คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุริยง ลิ้มสถิรานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5505/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยิงปืนเข้าบ้านแม้ไม่ตรงตัวบุคคล แต่เล็งเห็นผลถึงอันตรายถึงแก่ชีวิต ถือเป็นความพยายามฆ่า
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งมีสภาพร้ายแรงยิงเข้าไปที่ขอบหน้าต่างด้านบนของห้องของบ้านเกิดเหตุ โดยที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อกระสุนปืนกระทบขอบหน้าต่างแล้วจะหักเหไปในทิศทางใด จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนปืนอาจแฉลบไปถูกผู้ที่อยู่ภายในห้องถึงแก่ชีวิตได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการละเมิดต่อรถเช่าซื้อ: คำนวณจากราคาขณะเกิดเหตุ ไม่รวมเงินดาวน์/เช่าซื้อ
การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้รถยนต์ของโจทก์ที่เช่าซื้อได้รับความเสียหายทั้งคันจนไม่สามารถซ่อมให้คืนสู่สภาพเดิมได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากราคารถยนต์ที่เช่าซื้อมาตามสภาพและราคาขณะเกิดเหตุ ไม่อาจเรียกจากราคาเช่าซื้อรวมถึงเงินดาวน์ที่โจทก์ชำระไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปรียบเทียบปรับความผิดลหุโทษทางจราจร ไม่กระทบสิทธิฟ้องคดีอาญาฐานขับรถประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท ส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และมาตรา 390 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 90 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษเบากว่าความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 390 เพื่อให้ความผิดทั้งหมดรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 ได้ แม้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วก็ตาม การเปรียบเทียบปรับย่อมไม่ชอบ คดีอาญาไม่เลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 ศาลล่างทั้งสองจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 390 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4086/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขอโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องดำเนินการในชั้นบังคับคดี มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนที่ พ. มารดาโจทก์จะถึงแก่ความตาย โจทก์และจำเลยเคยร่วมกันทำข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินของ พ. ไว้ในคดีแพ่ง โดยทั้งสองฝ่ายตกลงยกที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพย์ของ พ. ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ประสงค์จะขอรับโอนที่ดินแปลงดังกล่าว แต่จำเลยไม่ยอมดำเนินการให้ ดังนี้ คำฟ้องดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมแล้ว โดยอ้างว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีในคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) และมาตรา 302 วรรคหนึ่ง มิใช่มาฟ้องเป็นคดีใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจัดการมรดกไม่ชอบ การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดเมื่อมีการเบียดบังและปกปิดทรัพย์
ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง บัญญัติว่า "คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง" เห็นว่า แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นบทจำกัดอายุความฟ้องร้องเป็นกรณีพิเศษ ให้ทายาททั้งหลายต้องดำเนินการฟ้องร้องผู้จัดการมรดกในการกรณีที่จัดการมรดก หรือแบ่งปันทรัพย์มรดกไม่ถูกต้อง เสียภายในเวลาห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงก็ตาม แต่ต้องหมายถึงกรณีที่ผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดก หรือจัดการทรัพย์มรดกไปตามปกติมิใช่กรณีที่ผู้จัดการมรดกจัดการมรดกโดยมิชอบ ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือเป็นกรณีที่เบียดบัง ยักยอก และปกปิดโดยทายาทไม่รับรู้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามทางนำสืบของโจทก์ว่า นับตั้งแต่จำเลยที่ 1 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกยังไม่มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่ทายาทอื่นเลย นอกจากจดทะเบียนโอนขายแก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 มิใช่บุตรคนเดียวของผู้ตายกับจำเลยที่ 1 แต่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันถึง 5 คน บางคนก็แยกไปประกอบอาชีพที่อื่น ไม่ปรากฏว่าผู้ตายทำพินัยกรรมไว้จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายต้องตกได้แก่พี่น้องคนอื่นด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจจะโอนขายที่ดินส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกไปให้แก่ผู้อื่นโดยทายาทมิได้ให้ความยินยอมทุกคน จำเลยที่ 2 ก็ย่อมทราบข้อเท็จจริงนี้ดีเช่นกัน จะอ้างว่าเป็นผู้ไถ่ถอนที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้เป็นการตอบแทนหาได้ไม่ กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนโดยสุจริต ดังนั้นการจัดการมรดกรายนี้จึงไม่ชอบ การจัดการมรดกจึงยังไม่สิ้นสุดลงตามกฎหมาย อายุความห้าปียังไม่เริ่มนับ คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดิน แต่ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยที่ 1 กับผู้ตาย จำเลยที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะทำนิติกรรมในส่วนของจำเลยที่ 1 ได้ แม้โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจัดการมรดกที่ไม่ชอบ ก็ขอให้เพิกถอนได้เฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกกลับคืนสู่กองมรดกเพื่อให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจัดการมรดกเสียใหม่ให้ถูกต้องเท่านั้น จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมในส่วนที่มิใช่เป็นทรัพย์มรดกไม่ได้ ที่ศาลล่างพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยทั้งสองทั้งแปลง เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกมาวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพลิงไหม้ลุกลามจากบ้านจำเลย โจทก์พิสูจน์ได้ว่าเกิดจากจำเลย จำเลยต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าต้นเพลิงเกิดจากบ้านของจำเลยแล้วไฟไหม้ลุกลามไปไหม้บ้านของโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 โดยกรณีนี้ศาลฎีกาเห็นว่า การที่ต้นเพลิงเกิดจากบ้านของจำเลยแล้วไฟไหม้ลุกลามไปไหม้บ้านของโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชอบเพราะถือว่าเป็นข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่โจทก์ จำเลยมีหน้าที่ต้องพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14701/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดิน vs. เสรีภาพประกอบอาชีพ: การคุ้มครองจากความเสียหายจากการประกอบกิจการ
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้จำเลยออกระเบียบแก่บุคคลที่มาใช้บริการสนามกอล์ฟของจำเลย ห้ามมิให้ใช้ไม้กอล์ฟที่มีประสิทธิภาพตีไกล เช่น หัวไม้ 1 ห้ามมิให้ตั้งทีสูงเกิน 45 มิลลิเมตร ที่บริเวณชั้น 1 และกำหนดเวลาเปิดปิดตั้งแต่ 8 ถึง 20.30 นาฬิกา เป็นการคุ้มครองสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421, 1337, 1337 และ 1374 เพื่อระงับยับยั้งมิให้การใช้สิทธิของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ไม่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 5 และมาตรา 43 วรรคหนึ่ง และเป็นการพิพากษาบังคับให้จำเลยในฐานะผู้ประกอบกิจการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟโดยตรงให้กระทำการและเป็นผู้ออกระเบียบ มิใช่เป็นการบังคับบุคคลภายนอกซึ่งสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้กระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้ละเมิด
ตามบันทึกข้อตกลงมีข้อความระบุไว้แต่เพียงว่า ช. และจำเลยต่างยืนยันว่าไม่ติดใจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีอย่างใดซึ่งกันและกัน ค่าเสียหายที่เกิดจากรถเฉี่ยวชนกันดังกล่าวมีทั้งค่าซ่อมรถ ค่ารถยก และค่ารักษาพยาบาลของผู้ที่บาดเจ็บ แต่ตามบันทึกดังกล่าวไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่ชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสิ้นเชิงแต่อย่างใด อีกทั้งข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้เอาประกันรถยนต์กระบะคือ ธ. มิใช่ ช. สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นค่าซ่อมรถหรือค่ายกรถจึงเป็นสิทธิของ ธ. ไม่ใช่สิทธิของ ช. ทั้งไม่ปรากฏว่า ธ. ได้มอบอำนาจให้ ช. ดำเนินการตกลงกับคู่กรณีแต่อย่างใด บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้หนี้ในมูลละเมิดครั้งนี้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ถึง 852

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20741/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ยังไม่มีกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์
ตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 3 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้ เลื่อยโซ่ยนต์หมายความว่า เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้หมายความรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง บทบัญญัติดังกล่าว ให้ความหมายของเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ชัดเจนแล้วว่า เลื่อยโซ่ยนต์ หมายถึง เครื่องมือใช้สำหรับตัดไม้ หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และมาตรา 2 ของพระราชบัญญัตินี้ยังบัญญัติให้กฎหมายมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2545 และสอดคล้องกับความในมาตรา 14 ที่บัญญัติให้ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามาขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้นั้นไม่มีความผิดตามมาตรา 4 เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 ในความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตยังไม่มีกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 3 ดังกล่าวออกมา ไม่ว่ากฎกระทรวงจะมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ กรณีไม่มีเหตุที่โจทก์ต้องบรรยายฟ้องถึงลักษณะของเลื่อยโซ่ยนต์ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงตามที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 ยกขึ้นอ้างในฎีกา คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17795/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน การหักกลบลบหนี้ค่าเช่า และอำนาจศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่มิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เป็นอันเพิกถอนไปเป็นการสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์เสียใหม่ให้ถูกต้องได้
of 14