คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1639

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมกำหนดผู้จัดการทรัพย์สินโดยไม่จำกัดสิทธิ และการตัดทายาทโดยธรรมต้องชัดเจน
ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ข้อเดียวกันนั้นว่า เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้ว ให้จำเลยทั้งสี่เป็นผู้จัดการศพ ปกครองทรัพย์และจัดการในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตาย แม้จะมีคำว่าข้าพเจ้าเต็มใจยกให้จำเลยทั้งสี่ แต่ก็มีข้อความติดต่อเกี่ยวเนื่องกันต่อไปว่า เป็นผู้ปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้า ข้อความต่อไปที่ว่า นอกจากจำเลยทั้งสี่ที่ระบุนามในหนังสือนี้แล้ว ผู้อื่นไม่มีสิทธิจะปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้า ข้อความต่อไปที่ว่า นอกจากจำเลยทั้งสี่ที่ระบุนามในหนังสือนี้แล้ว ผู้อื่นไม่มีสิทธิจะปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้าเป็นอันขาด ก็มีความหมายเป็นในเรื่องการปกครองทรัพย์เช่นเดียวกับข้อความในตอนแรก ต่างกับข้อความที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และ 2 แห่งพินัยกรรมฉบับเดียวกันซึ่งมีข้อความกำหนดไว้เป็นที่แน่นอนว่า ได้ยกทรัพย์สิ่งใดให้แก่บุคคลใด โดยระบุชื่อไว้อย่างชัดแจ้งไม่มีข้อความต่อไปว่า ยกให้ปกครองและจัดการดังที่กล่าวไว้ในข้อ 3 ส่วนข้อความต่อไปที่ว่าทรัพย์สินที่ข้าพเจ้าได้ระบุไว้และมิได้ระบุให้เป็นอำนาจของจำเลยทั้งสี่จัดการโดยเด็ดขาดหากเห็นว่าควรจะยกให้แก่ผู้ใด ก็ให้ดำเนินการได้ตามความประสงค์ถ้าไม่เห็นสมควรประการใด ก็แล้วแต่จำเลยทั้งสี่จะจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ทั้งสิ้นนั้น ข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่า การที่จะยกทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลใด มากน้อยก็สุดแล้วแต่ใจของจำเลยทั้งสี่ กล่าวคือ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยทั้งสี่ ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งไม่อาจจะทราบตัวแน่นอนได้ เป็นผู้รับพินัยกรรม และเป็นข้อกำหนดที่ให้บุคคลใดยกทรัพย์สินมากน้อยเท่าใดก็ได้ตามแต่ใจของบุคคลนั้น ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706
ข้อความในพินัยกรรมกล่าวแต่เพียงว่า บุคคลอื่นแม้จะเกี่ยวเป็นญาติพี่น้องลูกหลานของข้าพเจ้าไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์หรือปกครองทรัพย์ของช้าพเจ้าเท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดหรือในที่ใดระบุไว้ชัดแจ้งว่า ตัดนาง ย. หรือโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของนาง ย. มิให้รับมรดก ฉะนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ของนาง ย. ซึ่งเป็นที่ของนาง บ. จึงมีสิทธิรับมรดกของนางบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมกำหนดให้ผู้จัดการศพจัดการทรัพย์สินตามความประสงค์เป็นโมฆะ และการตัดทายาทต้องระบุชัดเจน
ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในข้อเดียวกันนั้นว่า เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้ว ให้จำเลยทั้งสี่เป็นผู้จัดการศพปกครองทรัพย์และจัดการในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตาย แม้จะมีคำว่าข้าพเจ้าเต็มใจยกให้จำเลยทั้งสี่ แต่ก็มีข้อความติดต่อเกี่ยวเนื่องกันต่อไปว่า เป็นผู้ปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้า ข้อความต่อไปที่ว่า นอกจากจำเลยทั้งสี่ที่ระบุนามในหนังสือนี้แล้ว ผู้อื่นไม่มีสิทธิจะปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้าเป็นอันขาด ก็มีความหมายเป็นในเรื่องการปกครองทรัพย์เช่นเดียวกับข้อความในตอนแรก ต่างกับข้อความที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และ 2 