คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1599 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทรับมรดกความในการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีสืบเนื่องมาจากศาลพิพากษาตามยอม โดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิใช้ถนนในส่วนที่เป็นที่ดินของจำเลย และโจทก์ทั้งสองยินยอมชำระค่าใช้ที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลย คดีถึงที่สุด ต่อมาจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธิการบังคับคดีของจำเลยผู้ตายตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว จึงตกทอดไปยังทายาทของผู้ตาย ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นทายาทโดยธรรมของจำเลยและเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยด้วย ย่อมมีสิทธิขอเข้ารับมรดกความแทนจำเลยและดำเนินการบังคับแก่โจทก์ทั้งสองได้ แม้คดีจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม กรณีนี้หาใช่เป็นการเข้าแทนที่คู่ความที่มรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7811/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับให้ทายาทรับผิดตามสัญญาจะซื้อขายที่ผู้ตายทำไว้ และอายุความของฟ้องร้อง
ที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของ อ. ไม่ปรากฏว่า อ. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้ผู้ใด เมื่อ อ. ตายที่ดินพิพาทจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของ อ. ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง จำเลยเป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของ อ. มีสิทธิได้รับมรดกของ อ. ในลำดับแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(1) มีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินทันทีตั้งแต่ อ. ถึงแก่ความตาย และจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของอ. มีหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ อ. ทำไว้ ในอันที่จะต้องจดทะเบียนให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทด้วย การบังคับให้จำเลยจดทะเบียนให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทด้วยเป็นการบังคับในส่วนอันเป็นสิทธิของจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ อ. ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทเท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นในที่ดินพิพาท และไม่ได้เป็นเรื่องที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำได้
การฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6619/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินโดยหนังสือแสดงเจตจำนงก่อนเสียชีวิต ไม่ถือเป็นมรดก
แม้ ร. ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ดินพิพาทครบถ้วนแล้วตั้งแต่ปี2510และ ร.มีสิทธิเรียกร้องในที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่าซื้ออันถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของ ร.ก็ตามแต่ในระหว่างที่ ร.ยังมีชีวิตอยู่ในปี2513 ร.ได้ทำหนังสือแสดงความจำนงตามข้อบังคับของสหกรณ์ ธ.ว่าหาก ร.ต้องพ้นจากสมาชิกภาพของสหกรณ์ ธ.ขอให้สหกรณ์ ธ.โอนบรรดาสิทธิผลประโยชน์และหนี้สินที่ ร.มีอยู่ในสหกรณ์ ธ.ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทต่อมา ร. ทำกินในที่ดินพิพาทไม่ไหวในปี2518สหกรณ์ ธ.ได้รับจำนองเข้าเป็นสมาชิกแทน ร.สิทธิในที่ดินพิพาทจึงโอนมาเป็นของจำเลยตามข้อบังคับของสหกรณ์ดังกล่าวต่อมาปี2522 ร.ถึงแก่ความตายสิทธิในที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่ ร.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตายจึงไม่เป็นมรดกของ ร.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1599วรรคหนึ่งการที่จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในปี2531จึงไม่ใช่การรับโอนมรดกของ ร.ในฐานะเจ้าของรวมผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกับโจทก์แต่เป็นเพียงทำให้การได้มาบริบูรณ์ตามกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6619/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โอนสิทธิในที่ดินหลังทำสัญญาเช่าซื้อครบถ้วน: ไม่ใช่การรับมรดก แต่เป็นการได้มาตามข้อบังคับสหกรณ์
