พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5767/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก, สิทธิในทรัพย์มรดก, และการแบ่งเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 5677 ซึ่งผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้แก่โจทก์ไว้ จำเลยที่ 2ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินโฉนดที่ 5677 เป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. สามีผู้ตาย โดยส.ให้น.ถือกรรมสิทธิ์แทนส. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าบ้านทรัพย์มรดกตามฟ้องหรือไม่เพียงใดย่อมหมายรวมถึงว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือไม่ด้วย เพราะหากว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมิได้เป็นของผู้ตายก็ย่อมไม่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ในตัว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมิได้เป็นมรดกของส. ซึ่งตกทอดแก่จำเลยที่ 2 ผู้ตายไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทซึ่งเป็นของ ส. ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าทรัพย์มรดก จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นสินสมรสซึ่งตกได้แก่ ส. ผู้ตายไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาทผู้ตายจึงทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินซึ่งมิใช่ของตนให้แก่ผู้ใดหาได้ไม่พินัยกรรมซึ่งผู้ตายทำจึงไม่มีผลใช้บังคับนั้น ส. เบิกความไว้ในคดีอาญา สรุปได้ว่า ก่อนที่ผู้ตายจะไปทำพินัยกรรมได้ปรึกษาหารือกับส. ที่บ้านเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินแก่ทายาท ผู้ตายไปทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง ส. จะไปด้วยหรือไม่จำไม่ได้ เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ส. ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบว่า มีพินัยกรรมที่ผู้ตายทำไว้ ต่อมา ส. จำเลยที่ 2 โจทก์ และ ก. ไปฟังพินัยกรรม กรณีเป็นที่เห็นได้ว่า ผู้ตายไปทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินโฉนดที่ 5677 พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้รับพินัยกรรมทั้งสามคนโดย ส. รู้เห็นยินยอมด้วยเมื่อได้มีการอ่านพินัยกรรม ส. ก็มิได้คัดค้านหรือเรียกร้องที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนจากผู้รับพินัยกรรมทั้งสาม ทั้ง ส. ยังได้สละมรดกของผู้ตายตามหนังสือการสละมรดกอีก จากพยานหลักฐานและพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวมาแสดงว่า ส. มีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ 5677พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้แก่ผู้ตายตั้งแต่ก่อนที่ผู้ตายจะทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองแล้ว และเนื่องจากโฉนดที่ดินมีชื่อผู้ตายแต่ผู้เดียว เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ กรณีจึงไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันอีก ผู้ตายจึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาทและทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนให้แก่โจทก์ได้ โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าบ้านทรัพย์มรดกตามฟ้อง ค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตาย แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเสียค่าใช้จ่ายไป 58,700 บาท แต่จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่าเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นเงินประมาณ 30,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตาย 30,000 บาท นั้น เป็นจำนวนตามสมควรแล้ว สำหรับค่าจ้างทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการจัดการมรดกของผู้ตายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก ซึ่งจำเลยที่ 1 กระทำแทนทายาทอื่นจึงต้องหักค่าจ้างว่าความ 300,000 บาท จากกองมรดกของผู้ตายสำหรับค่าไถ่ถอนจำนองจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินตามพินัยกรรมเป็นเงิน 130,000 บาท โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับพินัยกรรม จึงต้องรับผิดชอบในการไถ่ถอนจำนองที่ดินตามพินัยกรรม สำหรับค่าซ่อมบ้านพิพาทตามสภาพบ้านพิพาทปลูกสร้างมาเป็นเวลานาน เมื่อมีการซ่อมแซมใหญ่ค่าซ่อมแซมจำนวน 20,000 บาท เป็นจำนวนอันสมควร ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ต้องรับผิดค่าซ่อมแซมบ้านพิพาท 20,000 บาท นั้น ชอบแล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตายผู้หนึ่งเท่านั้น ทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 แต่อย่างใด โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมที่ปรากฏตัวยังไม่ได้รับส่วนได้ตามพินัยกรรมโจทก์ย่อมเรียกร้องทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมได้ตั้งแต่ผู้ทำพินัยกรรมตายเป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1673 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาท และส่งมอบค่าเช่าบ้านพิพาทแก่โจทก์ กับขอให้จำเลยที่ 