พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินชัดแจ้งครบถ้วน
คำร้องขอให้มีการพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคท้าย จะต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความได้ขาดนัด และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล ซึ่งหมายความว่าจะต้องกล่าวโดยละเอียดและชัดแจ้งทั้ง 2 ประการ คือ ทั้งเหตุที่ได้ขาดนัดและทั้งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลด้วย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยกล่าวในคำร้องท้าวถึงคำให้การจำเลยเพียงสั้น ๆ ว่า "และคำให้การของจำเลยก็มีข้อต่อสู้พอที่จะชนะคดีโจทก์" คำร้องของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 ในอันที่ศาลจะพึงสั่งอนุญาตให้มีการพิจารณาใหม่
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยกล่าวในคำร้องท้าวถึงคำให้การจำเลยเพียงสั้น ๆ ว่า "และคำให้การของจำเลยก็มีข้อต่อสู้พอที่จะชนะคดีโจทก์" คำร้องของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 ในอันที่ศาลจะพึงสั่งอนุญาตให้มีการพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดอย่างละเอียดชัดเจน
คำร้องขอให้มีการพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย จะต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความได้ขาดนัด และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล ซึ่งหมายความว่าจะต้องกล่าวโดยละเอียดและชัดแจ้งทั้ง 2 ประการ คือ ทั้งเหตุที่ได้ขาดนัดและทั้งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลด้วย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยกล่าวในคำร้องท้าวถึงคำให้การจำเลยเพียงสั้นๆ ว่า "และคำให้การของจำเลยก็มีข้อต่อสู้พอที่จะชนะคดีโจทก์" คำร้องของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 ในอันที่ศาลจะพึงสั่งอนุญาตให้มีการพิจารณาใหม่
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยกล่าวในคำร้องท้าวถึงคำให้การจำเลยเพียงสั้นๆ ว่า "และคำให้การของจำเลยก็มีข้อต่อสู้พอที่จะชนะคดีโจทก์" คำร้องของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 ในอันที่ศาลจะพึงสั่งอนุญาตให้มีการพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีแพ่ง: การไม่มาศาลตามนัดของจำเลยทำให้ศาลดำเนินการสืบพยานฝ่ายเดียวได้ และเหตุลืมวันนัดไม่ใช่เหตุสมควรขอพิจารณาคดีใหม่
คดีแพ่ง ในวันเริ่มต้นสืบพยานโจทก์ จำเลยทราบวันนัดแล้วไม่มาศาล ศาลจึงสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว นั้น เป็นการชอบแล้ว ข้อที่จำเลยอ้างว่าพลั้งเผลอหลงลืมวันนัดนั้น หาใช่เหตุสมควรที่จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความมาตรา 207(1) พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง และการไต่สวนพยานในคำร้องพิจารณาคดีใหม่
การตีความประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 207(1)จะต้องตีความอย่างจำกัด อนุมาตรานี้บัญญัติท้าวถึงกรณีตามมาตรา 204 เมื่อมาตรา 204 ถูกยกเลิกไปแล้ว ผลก็เป็นเสมือนว่ามาตรา 207(1) ถูกยกเลิกไปด้วยโดยปริยาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่และยังติดใจขอให้ไต่สวนคำร้องอยู่ ศาลควรไต่สวนพยานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนจะพิจารณาพฤติการณ์ต่างๆ ตามสำนวนแล้วฟังว่าจำเลยจงใจขาดนัดและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาต ให้จำเลยยื่นคำให้การหรือยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามนัยมาตรา 205(3)แล้วสั่งยกคำร้องเสียดังนี้ หาชอบไม่
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่และยังติดใจขอให้ไต่สวนคำร้องอยู่ ศาลควรไต่สวนพยานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนจะพิจารณาพฤติการณ์ต่างๆ ตามสำนวนแล้วฟังว่าจำเลยจงใจขาดนัดและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาต ให้จำเลยยื่นคำให้การหรือยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามนัยมาตรา 205(3)แล้วสั่งยกคำร้องเสียดังนี้ หาชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำร้องขอพิจารณาใหม่หลังขาดนัด - การตีความมาตรา 207 และผลกระทบจากการยกเลิกมาตรา 204
การตีความประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 207 (1) จะต้องตีความอย่างจำกัด อนุมาตรานี้บัญญัติท้าวถึงกรณีตามมาตรา 204 เมื่อมาตรา 204 ถูกยกเลิกไปแล้ว ผลก็เป็นเสมือนว่ามาตรา 207(1) ถูกยกเลิกไปด้วยโดยปริยาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่และยังติดใจขอให้ไต่สวนคำร้องอยู่ ศาลพึงไต่สวนพยานให้สิ้นกระแสความเสียหาย จะพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ ตามสำนวนแล้วฟังว่าจำเลยจงใจขาดนัดและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามนัยมาตรา 205 (3) แล้วสั่งยกคำร้องเสียดังนี้ หาชอบไม่
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่และยังติดใจขอให้ไต่สวนคำร้องอยู่ ศาลพึงไต่สวนพยานให้สิ้นกระแสความเสียหาย จะพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ ตามสำนวนแล้วฟังว่าจำเลยจงใจขาดนัดและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามนัยมาตรา 205 (3) แล้วสั่งยกคำร้องเสียดังนี้ หาชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ถือเป็นคำสั่งถึงที่สุด ห้ามฎีกา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 บัญญัติไว้ชัดว่า ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยืนตามหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ก็ดี ให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุด
ฉะนั้นในคดีที่จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลชั้นต้นไต่สวนสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาอีกหาได้ไม่
ฉะนั้นในคดีที่จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลชั้นต้นไต่สวนสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ถือเป็นที่สุดตามมาตรา 236 ว.พ.พ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 บัญญัติไว้ชัดว่า ในกรณีที่การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ก็ดี ให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุด
ฉะนั้นในคดีที่จำเลยขาดนัดพิจารณา และศาลชั้นต้นไต่สวนสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ เพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาอีกหาได้ไม่
ฉะนั้นในคดีที่จำเลยขาดนัดพิจารณา และศาลชั้นต้นไต่สวนสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ เพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่เมื่อจำเลยมิได้ขาดนัดโดยจงใจ และผลกระทบต่อจำเลยอื่นร่วมในคดี
จำเลยที่ 2 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัด กรณีเช่นนี้จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 (1) มาปรับเพื่อให้จำเลยที่ 2 ได้รับประโยชน์ด้วยกับจำเลยที่ 1 หาได้ไม่ คดีต้องพิจารณาใหม่โดยให้จำเลยที่ 1 มีโอกาสให้การ แต่จำเลยที่ 2 คงถือว่าขาดนัดยื่นคำให้การเช่นเดิม ต่อจากนั้นไปจำเลยที่ 2 จะได้รับประโยชน์ในชั้นพิจารณาอย่างใดหรือไม่ ก็ต้องแล้วแต่รูปคดีเป็นอีกตอนหนึ่ง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อตัดสินแล้ว ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา คือ อุทธรณ์ฎีกาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2504 และครั้งที่ 6/2504)
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อตัดสินแล้ว ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา คือ อุทธรณ์ฎีกาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2504 และครั้งที่ 6/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณา: เหตุสมควรเชื่อหรือไม่ และหน้าที่ทนายความในการมาศาลตามนัด
ข้อวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 209 อยู่ที่มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณานั้น มาศาลไม่ได้หรือไม่ เท่านั้น
ในวันนัดสืบพยานจำเลย การที่ทนายจำเลยทราบวันและเวลานัดพิจารณาแล้วมิได้มาศาลตามนัด แม้ศาลให้โอกาศรออยู่อีก 1 ชั่วโมงกับ 40 นาที ก็ยังไม่มาศาลเช่นนี้ ทนายจำเลยจะอ้างว่าตัวความหรือพยานยังไม่มาพบกันตนจึงยังไม่มาศาลเช่นนี้ เป็นข้ออ้างที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง และถ้ายอมให้อ้างกันได้โดยง่าย เมื่อเป็นเรื่องที่ทนายจำเลย จะมาให้ทันนัดของศาลก็มาได้ หากเห็นไม่สำคัญจึงไม่มาเช่นนี้ ไม่ถือว่า มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 209 กรณีเช่นนี้ ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้มีการพิจารณาคดีใหม่
ในวันนัดสืบพยานจำเลย การที่ทนายจำเลยทราบวันและเวลานัดพิจารณาแล้วมิได้มาศาลตามนัด แม้ศาลให้โอกาศรออยู่อีก 1 ชั่วโมงกับ 40 นาที ก็ยังไม่มาศาลเช่นนี้ ทนายจำเลยจะอ้างว่าตัวความหรือพยานยังไม่มาพบกันตนจึงยังไม่มาศาลเช่นนี้ เป็นข้ออ้างที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง และถ้ายอมให้อ้างกันได้โดยง่าย เมื่อเป็นเรื่องที่ทนายจำเลย จะมาให้ทันนัดของศาลก็มาได้ หากเห็นไม่สำคัญจึงไม่มาเช่นนี้ ไม่ถือว่า มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 209 กรณีเช่นนี้ ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้มีการพิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความมาศาลไม่ได้ตาม มาตรา 209: การขาดนัดของทนายจำเลยและผลกระทบต่อการพิจารณาคดีใหม่
ข้อวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209อยู่ที่มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณานั้น มาศาลไม่ได้หรือไม่ เท่านั้น
ในวันนัดสืบพยานจำเลยการที่ทนายจำเลยทราบวันและเวลานัดพิจารณาแล้วมิได้มาศาลตามนัด แม้ศาลให้โอกาศรออยู่อีก 1 ชั่วโมงกับ 40 นาที ก็ยังไม่มาศาลเช่นนี้ทนายจำเลยจะอ้างว่าตัวความหรือพยานยังไม่มาพบกับตนจึงยังไม่มาศาลเช่นนี้ เป็นข้ออ้างที่ไม่สมควรอย่างยิ่งและถ้ายอมให้อ้างกันได้เช่นนี้ ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้มีการประวิงคดีได้โดยง่าย เมื่อเป็นเรื่องที่ทนายจำเลยจะมาให้ทันนัดของศาลก็มาได้หากเห็นไม่สำคัญจึงไม่มาเช่นนี้ ไม่ถือว่า 'มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้' ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209กรณีเช่นนี้ ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้มีการพิจารณาคดีใหม่
ในวันนัดสืบพยานจำเลยการที่ทนายจำเลยทราบวันและเวลานัดพิจารณาแล้วมิได้มาศาลตามนัด แม้ศาลให้โอกาศรออยู่อีก 1 ชั่วโมงกับ 40 นาที ก็ยังไม่มาศาลเช่นนี้ทนายจำเลยจะอ้างว่าตัวความหรือพยานยังไม่มาพบกับตนจึงยังไม่มาศาลเช่นนี้ เป็นข้ออ้างที่ไม่สมควรอย่างยิ่งและถ้ายอมให้อ้างกันได้เช่นนี้ ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้มีการประวิงคดีได้โดยง่าย เมื่อเป็นเรื่องที่ทนายจำเลยจะมาให้ทันนัดของศาลก็มาได้หากเห็นไม่สำคัญจึงไม่มาเช่นนี้ ไม่ถือว่า 'มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้' ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209กรณีเช่นนี้ ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้มีการพิจารณาคดีใหม่