คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1612

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961-3962/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดกนับจากวันตายเจ้ามรดก และสิทธิทายาทสืบแทน
อายุความฟ้องร้องคดีมรดก ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่เจ้ามรดกตาย
มารดาของจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับโจทก์และเจ้ามรดก เมื่อมารดาจำเลยสละมรดก จำเลยซึ่งเป็นบุตรจึงมีสิทธิ สืบมรดกได้ตามมาตรา 1615 และมีฐานะเป็นทายาทของเจ้ามรดก ในลำดับเดียวกับโจทก์ มีสิทธิยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามมาตรา 1755

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961-3962/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดกเริ่มต้นนับแต่วันตาย และทายาทที่สืบสันดานมีสิทธิยกอายุความได้
อายุความฟ้องร้องคดีมรดก ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่เจ้ามรดกตาย
มารดาของจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับโจทก์และเจ้ามรดก เมื่อมารดาจำเลยสละมรดก จำเลยซึ่งเป็นบุตรจึงมีสิทธิ สืบมรดกได้ตามมาตรา 1615 และมีฐานะเป็นทายาทของเจ้ามรดก ในลำดับเดียวกับโจทก์ มีสิทธิยกอายุความ 1ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามมาตรา 1755

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดก, อายุความคดีมรดก, และการครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งมรดก
เจ้ามรดกถึงแก่กรรม ว. ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาลโจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกได้เบิกความในคดีดังกล่าวว่า หากโจทก์มีส่วนได้รับมรดกโจทก์ก็เอา หรือจะให้แก่บุตรโจทก์ก็แล้วแต่ผู้จัดการมรดกเห็นสมควร การที่โจทก์เบิกความดังกล่าวไม่เป็นการสละมรดกเพราะคำเบิกความดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบ ไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 แต่เป็นเพียงคำพูดแนะนำผู้จัดการมรดกตามมารยาทเท่านั้น ว. เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล แต่ยังจัดการมรดกไม่เสร็จก็ตายเสียก่อน จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแทนและยังจัดการไม่เสร็จ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทก็ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกเป็นคดีนี้ การที่ ว. ก็ดี จำเลยก็ดีซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการ ถือว่าครอบครองแทนทายาท มีหน้าที่ต้องแบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาทถือได้ว่าทายาทได้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วตราบเท่าที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการมรดกฉะนั้น คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ (อ้างฎีกาที่ 1589/2509) ข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้แม้จะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 นั้นจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบส่วนข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกกระบวนพิจารณาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (อ้างฎีกาที่1211/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดก, อายุความคดีมรดก และการยกข้อกฎหมายความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เจ้ามรดกถึงแก่กรรม ว. ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาล โจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกได้เบิกความในคดีดังกล่าวว่า หากโจทก์มีส่วนได้รับมรดกโจทก์ก็เอา หรือจะให้แก่บุตรโจทก์ก็แล้วแต่ผู้จัดการมรดกเห็นสมควร การที่โจทก์เบิกความดังกล่าวไม่เป็นการสละมรดก เพราะคำเบิกความดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบ ไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 แต่เป็นเพียงคำพูดแนะนำผู้จัดการมรดกตามมารยาทเท่านั้น
ว. เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล แต่ยังจัดการมรดกไม่เสร็จก็ตายเสียก่อน จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแทนและยังจัดการไม่เสร็จ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทก็ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกเป็นคดีนี้ การที่ ว. ก็ดี จำเลยก็ดีซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการ ถือว่าครอบครองแทนทายาท มีหน้าที่ต้องแบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาท ถือได้ว่าทายาทได้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วตราบเท่าที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการมรดก ฉะนั้น คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ (อ้างฎีกาที่ 1589/2509)
ข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้แม้จะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 นั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบส่วนข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบ ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (อ้างฎีกาที่1211/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะ, สิทธิในกองมรดก, หนังสือสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์, การแบ่งมรดก
