พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6423-6424/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดทำระเบียบช่วยเหลือสมาชิกของสหกรณ์ เข้าข่ายประกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยไม่ได้รับอนุญาต
พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มิได้นิยามคำว่าการประกอบธุรกิจประกันชีวิตไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติในลักษณะประกันภัยของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ การที่จำเลยตกลงจะใช้เงินจำนวน 60,000 บาท ในกรณีที่สมาชิกถึงแก่ความตาย และในกรณีเจ็บป่วยปีละไม่เกิน 5,000 บาท โดยสมาชิกต้องส่งเงินให้จำเลยเป็นรายปี ปีละ 12,000 บาท เป็นสัญญาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 861 ที่บัญญัติว่า อันว่าสัญญาประกันภัย คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย การที่ระเบียบของจำเลยใช้คำว่าให้สมาชิกบริจาคเงินให้แก่จำเลย แต่ความหมายที่แท้จริงคือเงินที่สมาชิกจะต้องส่งให้แก่จำเลยดังกล่าวเป็นเงื่อนไขเพื่อให้จำเลยใช้เงินในกรณีที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในอนาคตตามที่ระบุไว้ในระเบียบเช่นเดียวกับการส่งเบี้ยประกันภัย แม้ตามระเบียบของจำเลยใช้คำว่าบริจาคแทนเงินเบี้ยประกันภัย ก็ไม่มีผลทำให้เงินที่สมาชิกต้องส่งให้แก่จำเลยไม่เป็นเบี้ยประกันภัย โดยจำเลยมีฐานะเป็นผู้รับประกันภัย ส่วนสมาชิกมีฐานะเป็นผู้เอาประกันภัย และสมาชิกหรือบุคคลที่สมาชิกระบุในกรณีถึงแก่ความตาย เป็นผู้รับประโยชน์ตาม มาตรา 862 และการที่ระเบียบกำหนดเงื่อนไขว่า ในกรณีที่สมาชิกถึงแก่ความตาย จำเลยจะใช้เงินจำนวน 60,000 บาท จึงเป็นการใช้เงินโดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคล จึงเป็นการประกันชีวิตตาม มาตรา 889 เงินที่ได้รับจากสมาชิกตามระเบียบดังกล่าว ข้อ 14 กำหนดว่า เมื่อสิ้นปีทางบัญชีหากมีเงินเหลือให้ถือว่าเงินจำนวนนั้นเป็นรายได้ของจำเลย หากปีใดเงินไม่เพียงพอ ให้ถือว่าเงินจำนวนที่ขาดเป็นรายจ่ายของจำเลยการที่จำเลยดำเนินการตามระเบียบโดยมีสมาชิกจำนวน 350 คน จึงเป็นการประกอบธุรกิจประกันชีวิต แม้บุคคลที่จะเข้าเป็นสมาชิกจะต้องเป็นสมาชิกหรือครอบครัวและพนักงานของจำเลยเท่านั้นก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำไม่เป็นการประกอบธุรกิจ เมื่อจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตจากรัฐมนตรีโดยคณะรัฐมนตรี ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 18
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5250/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ถอนตั๋วเงินก่อนกำหนดและการกระทำโดยมีเจตนาทุจริต กรณีไม่มีสิทธิรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นบัตรเงินฝาก
โจทก์นำตั๋วแลกเงินของบริษัท น. ที่สั่งจ่ายแก่จำเลยที่ 5 โดยจำเลยที่ 5 เป็นผู้รับอาวัลแก่โจทก์จำนวน 4 ฉบับ ไปไถ่ถอนคืนจากจำเลยที่ 5 ก่อนครบกำหนดอ้างว่าขอรับเป็นเงินสด แต่จำเลยที่ 5 ไม่มีเงินสด จำเลยที่ 5 จึงออกตั๋วแลกเงินตามฟ้องจำนวน 4 ฉบับ ให้แทน หลังจากนั้น 4 วัน จำเลยที่ 5 ถูกระงับการดำเนินกิจการชั่วคราว โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า โจทก์เคยไถ่ถอนก่อนครบกำหนดใช้เงินมาก่อนครั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าการไถ่ถอนก่อนกำหนดเป็นประเพณีการค้าปกติ การเปลี่ยนเป็นตั๋วแลกเงินตามฟ้องเป็นผลให้มีเพียงจำเลยที่ 5 ต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น โดยบริษัท น. ซึ่งต้องร่วมรับผิดด้วยแต่เดิมหลุดพ้นความรับผิดไป ทั้งเป็นการเร่งรีบออกตั๋วแลกเงินตามฟ้องให้ใหม่ โดยพฤติการณ์เสมือนหนึ่งว่าได้ล่วงรู้ข้อมูลภายในถึงเรื่องที่จำเลยที่ 5 จะต้องถูกทางการสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการ และทางการจะให้ความช่วยเหลือเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 5 โดยออกมาตรการให้นำตั๋วแลกเงินซึ่งเป็นของสถาบันการเงินไปแลกเปลี่ยนเป็นบัตรเงินฝากของจำเลยที่ 4 ซึ่งหากยังคงเป็นตั๋วแลกเงิน 4 ฉบับ เดิมซึ่งเป็นของบริษัท น. อยู่ โจทก์ก็ไม่อาจนำไปแลกเปลี่ยนเป็นบัตรเงินฝากของจำเลยที่ 4 ได้ และดอกเบี้ยที่คิดรวมให้ในตั๋วแลกเงินตามฟ้องก็นำสืบให้รับฟังไม่ได้ว่าเป็นอัตราตามตลาดเงิน กรณีจึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมส่อไปในทางไม่สุจริตหรือไม่เป็นประเพณีการค้าปกติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้รับแลกเปลี่ยนตั๋วแลกเงินตามฟ้องเป็นบัตรเงินฝากของจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4697/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีอาญาที่โจทก์ร่วมเรียกค่าเสียหาย ศาลต้องพิจารณาความสุจริตและสมเหตุสมผลก่อนสั่งให้ชำระ
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ร่วมชำระค่าขึ้นศาล โดยที่ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ร่วมเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนสูงเกินสมควรหรือดำเนินคดีโดยไม่สุจริต เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 253 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4399-4400/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนพยายามลักทรัพย์: ความผิดของผู้ให้ความช่วยเหลือในการกระทำความผิด
คนร้ายได้เคลื่อนย้ายกล่องกระดาษจากบริเวณที่ผู้เสียหายเก็บไว้ในโกดังขึ้นรถบรรทุกหกล้อ แต่รถบรรทุกหกล้อยังอยู่ภายในโรงงานของผู้เสียหายซึ่งมีพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลอยู่ด้วย ทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัยไม่ยินยอมให้ บ. นำกล่องกระดาษออกไป จึงถือว่าการแย่งกรรมสิทธิ์ในกล่องกระดาษของ บ. ยังไม่สมบูรณ์ ขั้นตอนการลักทรัพย์ของ บ. ยังกระทำไม่แล้วเสร็จ การนำรถบรรทุกดังกล่าวออกไปจากโรงงานผู้เสียหายเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องเกี่ยวพันกับการลักทรัพย์ พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองเข้าไปพูดกับพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทผู้เสียหายบริเวณประตูทางออกเพื่อให้ บ. นำรถบรรทุกกล่องกระดาษของผู้เสียหาย ถือเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในขณะที่ บ. ลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ แต่เมื่อ บ. ไม่สามารถนำกล่องกระดาษออกไปได้ การกระทำของ บ. จึงเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดฐานพยายามลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินฟ้องในคดีอาญา กรณีทรัพย์ที่ถูกกล่าวหาผิดแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ได้ความ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยลักเอาเม็ดพลาสติกที่โม่บดแล้วของผู้เสียหายไป แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ผู้เสียหายกับจำเลยประกอบธุรกิจร่วมกัน โดยจำเลยมีหน้าที่แต่เพียงผู้เดียวที่ไปประมูลเม็ดพลาสติกมือสองนำมาบดแล้วนำไปขายและเก็บเงินจากลูกค้า ส่วนโจทก์มีหน้าที่ออกเงินลงทุน แต่สาเหตุที่ผู้เสียหายดำเนินคดีนี้แก่จำเลย เนื่องจากจำเลยนำเม็ดพลาสติกที่บดแล้วไปขายให้แก่ลูกค้า เมื่อรับเงินมาแล้วไม่ยอมส่งมอบให้แก่ผู้เสียหายหาใช่จำเลยลักเม็ดพลาสติกไม่ ทรัพย์ที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดจึงแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางพิจารณา เพราะเงินที่จำเลยไม่ยอมมอบแก่ผู้เสียหายไม่ใช่สิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด จึงเป็นข้อแตกต่างในสาระสำคัญ และศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่ได้จากทางพิจารณามาวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาฐานใดได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกาย พยายามฆ่า และพาอาวุธไปในเมือง ศาลพิจารณาหลักฐานและบทบาทของจำเลยแต่ละคน
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 กล่าวหาจำเลยทั้งสองกระทำความผิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 แต่ตามใบนำส่งผู้บาดเจ็บที่พนักงานสอบสวนส่งผู้เสียหายทั้งสองให้แพทย์ตรวจทั้งสองฉบับที่โจทก์แนบท้ายคำฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ระบุวันเกิดเหตุว่าเป็นวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ในตอนท้ายยังระบุด้วยว่าต่อมาวันที่ 30 มีนาคม 2547 เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 2 ได้ และวันที่ 1 เมษายน 2547 จำเลยที่ 1 เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่าเหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 มิใช่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายกัญชา: ศาลฎีกาแก้เป็นว่ามีความผิดฐานจำหน่ายกัญชา แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาต่างไป
เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยและยึดกัญชาแห้ง 5 ห่อ น้ำหนักสุทธิ 23.740 กรัม เป็นของกลาง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายกัญชาตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง, 76/1 วรรคหนึ่ง จำคุกกระทงละ 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้ว คงลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี 4 เดือน รวมจำคุก 2 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตมิได้มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และมิได้จำหน่ายกัญชา พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง, 76 วรรคหนึ่ง แต่เพียงฐานเดียว ลงโทษจำคุก 3 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ มาตรา 78 แล้ว คงลงโทษจำคุก 1 เดือน 15 วัน ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลอุทธรณ์แก้ทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษอันเป็นการแก้ไขมากแต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219
การที่โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาและการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร อันเป็นการฟ้องโดยอาศัยการกระทำเดียว แต่ให้ศาลเลือกลงโทษในฐานใดฐานหนึ่งตามที่พิจารณาได้ความโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นศาลชั้นต้นเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานรับของโจร แม้จะเป็นการแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ย่อมถือว่าโจทก์พอใจ โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์ไม่ได้
การแก้ไขมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นการแก้ไขทั้งบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลง ซึ่งการแก้บทลงโทษมีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงบทลงโทษจากบทหนึ่งเป็นอีกบทหนึ่ง หรือเป็นการแก้วรรคในบทเดิม ซึ่งความผิดแต่ละวรรคมีโทษขั้นต่ำและสูงแตกต่างกันมาก และลักษณะความผิดในแต่ละวรรคนั้นแตกต่างกัน เช่น ความผิดในวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้และอีกวรรคหนึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นต้น
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก โดยไม่ได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา 336 ทวิ กำหนดไว้นั้น ลักษณะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคแรก และวรรคสองไม่แตกต่างกันและมีระวางโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปี เหมือนกัน ต่างกันเฉพาะระวางโทษขั้นสูงซึ่งมาตรา 335 วรรคแรก ระวางโทษขั้นสูงจำคุก 5 ปี วรรคสอง ระวางโทษขั้นสูงจำคุก 7 ปี ส่วน ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แก้บทลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพียงแต่แก้จำนวนโทษมิได้แก้บทลงโทษ จึงเป็นกรณีแก้ไขเล็กน้อย
คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฎีกาพร้อมกับคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีไม่ต้องห้ามจำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ไขมากและมีคำสั่งรับฎีกานั้น จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
การแก้ไขมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นการแก้ไขทั้งบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลง ซึ่งการแก้บทลงโทษมีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงบทลงโทษจากบทหนึ่งเป็นอีกบทหนึ่ง หรือเป็นการแก้วรรคในบทเดิม ซึ่งความผิดแต่ละวรรคมีโทษขั้นต่ำและสูงแตกต่างกันมาก และลักษณะความผิดในแต่ละวรรคนั้นแตกต่างกัน เช่น ความผิดในวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้และอีกวรรคหนึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นต้น
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก โดยไม่ได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา 336 ทวิ กำหนดไว้นั้น ลักษณะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคแรก และวรรคสองไม่แตกต่างกันและมีระวางโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปี เหมือนกัน ต่างกันเฉพาะระวางโทษขั้นสูงซึ่งมาตรา 335 วรรคแรก ระวางโทษขั้นสูงจำคุก 5 ปี วรรคสอง ระวางโทษขั้นสูงจำคุก 7 ปี ส่วน ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แก้บทลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพียงแต่แก้จำนวนโทษมิได้แก้บทลงโทษ จึงเป็นกรณีแก้ไขเล็กน้อย
คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฎีกาพร้อมกับคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีไม่ต้องห้ามจำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ไขมากและมีคำสั่งรับฎีกานั้น จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทจากการกล่าวถึงประวัติการกู้ยืมเงินขณะโต้เถียงด้วยอารมณ์โกรธ ไม่ถึงขั้นทำให้เสียชื่อเสียง
จำเลยพูดทวงเงินที่ ถ. ค้างชำระแล้วจำเลยกับ ถ. มีปากเสียงด่าว่ากัน และจำเลยได้ด่าว่า โคตรของมึงยืมเงินกูไปเป็นประจำ ไอ้หรัด อีต้อย ก็ไปยืมเงินกู เหตุเกิดขณะ ถ. กับจำเลยต่างทะเลาะโต้เถียงกันต่างอยู่ในอารมณ์โกรธ ข้อความที่ว่าไอ้หรัดซึ่งหมายถึงผู้เสียหายเป็นเพียงคำเรียกหาที่ไม่สุภาพ ส่วนที่ว่าผู้เสียหายเคยยืมเงินจำเลยก็กล่าวตามข้อเท็จจริงซึ่งผู้เสียหายรับว่าเคยกู้ยืมเงินจากจำเลยจริง ทั้งการกู้ยืมเงินกันก็ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่มีข้อความกล่าวถึงกับว่าผู้เสียหายคดโกง ดังนี้ ตามความรู้สึกของวิญญูชนทั่วๆ ไปจึงไม่เป็นถ้อยคำที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจถึงขนาดความเชื่อถือไว้วางใจ หรือความคดโกงชั่วร้าย อันจะเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังแต่ประการใด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10624/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยผู้รับประกันภัยคนถัดไป กรณีผู้รับประกันภัยคนแรกไม่จ่าย และหลักจัดการงานนอกสั่ง
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนถัดไปต่อจากผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนแรก เป็นผู้จ่ายค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปเพราะไม่รู้ว่าวินาศภัยอันเดียวกันนี้มีผู้คัดค้านเป็นผู้รับประกันภัยไว้ก่อนตน กรณีจึงเป็นการจ่ายค่าสินไหมทดแทนไป ทั้งๆ ที่ผู้ร้องไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 870 วรรคสามบัญญัติไว้ ถือได้ว่าการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนของผู้ร้องนั้น เป็นการสมประโยชน์ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ กรณีตามคำร้องจึงเข้าเกณฑ์เป็นเรื่องจัดการงานนอกสั่งซึ่งก่อให้เกิดหนี้ที่ผูกพันผู้คัดค้านให้ต้องรับผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ร้องได้ออกทดรองจัดการงานให้ผู้คัดค้านไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 401
การที่อนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยว่า ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไป ยังไม่คุ้มกับจำนวนวินาศภัย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนถัดไปไม่รอเพื่อจ่ายในส่วนที่ยังขาดอยู่ถ้าหากมีแต่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายทั้งสิ้นไปทีเดียว จึงต้องถือว่าผู้ร้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยไม่มีหน้าที่ เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติถึงกรณีนี้ในอันจะให้ผู้ร้องเรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินตามที่ได้จ่ายไปนั้นได้ การที่ผู้ร้องจ่ายไปนั้นจึงตกเป็นพับแก่ผู้ร้อง และมีคำชี้ขาดให้ยกคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องมานั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและเข้าเกณฑ์เป็นกรณีที่การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งศาลชอบที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดนั้นเสียได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสาม (2)(ข)
การที่อนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยว่า ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไป ยังไม่คุ้มกับจำนวนวินาศภัย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนถัดไปไม่รอเพื่อจ่ายในส่วนที่ยังขาดอยู่ถ้าหากมีแต่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายทั้งสิ้นไปทีเดียว จึงต้องถือว่าผู้ร้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยไม่มีหน้าที่ เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติถึงกรณีนี้ในอันจะให้ผู้ร้องเรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินตามที่ได้จ่ายไปนั้นได้ การที่ผู้ร้องจ่ายไปนั้นจึงตกเป็นพับแก่ผู้ร้อง และมีคำชี้ขาดให้ยกคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องมานั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและเข้าเกณฑ์เป็นกรณีที่การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งศาลชอบที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดนั้นเสียได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสาม (2)(ข)