พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำพิพากษาและการพิจารณาอุทธรณ์หลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ คดีแรงงาน
ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขอให้พิจารณาใหม่ ศาลแรงงานกลางฟังว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดจึงอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ต่อมาโจทก์และจำเลยตกลงกันได้ ศาลแรงงานกลางได้พิพากษาตามยอมแล้ว แม้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนกระบวนพิจารณาและคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง แต่ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาหรือคำสั่งอื่น ๆ ของศาลฎีกา แม้โจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย และศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ถอนอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงต้องพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมไปแล้ว ข้อโต้แย้งตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงหมดไปไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ต่อไป พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากล้มละลายและการขอพิจารณาคดีใหม่ ศาลฎีกาไม่มีอำนาจรับฎีกา
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลย จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ให้จำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยถูกฟ้องล้มละลายและศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ต่อมาศาลแพ่งอนุญาตให้พิจารณาคดีล้มละลายใหม่ คำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดเป็นอันเพิกถอนไปในตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 209 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป การที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ ศาลฎีกายังไม่มีอำนาจรับฎีกาจำเลยไว้วินิจฉัย พิพากษายกฎีกาจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีแพ่งเนื่องจากคดีล้มละลาย และการขอพิจารณาคดีใหม่
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยร้องขอพิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นยกคำร้องจำเลยอุทธรณ์ ระหว่างอุทธรณ์จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในอีกคดีหนึ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้เข้ามาว่าคดีแทนจำเลยศาลอุทธรณ์จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ในคดีล้มละลาย ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีล้มละลายใหม่ มีผลให้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 209ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป ศาลฎีกายังไม่มีอำนาจวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลฎีกาสั่งศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการไต่สวนเหตุสุดวิสัย ศาลไม่ต้องไต่สวนหากไม่ได้อ้างเหตุสุดวิสัย
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาจะไม่มาศาลตามกำหนดนัดเพราะรถที่จำเลยที่ 1 ใช้เป็นพาหนะเดินทางมาศาลเกิดอุบัติเหตุอันเป็นเหตุสุดวิสัยมิอาจก้าวล่วงเสียได้ การที่ศาลว่าไม่มีเหตุสมควรจะไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงไม่เห็นชอบด้วย เพราะตาม ป.วิ.พ.นั้น เหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องไต่สวนและหากได้ความว่าจำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ ถือได้ว่าเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่า กรณีที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 นั้น มิใช่เพราะกรณีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนแต่เป็นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่มาตามกำหนดนัดอันเป็นการขาดนัดพิจารณา ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ หากเป็นความจริงก็ต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องอุทธรณ์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ จึงมิใช่คำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201แต่เป็นการสั่งสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนตามคำร้องขอ เป็นการยกคำร้องขอตามมาตรา 156 วรรคสาม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิดำเนินการต่อไปได้แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าเท่านั้น หรือหากเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประการใดก็ย่อมอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ไม่ ทั้งไม่ใช่กรณีขาดนัดตามมาตรา 202 ซึ่งจะขอพิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา 207 ประกอบมาตรา 209
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องอุทธรณ์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ จึงมิใช่คำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201แต่เป็นการสั่งสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนตามคำร้องขอ เป็นการยกคำร้องขอตามมาตรา 156 วรรคสาม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิดำเนินการต่อไปได้แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าเท่านั้น หรือหากเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประการใดก็ย่อมอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ไม่ ทั้งไม่ใช่กรณีขาดนัดตามมาตรา 202 ซึ่งจะขอพิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา 207 ประกอบมาตรา 209
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี และการไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลต้องไต่สวนเหตุผลที่ไม่มาศาลก่อน
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาจะไม่มาศาลตามกำหนดนัดเพราะรถที่จำเลยที่ 1 ใช้เป็นพาหนะเดินทางมาศาลเกิดอุบัติเหตุอันเป็นเหตุสุดวิสัยมิอาจก้าวล่วงเสียได้ การที่ศาลว่าไม่มีเหตุสมควรจะไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่เห็นชอบด้วย เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น เหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องไต่สวนและหากได้ความว่าจำเลยที่ 1ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ ถือได้ว่าเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่า กรณีที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 นั้น มิใช่เพราะกรณีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนแต่เป็นเพราะจำเลยที่ 1ไม่มาตามกำหนดนัดอันเป็นการขาดนัดพิจารณา ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ หากเป็นความจริงก็ต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1โดยมิได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องอุทธรณ์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ จึงมิใช่คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 แต่เป็นการสั่งสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนตามคำร้องขอ เป็นการยกคำร้องขอตามมาตรา 156 วรรคสาม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิดำเนินการต่อไปได้แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าเท่านั้น หรือหากเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประการใดก็ย่อมอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ไม่ ทั้งไม่ใช่กรณีขาดนัดตามมาตรา 202 ซึ่งจะขอพิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา 207 ประกอบมาตรา 209