1แบ่งเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์รับเงินค่าทดแทนดังกล่าวด้วยตนเองแม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทแก่โจทก์ มิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1แบ่งเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทได้ถูกเวนคืนไปแล้ว เป็นกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับคดีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงขอให้บังคับโดยขอรับเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทที่ศาลชั้นต้นอายัดไว้จากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ เพราะพฤติการณ์ซึ่งทำให้การโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นอันพ้นวิสัยนั้นเป็นผลให้จำเลยที่ 1 ได้มาซึ่งเงินค่าทดแทน การจัดการมรดกนั้นเป็นประโยชน์ร่วมกันของกองมรดก โจทก์จึงต้องรับผิดชอบตามส่วนที่โจทก์ได้รับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมตัดสิทธิทายาท & สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิผู้จัดการมรดก
เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมตัดผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 แม้ต่อมาภายหลังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมกับผู้คัดค้านทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก และรับมรดกบางส่วนของเจ้ามรดกก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลทั้งสองให้เสร็จ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850เท่านั้น หาใช่การสละมรดกหรือสละพินัยกรรมของผู้ร้องไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และ 1698(3) ไม่เพราะการสละมรดกหรือสละพินัยกรรมเพียงบางส่วนไม่อาจกระทำได้เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1613วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดก, อายุความ, สิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดก: ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาโจทก์ไม่ชัดแจ้ง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้สละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 สละมรดก และวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินร่วมกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์มรดกได้ แม้จะล่วงเลยอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสี่ประกอบมาตรา 1748 วรรคแรก แล้วก็ตามแต่โจทก์กลับฎีกากล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยกำหนดอายุความ 10 ปีแล้วแม้จะฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้สละมรดกตามกฎหมาย จำเลยที่ 2และที่ 3 ก็ไม่อาจเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกได้ ฎีกาของโจทก์เช่นนี้ไม่ได้กล่าวโต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องทรัพย์มรดกหลังพ้นอายุความ: สิทธิทายาทและการสละมรดก
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้สละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 สละมรดก และวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินร่วมกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์มรดกได้ แม้จะล่วงเลยอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสี่ประกอบมาตรา 1748 วรรคแรก แล้วก็ตามแต่โจทก์กลับฎีกากล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยกำหนดอายุความ 10 ปีแล้ว แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้สละมรดกตามกฎหมายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่อาจเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกได้ ฎีกาของโจทก์เช่นนี้ไม่ได้กล่าวโต้แย้งหรือคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกและการไม่มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก กรณีที่ดินแปลงหนึ่งถูกสละโดยทายาท ทำให้ไม่มีทรัพย์มรดกเหลืออยู่
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้ง ย. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. เจ้ามรดกทางพิจารณาได้ความว่า ย. ได้ทำหนังสือสละที่ดินมรดกมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และ ร. ไม่มีทรัพย์มรดกอย่างอื่น ย. ย่อมไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินมรดก กรณีไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกหรือแบ่งปันมรดกสำหรับ ย.จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะตั้ง ย. เป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกและการไม่มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก ทำให้ไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้ง ย. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร.เจ้ามรดกทางพิจารณาได้ความว่าย. ได้ทำหนังสือสละที่ดินมรดกมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และ ร. ไม่มีทรัพย์มรดกอย่างอื่น ย. ย่อมไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินมรดก กรณีไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกหรือแบ่งปันมรดกสำหรับ ย.จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะตั้ง ย. เป็นผู้จัดการมรดก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกที่ไม่สมเหตุผลและการยึดทรัพย์: จำเลยยังคงมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกอยู่
