คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1639

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือตัดมรดกมีผลบังคับใช้ได้แม้ทำนอกสถานที่ราชการ และไม่มีสิทธิรับมรดกแทนทายาทที่ถูกตัด
การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทั่วไปนั้นถ้าไม่มีกฎหมายบังคับไว้โดยตรงหรือโดยปริยายว่าให้ต้องทำในสถานที่ราชการเท่านั้นแล้วพนักงานผู้มีหน้าที่ก็ย่อมจะออกไปปฏิบัติราชการตามหน้าที่นอกสถานที่ได้ และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติราชการเป็นการบริการให้แก่ประชาชนในวันหยุดราชการเมื่อไม่มีกฎหมายห้ามไว้และไม่เป็นการขัดต่อระเบียบแบบแผนก็ย่อมจะต้องถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการโดยชอบข้าราชการผู้ปฏิบัติราชการเช่นนี้ย่อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายการที่ปลัดอำเภอได้ออกไปจากอำเภอไปทำหนังสือตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือตัดมรดกที่ได้ทำต่อหน้าเจ้าพนักงานโดยชอบมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
ท. มารดาจำเลยถูกตัดไม่ให้รับมรดกตั้งแต่ก่อน ท.ตาย ท. จึงไม่ได้เป็นทายาทตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 อีกต่อไป ท. จึงไม่มีที่(ความเป็นทายาท) ที่จำเลยจะเข้ารับมรดกแทนได้และไม่มีบทกฎหมายมาตรา ใดบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้สืบสันดานที่จะเข้าแทนที่การรับมรดกของทายาทโดยธรรมที่ถูกตัดมรดก หนังสือตัดไม่ให้รับมรดกเป็นการแสดงเจตนาโดยเด็ดขาดปราศจากเงื่อนไขใด ๆ ของเจ้ามรดกจึงมีผลทันทีเมื่อได้ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายหาใช่จะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกตายไม่ เพราะหนังสือตัดทายาทโดยชอบธรรมไม่ใช่พินัยกรรมส่วนการที่การแสดงเจตนาตามหนังสือตัดการรับมรดกจะเกิดผลขึ้นเมื่อใดเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือตัดมรดกมีผลทันทีเมื่อทำถูกต้องตามกม. แม้ทายาทถูกตัดก่อนตาย สิทธิรับมรดกแทนไม่มี
การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทั่วไปนั้นถ้าไม่มีกฎหมายบังคับไว้โดยตรงหรือโดยปริยายว่าให้ต้องทำ ในสถานที่ราชการเท่านั้นแล้ว พนักงานผู้มีหน้าที่ก็ย่อมจะออกไปปฏิบัติราชการตามหน้าที่นอกสถานที่ได้ และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติราชการเป็นการบริการให้แก่ประชาชนในวันหยุดราชการ เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามไว้และไม่เป็นการขัดต่อระเบียบแบบแผน ก็ย่อมจะต้องถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการโดยชอบ ข้าราชการผู้ปฏิบัติราชการเช่นนี้ย่อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การที่ปลัดอำเภอได้ออกไปจากอำเภอไปทำหนังสือตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือตัดมรดกที่ได้ทำต่อหน้าเจ้าพนักงานโดยชอบ มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
ท.มารดาจำเลยถูกตัดไม่ให้รับมรดกตั้งแต่ก่อน ท.ตาย ท.จึงไม่ได้เป็นทายาทตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 อีกต่อไป ท.จึงไม่มีที่ (ความเป็นทายาท) ที่จำเลยจะเข้ารับมรดกแทนได้และไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้สืบสันดานที่จะเข้าแทนที่การรับมรดกของทายาทโดยธรรมที่ถูกตัดมรดก หนังสือตัดไม่ให้รับมรดกเป็นการแสดงเจตนาโดยเด็ดขาดปราศจากเงื่อนไขใดๆ ของเจ้ามรดก จึงมีผลทันทีเมื่อได้ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย หาใช่จะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกตายไม่ เพราะหนังสือตัดทายาทโดยธรรมไม่ใช่พินัยกรรม ส่วนการที่การแสดงเจตนาตามหนังสือตัดการรับมรดกจะเกิดผลขึ้นเมื่อใดเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยอาศัยสิทธิทายาทสืบเชื้อสายและครอบครองร่วมกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของอ.เจ้ามรดกตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง โดยเมื่อ อ.วายชนม์ที่พิพาทตกได้แก่ย.บุตรของ อ.ยวายชนม์มรดกส่วนของย.ตกได้แก่ค.ยายของโจทก์ค.วายชนม์ ตกได้แก่ช.และตกได้แก่โจทก์เมื่อช.มารดาโจทก์วายชนม์ โจทก์ครอบครองที่พิพาทตลอดมาเช่นเดียวกันกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ.สาย ล.บุตรของ อ.อีกคนหนึ่ง เพียงสองคนเท่านั้น ไม่มีทายาทอื่นเกี่ยวข้อง จึงฟ้องขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยอาศัยสิทธิรับมรดกสืบทอดมาจาก ย.ทวดของโจทก์ซึ่งมีการรับมรดกของอ.เป็นทอดๆ กันมาตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้ย.จะวายชนม์ก่อนอ.ก็ตามเมื่อย.บุตรอ.เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานคือ ค. ค.จึงเป็นผู้รับมรดกอ.แทนที่ย.บิดา และมีการรับมรดกสืบต่อมาจนถึงโจทก์บุตรของ ช.ซึ่งเป็นบุตรของค. โจทก์จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ อ.เจ้ามรดก และมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. เจ้ามรดกตลอดมา แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ มาตรา 1754 ก็ดี โจทก์ก็มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ได้
โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกของ อ. เจ้ามรดกร่วมกับจำเลย โดยทายาทอื่นๆ ของ อ.ที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวและโต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งได้ในฐานะกรรมสิทธิ์รวม
ทายาทอื่นๆ ของ อ.ต่างเป็นพยานเบิกความว่าได้ออกจากที่พิพาทไป 40 ปีแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ไม่ขอรับส่วนแบ่งในที่พิพาท ส่วนทายาทอื่น ๆ ที่อยู่ในที่พิพาทก็เป็นบุตรจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย บ้างอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ช.มารดาโจทก์ ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย ดังนี้จึงถือได้ว่าทายาทอื่นๆ ของ อ.ต่างไม่มีสิทธิในที่พิพาทคือโจทก์จำเลยสองคนเท่านั้น โจทก์จึงย่อมมีสิทธิแบ่งครึ่งได้ หาได้เกินสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกสืบสาย: สิทธิทายาทโดยชอบธรรม การครอบครองร่วม และอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ อ.เจ้ามรดกตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง โดยเมื่อ อ.วายชนม์ ที่พิพาทตกได้แก่ ย.บุตรของ อ. ย.วายชนม์ มรดกส่วนของ ย.ตกได้แก่ ค.ยายของโจทก์ ค.วายชนม์ ตกได้แก่ ช. และตกได้แก่โจทก์ เมื่อ ช.มารดาโจทก์วายชนม์ โจทก์ครอบครองที่พิพาทตลอดมาเช่นเดียวกันกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. สาย ล.บุตรของ อ.อีกคนหนึ่ง เพียงสองคนเท่านั้น ไม่มีทายาทอื่นเกี่ยวข้อง จึงฟ้องขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยอาศัยสิทธิรับมรดกสืบทอดมาจาก ย.ทวดของโจทก์ ซึ่งมีการรับมรดกของ อ.เป็นทอด ๆ กันมาตามบัญชีเครือญาตท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้ ย.จะวายชนม์ก่อน อ.ก็ตาม เมื่อ ย.บุตร อ.เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานคือ ค. ค.จึงเป็นผู้รับมรดก อ.แทนที่ ย.บิดา และมีการรับมรดกสืบต่อมาจนถึงโจทก์บุตรของ ช.ซึ่งเป็นบุตรของ ค.โจทก์จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ อ.เจ้ามรดก และมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. เจ้ามรดกตลอดมา แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ มาตรา 1754 ก็ดี โจทก์ก็มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ได้
โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกของ อ.เจ้ามรดกร่วมกับจำเลย โดยทายาทอื่น ๆ ของ อ.ที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวและโต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งได้ในฐานะกรรมสิทธิ์รวม
ทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างเป็นพยานเบิกความว่าได้ออกจากที่พิพาทไป 40 ปีแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ไม่ขอรับส่วนแบ่งในที่พิพาท ส่วนทายาทอื่น ๆ ที่อยู่ในที่พิพาทก็เป็นบุตรจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย บ้างอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ช.มารดาโจทก์ ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย ดังนี้จึงถือได้ว่าทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างไม่มีสิทธิในที่พิพาทแล้ว คงเหลือผู้มีสิทธิในที่พิพาทคือโจทก์จำเลยสองคนเท่านั้น โจทก์จึงย่อมมีสิทธิแบ่งครึ่งได้ หาได้เกินสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดก และอายุความมรดกที่ถูกละเว้นจากการยินยอมแบ่งมรดก
