คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 497

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนการขายฝากและการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: สิทธิของผู้รับโอนสิทธิ
จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้แก่ ภ. บิดาโจทก์ ระหว่างที่ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์ ต่อมาจำเลยทำสัญญากับ ภ. ว่าไม่ประสงค์จะไถ่ถอนและขอสละสิทธิไถ่ถอน ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ภ. ถือได้ว่า เป็นการขายขาดที่ดินให้แก่ ภ. โดยทำสัญญากันเอง จึงไม่เกิดผลเป็นสัญญาซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยยังมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากได้ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากอยู่และภายในกำหนดระยะการขายฝาก จำเลยย่อมมีสิทธินำที่ดินไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 497 ได้กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นได้ด้วย เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิไถ่การขายฝากที่ดินดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่การขายฝาก: กำหนดเฉพาะผู้ขายเดิม, ทายาท หรือผู้รับโอน/ได้รับอนุญาตตามสัญญา
ผู้มีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 497ได้แก่ ผู้ขายเดิม หรือทายาทผู้ขายเดิม ผู้รับโอนสิทธินั้นหรือบุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะ ว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้ กฎหมายกำหนดตัวผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินไว้โดยเฉพาะ เจาะจงแล้ว แม้โจทก์จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ขายฝากหรือไม่ก็ตามหามีสิทธิไถ่ถอนที่ดินพิพาทไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ทรัพย์สินขายฝากสงวนเฉพาะผู้ขายเดิม/ผู้รับโอนสิทธิ/ผู้ที่ระบุในสัญญาเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 บุคคลที่จะใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต้องเป็นผู้ขายเดิม ทายาทผู้ขายเดิม ผู้รับโอนสิทธิหรือบุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้ เป็นการกำหนดตัวผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินไว้โดยเฉพาะเจาะจงแล้ว โจทก์มิใช่บุคคลที่มีสิทธิในการไถ่ที่ดินพิพาทตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้นแม้โจทก์จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ผู้ขายฝากหรือไม่ก็ตาม โจทก์จะอ้างเหตุว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสและขอใช้สิทธิไถ่ที่พิพาทหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ทรัพย์สินขายฝากสงวนเฉพาะผู้ขายเดิม/ผู้รับโอนสิทธิ/ผู้ที่ระบุในสัญญาเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 บุคคลที่จะใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต้องเป็นผู้ขายเดิมทายาทผู้ขายเดิมผู้รับโอนสิทธิหรือบุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้เป็นการกำหนดตัวผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินไว้โดยเฉพาะเจาะจงแล้ว โจทก์มิใช่บุคคลที่มีสิทธิในการไถ่ที่ดินพิพาทตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้นแม้โจทก์จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ผู้ขายฝากหรือไม่ก็ตามโจทก์จะอ้างเหตุว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสและขอใช้สิทธิไถ่ที่พิพาทหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้ขอไถ่ทรัพย์ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้มีสิทธิไถ่ตามกฎหมาย
เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในนามตนเองแทนลูกหนี้โดยฟ้องคดีขอไถ่ทรัพย์ที่ลูกหนี้ขายฝากไว้ เมื่อพ้นกำหนดเวลาไถ่แล้วไม่ได้ เพราะลูกหนี้ไม่มีสิทธิไถ่คืนแล้ว
การที่ก่อนครบกำหนดไถ่ทรัพย์คืน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้มีหนังสือแจ้งขอสวมสิทธิไถ่ทรัพย์แทนผู้ขายฝากซึ่งเป็นลูกหนี้นั้น ถือไม่ได้ว่าผู้มีสิทธิในการไถ่ทรัพย์ได้ใช้สิทธิขอไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืน เพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้เท่านั้น ไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องขอไถ่ทรัพย์แทนลูกหนี้ไม่ได้ หากพ้นกำหนดไถ่แล้ว ผู้มีสิทธิไถ่ต้องเป็นผู้ขายเดิมหรือผู้รับโอนสิทธิเท่านั้น
เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในนามตนเองแทนลูกหนี้โดยฟ้องคดีขอไถ่ทรัพย์ที่ลูกหนี้ขายฝากไว้ เมื่อพ้นกำหนดเวลาไถ่แล้วไม่ได้ เพราะลูกหนี้ไม่มีสิทธิไถ่คืนแล้ว
การที่ก่อนครบกำหนดไถ่ทรัพย์คืน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้มีหนังสือแจ้งขอสวมสิทธิไถ่ทรัพย์แทนผู้ขายฝากซึ่งเป็นลูกหนี้นั้น ถือไม่ได้ว่าผู้มีสิทธิในการไถ่ทรัพย์ได้ใช้สิทธิขอไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืน เพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้เท่านั้น ไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366-1367/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้มีข้อตกลงภายหลัง และภรรยาผู้ขายฝากไม่มีสิทธิไถ่
หลังจากทำหนังสือสัญญาขายฝากและจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว 6 เดือนเต็ม โจทก์ทำเอกสารขึ้นอีกฉบับหนึ่งว่า โจทก์จะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิโดยอนุญาตให้ ส. ผู้ขายฝากทำการก่อสร้างในที่ดินที่ขายฝากได้ ส่วนดอกเบี้ยต้องมาตกลงกันอีกในภายหลังพฤติการณ์เช่นนี้ถือว่าคู่กรณีมีเจตนาจะทำสัญญากู้ยืมกันมาแต่แรกหาได้ไม่ สัญญาขายฝากจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง
จำเลยไม่ใช่ผู้ขายฝากเป็นเพียงภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ขายฝากเท่านั้น ตามกฎหมายจำเลยจะใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366-1367/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้มีข้อตกลงเพิ่มเติมภายหลัง และสิทธิไถ่ทรัพย์สินมีเฉพาะผู้ขายฝาก
หลังจากทำหนังสือสัญญาขายฝากและจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว 6 เดือนเต็ม โจทก์ทำเอกสารขึ้นอีกฉบับหนึ่งว่า โจทก์จะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิโดยอนุญาตให้ ส. ผู้ขายฝากทำการก่อสร้างในที่ดินที่ขายฝากได้ ส่วนดอกเบี้ยต้องมาตกลงกันอีกในภายหลังพฤติการณ์เช่นนี้ถือว่าคู่กรณีมีเจตนาจะทำสัญญากู้ยืมกันมาแต่แรกหาได้ไม่ สัญญาขายฝากจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง
จำเลยไม่ใช่ผู้ขายฝากเป็นเพียงภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ขายฝากเท่านั้น ตามกฎหมายจำเลยจะใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่การขายฝากตามสัญญาประนีประนอม: ไม่โอนกรรมสิทธิ์ แต่ให้สิทธิไถ่แทนจำเลย เพื่อชำระหนี้
ที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันมีใจความว่าจำเลยยอมใช้เงิน 70,000 บาท. แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระเงิน. จำเลยยอมให้โจทก์เข้าสวมสิทธิไถ่การขายฝากที่ดิน. เมื่อจำเลยไม่ใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนดนั้น มิได้มีความหมายว่าเป็นการโอนสิทธิการไถ่การขายฝากให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497(2) ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่มีความหมายแต่เพียงว่าโจทก์มีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนมาในนามของจำเลย. จำเลยคงมีสิทธิอยู่ตามเดิม. ส่วนโจทก์มีเพียงสิทธิที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้. เพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน 70,000 บาทตามสัญญาเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิไถ่ที่ดินเป็นประกันชำระหนี้ ไม่ทำให้โอนกรรมสิทธิ์
ที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันมีใจความว่าจำเลยยอมใช้เงิน 70,000 บาท แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระเงิน จำเลยยอมให้โจทก์เข้าสวมสิทธิไถ่การขายฝากที่ดิน เมื่อจำเลยไม่ใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนดนั้น มิได้มีความหมายว่าเป็นการโอนสิทธิการไถ่การขายฝากให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497(2) ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่มีความหมายแต่เพียงว่าโจทก์มีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนมาในนามของจำเลย จำเลยคงมีสิทธิอยู่ตามเดิม ส่วนโจทก์มีเพียงสิทธิที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ เพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน 70,000 บาทตามสัญญาเท่านั้น
of 3