คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 208

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาใหม่หลังมีคำพิพากษา: จำเลยต้องแสดงเหตุผลชัดเจนว่ามีโอกาสชนะคดี
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208เป็นคำสั่งภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาไปแล้วจึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้ง ซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลเพื่อแสดงว่าตนอาจชนะคดี ได้อย่างไร คงกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยประสงค์จะสู้คดีต่อไป และมีทางชนะคดีได้เท่านั้น โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่า หากมีการพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้ชนะคดีได้ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสองที่ศาลจะสั่งให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาคดีใหม่ต้องแสดงเหตุผลชัดเจนว่ามีโอกาสชนะคดี หากไม่มี ศาลไม่จำเป็นต้องอนุญาต
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลเพื่อแสดงว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไรคงกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยประสงค์จะสู้คดีต่อไปและมีทางชนะคดีได้เท่านั้นโดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่าหากมีการพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้ชนะคดีได้คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งมาตรา208วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ศาลจะสั่งให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5050/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เกินกำหนด และเหตุพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุม
เจ้าพนักงานศาลส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับตามคำสั่งศาลที่ภูมิลำเนาของจำเลยเมื่อวันที่27พฤศจิกายน2537ถือได้ว่าเป็นการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยชอบแล้วเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ก็จะต้องยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกำหนด15วันนับแต่วันที่12ธันวาคม2537ซึ่งเป็นวันที่การส่งคำบังคับให้แก่จำเลยมีผลตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208วรรคหนึ่งคือจำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่27ธันวาคม2537แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่10กุมภาพันธ์2538ซึ่งเกินกำหนด15วันล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้จึงขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้และการที่จำเลยได้หลบหนี้คดีอาญาไปเสียจากภูมิลำเนาของจำเลยเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยเองจึงจะนำมาอ้างว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ไม่แม้จำเลยจะอ้างว่าเพิ่งทราบว่าถูกฟ้องและมีการส่งคำบังคับให้จำเลยเมื่อถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยแล้วซึ่งนับแต่เมื่อทราบดังกล่าวถึงวันยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ยังไม่ครบกำหนด15วันก็ตามแต่กรณีดังกล่าวไม่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้เสียแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่โดยเหตุนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5050/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับโดยวิธีปิดและการยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่เกินกำหนด
เจ้าพนักงานศาลส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับตามคำสั่งศาลที่ภูมิลำเนาของจำเลยเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2537 ถือได้ว่าเป็นการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ก็จะต้องยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ 12 ธันวาคม2537 ซึ่งเป็นวันที่การส่งคำบังคับให้แก่จำเลยมีผลตามนัยแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 208วรรคหนึ่ง คือจำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่ 27 ธันวาคม2537 แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเกินกำหนด 15 วัน ล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้ และการที่จำเลยได้หลบหนีคดีอาญาไปเสียจากภูมิลำเนาของจำเลยเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยเอง จึงจะนำมาอ้างว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้หาได้ไม่ แม้จำเลยจะอ้างว่าเพิ่งทราบว่าถูกฟ้องและมีการส่งคำบังคับให้จำเลยเมื่อถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยแล้ว ซึ่งนับแต่เมื่อทราบดังกล่าวถึงวันยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ยังไม่ครบกำหนด 15 วัน ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวไม่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้เสียแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่โดยเหตุนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4285/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนคำสั่ง ศาลต้องไต่สวนหากจำเลยอ้างเหตุสมควร
