พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและการขาดนัดคดี การบริหารจัดการภายในของจำเลยมิอาจเป็นเหตุอ้างได้
ในคดีแรงงานเมื่อพนักงานเดินหมายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย โดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลแรงงานณ ภูมิลำเนาของจำเลยคือสำนักงานใหญ่อันเป็นสำนักทำการงานของจำเลยแล้วการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 ส่วนการที่พนักงานจำเลยซึ่งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ได้เก็บรวบรวมสำเนาคำฟ้องไว้กับเอกสารอื่นซึ่งมีจำนวนมากกว่าจะมีการแยกแยะ เพื่อส่งไปยังผู้บริหารซึ่งไปประจำอยู่ ณ สำนักงานโครงการ อันเป็นสำนักงานชั่วคราวเกิดความล่าช้ารวมทั้งระยะเวลาในการส่งไปยังผู้บริหารดังกล่าวก็ล่วงเลยกำหนดนัดของศาลโดยจำเลยไม่มีเจตนาจะไม่ยื่นคำให้การ และไม่ไปศาลตามนัดนั้น เป็นเรื่องการบริหารกิจการภายในที่จำเลยจะต้องกำชับดูแลพนักงานจำเลยให้ปฏิบัติงานให้ทันตามกำหนดเวลาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การที่พนักงานจำเลยตรวจสอบแยกแยะเอกสารล่าช้าและส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ผู้บริหารของจำเลยล่วงเลยเวลาซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติตามข้อความในหมายเรียก เมื่อเป็นความผิดหรือบกพร่องของจำเลยเอง จึงมิใช่เหตุอันสมควรที่จำเลยจะยกมาอ้างต่อศาลในการไม่ไปศาลตามนัดในหมายเรียก การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการขาดนัดโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมาย ณ สำนักงานใหญ่ของจำเลยชอบด้วยกฎหมาย แม้เอกสารจะล่าช้าในการส่งต่อภายใน
ในคดีแรงงานเมื่อพนักงานเดินหมายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย โดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลแรงงาน ณ ภูมิลำเนาของจำเลยคือสำนักงานใหญ่อันเป็นสำนักทำการงานของจำเลยแล้ว การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 ส่วนการที่พนักงานจำเลยซึ่งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ได้เก็บรวบรวมสำเนาคำฟ้องไว้กับเอกสารอื่นซึ่งมีจำนวนมากกว่าจะมีการแยกแยะ เพื่อส่งไปยังผู้บริหารซึ่งไปประจำอยู่ ณ สำนักงานโครงการ อันเป็นสำนักงานชั่วคราวเกิดความล่าช้ารวมทั้งระยะเวลาในการส่งไปยังผู้บริหารดังกล่าวก็ล่วงเลยกำหนดนัดของศาล โดยจำเลยไม่มีเจตนาจะไม่ยื่นคำให้การ และไม่ไปศาลตามนัดนั้น เป็นเรื่องการบริหารกิจการภายในที่จำเลยจะต้องกำชับดูแลพนักงานจำเลยให้ปฏิบัติงานให้ทันตามกำหนดเวลาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การที่พนักงานจำเลยตรวจสอบแยกแยะเอกสารล่าช้าและส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ผู้บริหารของจำเลยล่วงเลยเวลาซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติตามข้อความในหมายเรียกเมื่อเป็นความผิดหรือบกพร่องของจำเลยเอง จึงมิใช่เหตุผลอันสมควรที่จำเลยจะยกมาอ้างต่อศาลในการไม่ไปศาลตามนัด ในหมายเรียก การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มี เหตุอันสมควร เป็นการขาดนัดโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7413/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่: จำเลยปฏิเสธหนี้ค้ำประกัน และมีเหตุผลที่อาจชนะคดีได้ ศาลต้องพิจารณา
ตามคำร้องขอของจำเลยที่ขอให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่นั้นระบุว่า จำเลยเคยกู้เงินโจทก์เป็นการส่วนตัว และวางหนังสือรับรองการทำประโยชน์เพื่อประกันการชำระหนี้ของจำเลยต่อโจทก์ เมื่อจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว โจทก์บ่ายเบี่ยงไม่ยอมคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์แก่จำเลย จำเลยไม่เคยเกี่ยวข้องผูกพันเข้ารับภาระหนี้ใด ๆ ซึ่ง ม. จะมีต่อโจทก์หรือไม่ จำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย ตามคำร้องขอของจำเลยแสดงให้เห็นแล้วว่า จำเลยได้ปฏิเสธว่ามิได้เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ ม. ดังคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและตามคำร้องขอของจำเลยนี้ก็แสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยมีทางชนะคดีในเมื่อมีการพิจารณาคดีใหม่ กรณีจึงถือได้ว่าคำร้องขอของจำเลยได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง ในอันที่ศาลจะสั่งให้มีการพิจารณาคดีใหม่ได้ ส่วนในชั้นไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่นั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลไต่สวนพิจารณาต่อไปเพียงว่า มีเหตุสมควรเชื่อว่า คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้หรือไม่เท่านั้น จำเลยจึงไม่ต้องนำสืบเกี่ยวกับข้อคัดค้านคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นเพื่อให้เห็นว่าตนจะชนะคดีอย่างไรอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกกรณีจำเลยย้ายภูมิลำเนาหลีกเลี่ยงการรับคำคู่ความ ศาลชอบด้วยกฎหมายที่จะส่งหมายเรียกโดยการประกาศ
โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 โดยก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 จำเลยได้แจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นขอย้ายภูมิลำเนาไปอยู่บ้านเลขที่ 50 ถนนนเรศ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร แต่จำเลยไม่ได้ดำเนินการแจ้งย้ายภูมิลำเนาเข้าบ้านดังกล่าวแต่อย่างใด จนถึงวันที่17 กุมภาพันธ์ 2535 หลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้วเป็นเวลา 7 วัน จำเลยจึงได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 70/16 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ดังนั้นจึงต้องถือว่าในระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์2535 จำเลยเป็นบุคคลที่ไม่ปรากฏภูมิลำเนาซึ่งศาลไม่อาจส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีธรรมดาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยวิธีประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคหนึ่ง แล้ว
