พบผลลัพธ์ทั้งหมด 185 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337-338/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินวางศาลที่เหลือหลังชำระหนี้ ศาลต้องแจ้งให้ผู้มีสิทธิรับทราบก่อนถือเป็นเงินค้างจ่าย
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องและได้นำเงินจำนวน 529,846.58 บาท มาวางที่ศาลชั้นต้นเพื่อเป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษา แต่ขอให้ศาลระงับการจ่ายเงินให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับเพื่อการชำระหนี้หากคดีถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 4 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ต่อมาเมื่อคดีถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 4 ต้องรับผิด โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้ขอรับเงินที่จำเลยที่ 4 นำมาวางศาลดังกล่าวไปในวันที่ 22 เมษายน 2553 จำนวน 201,390.48 บาท และ 234,723.06 บาท ตามลำดับ คงเหลือเงินในวันดังกล่าว 105,843.04 บาท ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้จำเลยที่ 4 ผู้มีสิทธิได้รับเงินที่เหลือทราบ หากจำเลยที่ 4 ทราบแล้วไม่มารับเงินภายในห้าปี เงินดังกล่าวจึงจะถือว่าเป็นเงินค้างจ่ายและทำให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่คดีนี้หลังจากโจทก์ที่ 1 และที่ 2 รับเงินแล้วปรากฏว่ามีเงินคงเหลือ ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้จำเลยที่ 4 ผู้มีสิทธิรับเงินทราบ เงินดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่ศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 (เดิม) และยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7123/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย - ศาลลดเบี้ยปรับเมื่อสูงเกินสมควร - การตีความสัญญา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 บัญญัติว่า เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว อนึ่ง มัดจำนี้ย่อมเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย ดังนั้น เงินที่ให้ต่อกันโดยมิใช่เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว แม้จะให้ในวันทำสัญญาก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นมัดจำ แม้โจทก์จะมอบเงิน 500,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาและระบุในสัญญาข้อ 2 ว่าเป็นมัดจำก็ตาม แต่ข้อความในสัญญาข้อ 2 และข้อ 3 สามารถสรุปใจความว่า หากโจทก์ผิดสัญญายินยอมให้จำเลยริบเงิน 500,000 บาท ดังกล่าว เงิน 500,000 บาท จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้แก่จำเลยจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 ซึ่งเบี้ยปรับนั้นสูงเกินสมควร ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับนั้นลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เมื่อพิเคราะห์ทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยริบเบี้ยปรับได้ 130,000 บาท จำเลยจึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ 370,000 บาท
เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระเงิน 370,000 บาท จำเลยจึงมีหนี้เป็นจำนวนที่แน่นอนและเป็นที่ยุติว่าต้องชำระนับแต่วันที่จำเลยทราบคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยอัตรา
ร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระเงิน 370,000 บาท จำเลยจึงมีหนี้เป็นจำนวนที่แน่นอนและเป็นที่ยุติว่าต้องชำระนับแต่วันที่จำเลยทราบคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยอัตรา
ร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6043/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากผู้ชำระบัญชีที่ไม่ถูกต้อง การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ชำระบัญชี การฟ้องคดีไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 จึงมีอายุความห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272 โจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินถึงจำเลยที่ 1 ให้ชำระภาษี เป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) จำเลยที่ 1 รับหนังสือแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553 อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับใหม่ตั้งแต่พ้น 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 นำเงินภาษีอากรไปชำระ อายุความจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 และเมื่อโจทก์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ทราบ ย่อมมีผลต่อการบังคับคดีของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร เป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมายเพื่อให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภาษีอากรตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกัน กับการฟ้องคดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) จำเลยที่ 1 รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงนับแต่วันดังกล่าวและเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้สิ้นสุดนับแต่พ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันดังกล่าว ตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 วันที่ 30 กันยายน 2556 คดียังไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการและผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1252 จำเลยที่ 2 จึงควรจะต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรจากการยื่นแบบแสดง รายการเสียภาษีไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรหาได้ไม่ เนื่องจากการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นการประเมินตนเอง