การที่จำเลยขอกู้เงินโจทก์และในวันเดียวกันนั้นได้แสดงเจตนาขอสละทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องทั้งที่ตนไม่มีทรัพย์อื่นอีก และผู้ร้องเป็นผู้เยาว์ยังอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลย พฤติการณ์การสละมรดกยังไม่สมเหตุผล ถือว่าเพียงแต่ให้ผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดกไว้แทนเท่านั้น จำเลยยังคงเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์มรดกผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์มรดก และโจทก์ยึดทรัพย์มรดกได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ ปัญหามีว่า ทรัพย์มรดกยังเป็นของจำเลยหรือไม่ การที่ศาลวินิจฉัยว่า การสละมรดกของจำเลยเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันตกเป็นโมฆะ ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกแทนจำเลยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกที่ไม่สมเหตุผล ศาลวินิจฉัยว่าเป็นการแสดงเจตนาให้ผู้เยาว์ถือครองแทน เจ้าของเดิมยังมีสิทธิในทรัพย์
การที่จำเลยขอกู้เงินโจทก์และในวันเดียวกันนั้นได้แสดงเจตนาขอสละทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องทั้งที่ตนไม่มีทรัพย์อื่นอีก และผู้ร้องเป็นผู้เยาว์ยังอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลย พฤติการณ์การสละมรดกยังไม่สมเหตุผล ถือว่าเพียงแต่ให้ผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดกไว้แทนเท่านั้น จำเลยยังคงเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์มรดกผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์มรดก และโจทก์ยึดทรัพย์มรดกได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
ปัญหามีว่า ทรัพย์มรดกยังเป็นของจำเลยหรือไม่ การที่ศาลวินิจฉัยว่า การสละมรดกของจำเลยเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันตกเป็นโมฆะ ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกแทนจำเลยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ปัญหามีว่า ทรัพย์มรดกยังเป็นของจำเลยหรือไม่ การที่ศาลวินิจฉัยว่า การสละมรดกของจำเลยเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันตกเป็นโมฆะ ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกแทนจำเลยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกที่ไม่สมเหตุผลและการยึดทรัพย์: กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของจำเลย
การที่จำเลยขอกู้เงินโจทก์และในวันเดียวกันนั้นได้แสดงเจตนาขอสละทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องทั้งที่ตนไม่มีทรัพย์อื่นอีก และผู้ร้องเป็นผู้เยาว์ยังอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลย พฤติการณ์การสละมรดกยังไม่สมเหตุผล ถือว่าเพียงแต่ให้ผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดกไว้แทนเท่านั้น จำเลยยังคงเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์มรดกผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์มรดก และโจทก์ยึดทรัพย์มรดกได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่.
ปัญหามีว่า ทรัพย์มรดกยังเป็นของจำเลยหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าการสละมรดกของจำเลยเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กัน ตกเป็นโมฆะ ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกแทนจำเลย จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.
ปัญหามีว่า ทรัพย์มรดกยังเป็นของจำเลยหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าการสละมรดกของจำเลยเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กัน ตกเป็นโมฆะ ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกแทนจำเลย จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงรับมรดกเป็นทายาทโดยธรรมมีผลเหนือพินัยกรรม และถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินจำนวน 5 ไร่ ให้แก่จำเลยและจำเลยก็ทราบดีเพราะได้เซ็นชื่อเป็นผู้รับทรัพย์ในพินัยกรรมด้วย แต่เมื่อโจทก์และจำเลยไปยื่นคำร้องขอรับมรดกที่ดินนั้นปรากฏว่ามีบันทึกข้อตกลงของทายาทว่าโจทก์และจำเลยมิได้ขอรับมรดกตามพินัยกรรม แต่ขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมและมีทายาทของผู้ตายอีก 2 คนขอสละมรดกเจ้าพนักงานที่ดินจึงได้จดทะเบียนลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท โดยมีโจทก์และจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกัน ในกรณีเช่นนี้ถือว่าตามคำร้องขอรับมรดกและบันทึกข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 โจทก์จำเลยซึ่งขอรับมรดกอย่างทายาทโดยธรรมเพียง 2 คนย่อมมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละครึ่งหนึ่งและต่างก็ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันและแทนกัน จำเลยจึงต้องแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง