คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนำหุ้นจากสัญญาเงินกู้ การคิดอัตราแลกเปลี่ยน และการโต้แย้งการขายทอดตลาด
การกู้เงินรายนี้มีผู้ให้กู้หลายบริษัท ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ส่วนผู้กู้มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นการที่คู่สัญญาตกลงกันให้นำคดีเกี่ยวกับสัญญาฉบับนี้ ซึ่งเป็นสัญญาทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงทำได้ตามหลักกฎหมายทั่วไประหว่างประเทศ แต่ข้อตกลงเลือกศาลตามสัญญาฉบับนี้คู่สัญญาไม่ได้ตกลงให้ฟ้องร้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์เพียงศาลเดียวเด็ดขาด เพราะได้เปิดโอกาสให้ผู้ให้กู้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้กู้ในศาลอื่นที่มีเขตอำนาจได้ด้วย การที่โจทก์ทั้งสามยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในประเทศไทยจึงมีอำนาจทำได้ตามสัญญาและเนื่องจากตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 5 วรรคสองบัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร กับมาตรา 7(5) และ (6) บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศ หรือการให้บริการระหว่างประเทศ เมื่อจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและคดีพิพาทเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินระหว่างประเทศโจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้
กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ที่เกี่ยวกับคดีนี้มีอยู่อย่างไร เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่ศาลไทยต้องใช้กฎหมายดังกล่าวนำพยานผู้เชี่ยวชาญกฎหมายของประเทศนั้นมาสืบประกอบตัวบทกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีให้เป็นที่พอใจศาล เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมิได้พิสูจน์กฎหมายนั้นให้เป็นที่พอใจศาล ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยมาบังคับแก่คดีตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลไทยฟ้องคดีกู้ยืมระหว่างประเทศ, การใช้กฎหมายต่างประเทศ, และการคิดอัตราแลกเปลี่ยน
การกู้เงินพิพาทมีผู้ให้กู้ร่วมกันหลายบริษัทซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ส่วนผู้กู้มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย การที่คู่สัญญาตกลงกันให้นำคดีเกี่ยวกับสัญญาทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงทำได้ตามหลักกฎหมายทั่วไประหว่างประเทศแต่ข้อตกลงเลือกศาลดังกล่าว คู่สัญญาไม่ได้ตกลงให้ฟ้องร้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์เพียงศาลเดียวเด็ดขาดเพราะได้เปิดโอกาสให้ผู้ให้กู้ฟ้องผู้กู้ในศาลอื่นที่มีเขตอำนาจได้ด้วย การที่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้ให้กู้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้กู้ต่อศาลในประเทศไทยจึงมีอำนาจทำได้ตามสัญญา
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร กับมาตรา 7(5) และ (6) บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศ หรือการให้บริการระหว่างประเทศ เมื่อจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและคดีพิพาทเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินระหว่างประเทศ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้
กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มีอยู่อย่างไรเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่ศาลไทยต้องใช้กฎหมายดังกล่าวนำพยานผู้เชี่ยวชาญกฎหมายของประเทศนั้นมาสืบประกอบตัวบทกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีให้เป็นที่พอใจศาล เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมิได้พิสูจน์กฎหมายนั้น ให้เป็นที่พอใจแก่ศาล ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยมาบังคับแก่คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลต่างประเทศ ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน
อำนาจของผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นคนสัญชาติอังกฤษและเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแห่งประเทศอังกฤษจะเป็นไปตามกฎหมายของประเทศใดย่อมเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติถึงเรื่องอำนาจของผู้จัดการมรดกว่าต้องใช้กฎหมายใดบังคับ กรณีจึงต้องใช้กฎเกณฑ์ทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับ ซึ่งตามกฎเกณฑ์ทั่วไปนั้น กฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับอาจเป็นกฎหมายสัญชาติหรือกฎหมายภูมิลำเนา เมื่อโจทก์มีสัญชาติอังกฤษและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอังกฤษ ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้หลักกฎหมายสัญชาติหรือกฎหมายภูมิลำเนา กฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีย่อมได้แก่กฎหมายแห่งประเทศอังกฤษแต่การที่ต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับแก่กรณีเช่นนี้เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบให้เห็นว่ากฎหมายต่างประเทศนั้นบัญญัติไว้อย่างไร เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นเป็นที่ชัดแจ้งว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษบัญญัติไว้เช่นนั้นจริง กรณีนี้จึงต้องใช้กฎหมายภายในประเทศไทยบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1715 บัญญัติถึงเรื่องการที่บุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ถ้าผู้จัดการมรดกบางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียวผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการมรดกได้โดยลำพัง แต่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลร่วมกับจ. จึงไม่อาจนำมาตรา 1715 มาใช้บังคับได้เมื่อ จ. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์เพียงคนเดียวจะฟ้องคดีนี้ต่อไปตามลำพังโดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสชาวต่างชาติ: การบังคับใช้กฎหมายภายในเมื่อไม่สามารถพิสูจน์กฎหมายต่างประเทศ
การที่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลสัญชาติญวนร้องขอต่อศาลให้สั่งนายอำเภอในฐานะนายทะเบียนครอบครัวจดทะเบียนสมรสให้แก่ผู้ร้องทั้งสองนั้นแม้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพุทธศักราช2481มาตรา10และมาตรา19จะบัญญัติว่าความสามารถของบุคคลและเงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้นๆก็ตามแต่ตามมาตรา8แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวผู้ร้องก็หาได้มีหน้าที่พิสูจน์ถึงความสามารถและเงื่อนไขดังกล่าวแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่และเมื่อไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่าตามกฎหมายสัญชาติของผู้ร้องในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไรจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองมีเงื่อนไขที่จะทำการสมรสได้ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วนายอำเภอก็ไม่ชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนสมรสให้ผู้ร้องทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสข้ามสัญชาติ: หน้าที่การพิสูจน์ความสามารถและเงื่อนไขการสมรส
การที่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลสัญชาติญวนร้องขอต่อศาลให้สั่งนายอำเภอในฐานะนายทะเบียนครอบครัวจดทะเบียนสมรสให้แก่ผู้ร้องทั้งสองนั้นแม้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 มาตรา 10 และมาตรา 19 จะบัญญัติว่าความสามารถของบุคคลและเงื่อนไขแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น ๆ ก็ตาม แต่ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวผู้ร้องก็หาได้มีหน้าที่พิสูจน์ถึงความสามารถและเงื่อนไขดังกล่าวแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่และเมื่อไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่าตามกฎหมายสัญชาติของผู้ร้องในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไร จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองมีเงื่อนไขที่จะทำการสมรสได้ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว นายอำเภอก็ไม่ชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนสมรสให้ผู้ร้องทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3223/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การคำนวณค่าชดเชยต้องรวมเบี้ยเลี้ยงชีพ, การบังคับใช้กฎหมายสัญชาติคู่กรณี, และขอบเขตคำขอในฟ้อง
บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยย่อมจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไทย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายมหาชนหรือกฎหมายเอกชนโดยเฉพาะในทางอาญา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 บัญญัติว่าผู้ใดกระทำผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย ส่วนในทางแพ่งข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในบางกรณีหากมีปัญหาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ก็ต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ
ปัญหาแรงงานส่วนใหญ่ต้องบังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 โดยเฉพาะพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมวด 10มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน หากมีการกระทำผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ ภายในราชอาณาจักรก็ต้องฟ้องร้องต่อศาลไทยและบังคับตามกฎหมายไทยไม่มีเหตุผลใดที่จะแยกฟ้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศไทยเฉพาะในทางอาญาแต่ปัญหาแรงงานแท้ ๆ ให้ฟ้องร้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศอื่น ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานในประเทศไทย แม้จะมีการตกลงจ้างกันในประเทศอื่น ก็ต้องฟ้องร้องและบังคับคดีตามกฎหมายไทยโดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่กรณีเจตนาให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อมามีการผิดสัญญาในประเทศไทย โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินเดือนค่าเบี้ยเลี้ยง เงินโบนัส ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางค่าใช้พาหนะของโจทก์ ค่าซ่อมรถ ค่าภาษีและค่าปรับภาษีจากจำเลย กรณีต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ฯ มาตรา 13 คือต้องถือตามเจตนาของคู่กรณี แต่เมื่อไม่อาจทราบได้ว่าขณะทำสัญญาคู่กรณีประสงค์จะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับและปรากฏว่าคู่กรณีมีสัญชาติอเมริกันทั้งสองฝ่าย กฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณีตามฟ้องจึงต้องเป็นกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันของคู่กรณีคือกฎหมายของสหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่ากฎหมายของสหรัฐอเมริกาในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไร กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 8 คือให้ใช้กฎหมายของประเทศไทย
อุทธรณ์ว่าที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามคำพยานโจทก์นั้นเป็นการรับฟังขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนเพราะเป็นการฟังพยานบอกเล่า โจทก์สืบไม่ได้ตามที่ตนมีหน้าที่นำสืบจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลย ดังนี้ เป็นอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 55
เบี้ยเลี้ยงชีพที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างมีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแม้โจทก์นำสืบฟังได้ว่าจำเลยบอกเลิกจ้างและเลิกจ้างในวันเดียวกันก็ยังไม่พออนุมานได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จึงเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3223/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชย คำนวณจากเบี้ยเลี้ยงชีพ-เงินเดือน, การบังคับตามกฎหมายสัญญาต่างประเทศ, สินจ้างบอกกล่าวเกินคำขอ
บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยย่อมจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไทย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายมหาชนหรือกฎหมายเอกชนโดยเฉพาะในทางอาญา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 บัญญัติว่าผู้ใดกระทำผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย ส่วนในทางแพ่งข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในบางกรณีหากมีปัญหาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ก็ต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ
ปัญหาแรงงานส่วนใหญ่ต้องบังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 โดยเฉพาะพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมวด 10 มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน หากมีการกระทำผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ ภายในราชอาณาจักรก็ต้องฟ้องร้องต่อศาลไทยและบังคับตามกฎหมายไทยไม่มีเหตุผลใดที่จะแยกฟ้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศไทยเฉพาะในทางอาญาแต่ปัญหาแรงงานแท้ ๆ ให้ฟ้องร้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศอื่น ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานในประเทศไทย แม้จะมีการตกลงจ้างกันในประเทศอื่น ก็ต้องฟ้องร้องและบังคับคดีตามกฎหมายไทยโดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่กรณีเจตนาให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อมามีการผิดสัญญาในประเทศไทย โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินเดือนค่าเบี้ยเลี้ยง เงินโบนัส ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางค่าใช้พาหนะของโจทก์ ค่าซ่อมรถ ค่าภาษีและค่าปรับภาษีจากจำเลย กรณีต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ฯ มาตรา 13 คือต้องถือตามเจตนาของคู่กรณี แต่เมื่อไม่อาจทราบได้ว่าขณะทำสัญญาคู่กรณีประสงค์จะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับและปรากฏว่าคู่กรณีมีสัญชาติอเมริกันทั้งสองฝ่าย กฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณีตามฟ้องจึงต้องเป็นกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันของคู่กรณีคือกฎหมายของสหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่ากฎหมายของสหรัฐอเมริกาในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไร กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 8 คือให้ใช้กฎหมายของประเทศไทย
อุทธรณ์ว่าที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามคำพยานโจทก์นั้นเป็นการรับฟังขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนเพราะเป็นการฟังพยานบอกเล่า โจทก์สืบไม่ได้ตามที่ตนมีหน้าที่นำสืบจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลย ดังนี้ เป็นอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 55
เบี้ยเลี้ยงชีพที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างมีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแม้โจทก์นำสืบฟังได้ว่าจำเลยบอกเลิกจ้างและเลิกจ้างในวันเดียวกันก็ยังไม่พออนุมานได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จึงเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขัดขวางการออกโฉนดที่ดิน: ที่ดินหวงห้าม, อำนาจกองทัพบก, ผู้กระทำการแทน, ไม่มีอำนาจฟ้องโดยตรง
ที่พิพาทอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้ายเซ่าอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2479ซึ่งมาตรา 3 บัญญัติให้เป็นอำนาจของผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรีที่จะหวงห้ามที่ดินได้ เมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 และต่อมาพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 4 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินฯเสียแล้ว พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไปด้วย ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรี โดยลำพังจึงหมดอำนาจหวงห้ามที่ดิน แต่ที่พิพาทก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นรัฐมนนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามมาตรา 8 ประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหมาดไทยได้มอบหมายให้กองทัพบกมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินตามกฎหมายไว้ในพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านเซ่าฯ พ.ศ. 2479 อำนาจดูแลรักษาที่ดินซึ่งอยู่ในเขตตามพระราชกฤษฎีกานี้จึงตกเป็นของกองทัพบกการที่โจทก์ขอออกโฉนดที่พิพาทและจำเลยคัดค้าน โดยกองทัพบกมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้กระทำการแทน จำเลยจึงอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติการแทนของกองทัพบพซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เพื่อห้ามจำเลยขัดขวางการออกโฉนดที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินหวงห้าม: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการแทนกองทัพบก
ที่พิพาทอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านเช่า อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2479 ซึ่งมาตรา 3 บัญญัติให้เป็นอำนาจของผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรีที่จะหวงห้ามที่ดินได้ เมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 และต่อมาพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 4 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินเสียแล้ว พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไปด้วย ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรีโดยลำพังจึงหมดอำนาจหวงห้ามที่ดิน แต่ที่พิพาทก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามมาตรา 8 ประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กองทัพบกมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอบ้านเช่าฯ พ.ศ. 2479 อำนาจดูแลรักษาที่ดินซึ่งอยู่ในเขตตามพระราชกฤษฎีกานี้จึงตกเป็นของกองทัพบก การที่โจทก์ขอออกโฉนดที่พิพาทและจำเลยคัดค้าน โดยกองทัพบกมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้กระทำการแทน จำเลยจึงอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติการแทนของกองทัพบกซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เพื่อห้ามจำเลยขัดขวางการออกโฉนดที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกต่างชาติในไทย: อายุความ และสิทธิทายาท
คนในบังคับเดนมาร์คแต่งงานกับหญิงไทย. ตามกฎหมายไทยย่อมเป็นสามีภริยากันโดยถูกต้อง. มรดกซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นไปตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดก. ผู้จัดการมรดกมีฐานะเป็นตัวแทนทายาททุกคน. จึงยกอายุความเสียสิทธิมาใช้ยันแก่ทายาทมิได้. ทายาทเข้าครอบครองมรดกภายใน 1 ปีแต่วันเจ้ามรดกตาย.และสงวนไว้เป็นของกลางร่วมกันโดยยังไม่ได้แบ่งปันกัน.ย่อมฟ้องขอแบ่งเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีได้.