คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1612

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5895/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย และสิทธิในทรัพย์มรดกที่ต้องแบ่งเท่ากันระหว่างทายาท
เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินโฉนดที่ 2618 และบ้านทรงไทย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่ดินและบ้านทรงไทยดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 การสละมรดกนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฏกระทรวงโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 1672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไว้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2481 ข้อ 14,15 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 กำหนดให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจแต่ตามบันทึกถ้อยคำที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำไว้นั้นได้ทำไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งมิใช่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 บันทึกถ้อยคำนั้นจึงมิใช่เอกสารสละมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5895/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยคดีนอกฟ้องอุทธรณ์ และเอกสารสละมรดกที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินโฉนดที่2618 และบ้านทรงไทย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่ดินและบ้านทรงไทยดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
การสละมรดกนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 1672 แห่ง ป.พ.พ.ไว้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม2481 ข้อ 14, 15 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 40 กำหนดให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจแต่ตามบันทึกถ้อยคำที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำไว้นั้นได้ทำไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งมิใช่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 บันทึกถ้อยคำนั้นจึงมิใช่เอกสารสละมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกโดยความยินยอมและการขาดอายุความฟ้องร้องสิทธิในที่ดินมรดก
แม้ข้อตกลงที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินมิใช่การสละมรดกเพราะไม่ได้แสดงเจตนาเป็นหนังสือมอบให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612แต่เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ตามบันทึกถ้อยคำที่ทำขึ้นเมื่อจำเลยไปขอโอนมรดกโดยให้จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินเพียงผู้เดียวถือว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยและจำเลยตกลงรับเอาแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินนั้นอีก โจทก์เพียงแต่เก็บผลไม้ในที่ดินมรดกโดยจำเลยซึ่งครอบครองและทำประโยชน์อยู่มิได้หวงห้ามยังไม่อาจถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ครอบครองที่ดินร่วมด้วยฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายคดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิครอบครองที่ดินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต และอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 1016 เพราะจำเลยเป็นผู้ออกเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินจากธนาคาร แม้ข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องการสละมรดก เพราะการสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต้องทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 ก็ตามเมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ตามบันทึกถ้อยคำให้จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่เพียงผู้เดียว ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองในที่ดินให้แก่จำเลยและจำเลยตกลงรับเอาแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินในฐานะที่เป็นทรัพย์มรดกอีก
ข้อเท็จจริงได้ความแต่เพียงว่า โจทก์เก็บมะขามและน้อยหน่าในที่ดิน การที่จำเลยมิได้หวงห้ามยังไม่อาจถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินร่วมด้วย ที่จำเลยอ้างว่าเจ้ามรดกยกที่ดินให้จำเลยแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยครอบครองที่ดินเพื่อตนเอง หาใช่ครอบครองแทนโจทก์ไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์สำหรับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 900 และ 1246 จึงขาดอายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกต้องทำเป็นหนังสือมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ระดับนายอำเภอ การมอบแก่เจ้าพนักงานที่ดินไม่ถือว่าเป็นการสละมรดกตามกฎหมาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 การสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งหมายถึงนายอำเภอ การมอบให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจึงมิใช่การทำหนังสือสละมรดกที่มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรานี้
