พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาจากคำถอนคำร้องทุกข์และการพิจารณาโทษสถานเบาสำหรับความผิดต่อเด็ก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 284 และข้อหาความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 279 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 279 เมื่อต่อมามารดาผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์แทนผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับข้อหาความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะพิพากษาให้จำหน่ายคดีเฉพาะข้อหาความผิดฐานนี้ออกจากสารบบความเท่านั้น ส่วนข้อหาความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ การถอนคำร้องทุกข์ไม่เป็นผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ระงับไปด้วยแต่อย่างใด เมื่อศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานนี้มาแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงต้องพิจารณาและพิพากษาว่าสมควรลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษแก่จำเลยตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำหน่ายคดีในข้อหาความผิดฐานนี้จากสารบบความด้วย จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8463/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีพรากเด็กและกระทำอนาจาร ศาลพิจารณาความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารที่ผู้เสียหายถอนฟ้อง
ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรม จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง และต่อมาอุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กไปโดยมีเจตนาดังกล่าว และเป็นเจตนาที่กระทำต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาเด็ก ส่วนการที่จำเลยได้กระทำอนาจารแก่เด็กโดยใช้กำลังประทุษร้ายตบตีและขู่เข็ญว่าจะฆ่าเด็กหากขัดขืนมิให้จำเลยกระทำอนาจาร ย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานกระทำอนาจารและพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ และก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องและเบิกความว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยต่อไปอีก เนื่องจากฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจของฝ่ายผู้เสียหายแล้ว คำร้องและคำเบิกความของผู้เสียหายพอแปลได้ว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กไปโดยมีเจตนาดังกล่าว และเป็นเจตนาที่กระทำต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาเด็ก ส่วนการที่จำเลยได้กระทำอนาจารแก่เด็กโดยใช้กำลังประทุษร้ายตบตีและขู่เข็ญว่าจะฆ่าเด็กหากขัดขืนมิให้จำเลยกระทำอนาจาร ย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานกระทำอนาจารและพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ และก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องและเบิกความว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยต่อไปอีก เนื่องจากฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจของฝ่ายผู้เสียหายแล้ว คำร้องและคำเบิกความของผู้เสียหายพอแปลได้ว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8435/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเช็ค - ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และเอาไปเสียซึ่งเอกสาร - การคืนเงินที่ถูกยักยอก
ผู้เสียหายได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ จำเลยเป็นผู้ครอบครองเช็คพิพาทในฐานะตัวแทนของผู้เสียหายและจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเช็คพิพาทไปมอบให้แก่เจ้าหนี้ของผู้เสียหาย การที่จำเลยนำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินและได้มีการเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทได้ ถือได้ว่าเป็นการเบียดบังเอาเช็คพิพาทของผู้เสียหายไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกเช็คพิพาท มิใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และการที่จำเลยเอาเช็คพิพาทของผู้เสียหายไปเรียกเก็บเงินย่อมเป็นการทำให้เช็คพิพาทนั้นไร้ประโยชน์ที่จะใช้ได้อีก จึงเป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 188 อีกบทหนึ่ง ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
จำเลยยักยอกเช็คพิพาทของผู้เสียหายแล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค ผู้เสียหายย่อมจะต้องถูกธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของผู้เสียหายไปตามจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็ค เท่ากับว่าผู้เสียหายต้องสูญเสียเงินจำนวนตามเช็คนั้นไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง พนักงานอัยการจึงมีสิทธิขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินตามเช็คแก่ผู้เสียหายได้ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 43
