พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับรองบุตร การรับสารภาพและการพิสูจน์ความจริง
การที่หญิงจำเลยรับว่าบุตรของตนเกิดจากชายซึ่งเป็นโจทก์โดยโจทก์จำเลยได้เสียกันแต่มิได้จดทะเบียนสมรส เพียงเท่านี้ยังไม่เป็นเหตุพอที่จะชี้ขาดให้จดทะเบียนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของโจทก์ทีเดียว ในเมื่อฝ่ายจำเลยยังคัดค้านอยู่ จำต้องพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุผลอย่างใดที่จะให้ศาลมีคำพิพากษาให้จดทะเบียนตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 1527
( ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2501 )
( ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2501 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับรองบุตรเมื่อฝ่ายแม่คัดค้าน ต้องพิสูจน์เหตุผลตามกฎหมาย
การที่หญิงจำเลยรับว่าบุตรของตนเกิดจากชายซึ่งเป็นโจทก์โดยโจทก์จำเลยได้เสียกันแต่มิได้จดทะเบียนสมรส เพียงเท่านี้ยังไม่เป็นเหตุพอที่จะชี้ขาดให้จดทะเบียนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของโจทก์ทีเดียว ในเมื่อฝ่ายจำเลยยังคัดค้านอยู่ จำต้องพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุผลอย่างใดที่จะให้ศาลมีคำพิพากษาให้จดทะเบียนตามความใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1527 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรไม่ใช่ทรัพย์สิน แม้อุปการะเลี้ยงดู ก็ไม่มีสิทธิในอำนาจปกครอง
บุคคลไม่ใช่ทรัพย์สิน บุตรจึงไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของบิดามารดที่จะมอบให้บุคคลอื่นได้
เด็กจะเป็นบุตรที่ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็ตามเมื่อบิดาถึงแก่กรรมและไม่ปรากฎว่ามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเหนือเด็กนั้นอยู่ บุคคลอื่นแม้จะได้อุปการะมานานและสิ้นเงินไปเพียงใดก็ตาม หาก่อให้เกิดสิทธิที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองเด็กนั้นขึ้นมาไม่
เด็กจะเป็นบุตรที่ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็ตามเมื่อบิดาถึงแก่กรรมและไม่ปรากฎว่ามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเหนือเด็กนั้นอยู่ บุคคลอื่นแม้จะได้อุปการะมานานและสิ้นเงินไปเพียงใดก็ตาม หาก่อให้เกิดสิทธิที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองเด็กนั้นขึ้นมาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตร: บุตรไม่ใช่ทรัพย์สิน แม้อุปการะเลี้ยงดู ก็ไม่มีสิทธิปกครองแทนบิดามารดา
บุคคลไม่ใช่ทรัพย์สิน บุตรจึงไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของบิดามารดาที่จะมอบให้บุคคลอื่นได้
เด็กจะเป็นบุตรที่ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็ตามเมื่อบิดาถึงแก่กรรมและไม่ปรากฏว่ามารดาถูกถอนอำนาจปกครองดังนี้ มารดาก็ยังคงเป็นผู้มีและใช้อำนาจปกครองเหนือเด็กนั้นอยู่ บุคคลอื่นแม้จะได้อุปการะมานานและสิ้นเงินไปเพียงใดก็ตาม หาก่อให้เกิดสิทธิที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองเด็กนั้นขึ้นมาไม่
เด็กจะเป็นบุตรที่ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็ตามเมื่อบิดาถึงแก่กรรมและไม่ปรากฏว่ามารดาถูกถอนอำนาจปกครองดังนี้ มารดาก็ยังคงเป็นผู้มีและใช้อำนาจปกครองเหนือเด็กนั้นอยู่ บุคคลอื่นแม้จะได้อุปการะมานานและสิ้นเงินไปเพียงใดก็ตาม หาก่อให้เกิดสิทธิที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองเด็กนั้นขึ้นมาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินหมั้นและค่าทดแทนจากการไม่จดทะเบียนสมรส แม้มีการหลับนอนตามประเพณี
ชายหญิงทำพิธีสมรสกันตามประเพณีแล้ว แต่ฝ่ายหญิงกลับไม่ยอมจดทะเบียนสมรสทำให้การสมรสไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายดังนี้ ชายย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกของหมั้นคืนจากหญิงได้ ส่วนค่าทดแทนเช่นค่าใช้จ่ายที่ต้องทำตามประเพณีนั้น แม้การสมรสจะมิได้สำเร็จไปโดยชอบ แต่เมื่อชายได้หลับนอนกับหญิงตามประเพณีแล้ว ค่าใช้จ่ายที่ต้องทำตามประเพณีจึงไม่ใช่ค่าเสียหายอันควรคิดเอาแก่กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังจดทะเบียนรับรอง: ศาลมีดุลพินิจพิจารณาพฤติการณ์
โจทก์เคยฟ้องศาลขอให้สั่งว่าบุตรอยู่ในอำนาจปกครองของตนศาลพิพากษาว่ายังไม่ได้จดทะเบียนเด็กว่าเป็นบุตรอันชอบด้วยกฎหมายจึงยังไม่มีผลทำให้โจทก์เป็นบิดาของเด็กตามกฎหมาย ภายหลังโจทก์จึงจัดการจดทะเบียนรับรองบุตรโดยชอบแล้ว มายื่นฟ้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครองนั้นจากมารดาเด็กมาให้อยู่กับโจทก์ได้แต่เมื่อมีพฤติการณ์ที่สมควรศาลก็มีอำนาจที่จะให้อำนาจการปกครองบุตรอยู่แก่มารดาของเด็กต่อไปอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตร: ศาลพิจารณาตามความเหมาะสมเมื่อแม่ฟ้องแย้งสิทธิบิดา
โจทก์ผู้เป็นบิดาฟ้องเรียกบุตรคืนจากหญิงผู้เป็นมารดาโดยอ้างอำนาจปกครองตามมาตรา 1537 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่จำเลยก็ได้ฟ้องแย้งขอให้ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่แก่มารดาตามมาตรา 1538(6) ดังนี้ ศาลย่อมพิพากษาให้เด็กอยู่ในอำนาจปกครองของมารดาได้ในเมื่อเป็นการสมควรแก่รูปคดี เพราะมาตรา 1538 นี้ เป็นบทยกเว้นของมาตรา 1537 ที่อำนาจปกครองนั้นอยู่แก่มารดา อันเป็นกรณีธรรมดาโดยทั่วๆ ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญายอมความของผู้เยาว์: ผู้แทนโดยชอบธรรมมีสิทธิเพิกถอนได้หากไม่ได้รับความยินยอม
ผู้เยาว์และผู้แทนโดยชอบธรรมร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องคดีและทำสัญญายอมความ โดยผู้เยาว์มิได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมและผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่เคยให้สัตยาบัน ดังนี้ ผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญายอมความนั้นได้
ผู้ที่อ้างว่าเป็นบิดาและมารดาฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญายอมความที่ผู้เยาว์ทำไว้ โดยอ้างว่าบิดามิได้ให้ความยินยอม ถ้ายังปรากฏความในฟ้องต่อไปซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องโดยหมายความว่าผู้เยาว์ไม่อาจทำนิติกรรมโดยตนเองได้แล้ว แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าบิดาไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม ก็ถือได้ว่าฟ้องตรงกับประเด็นแล้ว
ผู้ที่อ้างว่าเป็นบิดาและมารดาฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญายอมความที่ผู้เยาว์ทำไว้ โดยอ้างว่าบิดามิได้ให้ความยินยอม ถ้ายังปรากฏความในฟ้องต่อไปซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องโดยหมายความว่าผู้เยาว์ไม่อาจทำนิติกรรมโดยตนเองได้แล้ว แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าบิดาไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม ก็ถือได้ว่าฟ้องตรงกับประเด็นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญายอมความของผู้เยาว์ที่ทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้เยาว์และผู้แทนโดยชอบธรรมร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องคดีและทำสัญญายอมความโดยผู้เยาว์มิได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมและผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่เคยให้สัตยาบัน ดังนี้ ผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญายอมความนั้นได้
ผู้ที่อ้างว่าเป็นบิดาและมารดาฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญายอมความที่ผู้เยาว์ทำไว้ โดยอ้างว่าบิดามิได้ให้ความยินยอม ถ้ายังปรากฏความในฟ้องต่อไปซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องโดยหมายความว่าผู้เยาว์ไม่อาจทำนิติกรรมโดยตนเองได้แล้วแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าบิดาไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม ก็ถือได้ว่าฟ้องตรงกับประเด็นแล้ว.
