คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1733 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกมรดก: นับแต่วันสิ้นสุดการจัดการมรดก ไม่ใช่วันที่รู้
โจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกแทนที่ต้องฟ้องเรียกมรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ซึ่งอายุความฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกนั้นป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสอง เป็นบทจำกัดอายุความฟ้องร้องเป็นกรณีพิเศษให้นับอายุความ 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง หาใช่นับแต่วันที่รู้ถึงการจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
ทรัพย์มรดกคงมีที่ดินเพียงแปลงเดียว จำเลยได้โอนที่ดินมรดกโดยจดทะเบียนใส่ชื่อตนและ ท.เป็นผู้รับมรดกเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2527โดยมิได้จัดการแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ และเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะจัดการต่อไปอีก ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเห็นว่าการจัดการมรดกไม่ชอบ โจทก์ก็ต้องฟ้องภายในเวลาไม่เกิน5 ปี นับแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2527 เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม2534 เกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกมรดก: การจัดการมรดกสิ้นสุดเมื่อใด และเริ่มนับอายุความเมื่อใด
โจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกแทนที่ต้องฟ้องเรียกมรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งอายุความฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสองเป็นบทจำกัดอายุความฟ้องร้องเป็นกรณีพิเศษให้นับอายุความ5ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงหาใช่นับแต่วันที่รู้ถึงการจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่ ทรัพย์มรดกคงมีที่ดินเพียงแปลงเดียวจำเลยได้โอนที่ดินมรดกโดยจดทะเบียนใส่ชื่อตนและท.เป็นผู้รับมรดกเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่24ตุลาคม2527โดยมิได้จัดการแบ่งมรดกให้แก่โจทก์และเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะจัดการต่อไปอีกถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวแล้วเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเห็นว่าการจัดการมรดกไม่ชอบโจทก์ก็ต้องฟ้องภายในเวลาไม่เกิน5ปีนับแต่วันที่24ตุลาคม2527เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่16ตุลาคม2534เกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงคดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกเกินอำนาจ ทายาทมีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้ แม้จะพ้นอายุความมรดก
เดิมป. เจ้ามรดกเป็นเจ้าของที่ดินรวม6แปลงเมื่อป.ถึงแก่กรรมศาลได้มีคำสั่งตั้งจ.เป็นผู้จัดการมรดกของป. และจ.ได้ไปจดทะเบียนโอนที่ดินทรัพย์มรดกทั้ง6แปลงดังกล่าวมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจ.ในฐานะผู้จัดการมรดกจ.จึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นในฐานะผู้จัดการมรดกแทนทายาทอื่นทุกคนรวมถึงเด็กหญิงส. บุตรของป.ซึ่งเกิดกับโจทก์ด้วยแม้ภายหลังจากที่จ. ได้โอนที่พิพาททั้ง6แปลงมาเป็นของจ.ในฐานะผู้จัดการมรดกแล้วจ. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่พิพาททั้ง6แปลงไปให้แก่จ.เองในฐานะส่วนตัวนั้นก็จะถือว่าจ. ในฐานะส่วนตัวได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครองที่พิพาทจากการครอบครองแทนทายาททุกคนมาเป็นการครอบครองในฐานะส่วนตัวเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวยังมิได้เพราะจ.ยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาททุกคนว่าไม่มีเจตนายึดถือทรัพย์มรดกแทนทายาททุกคนต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1381ดังนั้นการที่จ. ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่จะต้องนำมาแบ่งให้ทายาทไปให้แก่ตนเองทั้งหมดในฐานะเป็นทายาทคนหนึ่งแล้วนำไปโอนให้แก่จำเลยที่2ทั้งหมดก็เป็นการกระทำของในฐานะผู้จัดการมรดกที่กระทำไปโดยปราศจากอำนาจจึงหามีผลผูกพันโจทก์และทายาทอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1720,823เมื่อจ. ยังมิได้ดำเนินการจัดแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทที่กฎหมายกำหนดไว้หรือตามที่ทายาทตกลงกันก็ต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้นจึงจะนำอายุความ5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสองมาใช้บังคับไม่ได้ จ.ครอบครองที่พิพาทแทนทายาททุกคนจึงถือได้ว่าได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ผู้รับมรดกเด็กหญิงส. ด้วยเมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกพิพาทที่ยังมิได้แบ่งกันโจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาห้ามฟ้องคดีมรดก1ปีและ10ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754บัญญัติไว้ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1748เมื่อจ.ได้โอนที่ดินมรดกพิพาททั้ง6แปลงไปให้แก่ตนเองทั้งหมดและโอนให้แก่จำเลยที่2ไปโดยไม่ชอบโจทก์ในฐานะผู้รับมรดกของเด็กหญิงส.ก็ชอบที่ใช้สิทธิในฐานะการเป็นทายาทของเด็กหญิงส.ที่มีอยู่ต่อกองมรดกฟ้องบังคับให้เพิกถอนการโอนที่มรดกดังกล่าวเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยมิชอบ และสิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์มรดกของทายาท
เดิม ป.เจ้ามรดกเป็นเจ้าของที่ดินรวม 6 แปลง เมื่อ ป.ถึงแก่กรรมศาลได้มีคำสั่งตั้ง จ.เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. และ จ.ได้ไปจดทะเบียนโอนที่ดินทรัพย์มรดก ทั้ง 6 แปลง ดังกล่าวมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกจ.จึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้น ในฐานะผู้จัดการมรดกแทนทายาทอื่นทุกคนรวมถึงเด็กหญิง ส.บุตรของ ป.ซึ่งเกิดกับโจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่ จ.ได้โอนที่พิพาททั้ง 6 แปลง มาเป็นของ จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกแล้ว จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่พิพาททั้ง 6 แปลง ไปให้แก่ จ.เองในฐานะส่วนตัวนั้นก็จะถือว่า จ.ในฐานะส่วนตัวได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครองที่พิพาทจากการครอบครองแทนทายาททุกคนมาเป็นการครอบครองในฐานะส่วนตัวเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวยังมิได้ เพราะจ.ยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาททุกคนว่าไม่มีเจตนายึดถือทรัพย์มรดกแทนทายาททุกคนต่อไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ดังนั้น การที่ จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่จะต้องนำมาแบ่งให้ทายาทไปให้แก่ตนเองทั้งหมดในฐานะเป็นทายาทคนหนึ่งแล้วนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งหมด ก็เป็นการกระทำของในฐานะผู้จัดการมรดกที่กระทำไปโดยปราศจากอำนาจ จึงหามีผลผูกพันโจทก์และทายาทอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1720, 823 เมื่อ จ.ยังมิได้ดำเนินการจัดแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทที่กฎหมายกำหนดไว้หรือตามที่ทายาทตกลงกัน ก็ต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น จึงจะนำอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้
จ.ครอบครองที่พิพาทแทนทายาททุกคน จึงถือได้ว่าได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ผู้รับมรดกเด็กหญิง ส.ด้วย เมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกพิพาทที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาห้ามฟ้องคดีมรดก 1 ปี และ 10 ปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกตายตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1754 บัญญัติไว้ ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1748เมื่อ จ.ได้โอนที่ดินมรดกพิพาททั้ง 6 แปลง ไปให้แก่ตนเองทั้งหมดและโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกของเด็กหญิง ส.ก็ชอบที่ใช้สิทธิในฐานะการเป็นทายาทของเด็กหญิง ส.ที่มีอยู่ต่อกองมรดกฟ้องบังคับให้เพิกถอนการโอนที่มรดกดังกล่าวเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์และสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้สละ โดยการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
