คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1533

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสต้องแบ่งเท่ากัน แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า
คดีฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1533 บัญญัติว่า เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน การที่โจทก์จำเลยยังไม่ได้หย่ากันเพียงแต่เคยแยกกันอยู่ ถือไม่ได้มีแบ่งสินสมรสกันแล้วจึงต้องแบ่งสินสมรสให้โจทก์จำเลยได้ส่วนเท่ากันตามนัย มาตรา 1533 ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสเมื่อยังไม่ได้หย่า การแยกกันอยู่ไม่ได้ถือเป็นการแบ่งสินสมรส
คดีฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1533 บัญญัติว่า เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน การที่โจทก์จำเลยยังไม่ได้หย่ากันเพียงแต่เคยแยกกันอยู่ ถือไม่ได้มีแบ่งสินสมรสกันแล้วจึงต้องแบ่งสินสมรสให้โจทก์จำเลยได้ส่วนเท่ากันตามนัยมาตรา 1533 ดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังแยกกันอยู่ แม้ยังไม่ได้หย่า ถือว่าสินสมรสยังไม่ถูกแบ่ง
การที่โจทก์จำเลยยังไม่ได้หย่ากัน เพียงแต่แยกกันอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการแบ่งสินสมรสกันแล้ว ฉะนั้นเมื่อที่นาและยุ้งข้าวเป็นสินสมรสจึงต้องแบ่งให้โจทก์และจำเลยได้ส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1533 โจทก์ฟ้องขอหย่ากับจำเลยและขอแบ่งสินสมรส เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว แม้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อยก็ตาม ก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3610/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า การวินิจฉัยราคาที่ดินตามฟ้อง และการใช้ดุลพินิจของศาลในการคืนค่าธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันและขอแบ่งสินสมรสหลายรายการ ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความแถลงตกลงกันในการแบ่งทรัพย์สินบางรายการ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดให้แบ่งทรัพย์สินที่ตกลงกันได้นั้นไปตามที่คู่ความตกลงกัน ส่วนรายการที่ตกลงกันไม่ได้ ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไปตามพยานหลักฐานของคู่ความ ดังนี้ ศาลไม่อาจคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์ได้ เพราะกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความที่จะทำให้ศาลมีอำนาจคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่คู่ความที่เกี่ยวข้องได้
การที่จะพิจารณาให้คู่ความใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาล โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินแปลงพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสมีราคา 9 ล้านบาทขอให้จำเลยแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 4.5 ล้านบาท จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธว่าที่ดินแปลงพิพาทไม่ใช่สินสมรส แต่ไม่ได้โต้เถียงในเรื่องราคาที่ดินและจำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้อง จึงต้องฟังตามคำฟ้องของโจทก์ว่าที่ดินแปลงพิพาทมีราคา 9 ล้านบาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3610/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรส: ศาลฎีกาชี้ว่าหากจำเลยไม่โต้เถียงราคาที่ดินตามฟ้องโจทก์ ศาลต้องใช้ราคาตามที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันและขอแบ่งสินสมรสหลายรายการระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความแถลงตกลงกันในการแบ่งทรัพย์สินบางรายการ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดให้แบ่งทรัพย์สินที่ตกลงกันได้นั้นไปตามที่คู่ความตกลงกันส่วนรายการที่ตกลงกันไม่ได้ ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไปตามพยานหลักฐานของคู่ความ ดังนี้ ศาลไม่อาจคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์ได้ เพราะกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความที่จะทำให้ศาลมีอำนาจคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่คู่ความที่เกี่ยวข้องได้
การที่จะพิจารณาให้คู่ความใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาล โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินแปลงพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสมีราคา 9 ล้านบาทขอให้จำเลยแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 4.5 ล้านบาท จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธว่าที่ดินแปลงพิพาทไม่ใช่สินสมรส แต่ไม่ได้โต้เถียงในเรื่องราคาที่ดินและจำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้อง จึงต้องฟังตามคำฟ้องของโจทก์ว่าที่ดินแปลงพิพาทมีราคา 9 ล้านบาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังการเสียชีวิตของสามี โดยภริยาไม่มีสินเดิม และก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ล. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้โจทก์และ ล.แยกกันอยู่แต่ไม่ปรากฏว่าได้หย่าขาดจากกัน ทั้งโจทก์และ ล. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน ดังนั้นเมื่อ ล.ตายสินสมรสต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โจทก์ได้ 1 ส่วนล. ได้ 2 ส่วน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 655/2495)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสเมื่อหย่าต้องแบ่งเท่ากันตามสัดส่วนทรัพย์สินทั้งหมด ไม่ใช่หักกลบลบกัน
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 บัญญัติไว้ คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากัน จะแบ่งโดยวิธีตีราคาสินสมรสทั้งหมด แล้วคิดคำนวณส่วนที่แต่ละฝ่ายจะได้รับแล้วนำมาหักกลบลบกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสเมื่อหย่าต้องแบ่งให้ได้ส่วนเท่ากันตามกฎหมาย ไม่ใช่วิธีหักกลบลบกัน
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 บัญญัติไว้ คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากัน จะแบ่งโดยวิธีตีราคาสินสมรสทั้งหมด แล้วคิดคำนวณส่วนที่แต่ละฝ่ายจะได้รับแล้วนำมาหักกลบลบกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความรับผิดทางละเมิดจากข่มขืนและการกำหนดค่าเลี้ยงดูบุตร
ชายข่มขืนชำเราหญิงอายุ 15 ปี จนมีครรภ์คลอดบุตรศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรของชายตามฟ้องของหญิง ให้ใช้นามสกุลชายให้เด็กอยู่กับหญิงและให้หญิงเป็นผู้ปกครองเด็กให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนอายุ 20 ปี ให้ใช้ค่าเสียหายแก่หญิง
ชายต่อสู้ว่าข้อหาละเมิดขาดอายุความ ศาลยกฟ้องโดยเหตุอื่นหญิงอุทธรณ์ฎีกา ชายมิได้อ้างอายุความในคำแก้อุทธรณ์ฎีกา ถือว่าชายไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
คำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชวิทยาตรวจร่างกายและเลือดของชายหญิงและเด็ก เห็นว่าไม่มีข้อปฏิเสธว่าเด็กไม่ใช่บุตรเกิดจากชายและหญิง มีน้ำหนักดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกเกิดขึ้นเมื่อใด: ทายาทต้องมีสิทธิในขณะเจ้ามรดกตาย
เจ้ามรดกตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันที บุคคลธรรมดาที่จะเป็นทายาทและมีสิทธิรับมรดกของบุคคลใด นอกจากจะต้องมีสภาพหรือสามารถมีสิทธิตาม มาตรา1604 แล้วยังต้องมีสิทธิที่จะรับมรดกในขณะที่เจ้ามรดกตายด้วย บุตรในกรณีที่มีคำพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นมีผลนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ถ้าในขณะที่คำพิพากษาถึงที่สุดนั้น เป็นเวลาภายหลังเจ้ามรดกตายแล้ว และไม่มีมรดกจะรับก็ไม่มีทางจะให้เด็กนั้นได้รับมรดกได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกของบิดาโดยอ้างข้อที่ศาลพิพากษา ว่าเป็นบุตรเท่านั้น ไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าเมื่อก่อนบิดาตาย บิดาได้รับรองโจทก์ว่าเป็นบุตร อันจะทำให้มีสิทธิรับมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 หรือไม่ คงมีประเด็นข้อเถียงว่าคำสั่งของศาลที่แสดงไว้นั้น จะมีผลแก่โจทก์ในทางรับมรดกอย่างไรหรือไม่
of 7