แม้ ร. ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ดินพิพาทครบถ้วนแล้วตั้งแต่ปี 2510และ ร.มีสิทธิเรียกร้องในที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่าซื้ออันถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของ ร.ก็ตาม แต่ในระหว่างที่ ร.ยังมีชีวิตอยู่ในปี 2513 ร.ได้ทำหนังสือแสดงความจำนงตามข้อบังคับของสหกรณ์ ธ.ว่า หาก ร.ต้องพ้นจากสมาชิกภาพของสหกรณ์ ธ.ขอให้สหกรณ์ ธ.โอนบรรดาสิทธิผลประโยชน์และหนี้สินที่ ร.มีอยู่ในสหกรณ์ ธ.ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาท ต่อมา ร.ทำกินในที่ดินพิพาทไม่ไหว ในปี 2518 สหกรณ์ ธ.ได้รับจำเลยเข้าเป็นสมาชิกแทน ร. สิทธิในที่ดินพิพาทจึงโอนมาเป็นของจำเลยตามข้อบังคับของสหกรณ์ดังกล่าว ต่อมาปี 2522 ร.ถึงแก่ความตาย สิทธิในที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่ ร.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของ ร.ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในปี 2531 จึงไม่ใช่การรับโอนมรดกของ ร.ในฐานะเจ้าของรวมผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกับโจทก์ แต่เป็นเพียงทำให้การได้มาบริบูรณ์ตามกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5745/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิสูจน์ความเสียหายและขอบเขตความรับผิด
เอกสารท้ายฟ้องย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง คำฟ้องจะชัดแจ้งหรือไม่ต้องพิจารณาทั้งหมด เมื่อปรากฏตามสำเนาคำสั่งและหนังสือคู่มือรับจดทะเบียนเอกสารท้ายฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทของ พ. ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่อง-หมายการค้ารูปวัวชนกันประกอบคำว่า ตราวัวชนกัน ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วดังนี้ เท่ากับโจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า โจทก์เป็นทายาทและเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงชัดแจ้งแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า จำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วผลิตสินค้ายาฉุนเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ออกขายเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์จำหน่ายสินค้าได้ลดลงอย่างมาก ต้องเสียหายขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ เท่ากับโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 และ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 27 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท โจทก์ไม่ว่าในฐานะผู้จัดการมรดกหรือในฐานะส่วนตัวย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
เมื่อโจทก์ไม่อาจนำสืบเรื่องค่าเสียหายได้ถึงจำนวนตามฟ้องศาลจึงกำหนดค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ได้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
เมื่อไม่ปรากฏว่าภายหลังจากวันฟ้องจำเลยในคดีอาญาข้อหาปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงวันฟ้องคดีนี้ จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ปลอมต่อไปอีกโจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายในช่วงระยะเวลาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดเช็คมีผลผูกพัน แม้เช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยทั้งสองให้การว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงเป็นคำเสนอของ จ. ยังไม่เกิดเป็นสัญญาที่บังคับได้ดังนี้คำให้การจำเลยทั้งสองดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์แล้วฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่าตามปกติ จ. จะลงลายมือชื่อในเอกสารเป็นลายเซ็นไม่ใช่ลายมือเขียนลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาในสัญญาขายลดเช็คจะเป็นลายเซ็นของ จ. หรือไม่ไม่ทราบจึงฟังไม่ขึ้น สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเมื่อผู้ทำสัญญาได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วแม้จะมีพยานหรือไม่มีพยานลงลายมือชื่อในสัญญาสัญญาก็มีผลบังคับได้หากจะมีการเพิ่มเติมชื่อพยานลงในสัญญาภายหลังโดยไม่ได้แก้ไขข้อความก็ไม่ทำให้สัญญาเสียไป แม้ตามสัญญาขายลดเช็คจะมีข้อความว่า จ. นำเช็คมาขายเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์แต่ จ. ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ไว้ว่าหากธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ จ. ก็ยินยอมชำระเงินให้ทันทีที่ได้รับแจ้งจากธนาคารอันเป็นข้อสัญญาต่างหากว่าแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ผู้ขายเช็คก็ยินยอมใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ทันทีดังนั้นแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและกำหนดอายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้สิ้นไปแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกให้ จ. ใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ได้ตามสัญญากฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความในการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาขายลดเช็คไว้จึงต้องถือว่ามีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมจำเลยผู้จัดการมรดกของ จ. จึงไม่อาจอ้างอายุความ1ปีตามมาตรา1002ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คแก่โจทก์2ฉบับเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์เมื่อ จ. ถึงแก่กรรมจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดเช็คบังคับได้แม้ไม่มีพยานเพิ่มเติม อายุความ 10 ปีใช้บังคับ