ท. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายหลังจากโจทก์สละมรดกแล้ว4วันจังเป็นการแสดงเจตนาสละมรดกที่ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1619การสละมรดกจึงไม่เกิดผลตามกฎหมายถือเท่ากับว่าไม่มีการสละมรดกโจทก์จึงยังคงมีสิทธิในทรัพย์มรดกในส่วนที่โจทก์จะพึงได้รับตามพินัยกรรมและการที่โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินมรดกและไม่เคยติดใจเรียกร้องทรัพย์มรดกก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้ถือว่าเป็นการปิดปากและเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์สละมรดกนั้นแล้ว เมื่อการสละมรดกโดยโจทก์ไม่เกิดผลตามกฎหมายโจทก์จึงยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกอยู่การไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกโดยจำเลยตกลงรับสภาพหนี้ต่อธนาคารและผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารก็ปรากฎว่าโจทก์และน้องๆทุกคนก็ช่วยกันออกเงินคนละ20,000บาทให้จำเลยไปดำเนินการหาใช่เป็นเงินของจำเลยเพียงคนเดียวไม่อีกทั้งไม่ปรากฎว่ามีการตกลงกันระหว่างพี่น้องจำเลยให้จำเลยไปจัดการไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกแล้วจำเลยจะได้รับที่ดินมรดกในส่วนที่โจทก์จะพึงได้รับตามพินัยกรรมเป็นการตอบแทนที่ดินมรดกในส่วนดังกล่าวจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกโดยโจทก์ฟ้องตั้งประเด็นว่าโจทก์เป็นทายาทโดยพินัยกรรมมีสิทธิรับมรดกจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจัดการมรดกโดยมิชอบไม่ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดกกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสองได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้นมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงจึงจะนำอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาบังคับใช้กับกรณีนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความจัดการมรดก, การแบ่งทรัพย์มรดก, สิทธิส่วนแบ่งราคาขาย, การซื้อขายโดยชอบ
จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนบ้านและที่พิพาทแก่จำเลยที่1ในนามจำเลยที่1เป็นผู้รับมรดกเองเพื่อความสะดวกในการที่จะขายเอาเงินมาแบ่งปันกันยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเสร็จสิ้นการจัดการมรดกจะเสร็จสิ้นต่อเมื่อได้แบ่งเงินราคาขายกันแล้วเมื่อยังไม่ได้แบ่งเงินราคาขายแก่ทายาทการจัดการมรดกจึงยังไม่เสร็จสิ้นลงอายุความยังไม่เริ่มนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสอง จำเลยที่1ขายบ้านและที่ดินทรัพย์มรดกให้จำเลยที่2โดยชอบไม่อาจเพิกถอนได้โจทก์จึงไม่อาจขอให้ใส่ชื่อโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของคงมีสิทธิเพียงได้รับส่วนแบ่งเงินค่าขายทรัพย์มรดกดังกล่าวตามราคาที่ขายไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดกของผู้จัดการมรดก: การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดทำให้ฟ้องได้เสมอ
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนโจทก์และทายาทอื่นยังจัดการมรดกยังไม่เสร็จจำเลยจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเรียกมรดกและการขาดสิทธิในการฟ้องของทายาท
โจทก์ทั้งสี่กับ ช.เป็นบุตรของท. ส่วนจำเลยเป็นภริยาของ ช.มีบุตรด้วยกัน3คนช. ได้รับที่พิพาทมาด้วยการยกให้ต่อมาปี 2520 ช. จดทะเบียนให้จำเลยและบุตรอีก 2 คน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาท ช. ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2521 หลังจากนั้นจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวโดย ท. ไม่ได้เกี่ยวข้อง ท. ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2531 ต่อมาศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดก เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ ช. ถึงแก่กรรมถึงวันที่ ท. ถึงแก่กรรมเป็นเวลา 10 ปีเศษ แม้จะไม่ปรากฏว่าท.ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของช.หรือไม่แต่การที่ท.มิได้ฟ้องเรียกมรดกภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ ช.ถึงแก่กรรม ก็ย่อมขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคท้าย โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีโดยอาศัยสิทธิของ ท.เมื่อสิทธิของ ท. ในการฟ้องเรียกมรดกขาดอายุความแล้ว คดีโจทก์ทั้งสี่ย่อมขาดอายุความด้วย และเมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิในที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ท. จึงนำบทบัญญัติในมาตรา 1733 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แบ่งทรัพย์ให้ทายาทตามส่วน การวินิจฉัยอายุความของผู้จัดการมรดก
โจทก์ฟ้องกองมรดกของผู้ตายโดย นายส.นายอ.นายช.ผู้จัดการมรดกและบรรยายฟ้องว่า ศาลแต่งตั้งให้บุคคลทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโจทก์ทวงถามให้แบ่งมรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์แต่จำเลยไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องบุคคลทั้งสามดังกล่าวในฐานะผู้จัดการมรดก ศาลย่อมบังคับให้ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งจะต้องฟ้องเรียกเสียภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง การที่จำเลยระบุว่าโจทก์ฟ้องคดีเกินหนึ่งปีคดีจึงขาดอายุความนั้น ถือได้ว่าอายุความที่จำเลยอ้างถึงคืออายุความตา:มมาตรา 1755 มิใช่มาตรา 1733 วรรคสอง จึงมีประเด็นวินิจฉัยเฉพาะอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 เพียงอย่างเดียวที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 1733วรรคสอง และพิพากษายกฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่:ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4291/2529) โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหลายเท่านั้น จำเลยไม่อาจจะยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ผู้ตายและ ล. เป็นสามีภริยากันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิมใช้บังคับ โดยไม่มีสินเดิมทั้งสองฝ่าย ผู้ตายจึงมีส่วนในสินสมรสสองในสามส่วนซึ่งตกเป็นมรดกแก่ทายาท โจทก์เป็นทายาทและมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้ทายาทอื่นโดยไม่แบ่งปันให้โจทก์ตามส่วน เป็นการแบ่งปันที่มิชอบด้วยกฎหมายโจทก์ชอบที่จะขอให้แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายใหม่ได้ จำเลยจะอ้างว่าได้แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้ทายาทอื่น..................... ....................................................จนหมดสิ้นแล้ว ไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะแบ่งปันให้โจทก์อีกหาได้ไม่ วิธีการดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกตามฟ้องกันอย่างไรเป็นเรื่องของการบังคับคดี ไม่จำเป็นต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิทายาท, อายุความ, และการแบ่งทรัพย์สินโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องกองมรดกของผู้ตายโดย นายส. นายอ. นายช.ผู้จัดการมรดกและบรรยายฟ้องว่า ศาลแต่งตั้งให้บุคคลทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโจทก์ทวงถามให้แบ่งมรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์แต่จำเลยไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องบุคคลทั้งสามดังกล่าวในฐานะผู้จัดการมรดก ศาลย่อมบังคับให้ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งจะต้องฟ้องเรียกเสียภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง การที่จำเลยระบุว่าโจทก์ฟ้องคดีเกินหนึ่งปีคดีจึงขาดอายุความนั้น ถือได้ว่าอายุความที่จำเลยอ้างถึงคืออายุความตา:มมาตรา 1755 มิใช่มาตรา 1733 วรรคสอง จึงมีประเด็นวินิจฉัยเฉพาะอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 เพียงอย่างเดียวที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 1733วรรคสอง และพิพากษายกฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่:ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4291/2529)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหลายเท่านั้น จำเลยไม่อาจจะยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
ผู้ตายและ ล. เป็นสามีภริยากันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิมใช้บังคับ โดยไม่มีสินเดิมทั้งสองฝ่าย ผู้ตายจึงมีส่วนในสินสมรสสองในสามส่วนซึ่งตกเป็นมรดกแก่ทายาท
โจทก์เป็นทายาทและมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้ทายาทอื่นโดยไม่แบ่งปันให้โจทก์ตามส่วน เป็นการแบ่งปันที่มิชอบด้วยกฎหมายโจทก์ชอบที่จะขอให้แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายใหม่ได้ จำเลยจะอ้างว่าได้แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้ทายาทอื่น..................... ....................................................จนหมดสิ้นแล้ว ไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะแบ่งปันให้โจทก์อีกหาได้ไม่
วิธีการดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกตามฟ้องกันอย่างไรเป็นเรื่องของการบังคับคดี ไม่จำเป็นต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา.
of 5