คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1639

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก เจ้าของรวม ต้องตามส่วนสิทธิที่แต่ละคนได้รับตามกฎหมาย ไม่สามารถสันนิษฐานแบ่งเท่ากันได้
การแบ่งส่วนเจ้าของรวมต้องเป็นไปตามส่วนที่ตนเป็นเจ้าของซึ่งแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่ามีสิทธิเพียงใด การที่ยกเอาข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1357 มาแบ่งเท่ากันในเมื่อปรากฏสิทธิของเจ้าของรวมอยู่ชัดแจ้งแล้วนั้นจึงไม่ถูกต้อง
บุคคล 5 คน มีชื่อในโฉนดร่วมกัน โดยไม่ระบุว่าผู้ใดมีสิทธิเท่าใด หากข้อเท็จจริงที่นำสืบปรากฏชัดว่าได้มีชื่อในโฉนดร่วมกันนั้นเพราะได้รับโอนมรดกมาและสิทธิในการรับมรดกของแต่ละคนก็ปรากฏชัดตามทางนำสืบด้วยแล้ว ดังนี้ จะยกข้อสันนิษฐานมาให้แบ่ง 5 ส่วนได้คนละเท่ากัน ตามมาตรา 1357 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดก: ภรรยาไม่ใช่ผู้สืบสันดานจึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่สามี
ภรรยาไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่สามีซึ่งถึงแก่ความตายเพราะมิใช่ผู้สืบสันดาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกแทนที่: สิทธิทายาทอันดับ 6 และการสืบสันดาน
ย่าของโจทก์เป็นป้าผู้ตายเมื่อผู้ตายไม่มีทายาทในอันดับ 1 ถึง 5 และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่แล้ว ย่าของโจทก์ผู้เป็นป้าผู้ตายก็ย่อมเป็นทายาท(อันดับ 6) มีสิทธิได้รับมรดกผู้ตาย และเมื่อย่าของโจทก์และบิดาของโจทก์ตายแล้ว โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกแทนที่ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1639

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทอันดับ 6 และการรับมรดกแทนที่
ย่าของโจทก์เป็นป้าผู้ตายเมื่อผู้ตายไม่มีทายาทในอันดับ 1 ถึง 5และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่แล้วย่าของโจทก์ผู้เป็นป้าผู้ตายก็ย่อมเป็นทายาท(อันดับ 6)มีสิทธิได้รับมรดกผู้ตาย และเมื่อย่าของโจทก์และบิดาของโจทก์ตายแล้ว โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกแทนที่ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรของบุตรบุญธรรม: การรับมรดกแทนที่กันได้ตามกฎหมาย
บุตรบุญธรรมตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม บุตรของบุตรบุญธรรมย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่กันได้ตามสิทธิที่ ก.ม.ให้ไว้ตามประมวลแพ่ง ฯ มาตรา 1639

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม: การรับมรดกแทนที่
บุตรบุญธรรมตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม บุตรของบุตรบุญธรรมย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่กันได้ตามสิทธิที่กฎหมายให้ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1639

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรับมรดกและการอ้างอายุความมรดก: ทายาทโดยธรรมและผู้รับมรดกแทนกัน
โจทก์และบิดาจำเลยเป็นทายาทของเจ้ามฤดกตามมาตรา 1629(4)ลำดับเดียวกัน บิดาจำเลยยังมีชีวิตอยู่ ตัวจำเลยจึงหาใช่เป็นทายาทของเจ้ามฤดกไม่จึงไม่มีสิทธิอ้างอายุความมฤดก 1 ปียกขึ้นต่อสู้แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของเจ้ามฤดกตามมาตรา 1755 ได้
ในกรณีเช่นนี้จำเลยจะรับมฤดกเจ้ามฤดกแทนที่บิดาจำเลยได้แต่เมื่อบิดาได้ถึงแก่ความตายแล้ว หรือถูกจำกัดมิให้รับมฤดกมิฉะนั้นจะเข้ามารับมฤดกแทนที่บิดาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกและการอ้างอายุความมรดก: ทายาทโดยธรรม vs. ผู้รับมรดกแทน
โจทก์และบิดาจำเลยเป็นทายาทของเจ้ามรดกตามมาตรา 1629(4)ลำดับเดียวกัน บิดาจำเลยยังมีชีวิตอยู่ ตัวจำเลยจึงหาใช่เป็นทายาทของเจ้ามรดกไม่จึงไม่มีสิทธิอ้างอายุความมรดก 1 ปียกขึ้นต่อสู้แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกตามมาตรา 1755 ได้
ในกรณีเช่นนี้จำเลยจะรับมรดกเจ้ามรดกแทนที่บิดาจำเลยได้แต่เมื่อบิดาได้ถึงแก่ความตายแล้ว หรือถูกจำกัดมิให้รับมรดก มิฉะนั้นจะเข้ามารับมรดกแทนที่บิดาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนผู้จัดการมฤดก กรณีปกปิดข้อมูลทายาท และความรับผิดของผู้จัดการมฤดกต่อทายาท
น้าของเจ้ามฤดกเป็นทายาทของเจ้ามฤดกตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1629 (6) อยู่แล้ว แม้จะตายไปก่อนเจ้ามฤดก ผู้สืบสันดานของเขา ย่อมมีสิทธิรับมฤดกแทนที่ ตามมาตรา 1639 โดยตรง
การที่จำเลยไปร้องขอต่อศาลให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมฤดกนั้น จำเลยได้ปกปิดความจริงอันควรบอกให้ชัดแจ้งว่า ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ยังคงมีตัวอยู่ถึง 3 คน แสดงความไม่สุจริตของจำเลยมาตั้งแต่ต้น และเมื่อได้รับตั้งเป็นผู้จัดการมฤดกแล้ว จำเลยก็ไม่ปรารถนาที่จะทำบัญชีทรัพย์มฤดกตามหน้าที่ที่กฎหมายบังคับไว้ในมาตรา 1728,1729 ซ้ำในชั้นศาล ในคดีนี้จำเลยก็ยังคงยืนยันว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรม ที่จะได้รับมฤดก ย่อมเป็นการสมควรทุกประการที่ศาลจะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมฤดกเสียตามมาตรา 1731.
คดีที่ทายาทเรียกร้องเอาทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิตกทอดแก่ตนโดยขอให้ถอดถอนผู้จัดการมฤดกเสียก่อนโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมฤดกเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิในกองมฤดกที่จะยึดถือทรัพย์สินอันเป็นมฤดกนั้นไว้อย่างไรได้ แม้จำเลยจะยังคงเป็นผู้จัดการมฤดกอยู่ จำเลยก็ต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 โดยลักษณะตัวแทนตัวการ จำเลยจะยกฐานะผู้จัดการมฤดกมาต่อสู้อายุความกับทายาทตามมาตรา 1754, 1755 หาได้ไม่
คดีเกี่ยวกับการจัดการมฤดก ผู้จัดการมฤดกจะยกอายุความ ขึ้นต่อสู้ทายาทได้ก็แต่มาตรา 1733 วรรค 2 ซึ่งมีกำหนด 5 ปี นับแต่การจัดการมฤดกสุดสิ้นลง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทแทนที่, ความไม่สุจริตผู้จัดการมรดก, และอายุความในการเรียกร้องทรัพย์มรดก
น้าของเจ้ามรดกเป็นทายาทของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629(6) อยู่แล้ว แม้จะตายไปก่อนเจ้ามรดก ผู้สืบสันดานของเขา ย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ตามมาตรา 1639 โดยตรง
การที่จำเลยไปร้องขอต่อศาลให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกนั้น จำเลยได้ปกปิดความจริงอันควรบอกให้ชัดแจ้งว่าทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ยังคงมีตัวอยู่ถึง 3 คนแสดงความไม่สุจริตของจำเลยมาตั้งแต่ต้น และเมื่อได้รับตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยก็ไม่ปรารถนาที่จะทำบัญชีทรัพย์มรดกตามหน้าที่ที่กฎหมายบังคับไว้ในมาตรา 1728,1729 ซ้ำในชั้นศาล ในคดีนี้ จำเลยก็ยังคงยืนยันว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมที่จะได้รับมรดกย่อมเป็นการสมควรทุกประการที่ศาลจะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสียตามมาตรา 1731
คดีที่ทายาทเรียกร้องเอาทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์ตกทอดแก่ตน โดยขอให้ถอดถอนผู้จัดการมรดกเสียก่อนโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิในกองมรดกที่จะยึดถือทรัพย์สินอันเป็นมรดกนั้นไว้อย่างไรได้แม้จำเลยจะยังคงเป็นผู้จัดการมรดกอยู่จำเลยก็ต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 โดยลักษณะตัวแทนตัวการ จำเลยจะยกฐานะผู้จัดการมรดกมาต่อสู้อายุความกับทายาทตามมาตรา 1754,1755 หาได้ไม่
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก ผู้จัดการมรดกจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ทายาทได้ก็แต่มาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งมีกำหนด 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสุดสิ้นลง
of 10