พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4236/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดกโดยบันทึกข้อตกลงและการใช้ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงเป็นการ แสดงเจตนามอบหมายให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ ที่ดินแทนทายาททุกคน หาได้เป็นการยกทรัพย์มรดกที่ดิน ให้จำเลยนั้น ฎีกาโจทก์เป็นการแปลความหมายข้อความใน บันทึกข้อตกลงอันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพราะในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อยกทรัพย์มรดกที่ดินตามบันทึกข้อตกลงให้จำเลย ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ. ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดย สัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผล บังคับได้ ตามมาตรา 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4496/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกและการถอนผู้จัดการมรดก: สิทธิของผู้สละมรดกและการพิจารณาความเหมาะสมของผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอื่นและศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้ว โดยผู้ร้องในฐานะบุตรบุญธรรมขอสละมรดกของผู้ตายโดยสิ้นเชิงและไม่มีเงื่อนไขทั้งขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดกคดีนี้และไม่คัดค้านในการที่ผู้คัดค้านร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีกต่อไป ดังนี้ เมื่อผู้ร้องได้แสดงเจตนาชัดแจ้งขอสละมรดกของผู้ตายโดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การสละมรดกของผู้ร้องย่อมมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1612 และตามมาตรา 1615 กำหนดให้การสละมรดกนั้นมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ดังนั้น ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอถอดถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ ประกอบกับทายาทอื่นเห็นว่าผู้คัดค้านเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป กรณีจึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4496/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกทำให้ขาดสิทธิเรียกร้องถอนผู้จัดการมรดก แม้เคยเป็นทายาทโดยธรรม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้ตกลง ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอื่นและศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้ว โดยผู้ร้องในฐานะบุตรบุญธรรมขอสละมรดก ของผู้ตายโดยสิ้นเชิงและไม่มีเงื่อนไขทั้งขอถอนตัวจากการ เป็นผู้จัดการมรดกคดีนี้และไม่คัดค้านในการที่ผู้คัดค้าน ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีกต่อไป ดังนี้ เมื่อผู้ร้องได้แสดงเจตนาชัดแจ้งขอสละมรดกของผู้ตายโดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การสละมรดกของผู้ร้องย่อมมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612และตามมาตรา 1615 กำหนดให้การสละมรดกนั้นมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ดังนั้น ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอถอดถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ ประกอบกับทายาทอื่นเห็นว่าผู้คัดค้านเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป กรณีจึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4322/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และประเด็นอายุความในการฟ้องแบ่งมรดก
แบบ ท.ค.16 ที่เจ้าพนักงานที่ดินทำการสอบสวนและบันทึกการสละมรดกเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.6 มีข้อความว่า ด้วยที่ดินแปลงเครื่องหมายดังกล่าวข้างบน คือ น.ส.3 หมู่ที่ 4 ตำบลมีชัย เลขที่ 10 อำเภอเมืองหนองคายจังหวัดหนองคาย มีชื่อ ค.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครอง แต่บัดนี้ถึงแก่กรรมไปแล้วเมื่อ 12มิถุนายน 2517 ข้าพเจ้าเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกโดยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับมรดกที่ดินรายนี้ แต่ข้าพเจ้าไม่รับเพราะข้าพเจ้าได้รับมรดกส่วนอื่นไปแล้ว และลงลายมือชื่อ จ.และโจทก์ ซึ่งเลขที่ดินที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.6 หรือ จ.9 ตรงกับเลขที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.6 อันเป็นทรัพย์มรดกที่พิพาทในคดีนี้ และเอกสารหมาย ล.6 หรือ จ.9มีข้อความระบุชัดเจนว่า โจทก์และ จ.สละมรดกสำหรับที่พิพาทกับมีข้อความว่าขอให้ถ้อยคำต่อนายอำเภอเมืองหนองคายโดยมีลายมือชื่อนายอำเภอเมืองหนองคายในเอกสารดังกล่าวทั้งระบุสถานที่ทำเอกสารว่าทำที่ว่าการอำเภอเมืองหนองคายด้วยดังนั้น จึงเป็นการสละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1612 แล้ว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์สละมรดกของ ค.แล้วหรือไม่ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับมรดกของบิดาโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งจึงยุติตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในข้อนี้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์สละมรดกของ ค.แล้วหรือไม่ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับมรดกของบิดาโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งจึงยุติตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในข้อนี้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4031/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกโดยหนังสือมอบให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่ถือเป็นการสละมรดกตามกฎหมาย แต่สัญญาประนีประนอมยอมความในการสละมรดกมีผลผูกพัน
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1612 หมายถึงนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2495 หาใช่เจ้าพนักงานที่ดินไม่ การที่โจทก์ทำหนังสือไม่ขอรับมรดกไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจึงไม่ใช่เป็นการสละมรดก แต่ที่โจทก์ทำหนังสือไม่ขอรับมรดกที่ดินพิพาทโดยยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1หากมีข้อผิดพลาดหรือเสียหายประการใด โจทก์ขอรับผิดชอบเองทั้งสิ้นพร้อมทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยาน 2 คนเช่นนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612ตอนท้ายประกอบด้วยมาตรา 850 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จไปโดยโจทก์สละมรดกในที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอีก จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ผู้อื่นรับมรดก ย่อมตัดสิทธิทายาทอื่นในการเรียกร้องแบ่งมรดก
บันทึกที่จ. ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินใจความว่าที่ดินพิพาทมีชื่อฉ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ซึ่งได้ตายไปแล้ววันนี้(วันที่2ธันวาคม2530)ทายาทของผู้ตายคือจำเลยได้มายื่นเรื่องราวขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของฉ. จ.ได้รับทราบเรื่องราวและประกาศขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้โดยตลอดแล้วจ. เป็นทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ด้วยแต่จ. ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่อย่างใดและยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ถ้อยคำของจ.เป็นบันทึกที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติไปตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา81ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่24(พ.ศ.2516)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497ซึ่งถ้อยคำของจ. ดังกล่าวไม่ใช่กรณีทายาทสละมรดกตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612เพราะการสละมรดกตามมาตรานี้หมายถึงการสละส่วนหนึ่งของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใดแต่บันทึกถ้อยคำของนายจำรัสดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความมีผลบังคับได้ตามมาตรา850,852และ1750ทั้งตามโฉนดที่ดินพิพาทก็ปรากฏว่าระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนเสร็จสิ้นอันถือได้ว่าจำเลยผู้มีชื่อในโฉนดได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้โดยสมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินแล้วโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของจ. จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินแปลงนี้จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ผู้อื่นรับมรดกแทนและผลผูกพันทางกฎหมาย: สิทธิในการฟ้องแบ่งมรดก
บันทึกที่จ. ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินมีใจความสำคัญว่าที่ดินมรดกที่มีชื่อฉ. ผู้ตายเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์นี้ทายาทของผู้ตายคือจำเลยและจ. แต่จ. ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่อย่างใดและยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่เพียงผู้เดียวนั้นเป็นบันทึกที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติไปตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา81ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่24(พ.ศ.2516)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯซึ่งถ้อยคำดังกล่าวไม่ใช่กรณีทายาทสละมรดกตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612เพราะการสละมรดกตามมาตรานี้หมายถึงการสละส่วนหนึ่งของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใดแต่บันทึกถ้อยคำของจ. ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850,852และ1750ทั้งตามโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยส่งศาลในวันชี้สองสถานระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนเสร็จสิ้นโดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของจ.ไม่คัดค้านความถูกต้องถือได้ว่าจำเลยผู้มีชื่อในโฉนดได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้โดยสมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินแปลงนี้จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ทายาทรับมรดกแต่เพียงผู้เดียว ถือเป็นการประนีประนอมยอมความ มีผลผูกพันทางกฎหมาย ทายาทอื่นไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ตามบันทึกถ้อยคำที่จ. ให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินมีใจความสำคัญว่าที่ดินพิพาทมีชื่อฉ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์วันนี้ทายาทของฉ. คือจำเลยได้มายื่นเรื่องราวขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของฉ. จ.เป็นทายาทของฉ.ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ขอรับมรดกแต่เพียงผู้เดียวดังนี้ไม่ใช่การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612เพราะการสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใดแต่บันทึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความมีผลบังคับได้ตามมาตรา850,852และ1750โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของจ. จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินพิพาทจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ทายาทอื่นรับมรดกที่ดิน ย่อมทำให้ผู้รับมรดกมีกรรมสิทธิ์สมบูรณ์
บันทึกที่ จ.ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินใจความว่า ที่ดินพิพาทมีชื่อ ฉ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ซึ่งได้ตายไปแล้ว วันนี้ (วันที่ 2 ธันวาคม 2530) ทายาทของผู้ตายคือจำเลยได้มายื่นเรื่องราวขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของ ฉ. จ.ได้รับทราบเรื่องราวและประกาศขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้โดยตลอดแล้ว จ.เป็นทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ด้วย แต่ จ.ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่อย่างใด และยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่เพียงผู้เดียว เช่นนี้ถ้อยคำของ จ.เป็นบันทึกที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติไปตาม ป.ที่ดิน มาตรา 81ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2516) ออกตามความในพ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ซึ่งถ้อยคำของ จ.ดังกล่าวไม่ใช่กรณีทายาทสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ.มาตรา 1612 เพราะการสละมรดกตามมาตรานี้หมายถึงการสละส่วนหนึ่งของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด แต่บันทึกถ้อยคำของนายจำรัสดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความ มีผลบังคับได้ตาม มาตรา 850, 852 และ 1750ทั้งตามโฉนดที่ดินพิพาทก็ปรากฏว่าระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนเสร็จสิ้น อันถือได้ว่าจำเลยผู้มีชื่อในโฉนดได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้โดยสมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินแล้วโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ จ.จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินแปลงนี้จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5895/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย และสิทธิในทรัพย์มรดกที่ต้องแบ่งเท่ากัน
เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินโฉนดที่2618และบ้านทรงไทยการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่ดินและบ้านทรงไทยดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142 การสละมรดกนั้นกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฏกระทรวงโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา1672แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไว้เมื่อวันที่28กรกฎาคม2481ข้อ14,15และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2495มาตรา40กำหนดให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจแต่ตามบันทึกถ้อยคำที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำไว้นั้นได้ทำไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งมิใช่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612บันทึกถ้อยคำนั้นจึงมิใช่เอกสารสละมรดก