คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 209

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4285/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: อำนาจไต่สวนและเพิกถอนคำสั่ง กรณีใบมอบฉันทะ
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาโดยอ้างว่าได้ทำใบมอบฉันทะมอบให้เสมียนทนายมาแล้ว แต่เสมียนทนายไม่ได้นำไปแสดงต่อศาลในการขอเลื่อนสืบพยานจำเลยเพราะหลงลืม ทั้งในคำร้องได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไว้ด้วย คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 แล้ว การที่เสมียนทนายไม่ได้นำใบมอบฉันทะมาแสดงต่อศาลก็ดีหรือการที่เสมียนทนายปลอมใบมอบฉันทะก็ดีเป็นการกระทำของเสมียนทนายไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายขาดนัดมาศาลได้หรือไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 209 ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6206/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่หลังมีคำพิพากษาแล้ว ต้องยื่นภายใน 1 เดือน
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ภายหลังที่ได้พิพากษาคดีแล้วมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226(1)โจทก์ต้องอุทธรณ์ภายใน1เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งโจทก์อุทธรณ์คำสั่งพร้อมอุทธรณ์คำพิพากษาในวันที่เกินกำหนด1เดือนอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6206/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตพิจารณาคดีใหม่หลังมีคำพิพากษาต้องทำภายใน 1 เดือน หากเกินกำหนด อุทธรณ์ไม่ชอบ
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ภายหลังที่ได้พิพากษาคดีแล้ว มิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1)โจทก์ต้องอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่ง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งพร้อมอุทธรณ์คำพิพากษาในวันที่เกินกำหนด 1 เดือน อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามนัดสืบพยานและการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยวิธี
ผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน ศาลชั้นต้นถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบแล้วมีคำสั่งว่า ให้ยกคำร้อง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าผู้ร้องมิได้มีเจตนาที่จะไม่ไปศาลตามกำหนดนัด และในวันนัดสืบพยานผู้ร้องได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายเดินทางจากกรุงเทพมหานครนำคำร้องขอเลื่อนคดีไปยื่นต่อศาลชั้นต้นแต่ไปถึงศาลหลังเวลานัดประมาณ 1 ชั่วโมง เนื่องจากการจราจรในกรุงเทพมหานครติดขัดอย่างมาก และเจ้าหน้าที่ศาลไม่ยอมรับคำร้องอ้างว่าศาลได้ดำเนินกระบวน-พิจารณาและยกคำร้องของผู้ร้องไปแล้ว อุทธรณ์ของผู้ร้องเท่ากับเป็นการขอให้ศาลพิจารณาคดีของผู้ร้องใหม่โดยเปิดโอกาสให้ผู้ร้องนำพยานเข้าสืบ ซึ่งเป็นกรณีต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 และ ป.วิ.พ. มาตรา207, 208 และ 209 การที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์นั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด และผลกระทบต่อคำพิพากษาเดิมและการจดทะเบียนสมรส
ในการไต่สวนขอพิจารณาใหม่ของจำเลยโจทก์ไม่คัดค้านการขอพิจารณาใหม่ศาลจึงมีคำสั่งงดการไต่สวนและมีคำสั่งว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดพิจารณาอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การถือว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่แล้วคำพิพากษาและวิธีการบังคับคดีที่ดำเนินไปแล้วถือเป็นอันเพิกถอนไปในตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา209วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6050/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเนื่องจากราคาทรัพย์สินไม่เกิน 200,000 บาท และประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับขาดนัด
คดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คู่ความต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง คดีมีประเด็นตามฎีกาของจำเลยเพียงว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง ไม่เคยได้รับหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ เพราะจำเลยพักรักษาตัวอยู่ที่อื่น ไม่ได้อยู่ที่บ้านตามที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปปิดนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6050/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 2 แสนบาท: ฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม
คดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท คู่ความต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง คดีมีประเด็นตามฎีกาของจำเลยเพียงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง ไม่เคยได้รับหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ เพราะจำเลยพักรักษาตัวอยู่ที่อื่น ไม่ได้อยู่ที่บ้านตามที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปปิดนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่เมื่อจำเลยขาดนัด
เดิมจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นให้พิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวและพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโดยลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว จากนั้นจำเลยจึงได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 วรรคแรก บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลโดยคู่ความขาดนัด คำพิพากษาหรือคำสั่งอื่น ๆ ของศาลสูงในคดีเดียวกันนั้นและวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้วนั้น ให้ถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัว แต่ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมดังเช่นก่อนการบังคับคดีได้ เมื่อศาลเห็นว่าไม่จำเป็นที่จะบังคับเช่นนั้นเพื่อประโยชน์แก่คู่ความหรือบุคคลภายนอกให้ศาลมีอำนาจสั่งอย่างใด ๆตามที่เห็นสมควรได้ ฉะนั้น การจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทจึงต้องถูกเพิกถอนไปตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งจำเลยก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนรายการจดทะเบียนที่เจ้าพนักงานที่ดินลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาทมาในคำให้การที่ศาลอนุญาตให้จำเลยยื่นได้ในชั้นที่จำเลยขอพิจารณาคดีใหม่ด้วยแล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาทเพิกถอนรายการจดทะเบียนดังกล่าวนั้นได้เพราะเป็นการสั่งเพิกถอนการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้วให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนมีการบังคับคดีนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ได้รับสำเนาคำฟ้องและการไต่สวนพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุม
ตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้พิจารณาใหม่อ้างว่า จำเลยไม่เคยได้รับสำเนาคำฟ้อง และไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้ สำนักงานของจำเลยมิได้ทำการมานานแล้ว และไม่มีผู้ใดอยู่ เมื่อจำเลยไปที่สำนักงานในวันยื่นคำร้องนี้จึงพบคำบังคับดังนี้ จำเลยได้อ้างถึงพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แล้ว จึงชอบที่ศาลแรงงานจะรับคำร้องไว้ทำการไต่สวนว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอ้างและเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้หรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่า ตามคำร้องไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และด่วนยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ทำการไต่สวนเสียก่อนเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดคดีแรงงานและการไต่สวนพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุม ศาลต้องไต่สวนก่อน
ตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้พิจารณาใหม่อ้างว่า จำเลยไม่เคยได้รับสำเนาคำฟ้อง และไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้ สำนักงานของจำเลยมิได้ทำการมานานแล้ว และไม่มีผู้ใดอยู่ เมื่อจำเลยไปที่สำนักงานในวันยื่นคำร้องนี้จึงพบคำบังคับ ดังนี้ จำเลยได้อ้างถึงพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แล้ว จึงชอบที่ศาลแรงงานจะรับคำร้องไว้ทำการไต่สวนว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอ้างและเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้หรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่า ตามคำร้องไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และด่วนยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ทำการไต่สวนเสียก่อนเป็นการไม่ชอบ
of 15