดค่าเสียหายกรณีจำเลยกระทำการเช่นนี้ไว้เป็นจำนวนที่แน่นอน และการกระทำละเมิดของจำเลยต่อโจทก์ โจทก์ก็มิได้ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด แม้โจทก์จะดำเนินการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาซื้อขายจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และหุ้นส่วนผู้จัดการ ลูกค้าของโจทก์ที่ซื้อสินค้าไปเกินวงเงินสินเชื่อตามที่จำเลยได้อนุมัติและศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้บุคคลดังกล่าวชำระเงินแก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่จำเลยก็มิได้ถูกฟ้องในคดีแพ่งดังกล่าวด้วย จะนำจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาเป็นฐานคำนวณให้จำเลยรับผิดหาได้ไม่ เพราะกรณียังไม่แน่นอนว่าโจทก์จะบังคับคดีแก่ลูกค้าของโจทก์ภายใน 10 ปี ได้เงินชำระหนี้เพียงใดหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคต หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานหรือตัวแทนและมูลละเมิด อันเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) โจทก์จึงไม่มีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้ทำแผนจัดทำโดยไม่สุจริต เอื้อประโยชน์เจ้าหนี้กลุ่มหนึ่ง
การที่กฎหมายล้มละลายในส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กำหนดให้แผนฟื้นฟูกิจการซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแล้วต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกชั้นหนึ่งตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมาตรา 90/58 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าแผนมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 90/42 ข้อเสนอในการชำระหนี้ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี และในกรณีที่มติยอมรับแผนเป็นมติตามมาตรา 90/46 (2) ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนนั้นจะต้องเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เว้นแต่เจ้าหนี้นั้นจะให้ความยินยอม และเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย อันเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาใช้ดุลพินิจให้ความเห็นชอบด้วยแผน ทั้งนี้ เพื่อให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจโดยใช้อำนาจตุลาการเพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมถึงการให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหนี้เสียงข้างน้อยด้วย และเพื่อให้แผนฟื้นฟูกิจการเกิดประโยชน์สูงสุดแก่บรรดาเจ้าหนี้ทุกรายอย่างเป็นธรรม ศาลจึงมีอำนาจในการตรวจสอบถึงเนื้อหาของแผน ตลอดจนความสุจริตในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการด้วย
เมื่อลูกหนี้ผู้ทำแผนทราบอยู่ก่อนจัดทำแผนแล้วว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายที่ 6 ถึงที่ 12 ลูกหนี้จึงไม่มีภาระผูกพันใดๆ ในอันที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ให้เจ้าหนี้รายที่ 6 ถึงที่ 12 แต่ลูกหนี้กลับจัดทำแผนโดยกำหนดให้เจ้าหนี้ทั้งเจ็ดรายดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 มีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนในอัตราร้อยละ 100 อันเป็นการขัดแย้งกับคำสั่งซึ่งถึงที่สุดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ส่งผลให้ลูกหนี้มีภาระผูกพันตามแผนที่จะต้องชำระหนี้เพิ่มขึ้นเป็นเงิน เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 6 ถึงรายที่ 12 ซึ่งเป็นกรรมการของลูกหนี้และบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมการของลูกหนี้ที่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับลูกหนี้อย่างใกล้ชิด เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/32 โดยชัดแจ้ง ทั้งมิใช่การจัดทำแผนที่รับรองสิทธิของเจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการให้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง และมาตรา 90/61 (1) พฤติการณ์ในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ส่อไปในทางไม่สุจริต เมื่อลูกหนี้จัดทำและเสนอแผนโดยไม่สุจริต แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อลูกหนี้ผู้ทำแผนทราบอยู่ก่อนจัดทำแผนแล้วว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายที่ 6 ถึงที่ 12 ลูกหนี้จึงไม่มีภาระผูกพันใดๆ ในอันที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ให้เจ้าหนี้รายที่ 6 ถึงที่ 12 แต่ลูกหนี้กลับจัดทำแผนโดยกำหนดให้เจ้าหนี้ทั้งเจ็ดรายดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 มีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนในอัตราร้อยละ 100 อันเป็นการขัดแย้งกับคำสั่งซึ่งถึงที่สุดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ส่งผลให้ลูกหนี้มีภาระผูกพันตามแผนที่จะต้องชำระหนี้เพิ่มขึ้นเป็นเงิน เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 6 ถึงรายที่ 12 ซึ่งเป็นกรรมการของลูกหนี้และบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมการของลูกหนี้ที่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับลูกหนี้อย่างใกล้ชิด เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/32 โดยชัดแจ้ง ทั้งมิใช่การจัดทำแผนที่รับรองสิทธิของเจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการให้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง และมาตรา 90/61 (1) พฤติการณ์ในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ส่อไปในทางไม่สุจริต เมื่อลูกหนี้จัดทำและเสนอแผนโดยไม่สุจริต แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย