พบผลลัพธ์ทั้งหมด 185 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12386/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการทางกฎหมายโดยผู้มิได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ทำให้คำฟ้องอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากคำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งของลูกหนี้ที่ 1 มี ป. ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ โดยไม่ปรากฏว่า ป. เป็นทนายความของลูกหนี้ที่ 1 หรือเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจจากลูกหนี้ที่ 1 ให้มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาแทนในศาล ทั้งไม่ปรากฏว่าในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายนี้ ลูกหนี้ที่ 1 ได้อ้างส่งหนังสือมอบอำนาจที่มีระบุให้ ป. มีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทนลูกหนี้ที่ 1 และหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วน ที่อยู่ในฐานะคู่ความซึ่งมีอำนาจยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลได้แล้ว ป. ยังลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ซึ่งตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้องหรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น" และการฝ่าฝืนมาตรา 33 นี้ มีโทษทางอาญาตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่า ป. เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความหรือเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 การที่ ป. เรียงคำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งให้ลูกหนี้ที่ 1 จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวด้วย ดังนั้น คำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งของลูกหนี้ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12386/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้ลงนามไม่ใช่ทนายความ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ
นอกจากคำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งของลูกหนี้ที่ 1 มี ป. ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดยไม่ปรากฏว่า ป. เป็นทนายความของลูกหนี้ที่ 1 หรือเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจจากลูกหนี้ที่ 1 ให้มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาแทนในศาล ทั้งไม่ปรากฏว่าในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายนี้ ลูกหนี้ที่ 1 ได้อ้างส่งหนังสือมอบอำนาจที่มีระบุให้ ป. มีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทนลูกหนี้ที่ 1 และหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนที่อยู่ในฐานะคู่ความซึ่งมีอำนาจยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลได้แล้ว ป. ยังลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้องหรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้เว้นแต่จะได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น" และการฝ่าฝืนมาตรา 33 นี้ มีโทษทางอาญาตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่า ป. เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ หรือเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 การที่ ป. เรียงคำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งให้ลูกหนี้ที่ 1 จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวด้วย ดังนั้น คำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งของลูกหนี้ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12384/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดภาระหนี้เฉพาะลูกหนี้ร่วมรายหนึ่ง มิได้ทำให้ลูกหนี้ร่วมรายอื่นหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือ
การที่ลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ชั้นต้นร่วมกับจำเลยในคดีนี้ ชำระหนี้บางส่วนให้แก่เจ้าหนี้และเจ้าหนี้มีหนังสือปลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษารายนั้นแล้วก็ตาม หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงเจตนาของเจ้าหนี้ว่าไม่ประสงค์ที่จะเรียกให้ลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษารายนั้นชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่เจ้าหนี้จนสิ้นเชิง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 เท่านั้น ไม่มีผลทำให้จำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือภายหลังหักชำระหนี้แต่อย่างใดเพราะหนี้ตามคำพิพากษายังมิได้ชำระโดยสิ้นเชิง จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่เหลือแก่เจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12379/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์ ต้องบอกกล่าวการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 หากไม่มอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทน
แม้โจทก์จะรับโอนสิทธิเรียกร้องในคดีนี้ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 และโจทก์ไม่จำต้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งก่อนฟ้องคดีล้มละลายก็ตาม แต่ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในการโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ หากบริษัทบริหารสินทรัพย์มอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องเป็นอันชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่ง ป.พ.พ. แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งเมื่อพิจารณาสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแล้วไม่ปรากฏว่า ในการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างธนาคาร ท. กับโจทก์ในคดีนี้ โจทก์ได้มอบหมายให้ธนาคารเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้แต่อย่างใด การโอนสิทธิเรียกร้องจึงต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาแสดงว่าได้มีการบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยทั้งสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12339/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลาย: ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายและการหักล้างหลักฐาน
เมื่อโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการ อายัดเงินที่จำเลยที่ 2 จะได้รับจากการเฉลี่ยทรัพย์ในคดีหมายเลขแดงที่ 299/2546 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการดำเนินการให้ กรณีฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ถูกบังคับคดีตามหมายบังคับคดีของศาลจังหวัดสมุทรปราการ ทางนำสืบของโจทก์จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว เนื่องจากการยึดหมายความรวมถึงการอายัดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12167/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการบังคับคดีในคดีฟื้นฟูกิจการ: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว ลูกหนี้ไม่มีสิทธิขอออกหมายบังคับคดีเอง
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคห้าและวรรคหก บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการทวงหนี้ ขอออกคำบังคับและขอออกหมายบังคับคดีต่อศาล เพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแจ้ง อันเป็นอำนาจและหน้าที่โดยเฉพาะของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องดำเนินการ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้ศาลออกคำบังคับและส่งคำบังคับเพื่อบังคับคดีแก่ผู้ถูกทวงหนี้ไว้แล้วโดยชอบก็ตาม แต่ลูกหนี้ก็ไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีตามมาตรา 90/39 วรรคหก ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12164/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการและผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2543 จำเลยยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. (เจ้าหนี้รายที่ 131) จำนวน 5,067,601,483.97 บาท ผู้ทำแผนของบริษัท พ. โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าว ต่อมาจำเลยขอถอนคำขอรับชำระหนี้บางส่วนคงเหลือหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. จำนวน 1,589,191,974.13 บาท ต่อมาวันที่ 5 และ 30 กันยายน 2544 ผู้บริหารแผนของจำเลยมีหนังสือถึงบริษัท พ. เพื่อขอหักกลบลบหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ของบริษัท พ. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยในหนี้ดังกล่าวยังมีข้อต่อสู้อยู่เนื่องจากบริษัท พ. โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยและยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 จึงไม่อาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้จำเลยได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. ในมูลหนี้ค่าก่อสร้างค้างจ่ายและเงินทดรองจ่ายค้างจ่าย การคืนเงินค้ำประกันและมัดจำต่าง ๆ เงินชดเชยความเสียหายตามสัญญารับจ้างช่วงลงวันที่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นเงินทั้งสิ้น 1,389,191,974.13 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,388,831,921.18 บาท นับแต่วันถัดจากวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จ หนี้ของจำเลยจึงไม่มีข้อต่อสู้แล้ว ดังนั้น เมื่อผู้บริหารแผนของจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 16 มีนาคม 2547 ถึงผู้บริหารแผนของบริษัท พ. เพื่อขอหักกลบลบหนี้อีกครั้ง การแสดงเจตนาดังกล่าวจึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปจนถึงเวลาซึ่งหนี้ทั้งสองฝ่ายจะอาจหักกลบลบกันได้เป็นครั้งแรก ซึ่งคือ วันที่ 5 และ 30 กันยายน 2544 อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำสั่งศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2545 เป็นเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. ทั้งสิทธิเรียกร้องของจำเลยและบริษัท พ. ต่างเกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. (วันที่ 12 มิถุนายน 2543) ผู้บริหารแผนของจำเลยจึงชอบที่จะใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/33 ได้ ดังนั้น มูลหนี้ของบริษัท พ. จึงหมดสิ้นไปตั้งแต่วันที่แจ้งหักกลบลบหนี้ครั้งแรก เมื่อบริษัท พ. ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของจำเลยโดยการหักกลบลบหนี้ไปแล้ว บริษัท พ. จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ดังกล่าวที่จะทำสัญญาซื้อขายในวันที่ 31 ตุลาคม 2548 และโอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ต่อไป การที่จำเลยใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ในการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการให้แก่บริษัท พ. จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12162/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์ล้มละลาย: ศาลลดค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับหนี้คงค้าง เพื่อความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้
เมื่อจำเลยประสงค์จะชำระหนี้ที่เหลือรวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเพื่อถอนการยึดทรัพย์ หากให้จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์สินที่ยึด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 (3) (เดิม) โดยไม่พิจารณายอดหนี้ที่เหลือที่จำเลยต้องรับผิดประกอบด้วย ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการไม่ยุติธรรมแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง เมื่อพิจารณาว่าจำเลยพยายามขวนขวายชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้มาโดยตลอด จนกระทั่งประสงค์ที่จะชำระหนี้ทั้งหมด แสดงว่าจำเลยมีความสุจริตในการดำเนินคดีและมีเหตุอันสมควร อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28 (เดิม) จึงกำหนดค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3.5 ในขอบเขตของยอดหนี้ที่ค้างชำระขณะยึดทรัพย์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10781/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และผลของการไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้ล้มละลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลจังหวัดชุมพร จำเลยทั้งสี่เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษาที่ให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เดิม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ถึงแม้ภายหลังศาลมีคำพิพากษา จำเลยที่ 4 ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าทนายความทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยปราศจากอำนาจ และฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นมูลหนี้เดิมของคดีแพ่งดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสี่ยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาของศาลจนกว่าคำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย จำเลยทั้งสี่จึงเป็นหนี้โจทก์ซึ่งรับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากเจ้าหนี้เดิม
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่าจำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเลยทั้งสี่มีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่าจำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเลยทั้งสี่มีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10780/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มหลังชำระหนี้บางส่วน: ต้องคำนวณแยกแต่ละช่วงเวลาที่ชำระ
ภายหลังห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ. โดยลูกหนี้ที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนภาษีกันยายน 2540 และได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มบางส่วน คงเหลือภาษีค้าง 26,000 บาท การคำนวณเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89/1 ประกอบมาตรา 27 นั้นให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีหรือยื่นแบบนำส่งภาษีจนถึงวันชำระภาษีหรือนำส่งภาษี แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง ดังนั้น เมื่อต่อมา ห้างฯ ชำระหนี้ภาษีแก่เจ้าหนี้และหักกลบลบหนี้ รวม 4 ครั้ง เงินที่ชำระแต่ละครั้งต้องนำไปหักกับภาษีมูลค่าเพิ่มค้าง ส่วนการคำนวณเงินเพิ่ม ต้องคิดจากยอดหนี้ภาษีค้างแต่ละช่วงที่เหลืออยู่ภายหลังหักชำระหนี้แต่ละครั้งแล้ว มิใช่นำเงินทั้งสี่จำนวนมารวมกันแล้วนำไปหักออกจากยอดภาษีค้างแล้วจึงคิดเงินเพิ่มเพียงครั้งเดียว ดังเช่นที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเพราะเป็นการชำระหนี้คนละคราวต่างช่วงเวลากัน และลูกหนี้ที่ 1 ต้องรับผิดในส่วนของเงินเพิ่มไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง