พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาคำขอพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกบัญญัติว่า"คำขอให้พิจารณาใหม่นั้นให้ยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น" เมื่อโจทก์ยังมิได้ส่งคำบังคับให้จำเลยทราบ กำหนดเวลาสิบห้าวันจึงยังไม่เริ่มนับ ส่วนที่โจทก์ได้เปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินจากจำเลยมาเป็นของโจทก์ เมื่อวันที่ 19พฤศจิกายน 2530 อันถือเป็นการบังคับตามคำพิพากษาก็ตาม แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2531 ยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาหกเดือนตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงยังไม่ล่วงเลยเวลาที่จะขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาการขอพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 เริ่มเมื่อส่งคำบังคับ หรือมีการบังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรกบัญญัติว่า "คำขอให้พิจารณาใหม่นั้นให้ยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย... แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น" เมื่อโจทก์ยังมิได้ส่งคำบังคับให้จำเลยทราบ กำหนดเวลาสิบห้าวันจึงยังไม่เริ่มนับ ส่วนที่โจทก์ได้เปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินจากจำเลยมาเป็นของโจทก์ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2530 อันถือเป็นการบังคับตามคำพิพากษาก็ตาม แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์2531 ยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาหกเดือนตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงยังไม่ล่วงเลยเวลาที่จะขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3538/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีล้มละลาย: การเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเมื่อศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดี
จำเลยไปอยู่อาศัยและประกอบอาชีพที่จังหวัดภูเก็ตตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2531 การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2533 โดยส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่าจำเลยไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้อง ต้องถือว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา กรณีมีเหตุสมควรให้พิจารณาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมิใช่ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตหรือประกอบธุรกิจอยู่ในเขตในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องหรือภายในกำหนดเวลา 1 ปี ก่อนนั้นรับคำฟ้องไว้พิจารณาในตอนแรกย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 และเมื่อคำสั่งศาลจังหวัดเชียงใหม่ที่อนุญาตให้พิจารณาใหม่เป็นคำสั่งที่ชอบต้องถือว่าคดีกลับไปอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดเชียงใหม่อีกครั้ง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้อง กับคืนคำฟ้องให้โจทก์เพื่อไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบมาตรา 209และพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1318/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการงดการขายทอดตลาด: ศาลตัดสินชอบแล้ว แม้มีการยื่นคำขอพิจารณาใหม่
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ แต่ศาลชั้นต้นยกคำขอให้พิจารณาใหม่เสีย และมิได้แจ้งคำสั่งให้งดการบังคับคดีไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 292(1) ประกอบด้วยมาตรา 209 ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการขายทอดตลาดได้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่งดการขายทอดตลาดจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายจำเลยขาดนัดพิจารณาคดีด้วยเหตุผลส่วนตัว ถือเป็นการจงใจละเลยหน้าที่
ศาลชั้นต้นกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์และทนายจำเลยได้ทราบกำหนดนัดแล้ว ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยไม่ไปศาลตามกำหนดนัดการที่ทนายจำเลยอ้างว่าเดินทางไปต่างจังหวัดและเกิดท้องเดินต้องรักษาตัวที่คลีนิกของแพทย์ที่ต่างจังหวัดจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์อาการดีขึ้นจึงเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร ในวันรุ่งขึ้นมาปฏิบัติราชการได้ตรวจสมุดนัดความจึงทราบว่าไม่ได้มาศาลในวันสืบพยานนั้นแม้เหตุดังกล่าวจะเป็นความจริงดังที่ทนายจำเลยอ้างก็ตามทนายจำเลยก็เป็นพนักงานอัยการย่อมรู้กฎหมายและกระบวนวิธีพิจารณาคดีของศาลดีว่า ความสำคัญของผลคดีที่ขาดนัดพิจารณานั้นเป็นอย่างไร เมื่อทนายจำเลยเองทราบว่าในเข้าวันนัดสืบพยานโจทก์นั้น ตนเองมาปฏิบัติราชการไม่ได้ก็น่าจะขวนขวายดำเนินการโทรศัพท์ถามไปยังจำเลยตัวความ หรือโทรศัพท์ไปยังผู้บังคับบัญชาให้ช่วยตรวจสอบว่า มีคดีที่ตนรับผิดชอบนัดพิจารณาในวันนั้นหรือไม่เพื่อจะได้ดำเนินการขอเลื่อนหรือแก้ไขต่อไป แต่ทนายจำเลยก็หาได้กระทำไม่ ทั้งได้ความจากทนายจำเลยเองว่า ที่คลินิกที่ทนายจำเลยพักรักษาตัวอยู่นั้นก็มีโทรศัพท์แต่ทนายจำเลยไม่ได้โทรศัพท์แจ้งให้ทางที่ทำงานทราบ นอกจากนี้ยังได้ความอีกว่า ทนายจำเลยไม่ได้คิดเรื่องงานเลย ประกอบกับเมื่อทนายจำเลยทราบวันเวลานัดในวันรุ่งขึ้นแล้ว ทนายจำเลยน่าจะกระตือรือร้นรีบยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่โดยเร็ว แต่กลับปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปประมาณ 25 วันทนายจำเลยมีหน้าที่ต้องเอาใจใส่ในการต่อสู้คดีของตัวความการที่ทนายจำเลยไม่ขวนขวายดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งและปล่อยปละละเลยดังกล่าวมา จึงเป็นการไม่เอาใจใส่ในหน้าที่และเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าการขาดนัดพิจารณาของจำเลยเป็นไปโดยจงใจไม่มีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความบกพร่องของทนายจำเลยและการขาดนัดพิจารณาคดีโดยจงใจ ศาลไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่
