คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าบางอย่าง พ.ศ.2482 ม. 3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าทองคำโดยไม่ได้รับอนุญาตและเจตนาหลีกเลี่ยงข้อห้ามตามกฎหมายศุลกากร
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกาควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2494 บัญญัติห้ามมิให้นำทองคำเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวนิยมคำว่าทองคำไว้ว่า "ทองคำ หมายความถึงเนื้อทองคำไม่ว่าจะเป็นแท่ง ก้อน แผ่น หรือรูปอื่น หรือผสมกับสิ่งอื่นใดด้วย แต่ไม่หมายความถึวเครื่องรูปพรรณทองคำซึ่งตามปกติและโดยสภาพใช้ในการประดับร่างกาย" ทองคำแผ่นของกลางทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดเท่ากันและมีตราประทับไว้เท่านั้น ทองคำแผ่นของกลางจึงไม่ใช่เครื่องรูปพรรณทองคำซึ่งตามปกติและโดยสภาพใช้ในการประดับร่างกาย ทองคำแผ่นของกลางจึงเป็นของต้องห้ามไม่ให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว การที่จำเลยรับทองคำแผ่นของกลางไว้ โดยรู้ว่าเป็นทองคำแผ่นที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้าควบคุมโดยสำคัญผิดและผู้ร่วมกระทำผิด: ทัพพีจากเครื่องจักรเข้าข่ายสิ่งหัตถกรรม
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้สั่งของต้องห้ามจากต่างประเทศแทนจำเลย ที่ 1 โดยมิได้รับอนุญาตจากกระทรวงเศรษฐการก่อน แม้จะอ้างว่าสำคัญผิดว่า ของที่สั่งมานั้น ไม่ใช่ของต้องห้าม ก็ยังคงต้องมีความผิด กรณีเช่นนี้ถือว่าจำเลยทั้งสอง เป็นผู้ร่วมกันกระทำผิด
ทัพพีแม้ จะเป็นสิ่งประดิษฐ์ จากเครื่องจักร ก็อยู่ในความหมายว่า เป็นสิ่งหัตถกรรมการความหมายในประกาศของกระทรวงเศรษฐการ ลงวันที่ 14 กันยายน 2498 ข้อ 10 อันจำต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวง เศรษฐการเสียก่อน จึงจะนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้าควบคุมโดยสำคัญผิดและความรับผิดของกรรมการบริษัท
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้สั่งของต้องห้ามจากต่างประเทศแทนจำเลยที่ 1 โดยมิได้รับอนุญาตจากกระทรวงเศรษฐการก่อน แม้จะอ้างว่าสำคัญผิดว่าของที่สั่งมานั้นไม่ใช่ของต้องห้ามก็ยังคงต้องมีความผิด กรณีเช่นนี้ถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ร่วมกันกระทำผิด
ทัพพีแม้จะเป็นสิ่งประดิษฐ์จากเครื่องจักร ก็อยู่ในความหมายว่าเป็นสิ่งหัตถกรรมตามความหมายในประกาศของกระทรวงเศรษฐการ ลงวันที่ 14 กันยายน 2498 ข้อ 10 อันจำต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงเศรษฐการเสียก่อน จึงจะนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งออกสิ่งของชำรุดเพื่อซ่อมแซม ไม่ถือเป็นสินค้าต้องห้าม ตาม พ.ร.ก. ควบคุมการส่งออก
จำเลยได้นำเครื่องขยายเสียและสิ่งอุปกรณ์ซึ่งเป็นของจำเลยมีไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2496 สำหรับรับจ้างโฆษณาในงานต่าง ๆ ออกไปนอกราชอาณาจักร สู่ประเทศลาว เพื่อให้วาดผาทดซึ่งอยู่ในประเทศ ลาวคนฝั่งแม่น้ำโขงกับจังหวัดเลยเช่าเมื่อเดือน มิถุนายน 2500 ต่อมาเครื่องชำรุดระหว่างงานจำเลยจังได้ขายเครื่องนี้ให้แก่วัดผาหดไปในราคา 6,200 บาท โดยมิได้รับอนุญาตพนักงานเจ้าหน้าที่โดยชอบ เพื่อการนำออกนอกราชอาณาจักร ดังนี้ มิใช่เป็นเรื่องจำเลยได้นำเครื่องขยายเสียงและอุปกรณ์รายนี้ไปในฐานะสินค้าเพื่อเสนอขายแต่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเครื่องขยายเสียงไว้สำหรับให้เช่าใช้โฆษณาในงานของวัดผาหด แล้วจะกลับเข้ามา แต่ในระหว่างงานเครื่องได้เกิดชำรุด จำเลยจึงขายให้แก่วัดผาหดไป ตามพฤติการณ์ดังกล่าว ถือไม่ได้ว่า เครื่องขยายเสียงและอุปกรณ์รายนี้ เป็นสินค้าตามความหมายแห่งพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งสินค้า บางอย่าง (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2482 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเครื่องขยายเสียงออกนอกราชอาณาจักรเพื่อเช่า ไม่ใช่การส่งออกสินค้าต้องขออนุญาต
