คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุริยง ลิ้มสถิรานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10338/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
การที่จำเลยมีอาวุธปืนพกลูกซองชนิดประกอบขึ้นเอง ขนาด .410 ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนประจำอาวุธปืนดังกล่าว พร้อมกระสุนปืนเล็กแบบ 88 ดัดแปลงเพื่อใช้กับอาวุธปืนดังกล่าว 2 นัด ติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับอนุญาต ทั้งไม่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน เจตนาที่มีไว้ในครอบครองย่อมต่างกันการกระทำของจำเลยฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองจึงเป็นการกระทำความผิดสองกรรม
อาวุธปืนเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพสามารถใช้ทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่นได้โดยง่าย ทั้งอาวุธปืนของกลางไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ หากนำไปใช้ในการกระทำความผิดอื่นแล้ว ย่อมยากแก่การตรวจสอบหาตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริง การที่จำเลยพาอาวุธปืนกับเครื่องกระสุนปืนของกลางติดตัวไปในที่เกิดเหตุนับว่าเป็นอันตรายต่อประชาชน และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและจำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว ก็ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยให้เบาลงหรือรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2553)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10338/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
การที่จำเลยมีอาวุธปืนพกลูกซองชนิดประกอบขึ้นเอง ขนาด .410 ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนประจำอาวุธปืนดังกล่าว พร้อมกระสุนเล็กแบบ 88 ดัดแปลงเพื่อใช้กับอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับใบอนุญาต ทั้งไม่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า มีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน เจตนาที่มีไว้ในครอบครองย่อมต่างกัน การกระทำของจำเลยฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง จึงเป็นการกระทำความผิดสองกรรม
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2553)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10267/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีละเมิด: เจ้าของรถ vs. ผู้ขับขี่และผู้จ่ายค่าพาหนะ
แม้โจทก์จะเป็นบิดา ณ. เจ้าของรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ และเป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุ และไม่มีกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุจะต้องรับผิดต่อ ณ. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเหตุละเมิดดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่เกี่ยวกับตัวรถโดยตรงจากจำเลย นอกจากนี้ ณ. เป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุขับไปเรียนหนังสือ จึงเป็นสิทธิของ ณ. ที่จะฟ้องเรียกค่าพาหนะดังกล่าวมิใช่โจทก์ แม้โจทก์จะเป็นผู้จ่ายค่าพาหนะให้แก่ ณ. ก็ตามโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9141/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดหน่วงโฉนดที่ดินเพื่อชำระหนี้ค่าใช้จ่ายออกโฉนด จำเลยขาดเจตนาในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 188
ผู้เสียหายมอบอำนาจให้ ป. ไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินแทนผู้เสียหายการที่จำเลยยึดหน่วงโฉนดที่ดินของผู้เสียหายไว้ สืบเนื่องมาจาก ป. กู้ยืมเงินจากจำเลยเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการออกโฉนดให้แก่ผู้เสียหาย โดย ป. จะได้รับค่าจ้างเป็นการตอบแทนหลังจากได้รับโฉนดที่ดินแล้ว และ ป. นำโฉนดที่ดินให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน อีกทั้ง ป. มิได้เป็นญาติหรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอันใดกับผู้เสียหายในการที่จะดำเนินการรังวัดออกโฉนดให้ผู้เสียหายโดยไม่คิดค่าตอบแทน และผู้เสียหายก็ยอมรับว่า ป. แจ้งว่านำโฉนดที่ดินไปให้ไว้กับจำเลย หากผู้เสียหายชำระเงินจำนวน 700,000 บาท จะนำโฉนดที่ดินมาคืนให้ และจำเลยยังได้โทรศัพท์มาหาผู้เสียหายให้ผู้เสียหายชำระเงินคืนให้ พฤติการณ์มีเหตุอันสมควรทำให้จำเลยเข้าใจว่า ป. มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากผู้เสียหาย เมื่อ ป. ตกลงให้จำเลยรับเงินจากผู้เสียหายแทนโดยมอบโฉนดที่ดินแก่ผู้เสียหายจนกว่าผู้เสียหายจะชำระค่าใช้จ่ายในการออกโฉนดที่ดินให้ก่อนนั้น จำเลยจึงขาดเจตนากระทำความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 188

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9050/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การพิจารณาคำฟ้อง และการอนุญาตฎีกาที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วย คดีนี้จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด และตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ก็บัญญัติให้ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอีกหนึ่งในสาม จึงมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนั่นเอง ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว หากจำเลยจะฎีกาจะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง อันเป็นการปฏิบัติตามแนวคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาที่เคยวินิจฉัยว่า การกระทำตามฟ้องมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีคำร้องดังกล่าวพอแปลได้ว่า จำเลยประสงค์ที่จะขอให้ศาลฎีกาพิจารณารับฎีกาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงพิจารณาว่าจะรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9050/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเกี่ยวกับยาเสพติด: การพิจารณาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและการอนุญาตฎีกาที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วย คดีนี้จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด และตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ก็บัญญัติให้ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอีกหนึ่งในสาม จึงมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนั่นเอง ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว หากจำเลยจะฎีกาจะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เนื่องจากเป็นการปฏิบัติตามแนวคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาที่เคยวินิจฉัยว่า การกระทำตามฟ้องมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีคำร้องดังกล่าวพอแปลได้ว่า จำเลยประสงค์ที่จะขอให้ศาลฎีกาพิจารณารับฎีกาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2553)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9050/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด แม้มีโทษตามกฎหมายจราจรสูงกว่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วย คดีนี้จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด และตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ก็บัญญัติให้ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอีกหนึ่งในสาม จึงมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนั่นเองดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว หากจำเลยจะฎีกาจะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เนื่องจากเป็นการปฏิบัติตามแนวคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาที่เคยวินิจฉัยว่า การกระทำตามฟ้องมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีคำร้องดังกล่าวพอแปลได้ว่าจำเลยประสงค์ที่จะขอให้ศาลฎีกาพิจารณารับฎีกาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8870/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน: การกระทำหลายกรรมต่างกัน
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่าในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน" การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป อันจะทำให้เป็นความผิดสำเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ไม่จำเป็นที่จำเลยทั้งสองจะต้องกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเองทุกครั้งเป็นคราว ๆ ไป เพียงแต่จำเลยทั้งสองแสดงข้อความดังกล่าวให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายแม้เพียงบางคน แล้วเป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อนำเงินมาให้จำเลยทั้งสองกู้ยืม ก็ถือว่าเป็นการกระทำความผิดแล้ว ข้อสำคัญที่ทำให้ความผิดสำเร็จอยู่ที่ในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้เงินกู้ยืมไปจากผู้ถูกหลอกลวง ทั้งการกระทำดังกล่าวโดยสภาพเป็นการกระทำต่อบุคคลหลายคนจึงอาจกระทำต่อบุคคลเหล่านั้นต่างวาระกันได้ การกระทำที่จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำที่มีเจตนามุ่งกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปหรือประชาชนเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง มิได้พิจารณาจากองค์ประกอบความผิดที่ต้องกระทำต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเพียงอย่างเดียวเป็นเครื่องชี้เจตนาของผู้กระทำเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินจากโจทก์ร่วมทั้งสิบเจ็ด ผู้เสียหายที่ 11 และที่ 14 คนละวันเวลาและในสถานที่แตกต่างกัน โดยเจตนาให้เกิดผลต่อโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองแต่ละครั้งถือว่าเป็นความผิดสำเร็จสำหรับโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนแล้ว จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7884/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำลายทรัพย์สินสาธารณประโยชน์จากความขัดแย้งผลประโยชน์: จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 360
โรงงานที่เสียหายเป็นของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของทางราชการที่ไม่ได้แสวงหากำไร เพียงแต่อนุญาตให้สหกรณ์ซึ่งมีผู้เสียหายที่ 2 เป็นประธานเป็นผู้ดูแลเท่านั้น ประชาชนมีสิทธิเป็นสมาชิกและเข้าใช้ประโยชน์ได้ จึงเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ จึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 360
ความเสียหายที่จำเลยก่อกับทรัพย์ไม่ถึงกับทำให้ทรัพย์ใช้งานไม่ได้อีกต่อไป ทั้งจำเลยกระทำระหว่างสมาชิกหยุดใช้งานโรงรมยางพาราเพราะอยู่ในช่วงยางพาราผลัดใบ ประกอบกับจำเลยกระทำเพราะเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมที่ไม่ได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากที่ยินยอมให้สร้างโรงรมยางพาราในที่ดินของจำเลย จึงเห็นสมควรลงโทษจำเลยสถานเบาและรอการลงโทษให้ ตาม ป.อ. มาตรา 29, 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7878/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีทับซ้อนเอกสารสิทธิ: เพิกถอนขายทอดตลาดเมื่อส่งมอบทรัพย์ไม่ได้
คำร้องของผู้ซื้อทรัพย์อ้างว่า โจทก์ไม่สามารถส่งมอบที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ขายทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ เนื่องจากที่ดินดังกล่าวได้ออกทับโฉนดที่ดินแปลงอื่นโดยไม่มีเนื้อที่เหลืออยู่เลย เท่ากับอ้างว่าโจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดแต่ไม่สามารถส่งมอบทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ ถือได้แล้วว่าเป็นการอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองแล้ว เมื่อได้ความว่า มีการออกเอกสารสิทธิในที่ดินทับซ้อนกันและยังมิได้มีการเพิกถอนเอกสารสิทธิในที่ดินฉบับใดฉบับหนึ่ง ย่อมมีเหตุขัดข้องในการบังคับคดีให้ลุล่วงไป กรณีมีเหตุสมควรให้เพิกถอนการขายทอดตลาดรายนี้ได้ ส่วนเรื่องเพิกถอนเอกสารสิทธิในที่ดินฉบับใดฉบับหนึ่งหรือไม่อย่างไรเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องไปว่ากล่าวกันต่างหากหลังจากเพิกถอนการขายทอดตลาดแล้ว
of 14