คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1533

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าและการแบ่งสินสมรส: ศาลไม่ต้องพิจารณาเรื่องสินสมรสหากไม่มีเหตุหย่า
โจทก์ฟ้องขอหย่ากับขอให้จ่ายค่าเลี้ยงชีพและแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516, 1526และ 1533 หาใช่เป็นการร้องขอให้ลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมกันในโฉนดที่ดินทั้ง 4 ฉบับซึ่งเป็นสินสมรสโดยอาศัยอำนาจดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1475 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าไม่มีเหตุที่จะพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้ว จึงไม่จำต้องพิจารณาเรื่องค่าเลี้ยงชีพและทรัพย์สินตามฟ้องว่าเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งกันหรือไม่ ทั้งไม่มีเหตุที่จะลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินทั้ง 4 ฉบับที่โจทก์อ้างว่าเป็นสินสมรสด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมาย สิทธิในมรดก และการแบ่งสินสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พฤติการณ์ที่ผู้ตายพาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆเหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรโดยให้โจทก์ใช้นามสกุลของผู้ตายและเป็นผู้อุปถัมภ์ค่าเล่าเรียน เครื่องแต่งตัว เครื่องเล่าเรียน ถือได้ว่าผู้ตายได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 แล้ว ผู้ตายกับ ฉ. สมรสกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตามพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4และมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของผู้ตายกับ ฉ. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายสินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนเป็นของผู้ตายสองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ฉ. แม้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527 วินิจฉัยถึงสิทธิของ ฉ.ซึ่งฟ้องขอเพิกถอนการโอนที่ดินแปลงอื่นและเรียกที่ดินคืนจากจำเลยในคดีดังกล่าวว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งแต่ไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ที่จะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทไม่อาจจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมาย, สิทธิในทรัพย์มรดก, และอายุความในการฟ้องแบ่งมรดก
พฤติการณ์ที่ พ. พาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆ เหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรของตนเช่นนี้ถือได้ว่า พ. ได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5ฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และ มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้บรรพ 5 แห่งป.พ.พ. พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของ พ. กับนาง ฉ. ซึ่งสมรสกันก่อนวันใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิมจึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งให้คนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ ไม่ปรากฏว่า พ.กับนางฉ. มีสินเดิมจึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ พ.ถึงแก่กรรม สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนโดยเป็นของ พ. สองส่วนอีกส่วนหนึ่งเป็นของ นาง ฉ. โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. จำเลยตกอยู่ ในฐานะผู้ครอบครองมรดกแทนทายาททั้งหลายดังนี้จำเลยไม่อาจจะยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสหลังหย่า: ทรัพย์สินยังเป็นของร่วมกันจนกว่าจะแบ่ง
ฎีกาของผู้ร้องทั้งสองโต้แย้งเพียงว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียว ผู้ร้องที่ 2 มิได้โต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 2 ด้วย ข้อโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องที่ 2จึงยุติเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เพราะในชั้นอุทธรณ์ผู้ร้องที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 2 ดังนั้น ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียว ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1เมื่อผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันโดยยังไม่มีการแบ่งสินสมรส ทรัพย์พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน หาใช่ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ 1แต่ผู้เดียวไม่ ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสและการแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บ้านที่สร้างระหว่างสมรสเป็นสินสมรสต้องแบ่งเท่ากัน
ผู้ร้องที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 เมื่อ 4 ธันวาคม 2504บ้านพิพาทปลูกในระหว่าง พ.ศ. 2517 ถึง 2524 หลังจากที่ผู้ร้องที่ 1ซื้อที่ดินแปลงที่ปลูกบ้านมาเมื่อ พ.ศ. 2517 แล้ว จึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสกันได้มาระหว่างสมรสอันเป็นสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474(1) เมื่อผู้ร้องที่ 1และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากัน ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติให้แบ่งสินสมรสให้ชาย และหญิงได้ส่วนเท่ากัน เมื่อยังไม่มีการแบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสนั้นจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของร่วมกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยเจตนาลวงเป็นโมฆะ ผู้มีสิทธิในที่ดินสามารถเรียกคืนได้
เดิม จ. เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จ. ตาย ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ จ. ครึ่งหนึ่งและตกเป็นของ ส. สามี จ. ครึ่งหนึ่ง ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. ตามคำสั่งศาลได้โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างจำเลยกับ ส. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งมีสิทธิในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์จากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532, 1533, 1625, 1626และ 1635.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยเจตนาลวงและโมฆะ ผู้มีสิทธิในที่ดินสามารถเรียกคืนได้
เดิม จ. เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จ. ตาย ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ จ. ครึ่งหนึ่งและตกเป็นของ ส.สามีจ.ครึ่งหนึ่งส. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. ตามคำสั่งศาลได้โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างจำเลยกับ ส. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งมีสิทธิในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์จากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532,1533,1625,1626และ 1635.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากเงินค่าชดเชยจากการทำงาน: การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า
จำเลยประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน นายจ้างปลดจำเลยออกจากงาน จำเลยได้รับเงินค่าชดเชยและผลประโยชน์ตามสิทธิที่จำเลยพึงได้ตามกฎหมายซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างโดยเกิดสิทธิขึ้นจากผลของกฎหมายหาใช่เพราะนายจ้างจ่ายให้จำเลยโดยเสน่หาไม่ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสของโจทก์ได้เงินดังกล่าวมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1474(1) อันโจทก์มีสิทธิขอแบ่งจากจำเลยเมื่อหย่ากัน
จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าชดเชยต่าง ๆ มาแล้วต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายและอื่น ๆ คงมีอยู่เท่าที่เหลือฝากธนาคารไว้ 100,000 บาท เท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยรับเงินค่าชดเชยและอื่น ๆ ตามฟ้องเมื่อชดใช้หนี้และใช้อย่างอื่นแล้วยังเหลืออยู่ 242,150.87 บาท ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากค่าชดเชยการทำงาน: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ตรงกับคำขอท้ายฟ้อง
จำเลยประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน นายจ้างปลดจำเลยออกจากงาน จำเลยได้รับเงินค่าชดเชยและผลประโยชน์ตามสิทธิที่จำเลยพึงได้ตามกฎหมายซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างโดยเกิดสิทธิขึ้นจากผลของกฎหมายหาใช่เพราะนายจ้างจ่ายให้จำเลยโดยเสน่หาไม่ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสของโจทก์ได้เงินดังกล่าวมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1474 (1) อันโจทก์มีสิทธิขอแบ่งจากจำเลยเมื่อหย่ากัน
จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าชดเชยต่าง ๆ มาแล้วต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายและอื่น ๆ คงมีอยู่เท่าที่เหลือฝากธนาคารไว้ 100,000 บาท เท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยรับเงินค่าชดเชยและอื่น ๆ ตามฟ้องเมื่อชดใช้หนี้และใช้อย่างอื่นแล้วยังเหลืออยู่ 242,150.87 บาท ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากค่าชดเชยหลังการจ้างงาน: การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า
จำเลยประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน นายจ้างปลดจำเลยออกจากงาน จำเลยได้รับเงินค่าชดเชยและผลประโยชน์ตามสิทธิที่จำเลยพึงได้ตามกฎหมาย ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างโดยเกิดสิทธิขึ้นจากผลของกฎหมาย หาใช่เพราะนายจ้างจ่ายให้จำเลยโดยเสน่หาไม่ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสของโจทก์ได้เงินดังกล่าวมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1474(1) อันโจทก์มีสิทธิขอแบ่งจากจำเลยเมื่อหย่ากัน จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าชดเชยต่าง ๆ มาแล้วต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายและอื่น ๆ คงมีอยู่เท่าที่เหลือฝากธนาคารไว้ 100,000 บาท เท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยรับเงินค่าชดเชยและอื่น ๆตามฟ้องเมื่อชดใช้หนี้และใช้อย่างอื่นแล้วยังเหลืออยู่ 242,150.87บาท ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
of 7