พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12456-12457/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกต้องเป็นไปตามสิทธิของทายาทแต่ละคน แม้บางคนไม่เรียกร้องก็ไม่ถือเป็นการสละมรดก
ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกมี 7 คน การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทต้องแบ่งกันตามที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับ การที่ทายาทอื่นมิได้เรียกร้องมาด้วยนั้น จะถือว่าทายาทอื่นนั้นสละมรดกหาได้ไม่และจะแบ่งโดยเอาส่วนแบ่งทายาทอื่นไปให้แก่โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 4 และโจทก์ร่วมไม่ได้ โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 4 และโจทก์ร่วมคงได้ส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 7 ส่วนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์-สละมรดก: ผลต่อการจัดการมรดกและการมีส่วนได้เสียของผู้ร้อง
แม้พินัยกรรมจะมีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวันเดือนปีในขณะที่ทำพินัยกรรม ต้องถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1615 ย่อมเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1705
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะทายาทจำนวน 10,000 บาท แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใดๆ ทั้งสิ้นอีก โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในอนาคตให้หมดไปจึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามป.พ.พ. มาตรา 850 และข้อความดังกล่าวเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกบางส่วนเพราะเงินฌาปนิจสงเคราะห์มิใช่ทรัพย์มรดก การประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1612 และมีผลย้อนหลังในถึงเวลาเข้ามรดกตามมาตรา 1615 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะทายาทจำนวน 10,000 บาท แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใดๆ ทั้งสิ้นอีก โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในอนาคตให้หมดไปจึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามป.พ.พ. มาตรา 850 และข้อความดังกล่าวเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกบางส่วนเพราะเงินฌาปนิจสงเคราะห์มิใช่ทรัพย์มรดก การประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1612 และมีผลย้อนหลังในถึงเวลาเข้ามรดกตามมาตรา 1615 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือถอนผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์และผลของการสละมรดกต่อการเป็นผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมที่มีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705
บันทึกข้อตกลงที่มีข้อความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกของ ส. ไปในวันนี้แล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก เป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดก ที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 นอกจากนี้เงิน 10,000 บาท ที่ผู้ร้องจ่ายให้ผู้คัดค้านที่ 1 ก็เป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับเงินดังกล่าวไป แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก จึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกเพียงบางส่วนจึงมีผลเป็นการสละมรดกตามมาตรา 1612 และไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 สละมรดกแล้วมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกไม่มีอำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
บันทึกข้อตกลงที่มีข้อความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกของ ส. ไปในวันนี้แล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก เป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดก ที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 นอกจากนี้เงิน 10,000 บาท ที่ผู้ร้องจ่ายให้ผู้คัดค้านที่ 1 ก็เป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับเงินดังกล่าวไป แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก จึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกเพียงบางส่วนจึงมีผลเป็นการสละมรดกตามมาตรา 1612 และไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 สละมรดกแล้วมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกไม่มีอำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ & สละมรดก: สิทธิในการจัดการมรดก & อำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมที่ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ไว้ แม้จะมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน ในขณะทำพินัยกรรม ก็ต้องถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ผู้ร้องซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีส่วนได้เสียในอันที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ทำบันทึกมีข้อความว่า ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกแล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ อีกนั้น เป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ทั้งยังปรากฏว่าเงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับไปนั้นเป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ทำบันทึกดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่เพียงบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 ไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613 ซึ่งมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีอำนาจมาร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ทำบันทึกมีข้อความว่า ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกแล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ อีกนั้น เป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ทั้งยังปรากฏว่าเงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับไปนั้นเป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ทำบันทึกดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่เพียงบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 ไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613 ซึ่งมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีอำนาจมาร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ & การสละมรดกมีผลย้อนหลัง ทำให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีอำนาจขอเป็นผู้จัดการมรดก
แม้พินัยกรรมจะมีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวันเดือนปีในขณะที่ทำพินัยกรรม ต้องถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1656 ย่อมเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1705
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะทายาทจำนวน 10,000 บาท แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในอนาคตให้หมดไปจึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และข้อความดังกล่าวเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกบางส่วนเพราะเงินฌาปนกิจสงเคราะห์มิใช่ทรัพย์มรดก การประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะทายาทจำนวน 10,000 บาท แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในอนาคตให้หมดไปจึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และข้อความดังกล่าวเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกบางส่วนเพราะเงินฌาปนกิจสงเคราะห์มิใช่ทรัพย์มรดก การประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือถอนผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9504/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดก vs. สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก: ผลต่ออำนาจการเป็นผู้จัดการมรดก