แห่งพินัยกรรมฉบับเดียวกันซึ่งมีข้อความกำหนดไว้เป็นที่แน่นอนว่า ได้ยกทรัพย์สิ่งใดให้แก่บุคคลใดโดยระบุชื่อไว้อย่างชัดแจ้ง ไม่มีข้อความต่อไปว่า ยกให้ปกครองและจัดการดังที่กล่าวไว้ในข้อ 3 ส่วนข้อความต่อไปที่ว่าทรัพย์สินที่ข้าพเจ้าได้ระบุไว้และมิได้ระบุให้เป็นอำนาจของจำเลยทั้งสี่จัดการโดยเด็ดขาด หากเห็นว่าควรจะยกให้แก่ผู้ใดก็ให้ดำเนินการได้ตามความประสงค์ถ้าไม่เห็นสมควรประการใด ก็แล้วแต่จำเลยทั้งสี่จะจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ทั้งสิ้นนั้น ข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่า การที่จะยกทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลใด มากน้อยก็สุดแล้วแต่ใจของจำเลยทั้งสี่ กล่าวคือ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยทั้งสี่ ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งไม่อาจจะทราบตัวแน่นอนได้ เป็นผู้รับพินัยกรรม และเป็นข้อกำหนดที่ให้บุคคลใดยกทรัพย์สินมากน้อยเท่าใดก็ได้ตามแต่ใจของบุคคลนั้น ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706
ข้อความในพินัยกรรมกล่าวแต่เพียงว่า บุคคลอื่นแม้จะเกี่ยวเป็นญาติพี่น้องลูกหลานของข้าพเจ้าไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์หรือปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้าเท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดหรือในที่ใดระบุไว้ชัดแจ้งว่า ตัดนาง ย.หรือโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของนางย. มิให้รับมรดก ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ของนาง ย. ซึ่งเป็นพี่ของนาง บ. จึงมีสิทธิรับมรดกของนาง บ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อกำหนดพินัยกรรมมอบอำนาจจัดการทรัพย์สินให้ผู้รับมรดกโดยไม่จำกัดจำนวนทรัพย์สินเป็นโมฆะ และการตัดทายาทต้องระบุชัดเจน
ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในข้อเดียวกันนั้นว่า. เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้ว ให้จำเลยทั้งสี่เป็นผู้จัดการศพปกครองทรัพย์และจัดการในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตาย. แม้จะมีคำว่าข้าพเจ้าเต็มใจยกให้จำเลยทั้งสี่ แต่ก็มีข้อความติดต่อเกี่ยวเนื่องกันต่อไปว่า. เป็นผู้ปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้า. ข้อความต่อไปที่ว่า. นอกจากจำเลยทั้งสี่ที่ระบุนามในหนังสือนี้แล้ว. ผู้อื่นไม่มีสิทธิจะปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้าเป็นอันขาด. ก็มีความหมายเป็นในเรื่องการปกครองทรัพย์เช่นเดียวกับข้อความในตอนแรก. ต่างกับข้อความที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และ 2 แห่งพินัยกรรมฉบับเดียวกันซึ่งมีข้อความกำหนดไว้เป็นที่แน่นอนว่า. ได้ยกทรัพย์สิ่งใดให้แก่บุคคลใด โดยระบุชื่อไว้อย่างชัดแจ้ง.ไม่มีข้อความต่อไปว่า. ยกให้ปกครองและจัดการดังที่กล่าวไว้ในข้อ 3. ส่วนข้อความต่อไปที่ว่า.ทรัพย์สินที่ข้าพเจ้าได้ระบุไว้และมิได้ระบุให้เป็นอำนาจของจำเลยทั้งสี่จัดการโดยเด็ดขาด. หากเห็นว่าควรจะยกให้แก่ผู้ใดก็ให้ดำเนินการได้ตามความประสงค์ถ้าไม่เห็นสมควรประการใด. ก็แล้วแต่จำเลยทั้งสี่จะจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ทั้งสิ้นนั้น. ข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่า. การที่จะยกทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลใด มากน้อยก็สุดแล้วแต่ใจของจำเลยทั้งสี่. กล่าวคือ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยทั้งสี่. ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งไม่อาจจะทราบตัวแน่นอนได้. เป็นผู้รับพินัยกรรม. และเป็นข้อกำหนดที่ให้บุคคลใดยกทรัพย์สินมากน้อยเท่าใดก็ได้ตามแต่ใจของบุคคลนั้น. ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706.