จำเลยที่1ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยที่1ขาดนัดพิจารณาโดยอ้างว่าได้ทำใบมอบฉันทะมอบให้เสมียนทนายมาแล้วแต่เสมียนทนายไม่ได้นำไปแสดงต่อศาลในการขอเลื่อนสืบพยานจำเลยเพราะหลงลืมทั้งในคำร้องได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไว้ด้วยคำร้องของจำเลยที่1จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208แล้วการที่เสมียนทนายไม่ได้นำใบมอบฉันทะมาแสดงต่อศาลก็ดีหรือการที่เสมียนทนายปลอมใบมอบฉันทะก็ดีเป็นการกระทำของเสมียนทนายไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่1ซึ่งเป็นฝ่ายขาดนับมาศาลได้หรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา209ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4285/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: อำนาจไต่สวนและเพิกถอนคำสั่ง กรณีใบมอบฉันทะ
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาโดยอ้างว่าได้ทำใบมอบฉันทะมอบให้เสมียนทนายมาแล้ว แต่เสมียนทนายไม่ได้นำไปแสดงต่อศาลในการขอเลื่อนสืบพยานจำเลยเพราะหลงลืม ทั้งในคำร้องได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไว้ด้วย คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 แล้ว การที่เสมียนทนายไม่ได้นำใบมอบฉันทะมาแสดงต่อศาลก็ดีหรือการที่เสมียนทนายปลอมใบมอบฉันทะก็ดีเป็นการกระทำของเสมียนทนายไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายขาดนัดมาศาลได้หรือไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 209 ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิจารณาใหม่หลังพิพากษา: อุทธรณ์ไม่ทันเวลา ไม่อาจฎีกาได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา208 เป็นคำสั่งภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาคดีแล้ว ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เป็นคำสั่งชี้ขาดใด ๆ ซึ่งอยู่ในบังคับของการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดซึ่งต้องยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งดังกล่าวให้คู่ความฟังตามมาตรา 223 และ 229 เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาใหม่ ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงถึงที่สุดแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์อีก แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบ โจทก์จะยกขึ้นฎีกาต่อมาไม่ได้ มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาใหม่และการอุทธรณ์คำสั่งศาล: คำสั่งพิจารณาใหม่หลังพิพากษาถึงที่สุดแล้วไม่อาจอุทธรณ์ได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208เป็นคำสั่งภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาคดีแล้วไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแต่เป็นคำสั่งชี้ขาดใดๆซึ่งอยู่ในบังคับของการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดซึ่งต้องยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด1เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งดังกล่าวให้คู่ความฟังตามมาตรา223และ229เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาใหม่ภายใน1เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงถึงที่สุดแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์อีกแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบโจทก์จะยกขึ้นฎีกาต่อมาไม่ได้มาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์ว่าผิดสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท โดยขณะที่จำเลยยื่นฟ้องนั้น โจทก์ไม่เคยมีภูมิลำเนาและไม่เคยอาศัยอยู่ในบ้านตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่โจทก์ แม้บุคคลที่อยู่ในบ้านจะแจ้งว่าไม่มีคนชื่อเดียวกับโจทก์อยู่ในบ้านดังกล่าว จำเลยก็แถลงยืนยันว่าโจทก์มีภูมิลำเนาตามฟ้องโดยไม่ได้แสดงหลักฐานต่อศาล แสดงให้เห็นว่าได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าที่จะฟ้องโจทก์โดยไม่ให้โจทก์ทราบว่าถูกฟ้อง นอกจากนี้ชื่อโจทก์ที่ระบุในคำฟ้องก็ไม่ตรงกับชื่อโจทก์ที่แท้จริง ทำให้โจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา หลังจากศาลพิพากษาแล้ว จำเลยได้นำคำพิพากษาไปให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของจำเลย ทั้ง ๆ ที่ชื่อโจทก์ในคดีที่จำเลยฟ้องไม่ตรงกับชื่อในโฉนดที่ดิน พฤติการณ์ของจำเลยในการดำเนินคดีและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามมาตรา 420 ดังนั้น การได้ที่ดินพิพาทของจำเลยเป็นการได้ไปโดยกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินจากการฟ้องคดีโดยจำเลยจงใจทำให้โจทก์ไม่ทราบ และข้อมูลไม่ตรงกัน
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์ว่าผิดสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยขณะที่จำเลยยื่นฟ้องนั้นโจทก์ไม่เคยมีภูมิลำเนาและไม่เคยอาศัยอยู่ในบ้านตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้องในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่โจทก์แม้บุคคลที่อยู่ในบ้านจะแจ้งว่าไม่มีคนชื่อเดียวกับโจทก์อยู่ในบ้านดังกล่าวจำเลยก็แถลงยืนยันว่าโจทก์มีภูมิลำเนาตามฟ้องโดยไม่ได้แสดงหลักฐานต่อศาลแสดงให้เห็นว่าได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าที่จะฟ้องโดยไม่ได้แสดงหลักฐานต่อศาลแสดงให้เห็นว่าได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าที่จะฟ้องโจทก์โดยไม่ให้โจทก์ทราบว่าถูกฟ้องนอกจากนี้ชื่อโจทก์ที่ระบุในคำฟ้องก็ไม่ตรงกับชื่อโจทก์ที่แท้จริงทำให้โจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาหลังจากศาลพิพากษาแล้วจำเลยได้นำคำพิพากษาไปให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของจำเลยทั้งๆที่ชื่อโจทก์ในคดีที่จำเลยฟ้องไม่ตรงกับชื่อในโฉนดที่ดินพฤติการณ์ของจำเลยในการดำเนินคดีและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามมาตรา420ดังนั้นการได้ที่ดินพิพาทของจำเลยเป็นการได้ไปโดยกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวได้
of 41