บันทึกการสละมรดกโดยโจทก์ลงชื่อในช่องผู้ไม่รับมรดกและจำเลยลงชื่อในช่องผู้ขอรับมรดกเป็นการประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 ประกอบมาตรา 850 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612การสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งหมายถึงนายอำเภอการมอบให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจึงมิใช่การทำหนังสือสละมรดกที่มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรานี้ บันทึกการสละมรดกโดยโจทก์ลงชื่อในช่องผู้ไม่รับมรดกและจำเลยลงชื่อในช่องผู้ขอรับมรดกเป็นการประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612ประกอบมาตรา850แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกทำได้โดยหนังสือมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือสัญญาประนีประนอมยอมความ
การ สละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612ต้องทำ เป็นหนังสือมอบไว้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่คือ นายอำเภอตาม กฎกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2481และ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ หรือทำเป็น สัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา850ดังนั้นแม้ เจ้าพนักงานที่ดินมิใช่ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจดังกล่าวแต่เมื่อข้อความในเอกสารเป็นการ ประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ผู้รับผิดในฐานะ ผู้สละมรดกและจำเลยในฐานะ ผู้รับมรดกได้ลงชื่อไว้จึงเป็นการ สละมรดกโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกต้องทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การสละต่อเจ้าพนักงานที่ดินไม่สมบูรณ์
การสละมรดกจะต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612โดยกฎกระทรวงกับพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2495มาตรา40กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจในกรณีแรกได้แก่ผู้อำนวยการเขตถ้าทำในกรุงเทพมหานครหรือนายอำเภอถ้าทำในต่างจังหวัดฉะนั้นการที่โจทก์กับ ศ. ทำหนังสือสละมรดกให้ไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจึงมิใช่หนังสือสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกและพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ การจดทะเบียนรับมรดกเป็นโมฆะ
การสละมรดก โดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 นั้น ตามกฎกระทรวงมหาดไทยที่ออกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1672 ข้อ 14, 15 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 กำหนดว่า "พนักงานเจ้าหน้าที่"ดังกล่าว หมายถึงนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขต ดังนั้น การที่โจทก์กับ ศ.ทำหนังสือสละมรดกมอบไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน จึงไม่ใช่หนังสือสละมรดกตามกฎหมาย
ขณะ ล.เจ้ามรดกทำพินัยกรรทม ล.มีอาการป่วยหนักมีความคิดสับสน ไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้ พินัยกรรมดังกล่าวจึงมิได้เกิดจากการแสดงเจตนาของ ล. และเป็นพินัยกรรมปลอม โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนในทรัพย์มรดกจึงฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดกของจำเลยได้
คดีมีทุนทรัพย์ 2,700,000 บาท เมื่อพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดี ประกอบกับเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนี้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความจำนวน 15,000 บาท จึงชอบด้วยตาราง 6ท้าย ป.วิ.พ.
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ซึ่งค่าขึ้นศาลที่โจทก์ผู้ฟ้องอย่างคนอนาถาได้รับยกเว้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน - สัญญาไม่เป็นโมฆะแม้ผู้ขายไม่แจ้งความจำนงขายแก่ผู้เช่า - การโอนให้ผู้อื่นเพื่อฉ้อฉลเจ้าหนี้
บทบัญญัติพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา53ที่บัญญัติว่าผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนาพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคชก.ตำบลเพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันและถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคชก.ตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ได้แจ้งไว้นั้นเป็นบทบัญญัติที่มีความประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่เกษตรกรผู้เช่านาเท่านั้นผู้เช่านาฝ่ายเดียวมีสิทธิที่จะยกบทบัญญัติดังกล่าวนั้นขึ้นอ้างอิงได้จำเลยที่1ผู้จะขายนายกขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้จะซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ โจทก์เป็นบุคคลภายนอกฟ้องบังคับจำเลยที่1โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อกรณีมิได้มีปัญหาเกี่ยวกับผู้เช่านาจะซื้อนาที่บังคับผู้ให้เช่าจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวสัญญานั้นไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่1นำหนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่2ที่มอบให้จำเลยที่1เป็นผู้มีอำนาจให้ถ้อยคำมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่2ไม่ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้เจ้าพนักงานที่ดินจึงบันทึกถ้อยคำดังกล่าวไว้และจดทะเบียนลงในโฉนดที่ดินให้จำเลยที่1เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้กรณีจึงถือได้ว่าตามคำขอจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินเฉพาะส่วนและบันทึกถ้อยคำดังกล่าวนั้นจำเลยที่2ได้สละมรดกรายนี้แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612
of 11