หาจำต้องรอให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินมาก่อนไม่ เพียงแต่หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษียื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและแจ้งการประเมินได้ต่อไปเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากรโจทก์ แต่ไม่นำรายได้ที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 มาลงในงบดุลและไม่จัดการใช้หนี้ให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 หรือวางเงินแทนชำระหนี้ตามมาตรา 1254 จำเลยที่ 2 กลับทำงบดุลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2550 (ณ วันเลิก) โดยไม่ถูกต้องแล้วแบ่งกำไรสะสมคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1269 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระแต่ต้องไม่เกินวงเงินที่เป็นทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
สำนักสืบสวนและคดีรายงานเรื่องการดำเนินคดีภาษีอากรและการดำเนินคดีละเมิดให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบ ตามบันทึกข้อความลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ซึ่ง ว. ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรได้ลงนามให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือ จำเลยที่ 2 ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556 จึงยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน อีกทั้งไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการและผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1252 จำเลยที่ 2 จึงควรจะต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรจากการยื่นแบบแสดง รายการเสียภาษีไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรหาได้ไม่ เนื่องจากการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นการประเมินตนเอง หาจำต้องรอให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินมาก่อนไม่ เพียงแต่หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษียื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและแจ้งการประเมินได้ต่อไปเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากรโจทก์ แต่ไม่นำรายได้ที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 มาลงในงบดุลและไม่จัดการใช้หนี้ให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนตามหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 หรือวางเงินแทนชำระหนี้ตามมาตรา 1254 จำเลยที่ 2 กลับทำงบดุลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2550 (ณ วันเลิก) โดยไม่ถูกต้องแล้วแบ่งกำไรสะสมคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1269 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระแต่ต้องไม่เกินวงเงินที่เป็นทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี
สำนักสืบสวนและคดีรายงานเรื่องการดำเนินคดีภาษีอากรและการดำเนินคดีละเมิดให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบ ตามบันทึกข้อความลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ซึ่ง ว. ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรได้ลงนามให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือ จำเลยที่ 2 ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556 จึงยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน อีกทั้งไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของผู้คัดค้านในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการบังคับบุริมสิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่ดำเนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง (เดิม) แต่ศาลฎีกาพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว กรณีมีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ (เดิม) จึงให้รับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้พิจารณา
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินการ คือ ทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 ซึ่งรวมถึงทรัพย์ทุกประเภทของลูกหนี้ที่มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายตามมาตรา 109 (1) ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้รายใดหรือไม่ ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวของลูกหนี้เข้ากองทรัพย์สินเพื่อจัดการได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา 110 วรรคสาม หรือผู้คัดค้านได้สละสิทธิทรัพย์สินดังกล่าว การที่ผู้คัดค้านจะสละสิทธิทรัพย์สินใดของลูกหนี้ต้องปรากฏว่าผู้คัดค้านได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ตามมาตรา 145 (3) แล้ว และกรณีที่ลูกหนี้ได้รับการปลดจากล้มละลายตามมาตรา 81/1 เมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ผู้คัดค้านก็ยังคงมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนที่จะได้รับการปลดจากล้มละลายเพื่อนำมาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายต่อไปได้ ดังนั้น เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทรัพย์หลักประกันเป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้มีมาก่อนล้มละลาย และไม่ปรากฏว่ากรรมการเจ้าหนี้มีมติเห็นชอบให้ผู้คัดค้านสละสิทธิในที่ดินดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (3) ผู้คัดค้านจึงยังคงต้องมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมจัดการทรัพย์สินดังกล่าว เมื่อผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเลือกที่จะใช้สิทธิมายื่นคำร้องให้ผู้คัดค้านดำเนินการบังคับบุริมสิทธิของผู้ร้องกับที่ดินดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงต้องรับคำร้องเพื่อดำเนินการสอบสวนสิทธิของผู้ร้อง และยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดต่อไป
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินการ คือ ทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 ซึ่งรวมถึงทรัพย์ทุกประเภทของลูกหนี้ที่มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายตามมาตรา 109 (1) ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้รายใดหรือไม่ ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวของลูกหนี้เข้ากองทรัพย์สินเพื่อจัดการได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา 110 วรรคสาม หรือผู้คัดค้านได้สละสิทธิทรัพย์สินดังกล่าว การที่ผู้คัดค้านจะสละสิทธิทรัพย์สินใดของลูกหนี้ต้องปรากฏว่าผู้คัดค้านได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ตามมาตรา 145 (3) แล้ว และกรณีที่ลูกหนี้ได้รับการปลดจากล้มละลายตามมาตรา 81/1 เมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ผู้คัดค้านก็ยังคงมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนที่จะได้รับการปลดจากล้มละลายเพื่อนำมาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายต่อไปได้ ดังนั้น เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทรัพย์หลักประกันเป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้มีมาก่อนล้มละลาย และไม่ปรากฏว่ากรรมการเจ้าหนี้มีมติเห็นชอบให้ผู้คัดค้านสละสิทธิในที่ดินดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (3) ผู้คัดค้านจึงยังคงต้องมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมจัดการทรัพย์สินดังกล่าว เมื่อผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเลือกที่จะใช้สิทธิมายื่นคำร้องให้ผู้คัดค้านดำเนินการบังคับบุริมสิทธิของผู้ร้องกับที่ดินดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงต้องรับคำร้องเพื่อดำเนินการสอบสวนสิทธิของผู้ร้อง และยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ผู้ร้องมีอำนาจขอเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันตกลงผูกพันต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ดังนั้น การที่ผู้ค้ำประกันจำต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้นั้น ผู้ค้ำประกันย่อมต้องชำระหนี้จากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันเอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันจึงมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สินของผู้ค้ำประกัน จึงมีลักษณะเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งผู้ร้องมีอำนาจขอให้เพิกถอน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9263/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้และการสละสิทธิโดยปริยาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเก็บรวบรวมจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 เพื่อแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีล้มละลายตามวิธีการที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 กำหนด การประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นนั้น พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 32 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่
การเรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น (ครั้งที่ 1) เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านสอบถามความประสงค์ของเจ้าหนี้ในการดำเนินการแก่ที่ดินพิพาทเพื่อให้การดำเนินคดีล้มละลายสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยผู้คัดค้านได้กำหนดหัวข้อประชุมให้เจ้าหนี้แถลงความประสงค์เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองแปลงและระบุเงื่อนไขว่า หากเจ้าหนี้ไม่มาประชุมหรือไม่แถลงตามกำหนดจะถือว่าไม่ประสงค์ดำเนินการแก่ทรัพย์ดังกล่าวและไม่คัดค้านการที่ผู้คัดค้านจะรายงานขอให้ศาลมีคำสั่งปิดคดี เมื่อถึงกำหนดวันนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น (ครั้งที่ 1) ไม่มีเจ้าหนี้รายใดมาร่วมประชุมจึงถือว่าเจ้าหนี้ได้สละสิทธิที่จะดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทโดยปริยาย ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่สามารถดำเนินการใด ๆ กับที่ดินพิพาทตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้อีกต่อไป
การเรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น (ครั้งที่ 1) เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านสอบถามความประสงค์ของเจ้าหนี้ในการดำเนินการแก่ที่ดินพิพาทเพื่อให้การดำเนินคดีล้มละลายสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยผู้คัดค้านได้กำหนดหัวข้อประชุมให้เจ้าหนี้แถลงความประสงค์เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองแปลงและระบุเงื่อนไขว่า หากเจ้าหนี้ไม่มาประชุมหรือไม่แถลงตามกำหนดจะถือว่าไม่ประสงค์ดำเนินการแก่ทรัพย์ดังกล่าวและไม่คัดค้านการที่ผู้คัดค้านจะรายงานขอให้ศาลมีคำสั่งปิดคดี เมื่อถึงกำหนดวันนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น (ครั้งที่ 1) ไม่มีเจ้าหนี้รายใดมาร่วมประชุมจึงถือว่าเจ้าหนี้ได้สละสิทธิที่จะดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทโดยปริยาย ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่สามารถดำเนินการใด ๆ กับที่ดินพิพาทตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9226/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดทรัพย์สินมรดกในคดีล้มละลาย ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 163(2)
การไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 42 เป็นกระบวนพิจารณาหนึ่งเพื่อให้ทราบถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจนความประพฤติของลูกหนี้ว่าได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใด ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หรือตามกฎหมายอื่นเกี่ยวกับการล้มละลาย จำเลยจึงต้องให้การตามความเป็นจริง เมื่อจำเลยทราบดีว่าตนเองเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกและศาลแพ่งยังมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับทายาทอื่นอีกด้วย จำเลยมีหน้าที่ต้องแจ้งแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตั้งแต่ชั้นชี้แจงกิจการและทรัพย์สินถึงสิทธิของจำเลยในทรัพย์มรดกแม้จะยังไม่มีการแบ่งหรือการจัดการและแม้จำเลยจะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับทายาทอื่นเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์มรดกรวม 2 ฉบับ ก็ตาม จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่า จำเลยไม่น่าจะได้รับทรัพย์มรดกเนื่องจากเมื่อคำนวณทรัพย์มรดกและหนี้ของกองมรดกแล้ว จำเลยคิดว่าไม่มีทรัพย์มรดกเหลือ จึงไม่แจ้งเรื่องดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดังนั้น การที่จำเลยเบิกความในการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยต่อศาลโดยไม่แจ้งว่าจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์มรดกดังกล่าว ทั้งที่มีหน้าที่ต้องตอบคำถามของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินที่จำเลยมีอยู่ และมีสิทธิที่จะได้รับมาทั้งหมดโดยละเอียด จึงเป็นการละเว้นไม่แจ้งข้อความอันเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเองต่อศาล จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 163 (2) ประกอบมาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8304/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดจำนองในคดีล้มละลาย: การจำนองก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการจำนองหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ
แม้การปลดจากการล้มละลายมีผลทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากการล้มละลายและมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของตนได้ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 มีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของตนที่ได้มานับตั้งแต่วันที่ได้รับการปลดจากการล้มละลายเท่านั้น ที่ดินตราจองตามคำร้อง จำเลยที่ 2 ได้มาตั้งแต่ปี 2526 ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาด ซึ่งถือว่าเป็นเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายและขณะศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยที่ 2 ยังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวอยู่ ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 (1) ผู้ร้องจึงมีอำนาจจัดการที่ดินดังกล่าวของจำเลยที่ 2 เพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ประกอบกับจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกปลดจากการล้มละลายยังมีหน้าที่ช่วยในการจำหน่ายและแบ่งทรัพย์สินของตนซึ่งตกอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องการ ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องหลังจากจำเลยที่ 2 ได้รับการปลดจากการล้มละลายแล้วก็ตาม เมื่อทรัพย์สินดังกล่าวตกอยู่ในอำนาจของผู้ร้องในขณะเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายได้
สำหรับการจดทะเบียนจำนองเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2549 นั้น เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2549 จำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านไปชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินตามคำร้องต่อธนาคาร ก. และในวันเดียวกันจำเลยที่ 2 นำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านอันอยู่ในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองกับผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ก็เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำนองต่อผู้คัดค้านมาชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวอยู่ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับเงินจากผู้คัดค้านแล้ว จำเลยที่ 2 ก็นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร ก. แล้วนำที่ดินที่ไถ่ถอนจำนองนั้นมาจดทะเบียนจำนองต่อผู้คัดค้านในทันที กรณีจึงเป็นเพียงการเปลี่ยนสถาบันการเงินผู้รับจำนอง เช่นนี้ การจดทะเบียนจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2549 จึงเป็นเพียงสัญญาจำนองที่สืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเท่านั้น ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 จึงไม่อาจเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองได้ ส่วนที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและจำนองที่ดินตามคำร้องแก่ผู้คัดค้าน เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 วันที่ 16 พฤษภาคม 2551 วันที่ 2 มิถุนายน 2552 และวันที่ 16 ธันวาคม 2552 นั้น เป็นการกระทำภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ซึ่งเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ห้ามมิให้จำเลยที่ 2 กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 ดังนั้น การจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและจำนองที่ดินที่จำเลยที่ 2 กระทำขึ้นในวันดังกล่าวเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
สำหรับการจดทะเบียนจำนองเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2549 นั้น เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2549 จำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านไปชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินตามคำร้องต่อธนาคาร ก. และในวันเดียวกันจำเลยที่ 2 นำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านอันอยู่ในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองกับผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ก็เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำนองต่อผู้คัดค้านมาชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวอยู่ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับเงินจากผู้คัดค้านแล้ว จำเลยที่ 2 ก็นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร ก. แล้วนำที่ดินที่ไถ่ถอนจำนองนั้นมาจดทะเบียนจำนองต่อผู้คัดค้านในทันที กรณีจึงเป็นเพียงการเปลี่ยนสถาบันการเงินผู้รับจำนอง เช่นนี้ การจดทะเบียนจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2549 จึงเป็นเพียงสัญญาจำนองที่สืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเท่านั้น ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 จึงไม่อาจเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองได้ ส่วนที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและจำนองที่ดินตามคำร้องแก่ผู้คัดค้าน เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 วันที่ 16 พฤษภาคม 2551 วันที่ 2 มิถุนายน 2552 และวันที่ 16 ธันวาคม 2552 นั้น เป็นการกระทำภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ซึ่งเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ห้ามมิให้จำเลยที่ 2 กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 ดังนั้น การจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและจำนองที่ดินที่จำเลยที่ 2 กระทำขึ้นในวันดังกล่าวเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าปรับนายประกันในคดีอาญา ยื่นคำขอรับชำระหนี้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเกินกำหนดเวลา ย่อมไม่อาจรับชำระได้
มูลหนี้ที่จะนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นหนี้เงินที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม ทั้งเจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 ประกอบมาตรา 94 สำหรับมูลหนี้ในคดีนี้คือมูลหนี้ตามสัญญาประกันที่ลูกหนี้ที่ 2 ได้ทำสัญญาประกันต่อศาลในการขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในคดีอาญาของศาลแขวงธนบุรี ในวงเงินประกัน 330,000 บาท โดยมีที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักประกัน ต่อมาปรากฏว่าเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2549 ลูกหนี้ที่ 2 ไม่ส่งตัวจำเลยมาศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาตามกำหนดนัดซึ่งถือว่าลูกหนี้ที่ 2 ผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลแขวงธนบุรีมีคำสั่งปรับเงินลูกหนี้ที่ 2 เต็มตามสัญญาประกัน มูลแห่งหนี้เงินจึงเกิดขึ้นในวันดังกล่าวภายหลังจากวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาดแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 และมิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดีในคดีที่เข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ที่เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้นับจากวันคดีถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 ประกอบมาตรา 93 ดังนี้ เมื่อเจ้าหนี้นำมูลหนี้ค่าปรับนายประกันในคดีอาญาของศาลแขวงธนบุรีมายื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ทั้งหนี้เงินดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด ย่อมต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 ประกอบมาตรา 94
แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2558 ก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในส่วนการบังคับหลักประกันที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119
แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2558 ก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในส่วนการบังคับหลักประกันที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6108/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลายขัดกับมาตรา 146 พ.ร.บ.ล้มละลาย ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริิต
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขายทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายไม่ตรงตามประกาศขายทอดตลาด จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิริบมัดจำ ขอให้ศาลมีคำสั่งคืนเงินมัดจำแก่โจทก์นั้น แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องที่ศาลล้มละลายกลางอันเป็นศาลที่มีเขตอำนาจแล้วก็ตาม แต่ประเด็นที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายของลูกหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินและไม่คืนเงินมัดจำแก่โจทก์ตามที่โจทก์มีหนังสือแจ้งไปนั้น หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งหรือการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าว กฎหมายกำหนดให้บุคคลล้มละลาย เจ้าหนี้หรือบุคคลใดที่ได้รับความเสียหายโดยกระทำหรือวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 อันเป็นบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในการคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลในคดีล้มละลายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งหรือดำเนินการภายในกำหนดเวลา 14 วัน การที่โจทก์ดำเนินคดีนี้โดยทำเป็นคำฟ้องนั้นถือได้ว่าเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติภายในระยะเวลาตามมาตรา 146 ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