ผู้ที่อ้างว่าเป็นบิดาและมารดาฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญายอมความที่ผู้เยาว์ทำไว้ โดยอ้างว่าบิดามิได้ให้ความยินยอม ถ้ายังปรากฏความในฟ้องต่อไปซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องโดยหมายความว่าผู้เยาว์ไม่อาจทำนิติกรรมโดยตนเองได้แล้วแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าบิดาไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม ก็ถือได้ว่าฟ้องตรงกับประเด็นแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียน และสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร
แต่งงานกันตามประเพณีโดยมิได้จดทะเบียน แต่อยู่กินด้วยกันและระคนทรัพย์กันนั้น ทรัพย์ใดที่หามาได้ด้วยทรัพย์หรือแรงงานของฝ่ายใดก็ต้องถือว่าเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อไม่ปรากฏอย่างอื่นก็ต้องถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่งแม้จะแยกกันอยู่ภายหลังโดยมีการเยี่ยมเยียนกันอยู่ก็ไม่พอถือว่าจะไม่ร่วมทุกข์ร่วมสุขและไม่ระคนทรัพย์ต่อกัน
บิดามารดาแยกกันอยู่ มีบุตรเป็นทารกยังไม่เดียงสาและบิดามีภรรยาใหม่ ควรให้มารดาเป็นผู้ปกครอง
มารดาซึ่งขอเป็นผู้ปกครองบุตรนั้น แม้จะไม่มีทรัพย์พอเลี้ยงดูหรือมีพอก็ตามเมื่อบิดามีฐานะจะออกค่าเลี้ยงดูได้ บิดาก็ต้องออกค่าเลี้ยงดู
จำเลยฎีกาเฉพาะทุนทรัพย์ที่แพ้ชั้นศาลอุทธรณ์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่แพ้นั้น
โจทก์ฟ้องแบ่งที่ดินกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 1,000 บาท ศาลจะพิพากษาว่าโจทก์จำเลยมีส่วนคนละครึ่งไม่ได้ จะต้องพิพากษาให้แบ่งกันด้วย แต่ต้องไม่เกิน 1,000 บาทเท่าที่โจทก์ขอ
บิดามารดาแยกกันอยู่ มีบุตรเป็นทารกยังไม่เดียงสาและบิดามีภรรยาใหม่ ควรให้มารดาเป็นผู้ปกครอง
มารดาซึ่งขอเป็นผู้ปกครองบุตรนั้น แม้จะไม่มีทรัพย์พอเลี้ยงดูหรือมีพอก็ตามเมื่อบิดามีฐานะจะออกค่าเลี้ยงดูได้ บิดาก็ต้องออกค่าเลี้ยงดู
จำเลยฎีกาเฉพาะทุนทรัพย์ที่แพ้ชั้นศาลอุทธรณ์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่แพ้นั้น
โจทก์ฟ้องแบ่งที่ดินกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 1,000 บาท ศาลจะพิพากษาว่าโจทก์จำเลยมีส่วนคนละครึ่งไม่ได้ จะต้องพิพากษาให้แบ่งกันด้วย แต่ต้องไม่เกิน 1,000 บาทเท่าที่โจทก์ขอ