จำเลยทั้งสองให้การว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียว จึงเป็นคำเสนอของ จ. ยังไม่เกิดเป็นสัญญาที่บังคับได้ ดังนี้ คำให้การจำเลยทั้งสองดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์แล้ว ฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่า ตามปกติ จ. จะลงลายมือชื่อในเอกสารเป็นลายเซ็น ไม่ใช่ลายมือเขียน ลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาในสัญญาขายลดเช็คจะเป็นลายเซ็นของ จ. หรือไม่ ไม่ทราบ จึงฟังไม่ขึ้น สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อผู้ทำสัญญาได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วแม้จะมีพยานหรือไม่มีพยานลงลายมือชื่อในสัญญา สัญญาก็มีผลบังคับได้หากจะมีการเพิ่มเติมชื่อพยานลงในสัญญาภายหลังโดยไม่ได้แก้ไขข้อความก็ไม่ทำให้สัญญาเสียไป แม้ตามสัญญาขายลดเช็คจะมีข้อความว่า จ. นำเช็คมาขายเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์ แต่ จ. ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ไว้ว่า หากธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ จ. ก็ยินยอมชำระเงินให้ทันทีที่ได้รับแจ้งจากธนาคาร อันเป็นข้อสัญญาต่างหากว่า แม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ขายเช็คก็ยินยอมใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ทันที ดังนั้น แม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และกำหนดอายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้สิ้นไปแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกให้ จ. ใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ได้ตามสัญญา กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความในการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาขายลดเช็คไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม จำเลยผู้จัดการมรดกของ จ. จึงไม่อาจอ้างอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1002 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คแก่โจทก์ 2 ฉบับ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อ จ. ถึงแก่กรรม จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดเช็คมีผลผูกพัน แม้เช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ผู้ขายเช็คต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยทั้งสองให้การว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงเป็นคำเสนอของ จ. ยังไม่เกิดเป็นสัญญาที่บังคับได้ดังนี้คำให้การจำเลยทั้งสองดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองให้การยอมรับว่า จ. ได้ลงลายมือชื่อทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์แล้วฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่าตามปกติ จ. จะลงลายมือชื่อในเอกสารเป็นลายเซ็นไม่ใช่ลายมือเขียนลายมือชื่อในช่องผู้ให้สัญญาในสัญญาขายลดเช็คจะเป็นลายเซ็นของ จ. หรือไม่ไม่ทราบจึงฟังไม่ขึ้น สัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเมื่อผู้ทำสัญญาได้ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วแม้จะมีพยานหรือไม่มีพยานลงลายมือชื่อในสัญญาสัญญาก็มีผลบังคับได้หากจะมีการเพิ่มเติมชื่อพยานลงในสัญญาภายหลังโดยไม่ได้แก้ไขข้อความก็ไม่ทำให้สัญญาเสียไป แม้ตามสัญญาขายลดเช็คจะมีข้อความว่า จ. นำเช็คมาขายเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์แต่ จ. ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ไว้ว่าหากธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ จ. ก็ยินยอมชำระเงินให้ทันทีที่ได้รับแจ้งจากธนาคารอันเป็นข้อสัญญาต่างหากว่าแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ผู้ขายเช็คก็ยินยอมใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ทันทีดังนั้นแม้เช็คจะเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและกำหนดอายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้สิ้นไปแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกให้ จ. ใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ได้ตามสัญญากฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความในการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาขายลดเช็คไว้จึงต้องถือว่ามีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมจำเลยผู้จัดการมรดกของ จ. จึงไม่อาจอ้างอายุความ1ปีตามมาตรา1002ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คแก่โจทก์2ฉบับเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์เมื่อ จ. ถึงแก่กรรมจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. จึงต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์
of 2