บันทึกข้อตกลงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านและ ว. ทำกันหน้าเจ้าพนักงานตำรวจมีข้อความชัดแจ้งว่า ผู้ร้องและ ว. ขอสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านและยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกแต่เพียงผู้เดียว แต่การเจาะจงให้ทรัพย์มรดกแก่ผู้คัดค้านเช่นนี้เป็นการยกทรัพย์มรดกส่วนของตนให้แก่ทายาทคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 อย่างไรก็ดีแม้ข้อตกลงระหว่างผู้ร้องและ ว. ฝ่ายหนึ่งกับผู้คัดค้านอีกฝ่ายหนึ่ง ดังกล่าว จะไม่ใช่หนังสือสละมรดกตามกฎหมายแต่ก็มีลักษณะเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก เมื่อทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือดังกล่าวแล้ว ย่อมผูกพันคู่สัญญาตามมาตรา 1750 วรรคสองผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกและไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ตั้ง ว. เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดินตามพินัยกรรม, อายุความ, การครอบครองทรัพย์มรดก, การจดทะเบียนสิทธิ
ตามข้อกำหนดพินัยกรรมระบุให้โจทก์มีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินได้ชั่วชีวิตของโจทก์ สิทธิอยู่อาศัยดังกล่าวเป็นสิทธิเหนือพื้นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410และเป็นทรัพยสิทธิซึ่งโจทก์ได้รับมาตามพินัยกรรมโดยชอบโจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ เพื่อให้โจทก์มีสิทธิบริบูรณ์ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตาม วัตถุประสงค์ของเจ้ามรดกโดยการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งแม้ตามข้อกำหนดพินัยกรรมมิได้ระบุให้จดทะเบียนสิทธิเหนือ พื้นดินต่อเจ้าพนักงานก็ตาม โจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิอาศัยได้ชั่วชีวิตโจทก์ตามข้อกำหนดพินัยกรรมอยู่ก่อนที่ ท.เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรม และก่อนที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายแม้ว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการโอนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์ มีสิทธิเหนือพื้นดิน กรณีเช่นนี้จึงเปรียบได้เสมือนหนึ่งว่า โจทก์ในฐานะทายาทตามพินัยกรรมได้ครอบครองทรัพย์มรดก ซึ่งยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดก นั้นโดยฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้จำเลย ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ 1 ปีแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 1754 ดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่โจทก์ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรมก็ตามคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ถือเอาคำพิพากษา เป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยไว้ด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ มีคำสั่งในส่วนนี้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความ สงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องตามที่โจทก์ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดินตามพินัยกรรมและการจดทะเบียนสิทธิ แม้พินัยกรรมไม่ได้ระบุ และการข้อยกเว้นอายุความ
ตามข้อกำหนดพินัยกรรมระบุให้โจทก์มีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินได้ชั่วชีวิตของโจทก์ สิทธิอยู่อาศัยดังกล่าวเป็นสิทธิเหนือพื้นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1410และเป็นทรัพยสิทธิซึ่งโจทก์ได้รับมาตามพินัยกรรมโดยชอบ โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีสิทธิบริบูรณ์ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตามวัตถุประสงค์ของเจ้ามรดกโดยการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้แม้ตามข้อกำหนดพินัยกรรมมิได้ระบุให้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินต่อเจ้าพนักงานก็ตาม
โจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิอาศัยได้ชั่วชีวิตโจทก์ตามข้อกำหนดพินัยกรรมอยู่ก่อนที่ ท.เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมและก่อนที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แม้ว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการโอนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดิน กรณีเช่นนี้จึงเปรียบได้เสมือนหนึ่งว่า โจทก์ในฐานะทายาทตามพินัยกรรมได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นโดยฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ1 ปีแล้ว โดยปรับเข้ากับ ป.พ.พ.มาตรา 1748 ซึ่งเป็นบทมาตราข้อยกเว้นที่จะใช้บังคับตามมาตรา 1754 ดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรมก็ตาม คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยไว้ด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้มีคำสั่งในส่วนนี้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องตามที่โจทก์ขอได้
โจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิอาศัยได้ชั่วชีวิตโจทก์ตามข้อกำหนดพินัยกรรมอยู่ก่อนที่ ท.เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมและก่อนที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แม้ว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการโอนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดิน กรณีเช่นนี้จึงเปรียบได้เสมือนหนึ่งว่า โจทก์ในฐานะทายาทตามพินัยกรรมได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นโดยฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ1 ปีแล้ว โดยปรับเข้ากับ ป.พ.พ.มาตรา 1748 ซึ่งเป็นบทมาตราข้อยกเว้นที่จะใช้บังคับตามมาตรา 1754 ดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรมก็ตาม คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยไว้ด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้มีคำสั่งในส่วนนี้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องตามที่โจทก์ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7011/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้ด้วยวาจาไม่สมบูรณ์จนกว่าจะจดทะเบียน การสละมรดกต้องทำเป็นหนังสือจึงมีผล
บ. ยกที่ดินให้แก่ ว. ด้วยวาจา โดยมีเจตนาจะไปดำเนินการจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง ถือว่าในขณะนั้น บ. ยังมิได้มีเจตนาสละการครอบครอง การที่ ว. เข้าครอบครองที่ดินพิพาทก่อนทำการโอนจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของ บ. ที่บอกจะยกให้ ไม่ได้เข้าครอบครองในฐานะผู้แย่งการครอบครอง แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ฉะนั้นเมื่อการยกที่ดินพิพาทให้ระหว่าง บ. กับ ว. ยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การให้ดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 ที่ดินพิพาทยังไม่ตกเป็นของ ว. โดยการให้ เมื่อ บ. ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของ บ. ไม่อาจนำที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ. ผู้ตายไปโอนให้ ว. ภายหลัง บ. ถึงแก่ความตายแล้วได้ และเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ทายาทของ บ. ได้แสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือว่าขอสละมรดก ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่ายอมสละมรดก ดังนั้น หลังจากที่ บ. ตาย แม้จะได้มีการจดทะเบียนการยกให้ที่ดินพิพาทดังกล่าวให้แก่ ว. โดยขณะจดทะเบียนทายาททุกคนของ บ. ทราบและไม่มีผู้ใดคัดค้าน ก็ถือไม่ได้ว่าทายาทของ บ. ได้สละมรดกรายนี้แล้ว การทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทก็ไม่มีผลให้ ว. ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4236/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดกโดยบันทึกข้อตกลงและการใช้ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงเป็นการ แสดงเจตนามอบหมายให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ ที่ดินแทนทายาททุกคน หาได้เป็นการยกทรัพย์มรดกที่ดิน ให้จำเลยนั้น ฎีกาโจทก์เป็นการแปลความหมายข้อความใน บันทึกข้อตกลงอันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพราะในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อยกทรัพย์มรดกที่ดินตามบันทึกข้อตกลงให้จำเลย ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ. ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดย สัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผล บังคับได้ ตามมาตรา 852