คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุริยง ลิ้มสถิรานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4578/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันหลังเจ้าหนี้ถึงแก่ความตาย: สิทธิเกิดขึ้นหลังการตายใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ค่าเช่าซื้อที่ ส. มีอยู่ต่อบริษัท ม. ต่อมาโจทก์ได้ชำระหนี้ที่ ส. มีอยู่แก่บริษัท ม. หลังจากที่ ส. ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิของการเป็นเจ้าหนี้แทนบริษัท ม. ที่จะฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตาย สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์เพิ่งมีขึ้นในวันที่โจทก์ชำระหนี้แก่บริษัท ม. อันเป็นเวลาหลังจากที่ ส. ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมิใช่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ในอันที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยอยู่ในขณะที่ ส. ถึงแก่ความตาย เพราะสิทธิไล่เบี้ยของโจทก์เกิดขึ้นหลังจากการตายของ ส. ผ่านพ้นไปแล้ว อายุความในการใช้สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จะนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสาม ซึ่งเป็นอายุความสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อเจ้ามรดกมาใช้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3628/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำเพื่อให้เสียหายซึ่งทรัพย์ที่อาจถูกยึดเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดีตามคำพิพากษา
เมื่อจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม จะอ้างเหตุดังที่จำเลยนำสืบมาบ่ายเบี่ยงหรือหน่วงเหนี่ยวมิให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมโดยที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่ทำยอมมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่ การที่จำเลยกระทำการเกี่ยวกับทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้ยุ่งยากแก่การบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอม จึงเป็นการเพื่อจะมิให้การเป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมของศาลทำให้เสียหายซึ่งทรัพย์ที่จำเลยรู้ว่าน่าจะถูกยึดหรืออายัด อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนแม้ผู้ขับขี่เมาสุรา ผู้เอาประกันภัยต้องชดใช้คืน
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน โจทก์ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกซึ่งผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ บุคคลภายนอกมีสิทธิเรียกร้องจากผู้รับประกันภัยได้โดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 เมื่อจำเลยผู้เอาประกันภัยทำละเมิดและต้องรับผิดชอบต่อ ว. ท. และ จ. บุคคลภายนอก โจทก์ย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ ว. ท. และ จ. ตามบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว โจทก์ไม่อาจนำข้อยกเว้นความรับผิด เนื่องจากขณะขับขี่จำเลยมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่น้อยกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ข้อ 7.6 ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับระหว่างโจทก์ผู้รับประกันภัยกับจำเลยผู้เอาประกันภัยไปใช้เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกตามบทบัญญัติในมาตราดังกล่าวได้ โจทก์ยังต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก เพียงแต่เมื่อโจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยต้องใช้เงินที่โจทก์ใช้ไปนั้นคืนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษฐานลักทรัพย์ที่ผิดประเภท ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีการฎีกา
สายโทรศัพท์ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันลักเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วมที่มีไว้ใช้ให้บริการแก่ลูกค้า ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (10) ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ปรับบทลงโทษตามมาตรา 335 (10) จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไข กรณีโทษเดิมหนักกว่าโทษใหม่
ความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายตาม พ.รบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสอง (เดิม) ต้องระวางโทษประหารชีวิตสถานเดียว ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงพิพากษาให้ประหารชีวิต แต่เมื่อลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) คงจำคุก 25 ปี เช่นนี้ต้องถือว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 กำหนดตามคำพิพากษาคือโทษประหารชีวิต มิใช่โทษจำคุก 25 ปี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว เมื่อปรากฏว่าระหว่างที่จำเลยกำลังรับโทษตามคำพิพากษาซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วนั้น ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 8 และมาตรา 9 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งเฮโรอีนที่จำเลยผลิตโดยการแบ่งบรรจุมีน้ำหนัก 0.30 กรัม เป็นที่เข้าใจว่าหากคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์คงไม่ถึง 3 กรัม เมื่อจำเลยผลิตเฮโรอีนของกลางโดยการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงต้องด้วยมาตรา 65 วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท อันเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายเดิม เมื่อโทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 กำหนดคือโทษประหารชีวิต หนักกว่าโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาทตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ศาลต้องกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) มิใช่ถือเอาโทษจำคุก 25 ปี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ลดโทษให้แล้วมาเป็นหลักในการเปรียบเทียบกับโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22779/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหลังศาลพิพากษา บสท. ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยหรือ บสท. ประสงค์จะบังคับจำนองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน สำหรับทรัพย์สินด้อยคุณภาพในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้จำนองตามมาตรา 74 เมื่อผู้จำนองไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา บสท. มีอำนาจดำเนินการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันนั้นได้ โดยวิธีการขายทอดตลาด เว้นแต่ บสท. เห็นว่า การจำหน่ายโดยวิธีอื่นจะเป็นประโยชน์กับ บสท. และลูกหนี้มากกว่า ก็ให้จำหน่ายโดยวิธีอื่นได้ หรือจะรับโอนทรัพย์สินนั้นไว้ในราคาไม่น้อยกว่าราคาที่จะพึงได้รับจากการขายทอดตลาดแทนการจำหน่ายก็ได้ แต่สำหรับกรณีที่ บสท. ดำเนินการยื่นคำร้องขอสวมสิทธิเข้าเป็นโจทก์แทนเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 30 วรรคหก ซึ่งมาตรา 41 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ได้กำหนดว่า ภายใต้บังคับมาตรา 30 ในคดีที่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ฟ้องเป็นคดีต่อศาลเกี่ยวกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ บสท. รับโอนมาตามพระราชกำหนดนี้ให้ บสท. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับคดีตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ บสท. เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น ดังนั้นเมื่อ บสท. เลือกที่จะเข้าสวมสิทธิเป็นโจทก์แทนเจ้าหนี้ แทนที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความจนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาแล้ว บสท. จึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปตามมาตรา 41 เมื่อในคดีเดิมศาลชั้นต้นพิพากษาให้ บสท. เป็นฝ่ายชนะคดี บสท. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดีแล้วจึงต้องดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่า หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบให้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้จนครบ การที่ บสท. ไปขอรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ทั้งสามต่อเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกอกน้อย จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20145/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องและการยอมความในคดีอาญา ศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งให้จำหน่ายคดีฐานยักยอกและฉ้อโกง
ระหว่างกำหนดระยะเวลาฎีกาก่อนจำเลยยื่นฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์แปลความได้ว่าเป็นการยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องในส่วนความผิดฐานยักยอก ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมมิใช่ความผิดอันยอมความกันได้ จึงไม่ระงับ โดยศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและให้จำหน่ายคดีโจทก์ในส่วนความผิดต่อส่วนตัวฐานยักยอกและฐานฉ้อโกงที่โจทก์ขอถอนฟ้อง จึงยังไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและให้จำหน่ายคดีโจทก์ในส่วนความผิดฐานยักยอกและฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 และมาตรา 352 วรรคแรก จากสารบบความ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองเกี่ยวกับความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเป็นอันระงับไปในตัว รวมทั้งที่ให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18619/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลมีอำนาจพิจารณาโดยไม่ต้องรอฟังคำพิพากษาคดีอาญา
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลในคดีส่วนแพ่งจะรอฟังข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีส่วนอาญาหรือไม่ก็ได้ เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป พฤติกรรมของจำเลยที่ 1 ที่หลบหนีคดีอาญาอยู่ ไม่อาจทราบได้ว่าคดีส่วนอาญาจะมีคำพิพากษาได้เมื่อใด การที่ศาลล่างทั้งสองไม่รอฟังคดีอาญาก่อนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17282/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษบทหนักในความผิดฐานทำไม้และล่าสัตว์ป่า ต้องพิจารณาตามลำดับโทษใน ป.อ. มาตรา 18
การพิจารณาว่ากฎหมายบทใดมีโทษหนักกว่ากันต้องถือตามลำดับที่วางไว้ใน ป.อ. มาตรา 18 และหากเป็นโทษในลำดับเดียวกันให้ถือตามบทที่มีอัตราโทษขั้นสูงกว่าเป็นเกณฑ์ เมื่อความผิดฐานร่วมกันทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง กำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง กำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท โทษจำคุกตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จึงเป็นบทหนักกว่า และเมื่อใช้บทบัญญัติที่มีโทษหนักแล้วก็ใช้บทดังกล่าวเป็นบทลงโทษแต่บทเดียว ถึงแม้บทหนักจะไม่มีโทษขั้นต่ำ แต่บทเบากว่ามีโทษขั้นต่ำ ศาลก็ชอบที่จะลงโทษตามบทที่หนักโดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำในบทที่เบากว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษจำเลยทั้งห้าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 42 วรรคสอง (3), 54 วรรคหนึ่ง จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16499/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกายกฟ้องฐานจำหน่ายยาเสพติด ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดจริง ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
นอกจากโจทก์จะฎีกากล่าวอ้างว่า พยานโจทก์ที่นำสืบมีน้ำหนักรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแล้ว โจทก์ยังฎีกายกเหตุที่ไม่เห็นด้วยกับการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ด้วย เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 แล้ว จึงเป็นฎีกาที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง, 100/2 จำคุก 2 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67, 100/2 ลดโทษกึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 3 เดือน ปรับ 5,000 บาท และรอการลงโทษ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219
of 14