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ บ. พฤติการณ์ที่ บ. ได้อุปการะเลี้ยงดู กับให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ถือได้ว่า บ. ได้รับรองและแสดงออกว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. โจทก์จึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลยจำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์สืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ(อ้างฎีกาที่ 244/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดก และอายุความมรดกที่ถูกละเสียจากการยินยอมแบ่งทรัพย์
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ บ.พฤติการณ์ที่ บ.ได้อุปการะเลี้ยงดูกับให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ ถือได้ว่า บ.ได้รับรองและแสดงออกว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. โจทก์จึงเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลย จำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์นำสืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับ ส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ (อ้างฎีกาที่ 244/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมาย การตกทอดมรดก และข้อยกเว้นการรับมรดกตามพินัยกรรม
คู่ความยอมรับกันว่า ไม่มีอะไรที่จะต้องนำสืบกันต่อไปคงขอให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเพียงว่าพินัยกรรมสมบูรณ์โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น แล้วให้ศาลพิพากษาไปตามรูปคดี จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายต่างสละประเด็นอื่น รวมทั้งประเด็นที่ว่ามรดกรายนี้มีพินัยกรรมหรือไม่แล้ว อันเป็นการยอมรับว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมฉบับที่จำเลยอ้างจริง เป็นแต่โต้เถียงกันว่าเป็นพินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น การที่โจทก์ และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฎีกาว่า พินัยกรรมฉบับนั้นเป็นเพียงร่างพินัยกรรมยังไม่ได้ทำพินัยกรรมตัวจริงขึ้นเลยก็เท่ากับอุทธรณ์ฎีกาว่ามรดกรายนี้ไม่มีพินัยกรรมซึ่งเป็นประเด็นที่คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างสละแล้วนั่นเองโจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นข้อนี้ขึ้นกล่าวอ้างอีกได้
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนหนึ่งให้บุตรคนหนึ่งแต่บุตรผู้รับพินัยกรรมนั้นตายไปก่อนผู้ทำพินัยกรรมข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินตามพินัยกรรมนั้นจึงเป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1699 ประกอบกับ มาตรา 1620 วรรคสอง ทรัพย์สินดังกล่าวต้องตกทอดแก่ผู้สืบสันดานของบุตรผู้รับพินัยกรรมซึ่งตายไปก่อนผู้ทำพินัยกรรมนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละประโยชน์แห่งอายุความรับมรดกจากการยอมรับเจรจาแบ่งทรัพย์หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า 20 ปี แล้วนั้น ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1607/2505)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเว้นการต่อสู้คัดค้านอายุความรับมรดกจากการยอมรับการแบ่งทรัพย์มรดกหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก. เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า20 ปีแล้วนั้น. ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว. จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้.(อ้างฎีกาที่ 1607/2505).
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย. ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร. เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น.ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยอายุความมรดก: การยอมรับแบ่งมรดกหลัง 20 ปี ถือละเลยอายุความ
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า 20 ปีแล้วนั้น ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1607/2505)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)
of 10