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอทุเลาการบังคับคดีและการงดบังคับคดีระหว่างการพิจารณาคดีใหม่และอุทธรณ์
เมื่อจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นจะสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ในระหว่างการไต่สวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ก็ได้ และเมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการบังคับคดีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ก็ต่อเมื่อศาลชั้นต้นได้ส่งคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 294 แล้ว
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลงดการบังคับคดีและแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ การยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับ และ ป.วิ.พ. มาตรา 231 บัญญัติว่าการขอทุเลาการบังคับให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ที่จำเลยมีคำขอมาในอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มีคำร้องขอทุเลาการบังคับที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
ปัญหาว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินไป ทำให้จำเลยเสียหายนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลงดการบังคับคดีและแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ การยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับ และ ป.วิ.พ. มาตรา 231 บัญญัติว่าการขอทุเลาการบังคับให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ที่จำเลยมีคำขอมาในอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มีคำร้องขอทุเลาการบังคับที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
ปัญหาว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินไป ทำให้จำเลยเสียหายนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขอทุเลาการบังคับ: ศาลอนุญาตขายทอดตลาดได้แม้มีอุทธรณ์ หากจำเลยมิได้ขอทุเลาการบังคับโดยทำเป็นคำร้อง
เมื่อจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นจะสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ในระหว่างการไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) ก็ได้และเมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการบังคับคดีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ก็ต่อเมื่อศาลชั้นต้นได้ส่งคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 294 แล้ว จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลงดการบังคับคดีและแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ การยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 231บัญญัติว่าการขอทุเลาการบังคับให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องที่จำเลยมีคำขอมาในอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มีคำร้องขอทุเลาการบังคับที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว ปัญหาว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินไป ทำให้จำเลยเสียหายนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5040/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ: ความประมาทเลินเล่อของทนาย และผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183
ในวันนัดชี้สองสถานทนายจำเลยมาศาลเมื่อศาลนัดสืบพยานโจทก์ไปแล้ว จำเลยเพียงแต่สอบถามวันนัดจากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ ไม่ได้ตรวจดู สำนวนว่าศาลนัดสืบพยานโจทก์วันเวลาใดให้แน่ชัด จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย และตามป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสอง บัญญัติให้คู่ความมาศาลในวันชี้สองสถานถ้า คู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลให้ถือว่าทราบกระบวนพิจารณาของศาลในวันนั้นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ จำเลยจะอ้างว่าฟังเวลาจากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ ผิดไปหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุขาดนัดพิจารณาคดี: ความล่าช้าจากการต่อรองค่าเสียหายอุบัติเหตุรถยนต์ไม่ถือเป็นเหตุสมควร
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ อ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเพราะในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการขับรถยนต์ชนกับรถยนต์ของผู้มีชื่อระหว่างทางมาศาล ต้องเสียเวลาตกลงกันเกือบ 2 ชั่วโมง ทำให้มาศาลไม่ทันตามกำหนดเวลานัด แต่ข้อเท็จจริงส่อแสดงว่าเหตุที่รถยนต์ชนกันเป็นความผิดของจำเลยที่ 2 และความล่าช้าในการตกลงเรื่องค่าเสียหายกับผู้มีชื่อเกิดจากการที่จำเลยที่ 2 พยายามต่อรองราคาค่าเสียหาย ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 2 สามารถจ่ายหรือทำความตกลงกับผู้มีชื่อได้โดยไม่ชักช้า นอกจากนั้นจำเลยที่ 2 ยังจะต้องให้ผู้มีชื่อซึ่งไม่มีความสันทัดในการเขียนหนังสือเขียนใบรับเงินที่มีข้อความค่อนข้างยืดยาวให้อีก อันเป็นการเพิ่มพูนการเสียเวลาให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งความชักช้าดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 มาศาลไม่ทันตามกำหนดนัด เช่นนี้ จึงยังฟังไม่ได้ถนัดนักว่ามีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มาศาลไม่ได้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีไม่อาจอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามที่ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3178/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ส่งที่สำนักงานและจำเลยไม่ได้อยู่ที่ภูมิลำเนา แต่มีคนอยู่ ณ ที่นั้น ถือว่าจำเลยได้รับหมายแล้ว
เจ้าพนักงานเดินหมายปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับปิดหมายนัดสืบพยานโจทก์ไว้ที่สำนักงานบริษัทจำเลย ซึ่ง กรรมการผู้จัดการและพนักงานของจำเลยอยู่อาศัยในสถานที่ดังกล่าว จึงเป็นการส่งหมายโดย ชอบ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 74 และมาตรา 79 เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดและไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ถือได้ ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ไม่มีเหตุที่จะขอให้พิจารณาใหม่ได้ .