คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทัศนีย์ จั่นสัญจัย ธรรมเกณฑ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 185 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6728/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวชั่วคราวเพื่อผัดผ่อนค่าปรับ ไม่ใช่สัญญาประกันการชำระหนี้ค่าปรับ ศาลฎีกาแก้ไขค่าปรับ
การจะพิจารณาว่าสัญญาประกันที่มีกรมธรรม์ประกันอิสรภาพของผู้ร้องเป็นหลักประกันนั้นเป็นสัญญาประกันตัวจำเลยเพื่อให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราว หรือเป็นสัญญาประกันการชำระหนี้ค่าปรับ ต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ รูปแบบ และเนื้อความแห่งสัญญาประกันที่ศาลเลือกใช้ ในคดีนี้ปรากฏว่า กรมธรรม์ประกันอิสรภาพที่ผู้ร้องออกให้ไว้แก่ศาลนั้น ผู้ร้องรับรองต่อศาลว่าหากจำเลยไม่มาศาล ผู้ร้องก็จะชำระเงินให้แก่ศาลในวงเงิน 90,000 บาท ข้อความตามสัญญาประกันในคดีนี้จึงมีลักษณะเป็นการรับรองว่าจำเลยจะมาศาลเมื่อถึงวันครบกำหนดชำระค่าปรับตามที่ศาลอนุญาตให้ผัดชำระค่าปรับ อันเป็นสัญญาประกันตัวจำเลยเพื่อขอให้ศาลปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวไม่ใช่สัญญาประกันเพื่อการชำระหนี้ค่าปรับที่ในชั้นที่สุดจะบังคับเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของค่าปรับตามคำพิพากษา จึงจะนำเงินที่ผู้ร้องนำมาชำระค่าปรับตามสัญญามาเป็นส่วนหนึ่งแห่งค่าปรับตามคำพิพากษาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6352/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานกรณีผู้เสียหายไม่สามารถมาเบิกความต่อศาลได้ โดยใช้ภาพและเสียงคำให้การในชั้นสอบสวน
โจทก์ไม่สามารถนำผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาลได้ เนื่องจากผู้เสียหายย้ายที่อยู่หาตัวไม่พบ คำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนแม้เป็นพยานบอกเล่า แต่ผู้เสียหายได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนโดยมีนักสังคมสงเคราะห์และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำผู้เสียหายด้วย มีการบันทึกภาพและเสียงการถามปากคำผู้เสียหายดังกล่าวออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้เป็นพยาน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ซึ่งการที่ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความเพราะมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง ศาลย่อมรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนดังกล่าวได้เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณาของศาลประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี วรรคท้าย และมาตรา 226/3 วรรคสอง (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งในคดีอาญา และขอบเขตการฎีกาของโจทก์ร่วม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้ในคดีฉ้อโกง ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องในคดีส่วนอาญา แต่เมื่อคำขอส่วนแพ่งเป็นคำขอที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง ดังนั้น อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งยังคงมีต่อไป และศาลต้องวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยทั้งสามต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่าพนักงานอัยการไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนกลุ่มผู้เสียหายรวมทั้งโจทก์ร่วม และไม่วินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งจึงเป็นการไม่ชอบ
การฎีกาในปัญหาใด ๆ ต่อศาลฎีกานั้นย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละคน แม้โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนหรือใช้ราคาข้าวเปลือกแก่ผู้เสียหายรวม 81 คน แต่ราคาข้าวเปลือกของผู้เสียหายที่โจทก์ขอมาแต่ละคนต่างแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น โจทก์ร่วมย่อมเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะสิทธิเรียกราคาข้าวเปลือกในส่วนของตนเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ฎีกาโจทก์ร่วมย่อมฎีกาได้เฉพาะส่วนของตน จะฎีกาแทนโจทก์หรือผู้เสียหายคนอื่นมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนข้าราชการไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ถือว่าออกจากราชการ จึงไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จจากเงินงบประมาณ
การที่จะถือว่าข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 112 เท่านั้น การที่จำเลยโอนจากการเป็นข้าราชการพลเรือนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว นอกจากนี้ การโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นของจำเลยยังคงนับอายุราชการต่อเนื่อง จำเลยไม่อาจขอสละสิทธิที่จะไม่นับอายุราชการต่อเนื่องเพื่อขอรับเงินบำเหน็จได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ออกจากราชการ แม้ตาม พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 มาตรา 44 จะบัญญัติให้สมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการ และมาตรา 45 จะบัญญัติให้สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ ฯ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง และตามมาตรา 3 (เดิม) จะมิได้บัญญัติให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่ในบทนิยามของคำว่า "ข้าราชการ" อันจะเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวคงมีผลเพียงทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของจำเลยสิ้นสุดลงอันจะมีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวซึ่งเป็นเงินที่จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 มาตรา 37 เท่านั้น หาได้มีผลทำให้สถานะความเป็นข้าราชการของจำเลยสิ้นสุดลงอันจะทำให้มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จที่จะต้องจ่ายจากเงินงบประมาณด้วยไม่ แม้โจทก์ทั้งสองจะจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่จำเลยแล้ว แต่เมื่อจำเลยยังไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินบำเหน็จพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้แบบพิมพ์ในคดีล้มละลาย: การปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลและความถูกต้องของเอกสาร
ตามประกาศและข้อกำหนดคดีล้มละลาย เรื่องแบบพิมพ์ของศาลล้มละลายกลาง กำหนดแบบพิมพ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย สำหรับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (คดีสาขา) ซึ่งรวมถึงการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือยืนยันหนี้ต่อศาลเพื่อให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เช่นกรณีของผู้ร้อง จะต้องใช้แบบพิมพ์ ล.27 ของศาลล้มละลายกลาง หรือเอกสารที่มีรูปแบบแห่งแบบพิมพ์อย่างเดียวกัน การที่ผู้ร้องใช้แบบพิมพ์ ล.8 อันเป็นแบบพิมพ์สำหรับคำร้องทั่วไป และมีรูปแบบแตกต่างจากแบบพิมพ์ ล.27 ผิดข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2549 เมื่อศาลล้มละลายกลางตรวจพบในชั้นตรวจคำคู่ความจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้ผู้ร้องไปดำเนินการแก้ไขมาใหม่ให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดได้ ผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้วไม่ดำเนินการภายในเวลาที่ศาลกำหนด ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่รับคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัย: ไม่ใช่เจ้าหนี้ในคดีอาญา
ผู้ร้องมิใช่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง เพียงแต่อ้างสิทธิในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่ถูกจำเลยลักไปซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายที่ 2 ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยและมาใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยเท่านั้น ความเสียหายของผู้ร้องที่อ้างว่าได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปนั้นจึงเกิดขึ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันภัย มิใช่เกิดจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเป็นการกระทำละเมิดของจำเลย สิทธิเรียกร้องความเสียหายของผู้ร้องจึงมิใช่เป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดเช่นเดียวกันกับผู้เสียหายทั้งสอง จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยใช้ราคาที่ผู้ร้องได้ชดใช้ไปตามสัญญาประกันภัยได้
ผู้เสียหายในคดีอาญา หมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง ซึ่งคดีนี้ผู้เสียหายในความผิดฐานลักทรัพย์รถยนต์คือผู้เสียหายทั้งสอง และพนักงานอัยการโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเรียกให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแทนแก่ผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น โดยเป็นการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 43 และเมื่อพิจารณาประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 แล้ว ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า สิทธิของผู้เสียหายที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนตามมาตราดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัวโดยแท้ของผู้เสียหายหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม มาตรา 4, 5 และ 6 เท่านั้น ผู้เสียหายที่จะถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 50 จึงหมายถึงผู้เสียหายในคดีอาญาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11707/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐานในคดีเช็ค - การประวิงคดีและการยื่นเอกสารไม่ถูกต้อง
ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย หากนางสาว ว. เป็นพยานสำคัญของจำเลย จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกพยานเสียแต่เนิ่น ๆ แต่จำเลยหากระทำไม่ ทั้งตามอุทธรณ์และฎีกาของจำเลยก็มิได้อ้างถึงเหตุขัดข้องแต่ประการใด พฤติการณ์ของจำเลยส่อว่าประสงค์จะขอเลื่อนการสืบพยานจำเลยไปเพื่อประวิงให้ชักช้า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 104 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
สัญญากู้เงินมีการขูดลบตกเติมข้อความในสัญญาหลายแห่งโดยไม่มีการลงลายมือชื่อกำกับไว้ เหตุดังกล่าวแต่ประการเดียวยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ว่า สัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม สำหรับสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยอ้างว่าแจ้งความดำเนินคดีเรื่องเอกสารปลอม จำเลยมิได้อ้างส่งต่อศาลชั้นต้น แต่เพิ่งแนบมาท้ายอุทธรณ์และฎีกา โดยไม่ปรากฏเหตุขัดข้องใด จึงเป็นการยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่อาจรับเป็นพยานหลักฐานได้
of 19