ข้อความในพินัยกรรมกล่าวแต่เพียงว่า บุคคลอื่นแม้จะเกี่ยวเป็นญาติพี่น้องลูกหลานของข้าพเจ้าไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์หรือปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้าเท่านั้น. ไม่มีข้อความตอนใดหรือในที่ใดระบุไว้ชัดแจ้งว่า. ตัดนาง ย. หรือโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของนาง ย. มิให้รับมรดก. ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ของนาง ย. ซึ่งเป็นพี่ของนาง บ. จึงมีสิทธิรับมรดกของนาง บ..

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388-389/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นทายาทเพื่อขอเป็นผู้จัดการมรดก และการวินิจฉัยความถูกต้องของพินัยกรรม
จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ล. ผู้ตาย โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุตรของ ล. โจทก์ค้านว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของ ล. ปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรของล.หรือไม่จึงเป็นประเด็นโดยตรงและสำคัญแห่งคดี ซึ่งศาลจำเป็นต้องวินิจฉัยชี้ขาด หาใช่เป็นเรื่องที่จะให้ไปฟ้องร้องกันอีกคดีหนึ่งไม่ เพราะถ้าคดีฟังได้ว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของ ล. ก็ย่อมไม่ใช่ทายาท ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก คำร้องของจำเลยต้องยกเสียถ้าหากคดีฟังได้ในทางตรงข้าม คือฟังว่าจำเลยเป็นบุตร ล. จำเลยก็เป็นทายาทในลำดับผู้สืบสันดาน ส.ซึ่งเป็นโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ บ. ซึ่งเป็นทายาทในลำดับน้องร่วมบิดาเดียวกับ ล. ผู้ตาย
ส.ซึ่งเป็นโจทก์เป็นผู้รับมรดกแทนที่ บ.ซึ่งเป็นทายาทในลำดับเดียวกับจำเลย ส.ย่อมมีสิทธิรับมรดกและร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้เท่าเทียมกับจำเลย
โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมทรัพย์บางอย่าง ฝ่ายจำเลยคัดค้านว่าพินัยกรรมปลอม. จึงต้องวินิจฉัยปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมไม่ปลอม โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรมย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมปลอม คำร้องของโจทก์ก็ต้องยก เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยชอบธรรมและในฐานะผู้รับพินัยกรรม
คดีของโจทก์เป็นเรื่องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก โดยโจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับพินัยกรรม เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาทเท่านั้น โจทก์หาได้เรียกร้องเอาทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมมาด้วยไม่จึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์ในพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388-389/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะทายาทและผลกระทบต่อการเป็นผู้จัดการมรดก รวมถึงการตรวจสอบพินัยกรรม
จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ล. ผู้ตาย. โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุตรของ ล.. โจทก์ค้านว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของ ล.. ปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรของล.หรือไม่.จึงเป็นประเด็นโดยตรงและสำคัญแห่งคดี. ซึ่งศาลจำเป็นต้องวินิจฉัยชี้ขาด. หาใช่เป็นเรื่องที่จะให้ไปฟ้องร้องกันอีกคดีหนึ่งไม่. เพราะถ้าคดีฟังได้ว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของ ล. ก็ย่อมไม่ใช่ทายาท. ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก. คำร้องของจำเลยต้องยกเสีย.ถ้าหากคดีฟังได้ในทางตรงข้าม คือฟังว่าจำเลยเป็นบุตร ล. จำเลยก็เป็นทายาทในลำดับผู้สืบสันดาน. ส.ซึ่งเป็นโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ บ. ซึ่งเป็นทายาทในลำดับน้องร่วมบิดาเดียวกับ ล. ผู้ตาย.
ส.ซึ่งเป็นโจทก์เป็นผู้รับมรดกแทนที่ บ.ซึ่งเป็นทายาทในลำดับเดียวกับจำเลย. ส.ย่อมมีสิทธิรับมรดกและร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้เท่าเทียมกับจำเลย.
โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมทรัพย์บางอย่าง. ฝ่ายจำเลยคัดค้านว่าพินัยกรรมปลอม. จึงต้องวินิจฉัยปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่. ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมไม่ปลอม. โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรมย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้. ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมปลอม. คำร้องของโจทก์ก็ต้องยก. เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยชอบธรรมและในฐานะผู้รับพินัยกรรม.
คดีของโจทก์เป็นเรื่องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก. โดยโจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับพินัยกรรม. เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาทเท่านั้น. โจทก์หาได้เรียกร้องเอาทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมมาด้วยไม่.จึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์. ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์ในพินัยกรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388-389/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะการเป็นทายาทเพื่อการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก และการตรวจสอบความถูกต้องของพินัยกรรม
จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ล. ผู้ตาย โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุตรของ ล.โจทก์ค้านว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของ ล. ปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรของ ล. หรือไม่จึงเป็นประเด็นโดยตรงและสำคัญแห่งคดีซึ่งศาลจำเป็นต้องวินิจฉัยชี้ขาด หาใช่เป็นเรื่องที่จะให้ไปฟ้องร้องกันอีกคดีหนึ่งไม่ เพราะถ้าคดีฟังได้ว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของ ล. ก็ย่อมไม่ใช่ทายาทไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก คำร้องของจำเลยต้องยกเสียถ้าหากคดีฟังได้ในทางตรงข้าม คือฟังว่าจำเลยเป็นบุตร ล. จำเลยก็เป็นทายาทในลำดับผู้สืบสันดาน ส. ซึ่งเป็นโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ บ. ซึ่งเป็นทายาทในลำดับน้องร่วมบิดาเดียวกับ ล. ผู้ตาย
ส. ซึ่งเป็นโจทก์เป็นผู้รับมรดกแทนที่ บ. ซึ่งเป็นทายาทในลำดับเดียวกับจำเลย ส. ย่อมมีสิทธิรับมรดกและร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้เท่าเทียมกับจำเลย
โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมทรัพย์บางอย่าง ฝ่ายจำเลยคัดค้านว่าพินัยกรรมปลอมจึงต้องวินิจฉัยปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมไม่ปลอม โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรมย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมปลอม คำร้องของโจทก์ก็ต้องยก เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยชอบธรรมและในฐานะผู้รับพินัยกรรม
คดีของโจทก์เป็นเรื่องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยโจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับพินัยกรรมเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาทเท่านั้น โจทก์หาได้เรียกร้องเอาทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมมาด้วยไม่จึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์ในพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกและการแบ่งค่าเช่าทรัพย์มรดกแก่ทายาท โดยมิพักรอการจัดการมรดกให้เสร็จสิ้น
โจทก์เป็นบุตรคนเดียวของ ซ. ซึ่งเป็นบุตรของ ย. เมื่อฮ. ซึ่งเป็นสามีของ ย. ตายมรดกของ ฮ. คงมีเฉพาะ 2 ใน 3 ของที่ดิน 3 โฉนดผู้จัดการมรดกของ ฮ. มีสิทธิจัดการได้เฉพาะมรดกของ ฮ. ตอนนี้ ซ. มารดาโจทก์มิได้เป็นทายาทของ ฮ. ไม่มีสิทธิในที่ดิน 3 แปลงนี้ เพราะ ย. มารดาของ ซ . ซึ่งเป็นมารดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ ผู้จัดการมรดกจึงไม่ได้กระทำอะไรแทน ซ. ย. คงมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน 3 โฉนดทุกแปลง
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย. ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย. ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย. ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาททายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของย. ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ. ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดกย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ. จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่าเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1754 เมื่อ ซ. มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ. ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ. เป็นการกระทำแทน ซ. หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ. เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่าซ. ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของย. เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้วจึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่งจะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ. ดังนี้จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิมไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479,1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคนการจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทหาจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ. ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ. ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ยัน ซ. ก็ไม่ได้เพราะ ซ. กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ. จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ. ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, สิทธิในที่ดิน, ค่าเช่า, และการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน
โจทก์เป็นบุตรคนเดียวของ ซ. ซึ่งเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ฮ. ซึ่งเป็นสามีของ ย. ตาย มรดกของ ฮ. คงมีเฉพาะ 2 ใน 3 ของที่ดิน 3 โฉนด ผู้จัดการมรดกของ ฮ.มีสิทธิจัดการได้เฉพาะมรดกของ ฮ. ตอนนี้ ซ.มารดาโจทก์มิได้เป็นทายาทของ ฮ. ไม่มีสิทธิในที่ดิน 3 แปลงนี้ เพราะ ย.มารดาของ ซซึ่งเป็นมารดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ ผู้จัดการมรดกจึงไม่ได้กระทำอะไรแทน ซ. ย.คงมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน 3 โฉนดทุกแปลง
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย.ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย.ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย.ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาท ทายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของ ย.ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ.ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดก ย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ.จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่า เมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1755 เมื่อ ซ.มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ.ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ.เป็นการกระทำแทน ซ.หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ.เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่า ซ.ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของ ย.เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้ว จึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่ง จะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ.ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิม ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479, 1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคน การจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ.ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ.ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ยัน ซ.ก็ไม่ได้เพราะ ซ.กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ.จึงยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ.ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีทายาทบวชเป็นพระ และสิทธิของภริยาผู้รับมรดกแทนที่
จ. กับ ข. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว มีบุตร 6 คน บุตรของ จ.ข. ทุกคนเว้น ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ ได้ร่วมกันครอบครองมรดกตลอดมา ก. บุตรของ จ.ข ตายหลัง จ.ข. มรดกของจ.ข. ที่ ก. ได้รับจึงตกเป็นของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ในฐานะผู้รับมรดกของ ก. หาใช่ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ ก. ไม่ แต่เมื่อพิเคราะห์ฟ้องของโจทก์แล้ว เป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 3 ขอรับมรดกของ ก.นั่นเอง โจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์มรดก
ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ก่อน ข. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตลอดมาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ไม่ได้เข้ามาร่วมครอบครองทรัพย์มรดก คงมีแต่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 (ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. เจ้ามรดก) และโจทก์ที่ 3 (ซึ่งเป็นภริยาของ ก.ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. และถึงแก่ความตายไปแล้ว) จำเลย และ ส. ครอบครองร่วมกันมา โจทก์ทั้ง 3 จำเลย และ ส. ย่อมมีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้เท่า ๆ กัน จึงให้แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น 5 ส่วน (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีทายาทบวชเป็นพระภิกษุ และสิทธิการครอบครองมรดกของทายาทที่ไม่ได้ร่วมครอบครอง
จ. กับ ข. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว มีบุตร 6 คนบุตรของ จ. ข. ทุกคนเว้น ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ ได้ร่วมกันครอบครองมรดกตลอดมา ก. บุตรของ จ. ข. ตายหลัง จ. ข. มรดกของ จ. ข. ที่ ก. ได้รับจึงตกเป็นของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ในฐานะผู้รับมรดกของ ก. หาใช่ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ ก. ไม่แต่เมื่อพิเคราะห์ฟ้องของโจทก์แล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 3 ขอรับมรดก ของ ก. นั่นเองโจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์มรดก
ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ก่อน ข. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตลอดมาเป็นเวลา 20 ปี แล้ว ไม่ได้เข้ามาร่วมครอบครองทรัพย์มรดกคงมีแต่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 (ซึ่งเป็นบุตรของ จ. ข. เจ้ามรดก) และโจทก์ที่ 3 (ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ซึ่งเป็นบุตรของ จ. ข. และถึงแก่ความตายไปแล้ว) จำเลย และ ส. ครอบครองร่วมกันมาโจทก์ ทั้ง3 จำเลย และ ส. ย่อมมีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้เท่าๆกันจึงให้แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น 5 ส่วน (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8/2510)
of 10