ด. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับเดิม) ในขณะที่ ด. มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5อยู่แล้ว การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ด. จึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 และ 1445(เดิม) โจทก์ที่ 1จึงมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ด.แม้การสมรสระหว่างด. กับโจทก์ที่ 1จะยังไม่มีคำพิพากษาเพิกถอนหรือพิพากษาว่าเป็นโมฆะ แต่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะจำเลยได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า 'บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย' ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะของคู่สมรสเดิมก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสิทธิในการรับมรดกของทายาท
ด. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับเดิม) ในขณะที่ ด. มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 อยู่แล้ว การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ด. จึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 และ 1445 (เดิม) โจทก์ที่ 1 จึงมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ด. แม้การสมรสระหว่าง ด. กับโจทก์ที่ 1 จะยังไม่มีคำพิพากษาเพิกถอนหรือพิพากษาว่าเป็นโมฆะ แต่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะจำเลยได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า "บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย" ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรส, มรดก, และการครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกาวินิจฉัยสถานะภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย, สิทธิในมรดก, และอายุความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1488(เดิม)บุคคลใดจะอ้างว่าการสมรสเป็นโมฆะไม่ได้ นอกจากศาลพิพากษาว่าเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ แม้ขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1แต่เจ้ามรดกยังอยู่กินฉันสามีภริยากับ อ. ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และศาลยังมิได้พิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับเจ้ามรดกเป็นโมฆะ การสมรสจึงยังสมบูรณ์อยู่ โจทก์ที่ 1 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับเจ้ามรดก จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 เข้าใจว่าเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์สินอันใดอยู่อีกจึงได้ทำเอกสารไว้ต่อผู้จัดการมรดกตามที่ผู้จัดการสั่งให้ทำ ความว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งมรดกตามที่ควารได้ให้แก่ผู้รับไว้ถูกต้องแล้วผู้รับขอรับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมด เอกสารนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่มีข้อพิพาทอันใดต่อผู้จัดการมรดก และมิใช่เป็นการสละมรดกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะ, การครอบครองปรปักษ์, และการสละมรดก: สิทธิในกองมรดกของทายาท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1488 (เดิม)บุคคลใดจะอ้างว่าการสมรสเป็นโมฆะไม่ได้ นอกจากศาลพิพากษาว่าเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ แม้ขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1แต่เจ้ามรดกยังอยู่กินฉันสามีภริยากับ อ. ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และศาลยังมิได้พิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับเจ้ามรดกเป็นโมฆะ การสมรสจึงยังสมบูรณ์อยู่ โจทก์ที่ 1 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับเจ้ามรดก จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 เข้าใจว่าเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์สินอันใดอยู่อีกจึงได้ทำเอกสารไว้ต่อผู้จัดการมรดกตามที่ผู้จัดการสั่งให้ทำ ความว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งมรดกตามที่ควารได้ให้แก่ผู้รับไว้ถูกต้องแล้วผู้รับขอรับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมด เอกสารนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่มีข้อพิพาทอันใดต่อผู้จัดการมรดก และมิใช่เป็นการสละมรดกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละมรดกบางส่วนและสัญญาแบ่งปันมรดก: ผลผูกพันตามกฎหมาย
แม้เอกสารที่โจทก์ทำจะมิใช่เอกสารสละมรดกตามความหมายของมาตรา 1612 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในฐานะทายาทนอกจากที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นแล้ว ยังมีทรัพย์อื่นอีกและการสละมรดกจะทำแต่เพียงบางส่วนไม่ได้ตามมาตรา 1613แต่เอกสารดังกล่าวก็เป็นหลักฐานแห่งสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งโจทก์ลงลายพิมพ์นิ้วมือให้ไว้กับจำเลยว่า โจทก์เป็นทายาทของเจ้ามรดก มีสิทธิได้รับมรดกแต่โจทก์ไม่พึงปรารถนาที่จะรับโอนมรดก โดยตกลงยินยอมให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกเป็นผู้รับโอนย่อมมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850,852 และ 1750โจทก์เรียกร้องทรัพย์มรดกส่วนนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดกในการฟ้องทายาทเพื่อชำระหนี้จากทรัพย์สินมรดก แม้ทายาทสละมรดก
โจทก์เป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายให้ร่วมกันนำเงินและทรัพย์สินในกองมรดกมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้เป็นกรณีที่เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาท เพื่อให้ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกแม้ต่อมาจำเลยทั้งสองได้สละมรดกเสียในระหว่างพิจารณา โจทก์ก็ยังมีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หากแต่ฟ้องในฐานะเป็นทายาทและก็เพื่อให้โจทก์ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกดังกล่าวแล้ว
of 11