พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการพิจารณาคดีแพ่งเมื่อมีการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินอันเกิดจากการผิดสัญญาจะซื้อขาย จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีจึงมีคำขอให้มีการพิจารณาใหม่ การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ถือได้ว่าเป็นการต่อสู้คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยนั่นเอง เมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นในระหว่างการพิจารณาหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับของจำเลยว่า จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยและศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาแล้วโดยไม่ปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (4) ซึ่งบัญญัติให้ศาลที่มีการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยงดการพิจารณาไว้และย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาคดีในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาด้วย ดังนั้น การพิจารณาหลักประกันของศาลชั้นต้นตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ดี หรือการที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ดี ล้วนถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีอย่างหนึ่งซึ่งต้องงดการพิจารณาไว้ตามบทกฎหมายดังกล่าวด้วยเช่นกัน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการอ่านคำพิพากษาและศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไปนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการพิจารณาที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องเพิกถอนการพิจารณานั้นเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการพิจารณาคดีแพ่งเมื่อมีการฟื้นฟูกิจการของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินอันเกิดจากการผิดสัญญาจะซื้อขายจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีจึงมีคำขอให้มีการพิจารณาใหม่ การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ถือได้ว่าเป็นการต่อสู้คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยนั่นเอง เมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นในระหว่างการพิจารณาหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับของจำเลยว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยและศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาแล้วโดยไม่ปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4)ซึ่งบัญญัติให้ศาลที่มีการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยงดการพิจารณาไว้และย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาคดีในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาด้วย ดังนั้นการพิจารณาหลักประกันของศาลชั้นต้นตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ดี หรือการที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ดี ล้วนถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีอย่างหนึ่งซึ่งต้องงดการพิจารณาไว้ตามบทกฎหมายดังกล่าวด้วยเช่นกันการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการอ่านคำพิพากษาและศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไปนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการพิจารณาที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องเพิกถอนการพิจารณานั้นเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการจำกัดเฉพาะผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้เอง ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับความคุ้มครอง
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นคดีเดียวกันกับคดีของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแต่ผู้เดียวจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/12(4) เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ได้อยู่ในฐานะเป็นผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไปได้แม้จำเลยที่ 1 ศาลแพ่งจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ก็ตาม
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้กล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย ส่วนจำเลยที่ 4 ก็กล่าวมาในคำร้องว่าจำเลยที่ 4 ขอแสดงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า หากจำเลยที่ 4 มีโอกาสต่อสู้คดีย่อมทำให้ผลคำตัดสินหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไรถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย คำร้องของจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้กล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย ส่วนจำเลยที่ 4 ก็กล่าวมาในคำร้องว่าจำเลยที่ 4 ขอแสดงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า หากจำเลยที่ 4 มีโอกาสต่อสู้คดีย่อมทำให้ผลคำตัดสินหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไรถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย คำร้องของจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ และการพิจารณาคดีของผู้ค้ำประกันที่แยกต่างหาก
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีเดียวกันภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 โดยศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เมื่อมีแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ จำเลยที่ 1 จึงได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (4) แต่ผู้เดียวโดยเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ทั้งโจทก์ก็สามารถแยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้อยู่แล้ว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นคดีเดียวกันกับคดีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ไม่อาจได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (4) เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้มีฐานะเป็นผู้ร่วมร้องขอหรือเป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้กล่าวมาในคำร้องเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นเลย คำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคท้าย ส่วนคำร้องของจำเลยที่ 4 มิได้แสดงรายละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 4 แพ้คดีไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง ทั้งหาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไร จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคท้าย
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้กล่าวมาในคำร้องเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นเลย คำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคท้าย ส่วนคำร้องของจำเลยที่ 4 มิได้แสดงรายละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 4 แพ้คดีไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง ทั้งหาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไร จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้จำเลยไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
การปิดคำคู่ความหรือเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคหนึ่ง หมายถึงการนำคู่ความหรือเอกสารไปติดไว้ที่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความ ซึ่งต้องกระทำให้มีลักษณะแน่นหนา ไม่หลุดออกไปโดยง่าย ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งเพียงแต่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปเสียบไว้ที่เหล็กที่ใช้เป็นมือจับสำหรับปิดเปิดประตูเหล็กยืดที่บ้านจำเลยซึ่งอาจหลุดและปลิวไปได้โดยง่าย จึงไม่อาจถือว่าเป็นการปิดคำคู่ความหรือเอกสารโดยชอบตามบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบ จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา สมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9452/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ล่าช้า ต้องระบุวันที่ทราบคำบังคับชัดเจน จึงจะถือว่าแจ้งเหตุอย่างละเอียด
ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ครบถ้วนชัดแจ้งแล้วว่า แม้จำเลยจะอ้างในคำร้องขอพิจารณาใหม่ว่า จำเลยไปประกอบธุรกิจต่างจังหวัดเป็นเวลาปีเศษ ไม่ทราบว่าถูกฟ้อง อันแสดงว่าจำเลยได้อ้างเหตุที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนด15 วัน นับแต่วันส่งคำบังคับให้จำเลยเป็นเพราะพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่จำเลยหาได้กล่าวไว้ว่าจำเลยได้ทราบคำบังคับตั้งแต่วันที่เท่าใด เพื่อให้ทราบว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นสิ้นสุดลงเมื่อใดอันไม่อาจเริ่มต้นนับกำหนด 15 วันได้ถือได้ว่าจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงกรณียื่นคำขอล่าช้าและเหตุแห่งการล่าช้านั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9131/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและคำบังคับที่ภูมิลำเนาบริษัท และการยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่เกินกำหนด
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 68 บัญญัติให้ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เป็นภูมิลำเนาของบริษัท จำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เลขที่ 385/1 ถนนสีลม แขวงสีลม บางรัก กรุงเทพฯ ศาลชั้นต้นสั่งให้ปิดหมายเรียก สำเนาคำฟ้องและคำบังคับที่บ้านเลขที่ดังกล่าว แม้พนักงานเดินหมายจะรายงานว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวปิดใส่กุญแจ และเมื่อสอบถามบุคคลที่อยู่บ้านข้างเคียงก็ได้ความว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวปิดอยู่นานแล้วและไม่มีผู้ใดรู้จักบริษัทจำเลยก็ตาม ก็ยังไม่ได้ความแน่ชัดว่าเป็นจริงตามนั้น ดังนั้นในเบื้องต้นต้องถือว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง รวมทั้งการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยดังกล่าวเป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ถ้าจำเลยประสงค์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ส่งคำบังคับหรือวันที่การส่งคำบังคับมีผล ถ้าไม่สามารถยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าวโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยจะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง จำเลยอ้างว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ก่อนฟ้อง จำเลยจึงไม่ทราบว่าถูกฟ้อง อันเป็นการอ้างว่าไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับให้จำเลยมีผลเพราะพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ดังนั้นจำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง คือวันที่ 25 มีนาคม 2542 อันเป็นวันที่จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่งกำหนด คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบ
ถ้าจำเลยประสงค์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ส่งคำบังคับหรือวันที่การส่งคำบังคับมีผล ถ้าไม่สามารถยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าวโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยจะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง จำเลยอ้างว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ก่อนฟ้อง จำเลยจึงไม่ทราบว่าถูกฟ้อง อันเป็นการอ้างว่าไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับให้จำเลยมีผลเพราะพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ดังนั้นจำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง คือวันที่ 25 มีนาคม 2542 อันเป็นวันที่จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่งกำหนด คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116-2118/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีแรงงาน จำเลยมีสิทธิขอพิจารณาใหม่ได้ แม้พ้นกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
กรณีศาลแรงงานสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา แล้วกำหนดวันเวลานัดพิจารณาและออกหมายเรียก ให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกแล้ว ถ้าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยจะต้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวและพิจารณาใหม่ตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด จึงนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับไม่ได้ แต่การที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด และพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 40 วรรคสอง ได้ จะต้องปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว มิฉะนั้นกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินไปย่อมเป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ซึ่งจำเลย มีสิทธิขอให้เพิกถอนและพิจารณาคดีใหม่เมื่อใดก็ได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการส่งหมายเรียกไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม คือต้องส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย
จำเลยอ้างในคำร้องว่าบ้านเลขที่ที่ศาลแรงงานส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยเพราะจำเลยได้ย้ายออกไปอยู่ที่บ้านเลขที่อื่นตั้งแต่ก่อนโจทก์ยื่นคำฟ้อง หากได้ความตามคำร้องของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อใดก็ได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการไม่ชอบ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการส่งหมายเรียกไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม คือต้องส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย
จำเลยอ้างในคำร้องว่าบ้านเลขที่ที่ศาลแรงงานส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยเพราะจำเลยได้ย้ายออกไปอยู่ที่บ้านเลขที่อื่นตั้งแต่ก่อนโจทก์ยื่นคำฟ้อง หากได้ความตามคำร้องของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อใดก็ได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8139-8142/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ล่าช้าเกินกำหนดและไม่มีเหตุจำเป็นพิเศษ ศาลฎีกายืนคำสั่งศาลแรงงานกลาง
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ได้กล่าวอ้างปฏิเสธเลยว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมทั้งคำบังคับไปให้จำเลยเป็นการส่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คงกล่าวอ้างเพียงว่า ไม่เคยได้รับหมายเรียกและ สำเนาคำฟ้อง ส่วนคำบังคับก็ได้รับล่าช้ามากเพราะพนักงานของจำเลย ที่รับคำบังคับไว้แทนจำเลยไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยมิได้จงใจขาดนัด พฤติการณ์ตามข้ออ้างของจำเลยดังนี้ยังถือไม่ได้ ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือ ไม่อาจบังคับได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พนักงานของจำเลยได้รับคำบังคับที่ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไว้แทนจำเลยเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2542 จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งคำบังคับ กล่าวคือ ต้องยื่นภายในวันที่ 2 ตุลาคม 2542 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่หลังจากพ้นกำหนดดังกล่าวที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยชอบแล้ว
พนักงานของจำเลยได้รับคำบังคับที่ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไว้แทนจำเลยเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2542 จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งคำบังคับ กล่าวคือ ต้องยื่นภายในวันที่ 2 ตุลาคม 2542 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่หลังจากพ้นกำหนดดังกล่าวที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและคำขอพิจารณาใหม่: จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยานและไม่มีเหตุขอพิจารณาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2541และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 26 พฤศจิกายน 2541 จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่กลับมายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ทั้งที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีเพราะเหตุขาดนัด รูปคดีจึงไม่มีทางขอให้พิจารณาใหม่ได้