พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: แม้ข้อตกลงหย่าระบุ 'ทรัพย์สินไม่มี' ก็ไม่ตัดสิทธิการฟ้องขอแบ่งสินสมรสภายหลังได้
ในการตกลงหย่ากันนั้นหากโจทก์ไม่ประสงค์จะแบ่งสินสมรสในข้อตกลงหย่าแล้วโจทก์จำเลยก็ชอบที่จะบันทึกข้อตกลงหย่าว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะแบ่งสินสมรสแทนที่จะบันทึกว่า"เรื่องทรัพย์สินไม่มี"การที่โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบข้อตกลงหย่าว่า"เรื่องทรัพย์สินไม่มี"แต่ต่อมาภายหลังจดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์ทราบว่ามีสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิจะแบ่งได้ตามกฎหมายโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งแม้โจทก์จะตั้งสิทธิเรียกร้องในการขอแบ่งว่านิติกรรมหย่าเป็นโมฆียะและคดีฟังไม่ได้ว่าเป็นโมฆียะก็ตามแต่เรื่องการแบ่งสินสมรสยังไม่มีข้อตกลงใดๆระหว่างโจทก์จำเลยถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะสละสิทธิในสินสมรสศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งสินสมรสให้โจทก์ได้ โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสให้โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นจำนวนเงินตามขอในทันทีการแบ่งทรัพย์สินตามฟ้องหากไม่สามารถตกลงแบ่งกันได้ขอให้ศาลบังคับขายทอดตลาดที่ดินและบ้านตามฟ้องตลอดจนหุ้นที่จำเลยถือในบริษัทต่างๆเพื่อแบ่งกันตามส่วนดังนี้แสดงว่าโจทก์มุ่งประสงค์ขอแบ่งหุ้นที่เป็นสินสมรสกึ่งหนึ่งด้วยมิใช่มีคำขอเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวและแม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่าหุ้นที่เป็นสินสมรสมีมูลค่าเท่าใดในวันที่โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันศาลก็พิพากษาให้จำเลยแบ่งหุ้นให้โจทก์กึ่งหนึ่งได้โดยไม่จำต้องพิพากษายกฟ้องเพราะในการแบ่งสินสมรสศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งสินสมรสให้โจทก์จำเลยได้ส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533ส่วนการที่ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนโอนหุ้นให้โจทก์ครึ่งหุ้นนั้นแม้จะไม่อาจแบ่งแยกหุ้นออกเป็นครึ่งหุ้นได้ก็ตามแต่ในการบังคับตามคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องขอแบ่งสินสมรสซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมอันจะต้องบังคับตามมาตรา1364เว้นแต่ศาลจะพิพากษาเป็นอย่างอื่นเมื่อศาลมิได้พิพากษาเป็นอย่างอื่นหากจะมีข้อขัดข้องดังที่จำเลยอ้างก็เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดีที่จะต้องดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวคำพิพากษาในส่วนนี้จึงไม่เป็นการไม่ชอบและไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งสินสมรสหลังหย่า แม้ตกลง 'เรื่องทรัพย์สินไม่มี' และการบังคับคดีกรรมสิทธิ์รวม
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบข้อตกลงหย่าว่า "เรื่องทรัพย์สินไม่มี" แต่ต่อมาภายหลังจดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์ทราบว่ามีสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิจะแบ่งได้ตามกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่ง แม้โจทก์จะตั้งสิทธิเรียกร้องในการขอแบ่งว่านิติกรรมหย่าเป็นโมฆียะ และคดีฟังไม่ได้ว่า ข้อตกลงหย่าเป็นโมฆียะก็ตาม
ในการแบ่งสินสมรสศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 ที่ศาลล่างพิพากษาให้จดทะเบียนโอนหุ้นให้โจทก์ครึ่งหุ้นนั้น แม้จะไม่อาจแบ่งแยกหุ้นออกเป็นครึ่งหุ้นได้ก็ตาม แต่ในการบังคับตามคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องขอแบ่งสินสมรสซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวม ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 เว้นแต่ศาลจะพิพากษาเป็นอย่างอื่น เมื่อศาลมิได้พิพากษาเป็นอย่างอื่น หากมีข้อขัดข้องในชั้นบังคับคดีก็ต้องดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว
ในการแบ่งสินสมรสศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 ที่ศาลล่างพิพากษาให้จดทะเบียนโอนหุ้นให้โจทก์ครึ่งหุ้นนั้น แม้จะไม่อาจแบ่งแยกหุ้นออกเป็นครึ่งหุ้นได้ก็ตาม แต่ในการบังคับตามคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องขอแบ่งสินสมรสซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวม ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 เว้นแต่ศาลจะพิพากษาเป็นอย่างอื่น เมื่อศาลมิได้พิพากษาเป็นอย่างอื่น หากมีข้อขัดข้องในชั้นบังคับคดีก็ต้องดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมในสินสมรส: ความยินยอมให้ผู้อื่นอยู่อาศัยไม่ขัดสิทธิเจ้าของรวมอื่น
บ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ฉ. จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และ ฉ. ร่วมกันเมื่อ ฉ. อนุญาตให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรที่เกิดจากโจทก์อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทแม้โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่อาศัยต่อไปความยินยอมของ ฉ. ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1360วรรคหนึ่งการที่จำเลยไม่ยอมออกจากบ้านพิพาทจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมในสินสมรสและการยินยอมให้ผู้อื่นอยู่อาศัย
บ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ฉ. จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และ ฉ.ร่วมกัน เมื่อ ฉ.อนุญาตให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรที่เกิดจากโจทก์อาศัยอยู่ในบ้านพิพาท แม้โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่อาศัยต่อไป ความยินยอมของฉ.ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่งการที่จำเลยไม่ยอมออกจากบ้านพิพาทจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังการสิ้นสุดการสมรสด้วยการเสียชีวิต และขอบเขตของสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อ น.ถึงแก่ความตาย การสมรสย่อมสิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 การคิดส่วนทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับจำเลย มีผลตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้อยู่ในข้อบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625สินสมรสของ น.กับจำเลยจึงแยกออกจากกันทันทีในวันที่น.ตาย สินสมรสครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ น. ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1533 ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังจากแยกสินสมรสแล้วว่ายอมนำทรัพย์มรดกของ น. ชำระให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำทรัพย์ส่วนของจำเลยมาชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังการสิ้นสุดการสมรสด้วยการเสียชีวิต และผลของการประนีประนอมยอมความ
เมื่อ น.ถึงแก่ความตาย การสมรสย่อมสิ้นสุดลง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501 การคิดส่วนทรัพน์สินระหว่างผู้ตายกับจำเลย มีผลตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้อยู่ในข้อบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625สินสมรสของ น.กับจำเลยจึงแยกออกจากกันทันทีในวันที่ น.ตาย สินสมรสครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ น. ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังจากแยกสินสมรสแล้วว่ายอมนำทรัพย์มรดกของ น.ชำระให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำทรัพย์ส่วนของจำเลยมาชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรส: เงินสดและที่ดิน โดยสิทธิในสินสมรสเป็นของโจทก์กึ่งหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ.ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1และที่ 2 ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 และ 224
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การแบ่งทรัพย์สิน, ผู้จัดการมรดก, การทำละเมิด, และการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ. ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน 3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีโดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 และ 224 โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้างศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่าตามหลักกฎหมายอิสลาม: ข้อตกลงการแบ่งและสถานะสินสมรส
โจทก์ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ประเด็นหย่าและสินสมรสบางรายการยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คงมีประเด็นชั้นฎีกาเพียงว่ามีข้อตกลงแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยอย่างไร บ้านและรถยนต์กระบะเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคดีที่พิพาทกันเรื่องสิทธิในครอบครัว แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 57,500 บาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินที่ซื้อก่อนสมรสและจดทะเบียนเป็นเจ้าของร่วมกันหลังสมรส
จำเลยฟ้องแย้งให้แบ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์แบ่งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินด้วยเป็นการนอกเหนือคำฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทด้วยเงินของโจทก์ก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลย หลังจากจดทะเบียนสมรสกันแล้วได้มีการจดทะเบียนลงชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกับโจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่โจทก์มีเจตนาให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่ากัน ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นสินสมรสต้องแบ่งกันระหว่างโจทก์และจำเลยคนละส่วน ดังนั้นจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหนึ่งในสี่ส่วน