จำเลยย้ายภูมิลำเนาหลายครั้งโดยมีพฤติการณ์ไม่สุจริต เป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับคำคู่ความหรือเอกสารใดถ้ามีถึงตนจนต้องขาดนัดพิจารณา จึงไม่มีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้พิจารณาใหม่
จำเลยย้ายภูมิลำเนาหลายครั้งโดยมีพฤติการณ์ไม่สุจริต เป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับคำคู่ความหรือเอกสารใดถ้ามีถึงตนจนต้องขาดนัดพิจารณา จึงไม่มีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยวิธีประกาศเนื่องจากจำเลยย้ายภูมิลำเนาหลีกเลี่ยงการรับเอกสาร และเหตุผลไม่อนุญาตให้พิจารณาใหม่
โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 โดยก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 จำเลยได้แจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นขอย้ายภูมิลำเนาไปอยู่บ้านเลขที่ 50ถนนเรศ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร แต่จำเลยไม่ได้ดำเนินการแจ้งย้ายภูมิลำเนาเข้าบ้านดังกล่าวแต่อย่างใดจนถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2535 หลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้วเป็นเวลา 7 วัน จำเลยจึงได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 70/16 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ดังนั้นจึงต้องถือว่าในระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2534ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2535 จำเลยเป็นบุคคลที่ไม่ปรากฎภูมิลำเนาซึ่งศาลไม่อาจส่งหมายเรียกและสำเนาคำร้องโดยวิธีธรรมดาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยวิธีประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่ง แล้ว จำเลยย้ายภูมิลำเนาหลายครั้งโดยมีพฤติการณ์ไม่สุจริตเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับคำคู่ความหรือเอกสารใดถ้ามีถึงตนจนต้องขาดนัดพิจารณาจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำฟ้องโดยวิธีประกาศและการขาดนัดพิจารณาคดี กรณีจำเลยไม่ทราบการฟ้องเนื่องจากสถานการณ์พิเศษ
แม้โจทก์จะได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์โดยศาลชั้นต้นอนุญาตซึ่งอาจถือได้ว่าจำเลยทราบหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้วตามกฎหมายแต่เมื่อพิจารณาพยานจำเลยที่ว่าในช่วงเวลาที่โจทก์ประกาศหนังสือพิมพ์นั้นจำเลยบวชชีประจำอยู่ที่วัดซึ่งอยู่ในหุบเขาจึงไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องจึงน่าเชื่อว่าจำเลยยังไม่ทราบหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจริงจำเลยจึงไม่ยื่นคำให้การต่อสู้คดีและในวันนัดสืบพยานโจทก์นั้นจำเลยก็ไม่ได้มาศาลโดยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณากรณีจึงมีเหตุสมควรให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6309/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แม้เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นเงิน207,000บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน57,000บาทแก่โจทก์จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยฎีกายกเหตุอ้างว่าไม่จงใจขาดนัดพิจารณาอันเป็นข้อเท็จจริงแม้ฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ใช่ปัญหาในประเด็นที่พิพาทตามคำฟ้องและคำให้การก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณาก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน57,000บาทตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6309/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์พิพาทเกินสองแสนบาท และประเด็นขาดนัดพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นเงิน207,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 57,000 บาท แก่โจทก์จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกายกเหตุอ้างว่าไม่จงใจขาดนัดพิจารณา อันเป็นข้อเท็จจริงแม้ฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ใช่ปัญหาในประเด็นที่พิพาทตามคำฟ้องและคำให้การก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 57,000 บาท ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4285/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลต้องไต่สวนเหตุผล หากมีเหตุผลสมควร แม้ใบมอบฉันทะมีปัญหา
จำเลยที่1ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งขาดนัดพิจารณาโดยอ้างว่าได้ทำใบมอบฉันทะมอบให้ธ. มาแล้วแต่ธ.ไม่ได้นำไปแสดงต่อศาลเพราะหลงลืมทั้งได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไว้ด้วยคำร้องจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208แล้วศาลต้องไต่สวนและมีคำสั่งตามรูปคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา209และการที่ธ.ไม่ได้นำใบมอบฉันทะมาแสดงต่อศาลก็ดีการที่ธ. ปลอมใบมอบฉันทะก็ดีเป็นการกระทำของธ. ไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่1ซึ่งเป็นฝ่ายขาดนัดมาศาลได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4285/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนคำสั่ง ศาลต้องไต่สวนหากจำเลยอ้างเหตุสมควร
จำเลยที่1ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยที่1ขาดนัดพิจารณาโดยอ้างว่าได้ทำใบมอบฉันทะมอบให้เสมียนทนายมาแล้วแต่เสมียนทนายไม่ได้นำไปแสดงต่อศาลในการขอเลื่อนสืบพยานจำเลยเพราะหลงลืมทั้งในคำร้องได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไว้ด้วยคำร้องของจำเลยที่1จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208แล้วการที่เสมียนทนายไม่ได้นำใบมอบฉันทะมาแสดงต่อศาลก็ดีหรือการที่เสมียนทนายปลอมใบมอบฉันทะก็ดีเป็นการกระทำของเสมียนทนายไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่1ซึ่งเป็นฝ่ายขาดนับมาศาลได้หรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา209ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี