คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีรวิทย์ สายสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3570/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดวงฎีกาตามทุนทรัพย์ - ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยส่วนของโจทก์ที่ 1 และ 3 เนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้รวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์แยกกัน ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้จำนวน 62,650 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 56,000 บาท แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 148,893 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 133,000 บาท แก่โจทก์ที่ 3 ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 จึงไม่เกินคนละ 200,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในส่วนของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลชั้นต้นรับฎีกาจำเลยในส่วนของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15320/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: สิทธิในการฟ้องร้องของลูกหนี้ที่อยู่ภายใต้การพิทักษ์ทรัพย์ และข้อจำกัดในการดำเนินคดี
หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 แล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทของโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากการที่โจทก์ไม่อาจนำที่ดินและบ้านพิพาทออกให้เช่าซึ่งจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 60,000 บาท คิดถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 เดือน เป็นเงิน 60,000 บาท พร้อมทั้งค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 60,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลย ดังนี้คดีโจทก์ในส่วนที่ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยโดยตรงจึงไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) จำเลยย่อมมีอำนาจต่อสู้คดีได้โดยลำพัง สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมานั้นโจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าเป็นค่าเสียหายนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 พร้อมทั้งค่าเสียหายนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่เกิดขึ้นภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โจทก์ไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 27, 91 และ 94 โจทก์ชอบที่จะฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายไม่อาจฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยแทนลูกหนี้หรือเข้าดำเนินคดีนี้แทนลูกหนี้ จำเลยย่อมมีอำนาจต่อสู้คดีได้โดยลำพังทั้งมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ด้วยตนเอง แต่ในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยนั้น เป็นการขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาอันเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สินของจำเลย กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยระหว่างจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งและพิพากษาตามฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15320/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย สิทธิในการดำเนินคดีและข้อจำกัดตามกฎหมายล้มละลาย
หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทของโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากการที่โจทก์ไม่อาจนำที่ดินและบ้านพิพาทออกให้เช่าซึ่งจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 60,000 บาท คิดถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 เดือน เป็นเงิน 60,000 บาท พร้อมทั้งค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 60,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลย ดังนี้ คดีโจทก์ในส่วนที่ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์สินของโจทก์ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยโดยตรง จึงไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) จำเลยย่อมมีอำนาจต่อสู้คดีได้โดยลำพัง สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมานั้นโจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าเป็นค่าเสียหายนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 พร้อมทั้งค่าเสียหายนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่เกิดขึ้นภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โจทก์ไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 27, 91 และ 94 โจทก์ชอบที่จะฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายได้โดยตรง ไม่อาจฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยแทนลูกหนี้หรือเข้าดำเนินคดีนี้แทนลูกหนี้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ด้วยตนเอง แต่ในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยนั้น เป็นการขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาอันเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สินของจำเลย กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยระหว่างจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งและพิพากษาตามฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14779/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอำนาจฟ้องของวัด: หลักฐานการสร้างวัดตามกฎหมาย และฐานะนิติบุคคล
วัดโจทก์เป็นวัดที่สร้างในปี 2478 แต่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วัดโจทก์จึงมีสถานะเป็นวัดประเภท "ที่สำนักสงฆ์" ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 5 ที่บังคับใช้ในขณะนั้น และได้สร้างวัดขึ้นถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ 5 ประการ โดยนายอำเภอและเจ้าคณะแขวงเห็นว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อแล้ว ให้เจ้าคณะแขวงมีอำนาจทำหนังสืออนุญาตให้สร้างที่สำนักสงฆ์ และให้นายอำเภอประทับตรากำกับในหนังสือนั้น และเจ้าของที่ดินนั้นจะต้องจัดการโอนโฉนดเนื้อที่วัดถวายแก่สงฆ์ตามกฎหมายก่อน จึงจะสร้างที่สำนักสงฆ์ได้ ดังนั้น การสร้างที่สำนักสงฆ์ตามกฎหมายดังกล่าวย่อมมีหลักฐานเป็นหนังสือที่สามารถตรวจสอบได้คือ จดหมายของผู้ประสงค์จะสร้างที่สำนักสงฆ์ถึงนายอำเภอ 1 ฉบับ หนังสือของเจ้าคณะแขวงอนุญาตให้สร้างที่สำนักสงฆ์ซึ่งนายอำเภอประทับตรากำกับ 1 ฉบับ และโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าของที่ดินจดทะเบียนโอนให้เป็นที่วัดแล้ว เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารราชการ ควรจะมีการเก็บรักษาหรือบันทึกไว้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะโฉนดที่ดินที่มีผู้อุทิศให้สร้างวัดนั้นย่อมเป็นหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้ง่ายว่ามีการสร้างวัดหรือที่สำนักสงฆ์ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ แต่โจทก์ไม่มีหนังสือเกี่ยวกับการสร้างที่สำนักสงฆ์ตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจากอำเภอ เจ้าคณะแขวงหรือโฉนดที่ดินมาแสดง ดังนั้น โจทก์จึงไม่ใช่วัดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14517/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี เริ่มนับจากวันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ใช่วันคดีถึงที่สุด
การนับระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ต้องนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลสุดท้าย มิใช่นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2543 ให้โจทก์ชนะคดีโดยจำเลยทั้งสองขาดนัด ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ การนับระยะเวลา 10 ปี จึงต้องนับแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2543 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 อันเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 นั้นเกิน 10 ปีแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12840/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาแก้ของศาลอุทธรณ์ไม่ใช่การกลับคำพิพากษา ทำให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 4 มีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก 4 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 2 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนนั้น ศาลอุทธรณ์ยังพิพากษาว่าจำเลยที่ 4 มีความผิดตามฟ้องโจทก์อยู่เพียงแต่ลงโทษแตกต่างไปจากศาลชั้นต้นเท่านั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นการพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่พิพากษากลับ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า เพิ่งเข้ามาเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์... และขอให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 4 นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ทั้งเป็นกรณีที่ไม่อาจรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12840/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษา ไม่ใช่กลับ จึงไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 4 มีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก 4 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 2 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนนั้น ศาลอุทธรณ์ยังพิพากษาว่าจำเลยที่ 4 มีความผิดตามฟ้องโจทก์อยู่เพียงแต่ลงโทษแตกต่างไปจากศาลชั้นต้นเท่านั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นการพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่พิพากษากลับ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรีประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า จำเลยที่ 4 เพิ่งเข้ามาเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่ได้รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ จำเลยที่ 4 เป็นคนเชื้อชาติจีน สัญชาติจีน ไม่ทราบและไม่เข้าใจภาษาไทยย่อมเสียเปรียบโจทก์ ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 ว่าจำเลยที่ 4 ได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ และขอให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 4 นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ทั้งเป็นกรณีที่ไม่อาจรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้
of 5