คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 209

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและการพิจารณาคดี แม้จำเลยอยู่ต่างประเทศ หากทราบเรื่องแต่ไม่ดำเนินการถือเป็นจงใจขาดนัด
ขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยไปทำงานอยู่ที่ประเทศคูเวตการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับเจ้าพนักงานศาลส่งโดยวิธีปิดที่บ้านของจำเลยเพราะไม่มีผู้ใดยอมรับไว้แทนจำเลย แต่จำเลยก็ได้มีจดหมายติดต่อส่งข่าวระหว่างจำเลยกับทางบ้านจำเลยเป็นประจำการที่จำเลยทราบเรื่องถูกโจทก์ฟ้องแล้ว ไม่ขวนขวายที่จะตั้งทนายความหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นสู้คดีแทน ถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัด จะขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1872/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ภูมิลำเนาที่ไม่ถูกต้อง และผลต่อการขาดนัดยื่นคำให้การ
โจทก์ฟ้องระบุภูมิลำเนาของจำเลย ตามที่ตั้งสำนักงานที่จดทะเบียนพาณิชย์ แม้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 74(2) จะบัญญัติให้ส่งคำคู่ความ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความได้ แต่ก็ปรากฏว่าจำเลยไม่ได้อยู่ ณ สำนักทำการงานของจำเลยตั้งแต่ก่อนฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นให้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ณ สำนักทำการงานของจำเลย จึงน่าเชื่อว่า จำเลยไม่ทราบว่าถูกฟ้อง การที่จำเลยไม่ยื่นคำให้การและไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์ มิได้เป็นการขาดนัดโดยจงใจ.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก/หมายนัดพยานไปยังภูมิลำเนาที่ถูกต้อง แม้จำเลยมีหลายที่อยู่ ถือเป็นการส่งโดยชอบ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ/พิจารณาโดยจงใจ
จำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่ง ซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไปที่ระบุในฟ้องก็เป็นถิ่นที่อยู่แห่งหนึ่ง จึงเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของจำเลย พนักงานเดินหมายไปทำการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง และปิดหมายนัดสืบพยานโจทก์ตามคำสั่งศาลให้แก่จำเลยที่บ้านที่ระบุในคำฟ้อง ถือได้ว่าได้ส่งหมายนั้น ๆให้แก่จำเลยโดยชอบ จำเลยรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้วไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รับหมายนัดสืบพยานโจทก์แล้วไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยาน ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแรงงานใหม่หลังขาดนัด - เงื่อนไขและข้อยกเว้นตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่สั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาใหม่เกิดขึ้นภายหลังคำพิพากษา จึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 ว่า เป็นคำขอที่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความขาดนัดและข้อคัดค้านคำชี้ขาดตัดสินของศาลแรงงานกลางแล้วโจทก์จะยกปัญหาที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นที่ยุติไปดังกล่าวแล้วขึ้นมาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยที่ 1 เดินทางไปต่างประเทศก่อนถูกฟ้องและไม่เคยกลับเข้ามาประเทศไทยอีกเลย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถแถลงขอให้ศาลพิจารณาใหม่ภายในกำหนดเจ็ดวันตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 เมื่อจำเลยที่ 1มิได้จงใจขาดนัด ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 และ 209 ประกอบด้วยพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยที่ 1 ได้เดินทางออกไปจากประเทศไทยไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีและมิได้เดินทางกลับมาประเทศไทยอีกเลยเมื่อเจ้าพนักงานศาลไปปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่บ้านพักของจำเลยที่ 1 บุตรสาวของจำเลยที่ 1 ได้พยายามที่จะส่งสำเนาคำฟ้องไปให้จำเลยที่ 1 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอเลื่อนการพิจารณาไปก่อน แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้จงใจที่จะขาดนัด ศาลแรงงานกลางเชื่อ ตามทางไต่สวนของจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัด โจทก์จะอุทธรณ์โต้เถียง ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวไม่ได้ เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน: เหตุผลความจำเป็น, การขาดนัด, และข้อจำกัดการอุทธรณ์
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่สั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาใหม่เกิดขึ้นภายหลังคำพิพากษา จึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 ว่า เป็นคำขอที่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความขาดนัดและข้อคัดค้านคำชี้ขาดตัดสินของศาลแรงงานกลางแล้วโจทก์จะยกปัญหาที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นที่ยุติไปดังกล่าวแล้ว ขึ้นมาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
จำเลยที่ 1 เดินทางไปต่างประเทศก่อนถูกฟ้องและไม่เคยกลับเข้ามาประเทศไทยอีกเลย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถแถลงขอให้ศาลพิจารณาใหม่ภายในกำหนดเจ็ดวันตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัด ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้พิจารณาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 และ 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิจารณาใหม่คดีแรงงาน: การขาดนัด-เหตุจำเป็น-การอุทธรณ์คำสั่ง
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่สั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาใหม่เกิดขึ้นภายหลังคำพิพากษา จึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 ว่า เป็นคำขอที่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความขาดนัดและข้อคัดค้านคำชี้ขาดตัดสินของศาลแรงงานกลางแล้วโจทก์จะยกปัญหาที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นที่ยุติไปดังกล่าวแล้ว ขึ้นมาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
จำเลยที่ 1 เดินทางไปต่างประเทศก่อนถูกฟ้องและไม่เคยกลับเข้ามาประเทศไทยอีกเลย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถแถลงขอให้ศาลพิจารณาใหม่ภายในกำหนดเจ็ดวันตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัด ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้พิจารณาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 และ 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: การมาถึงศาลก่อนเวลาแต่ไม่ถูกเรียกเข้าห้องพิจารณา ไม่ถือเป็นการจงใจขาดนัด
จำเลยและพยานมาถึงศาลในวันสืบพยานก่อนเวลานัดของศาลโดยนั่งรออยู่นอกห้องพิจารณา ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ได้เรียกจำเลยเข้าห้องพิจารณาแต่จำเลยจงใจขัดขืนไม่เข้าห้องพิจารณา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา คดีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: จำเลยมาถึงศาลก่อนเวลาแต่ไม่ถูกเรียกเข้าห้องพิจารณา ไม่ถือเป็นการจงใจขาดนัด
จำเลยและพยานมาถึงศาลในวันสืบพยานก่อนเวลานัดของศาลโดยนั่งรออยู่นอกห้องพิจารณา ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ได้เรียกจำเลยเข้าห้องพิจารณาแต่จำเลยจงใจขัดขืนไม่เข้าห้องพิจารณา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา คดีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: จำเลยมาถึงศาลก่อนเวลา แต่ไม่ถูกเรียกเข้าห้องพิจารณา ถือไม่ได้ว่าจงใจขาดนัด
จำเลยและพยานมาถึงศาลในวันสืบพยานก่อนเวลานัดของศาลโดยนั่งรออยู่นอกห้องพิจารณาทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ได้เรียกจำเลยเข้าห้องพิจารณาแต่จำเลยจงใจขัดขืนไม่เข้าห้องพิจารณาจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาคดีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่และการใช้บัญชีระบุพยานเดิม เมื่อศาลอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การใหม่
หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 วรรคแรก แล้วกระบวนพิจารณาที่ให้ถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัวก็มีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลโดยคู่ความขาดนัด คำพิพากษาหรือ คำสั่งอื่น ๆของศาลสูงในคดีเดียวกันนั้น และวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เท่านั้นหาได้ให้เพิกถอน กระบวนพิจารณาเช่นที่โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ก่อนแล้วไม่บัญชีระบุพยานเดิมของโจทก์จึงยังคงอยู่และถือว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิขอระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสอง
of 15