จำเลยได้นำเครื่องขยายเสียงและสิ่งอุปกรณ์ซึ่งเป็นของจำเลยมีไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2496 สำหรับรับจ้างโฆษณาในงานต่างๆ ออกไปนอกราชอาณาจักรสู่ประเทศลาว เพื่อให้วัดผาหดซึ่งอยู่ในประเทศลาวคนละฝั่งแม่น้ำโขงกับจังหวัดเลยเช่าเมื่อเดือนมิถุนายน 2500 ต่อมาเครื่องชำรุดระหว่างงาน จำเลยจึงได้ขายเครื่องนี้ให้แก่วัดผาหดไปในราคา 6,200 บาทโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่โดยชอบ เพื่อการนำออกนอกราชอาณาจักร ดังนี้ มิใช่เป็นเรื่องจำเลยได้นำเครื่องขยายเสียงและอุปกรณ์รายนี้ไปในฐานะสินค้าเพื่อเสนอขายแต่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเครื่องขยายเสียงไว้สำหรับให้เช่าใช้โฆษณาในงานของวัดผาหดแล้วจะนำกลับเข้ามาแต่ในระหว่างงานเครื่องได้เกิดชำรุด จำเลยจึงขายให้แก่วัดผาหดไป ตามพฤติการณ์ ดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเครื่องขยายเสียงและอุปกรณ์รายนี้เป็นสินค้าตามความหมายแห่งพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2492 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบนำทองคำเข้าประเทศ แม้ยังมิได้นำขึ้นจากเรือ หากมีเจตนาทุจริตก็ถือเป็นความผิด
การที่จำเลยซึ่งเป็นอินยิเนียร์เรือมีทองไว้ในครอบครองมากเกินจะเป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งทองนี้ซุกไว้ในโต๊ะทำงานของจำเลยในเรือซึ่งเข้ามาสู่ประเทศไทยจากต่างประเทศ เป็นการส่อว่าจำเลยไม่สุจริตในการพาเข้ามาในประเทศเมื่อมีกฎหมายศุลกากรบัญญัติให้ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงาน จำเลยไม่แจ้ง แม้จำเลยจะยังมิได้เอาทองเคลื่อนย้ายออกจากเรือเพื่อนำขึ้นบก ก็ถือว่าจำเลยกระทำผิด ฐานพาทองอันเป็นของต้องห้ามเข้ามาในประเทศ โดยมิได้รับอนุญาตแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบนำทองคำเข้าประเทศโดยเจตนาทุจริต แม้ยังมิได้นำขึ้นจากเรือ ถือเป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากร
การที่จำเลยซึ่งเป็นอินยิเนียร์เรือมีทองไว้ในครอบครองมากเกินจะเป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งทองนี้ซุกไว้ในโต๊ะทำงานของจำเลยในเรือซึ่งเข้ามาสู่ประเทศไทยจากต่างประเทศ เป็นการส่อว่าจำเลยไม่สุจริตในการพาเข้ามาในประเทศ เมื่อมีกฎหมายศุลกากรบัญญัติให้ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงาน จำเลยไม่แจ้ง แม้จำเลยจะยังมิได้เอาทองเคลื่อนย้ายออกจากเรือเพื่อนำขึ้นบก ก็ถือว่าจำเลยกระทำผิดฐานพาทองอันเป็นของต้องห้ามเข้ามาในประเทศโดยมิได้รับอนุญาตแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งออกยาสูบโดยไม่ได้รับอนุญาต และประเด็นการตรวจค้นที่ไม่เป็นไปตามวิธีพิจารณาความอาญา
กรนีที่ถือว่าฟ้องโจทไม่เคลือบคลุมพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสุลกากรเปนผู้ตรวดค้นของกลาง และมิได้ทำการบันทึกการตรวดค้นตามวิธีการแห่งประมวนกดหมายวิธีพิจารนาความอาญาดังนี้ โจทนำพยานบุคคลที่รู้เห็นเข้าสืบได้เพราะการตรวดค้นได้กะทำโดยอำนาดของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสุลกากรตามกดหมายสุลกากร
ตามฟ้องกล่าวว่าเหตุเกิดเวลา 18.00 น. เสสทางพิจารนาปรากตว่าเหตุเกิดเวลา 17.00น. เสสดั่งนี้ เปนการประมานเวลาไกล้เคียงกัน เรียกไม่ได้ว่าข้อเท็ดจิงต่างกัน
จำเลยนำยาสูบออกไปยังสถานีปะดังเบซานอกราชอานาจักรโดยมิได้รับอนุญาตจากรัถมนตรีกะซวงพานิชหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายซึ่งเปนเจ้าพนักงาน ดั่งนี้ ย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกไปและนำเข้ามาไนราชอานาจักรซึ่งสินค้าบางหย่าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศ: ไม่ผิดหากยังไม่พ้นด่าน และสิทธิในการขออนุญาต
เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นผิด แม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยไม่เอาผิดแก่จำเลยได้
จำเลยถูกจับฐานนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนถึงด่านพรมแดนคือยังมิทันนำเงินล่วงพ้นด่านเข้ามานั้นยังไม่มีความผิด แต่เงินตราต่างประเทศต้องยึดไว้ให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร
อ้างฎีกาที่ 811/2483
ธนบัตรไทยของจำเลยที่ถูกจับรวมกับเงินตราต่างประเทศนั้นก็ยังเป็นธนบัตรไทยอยู่นั่นเอง
เงินตราต่างประเทศที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรและจะยึดไว้ให้โอกาสแก่จำเลยขออนุญาตนั้นยึดไว้ทั้งหมด ไม่ใช่ยึดไว้เฉพาะส่วนที่เกินพันบาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเรือของกลาง: จำเป็นต้องระบุระวางบรรทุกในคำฟ้อง
เรือของกลางอันจะพึงริบตาม พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 32โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้ได้ความชัดว่ามีระวางบรรทุกเท่าใดมิฉะนั้นศาลจะไม่สั่งริบ
กรณีที่ถือว่าโจทก์ระบุเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติศุลกากรและ พระราชบัญญัติควบคุมการนำเข้ามาและส่งออกไปซึ่งสินค้าบางอย่าง
of 2