แม้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ อัยการในฐานะทนายจำเลยได้ไปป่วยท้องเดินอยู่ที่จังหวัดอื่น แต่ปรากฏว่าทนายจำเลยไม่ได้คิดเรื่องงานเลย ไม่ได้โทรศัพท์สอบถามไปยังตัวความหรือผู้บังคับบัญชาทั้งเมื่อกลับมาทราบว่าศาลได้พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวแล้วก็กลับปล่อยเวลาล่วงเลยไปถึง 25 วัน จึงมายื่นขอพิจารณาคดีใหม่ ดังนี้เป็นการไม่เอาใจใส่ในหน้าที่และเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีนี้จึงต้องถือว่าการขาดนัดพิจารณาของจำเลยเป็นไปโดยจงใจ และไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่, การขาดนัดพิจารณา, และข้อพิพาทเรื่องการซื้อขายฝากไม้ชิงชัน
ปัญหาว่าคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้ การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205(3) เป็นกรณีที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205(3) จำเลยเคยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ครั้งหนึ่งแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง เพราะคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่มีข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องใหม่โดยทำให้ถูกต้องภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับให้จำเลย ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับไว้พิจารณา เดิมจำเลยมี ส. เป็นทนายความ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 2 กรกฎาคม 2530 เวลา 9.00 น. แต่ตามวันเวลาดังกล่าวส.มีกิจธุระซึ่งส. เพิ่งทราบในคืนวันที่ 1 กรกฎาคม 2530ส. จึงแจ้งให้ ก. ทนายความสำนักงานเดียวกันทราบเมื่อวันที่2 กรกฎาคม 2530 เวลา 7.30 น. ขอให้ ก. ว่าความแทนและได้แจ้งให้จำเลยทราบ จำเลยแต่งตั้ง ก. เป็นทนายความ แต่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ก. ต้องว่าความในคดีอื่นซึ่งนัดไว้ก่อนแล้ว ก.จึงให้จำเลยไปรอที่บริเวณประชาสัมพันธ์ของศาลชั้นต้น ส่วน ก.ไปว่าความคดีอื่นก่อน จำเลยไม่ทราบว่าประชาสัมพันธ์ของศาลได้ประกาศเรียกคู่ความแล้ว จึงไม่ได้แถลงให้ศาลทราบ เมื่อ ก.ว่าความคดีอื่นเสร็จแล้วได้ไปที่ห้องพิจารณา ปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิจารณาคดีเสร็จแล้ว ดังนี้ จำเลยและทนายได้ไปศาลก่อนศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณา แต่เหตุที่ไม่เข้าไปในห้องพิจารณาคดีเพราะจำเลยไม่ทราบว่าได้มีการประกาศเรียกคู่ความแล้ว ส่วนทนายจำเลยก็ต้องว่าความคดีอื่นก่อน จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดี การเดินทางไปค้าขายต่างจังหวัดเป็นเหตุให้ไม่ถือว่าจงใจขาดนัด
ระหว่างจำเลยถูกฟ้องคดีจำเลยไม่ได้อยู่บ้านตามฟ้องแต่ได้เดินทางไปค้าขายต่างจังหวัดไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง เมื่อจำเลยกลับจากต่างจังหวัด หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว จึงทราบว่าถูกฟ้อง การที่จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การและไม่ได้มาศาลในวันนัดพิจารณาจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์ฎีกาว่าในเดือนสิงหาคม 2532 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากถูกฟ้องแล้วโจทก์จำเลยได้ไปทำการไกล่เกลี่ยเรื่องที่ดินถูกฟ้องที่บ้านมารดา จำเลยย่อมทราบถึงการถูกฟ้องในวันนั้นแล้ว เมื่อโจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำคัดค้านชั้นขอพิจารณาใหม่จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายที่ถูกต้องและการขาดนัดยื่นคำให้การ/ขาดนัดพิจารณาคดี ทำให้จำเลยจงใจขาดนัด
การปิดหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ ณ สำนักงานบริษัทอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งศาลเป็นการปฏิบัติถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 แล้วเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การและไม่ไปศาลในวันสืบพยานโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ไม่มีเหตุที่จะขอให้พิจารณาใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจฟ้องเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยที่ 3 ก่อนจำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จำเลยที่ 3ถูกศาลชั้นต้นสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย ดังนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,25 ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าว่าคดีและยื่นฎีกาแทนจำเลยที่ 3 การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฎีกาด้วยตนเองภายหลังถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ภายหลังจำเลยที่ 3 ยื่นฎีกาคดีนี้แล้ว จำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาคดีล้มละลายใหม่ กับยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีการอฟังผลการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีล้มละลายใหม่นั้น แม้หากภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีล้มละลายใหม่ตามคำร้องของจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงลบล้างคำพิพากษาและกระบวนพิจารณาในคดีล้มละลายดังกล่าวเท่านั้น หาได้ลบล้างกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบในคดีนี้ด้วย จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องรอฟังผลการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีล้มละลายใหม่