ตามคำร้องของผู้เสียหายที่ยื่นเข้ามาประกอบเพื่อขอให้ศาลอนุญาตปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ มิใช่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
จำเลยยักยอกเช็คพิพาทของผู้เสียหายแล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค ผู้เสียหายย่อมจะต้องถูกธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของผู้เสียหายไปตามจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็ค เท่ากับว่าผู้เสียหายต้องสูญเสียเงินจำนวนตามเช็คนั้นไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง พนักงานอัยการจึงมีสิทธิขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินตามเช็คแก่ผู้เสียหายได้ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 43
ตามคำร้องของผู้เสียหายที่ยื่นเข้ามาประกอบเพื่อขอให้ศาลอนุญาตปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ มิใช่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7563/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปฯ มิใช่ความผิดอันยอมความได้ แม้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ สิทธิฟ้องคดีของโจทก์ยังคงอยู่
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าเทปและวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มิใช่เป็นความผิดอันยอมความกันได้ แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ก็ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าเทปและวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้ รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายจึงไม่ระงับไป การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความโดยรวมถึงความผิดฐานดังกล่าวไปด้วยจึงไม่ชอบ
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าเทปและวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายเพราะผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ เป็นการมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษาใหม่ในความผิดฐานดังกล่าว
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าเทปและวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายเพราะผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ เป็นการมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษาใหม่ในความผิดฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7321/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว และการพิพากษาเกินคำขอ/ข้อเท็จจริงไม่ตรงตามฟ้อง
คดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่คัดค้านจึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
การที่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ไปเพียง 200,000 บาท มิใช่จำนวน 325,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นเพียงข้อแตกต่างกันในรายละเอียดของทรัพย์ที่ถูกจำเลยที่ 1 ยักยอก มิใช่การ แตกต่างกันในข้อเท็จจริงอันจะทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด ทั้งจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธต่อสู้คดี โดยตลอดมิได้หลงต่อสู้คดีแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับ ข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญและไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอก เกินคำขอแต่อย่างใด
เมื่อโจทก์ประกอบกิจการขายรถยนต์โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขา ดำเนินการติดต่อลูกค้าแทนโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ครอบครองเงินที่นาย อ. ลูกค้าชำระให้โจทก์แล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น การกระทำความผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใด ๆ โดยทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไว้เป็นของตน จำเลยที่ 1 จึงมี ความผิดฐานยักยอก แต่การทำสัญญาซื้อขายและการชำระราคารถยนต์เป็นเรื่องความไว้วางใจกันระหว่างโจทก์กับ ลูกค้าเป็นการเฉพาะราย มิใช่กับประชาชนทั่วไป การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตามมาตรา 354 คงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามมาตรา 352 เพียงมาตราเดียว
การที่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ไปเพียง 200,000 บาท มิใช่จำนวน 325,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นเพียงข้อแตกต่างกันในรายละเอียดของทรัพย์ที่ถูกจำเลยที่ 1 ยักยอก มิใช่การ แตกต่างกันในข้อเท็จจริงอันจะทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด ทั้งจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธต่อสู้คดี โดยตลอดมิได้หลงต่อสู้คดีแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับ ข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญและไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอก เกินคำขอแต่อย่างใด
เมื่อโจทก์ประกอบกิจการขายรถยนต์โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขา ดำเนินการติดต่อลูกค้าแทนโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ครอบครองเงินที่นาย อ. ลูกค้าชำระให้โจทก์แล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น การกระทำความผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใด ๆ โดยทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไว้เป็นของตน จำเลยที่ 1 จึงมี ความผิดฐานยักยอก แต่การทำสัญญาซื้อขายและการชำระราคารถยนต์เป็นเรื่องความไว้วางใจกันระหว่างโจทก์กับ ลูกค้าเป็นการเฉพาะราย มิใช่กับประชาชนทั่วไป การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตามมาตรา 354 คงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามมาตรา 352 เพียงมาตราเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันระงับข้อพิพาทเช็ค ยุติคดีอาญาได้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่จำเป็นต้องกระทำต่อหน้าศาลหรือต่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเสมอไป อาจกระทำกันนอกศาลได้ เมื่อโจทก์และจำเลยสมัครใจได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย โดยมีข้อความระบุว่าจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีทางแพ่งเกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างอันเป็นมูลเหตุให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทอีก เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลหนี้ที่สั่งจ่ายเช็คพิพาท สัญญาประนีประนอมยอมความจึงบังคับกันได้ตามกฎหมาย มีผลทำให้สิทธิเรียกร้องหนี้ตามเช็คที่โจทก์ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและโจทก์ได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อตกลงว่าหากจำเลยผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยอมให้โจทก์ดำเนินคดีอาญาต่อไปทันที และเมื่อจำเลยชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว โจทก์ยอมให้หนี้ตามเช็คในคดีอาญาสิ้นผลผูกพันไปทั้งฉบับ โจทก์ตกลงว่าจะไปขอถอนฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้น ก็มิใช่เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนที่เป็นผลให้มูลหนี้ระงับต่อเมื่อจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วนไม่ ดังนั้น มูลหนี้ที่ออกเช็คตามฟ้องจึงได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คดีเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิที่โจทก์จะนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8292/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดในการดำเนินคดี และผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความ
พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 35 กำหนดให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจหน้าที่เป็นตัวแทนของนิติบุคคล ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจึงมีอำนาจดำเนินการใด ๆ แทนนิติบุคคลอาคารชุดได้ แม้ว่าในข้อบังคับของโจทก์จะกำหนดให้คณะกรรมการนิติบุคคลของโจทก์มีอำนาจดำเนินคดีแก่บุคคลภายนอก หากมีการละเมิดจากการกระทำของบุคคภายนอกในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง การเรียกร้องค่าเสียหาย และการเรียกเอาทรัพย์คืนนั้น ข้อบังคับของโจทก์ดังกล่าวก็หาลบล้างอำนาจของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นผู้แทนของนิติบุคคลอาคารชุดไม่
ข้อตกลงในการประนีประนอมยอมความระบุว่าโจทก์และจำเลยตกลงจะขอถอนฟ้องคดีอาญาในศาลชั้นต้นทุกคดี ซึ่งโจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยการถอนฟ้องคดีอาญา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว โจทก์ยังฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงเชียงใหม่ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ด้วย ส่วนจำเลยก็ฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้นในข้อหาหมิ่นประมาท ต่อมาคดีที่ฟ้องศาลแขวงเชียงใหม่ได้มีการประนีประนอมยอมความกันตามข้อตกลงดังกล่าว โดยจำเลยจะต้องถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทในวันรุ่งขึ้นหลังจากที่โจทก์ถอนฟ้องคดีทำให้เสียทรัพย์ต่อศาลแขวงเชียงใหม่ ปรากฏว่าจำเลยไม่ยอมถอนฟ้องคดีที่ศาลชั้นต้นในข้อหาหมิ่นประมาท แต่ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องของจำเลย ฉะนั้นการที่โจทก์ถอนฟ้องจำเลยในคดีอาญาที่ศาลแขวงเชียงใหม่แล้ว แต่จำเลยไม่ยอมถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทเป็นการไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้น กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
ข้อตกลงในการประนีประนอมยอมความระบุว่าโจทก์และจำเลยตกลงจะขอถอนฟ้องคดีอาญาในศาลชั้นต้นทุกคดี ซึ่งโจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยการถอนฟ้องคดีอาญา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว โจทก์ยังฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงเชียงใหม่ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ด้วย ส่วนจำเลยก็ฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้นในข้อหาหมิ่นประมาท ต่อมาคดีที่ฟ้องศาลแขวงเชียงใหม่ได้มีการประนีประนอมยอมความกันตามข้อตกลงดังกล่าว โดยจำเลยจะต้องถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทในวันรุ่งขึ้นหลังจากที่โจทก์ถอนฟ้องคดีทำให้เสียทรัพย์ต่อศาลแขวงเชียงใหม่ ปรากฏว่าจำเลยไม่ยอมถอนฟ้องคดีที่ศาลชั้นต้นในข้อหาหมิ่นประมาท แต่ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องของจำเลย ฉะนั้นการที่โจทก์ถอนฟ้องจำเลยในคดีอาญาที่ศาลแขวงเชียงใหม่แล้ว แต่จำเลยไม่ยอมถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทเป็นการไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้น กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อโกง-สิทธิฟ้องของโจทก์-การถอนฟ้อง-ความยินยอม
จำเลยฎีกาว่า ในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีเป็นอันขาดอายุความ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225จำเลยจึงยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้
แม้โจทก์ร่วมทั้งสี่ไม่ประสงค์จะเอาความผิดแก่จำเลย และภายหลังโจทก์ร่วมที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้ถอนคำร้องทุกข์จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง แต่โจทก์ร่วมที่ 2 มิได้ร่วมเจรจาตกลงกับจำเลยด้วย และโจทก์ร่วมที่ 2 มิได้แถลงว่าไม่ประสงค์จะเอาความผิดแก่จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง และมิได้ถอนคำร้องทุกข์จำเลย ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญาตามความผิดฐานฉ้อโกงมาฟ้องจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมที่ 2 จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
แม้โจทก์ร่วมทั้งสี่ไม่ประสงค์จะเอาความผิดแก่จำเลย และภายหลังโจทก์ร่วมที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้ถอนคำร้องทุกข์จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง แต่โจทก์ร่วมที่ 2 มิได้ร่วมเจรจาตกลงกับจำเลยด้วย และโจทก์ร่วมที่ 2 มิได้แถลงว่าไม่ประสงค์จะเอาความผิดแก่จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง และมิได้ถอนคำร้องทุกข์จำเลย ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญาตามความผิดฐานฉ้อโกงมาฟ้องจำเลยสำหรับโจทก์ร่วมที่ 2 จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีฉ้อโกง, การถอนฟ้อง, และขอบเขตการยอมความเฉพาะตัวผู้เสียหาย
จำเลยฎีกาว่า ในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีเป็นอันขาดอายุความ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยจึงยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้
แม้โจทก์ร่วมทั้งสี่ไม่ประสงค์จะเอาความผิดแก่จำเลยและภายหลังโจทก์ร่วมที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้ถอนคำร้องทุกข์จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง แต่โจทก์ร่วมที่ 2 มิได้ร่วมเจรจาตกลงกับจำเลยด้วย และโจทก์ร่วมที่ 2 มิได้แถลงว่าไม่ประสงค์จะเอาความผิดแก่จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงและมิได้ถอนคำร้องทุกข์จำเลย ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญาตามความผิดฐานฉ้อโกงมาฟ้องจำเลย สำหรับโจทก์ร่วมที่ 2 จึงยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
แม้โจทก์ร่วมทั้งสี่ไม่ประสงค์จะเอาความผิดแก่จำเลยและภายหลังโจทก์ร่วมที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้ถอนคำร้องทุกข์จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง แต่โจทก์ร่วมที่ 2 มิได้ร่วมเจรจาตกลงกับจำเลยด้วย และโจทก์ร่วมที่ 2 มิได้แถลงว่าไม่ประสงค์จะเอาความผิดแก่จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงและมิได้ถอนคำร้องทุกข์จำเลย ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญาตามความผิดฐานฉ้อโกงมาฟ้องจำเลย สำหรับโจทก์ร่วมที่ 2 จึงยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คแล้วกลับปฏิเสธการผ่อนชำระ ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ระหว่างพิจารณา จำเลยและโจทก์ร่วมแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าคดีตกลงกันได้ โดยจำเลยจะชำระเงินตามเช็คพิพาท โดยชำระงวดแรกจำนวน 100,000 บาท งวดต่อไปทุกวันที่ 20 ของเดือนถัดไป โดยชำระไม่ต่ำกว่างวดละ 50,000 บาท และต้องชำระหนี้ทั้งหมดภายใน 1 ปี 6 เดือน นับแต่วันชำระงวดแรก โดยจำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามรายงานกระบวนพิจารณาเป็นหลักฐานแสดงว่าจำเลยยอมรับผิดตามฟ้อง และคดีไม่จำต้องสืบพยานอีกต่อไป แต่จำเลยและโจทก์ร่วมตกลงให้ศาลเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปเพื่อให้โอกาสจำเลยมีเวลาหาเงินมาผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ร่วม โดยจำเลยยังคงรับผิดในหนี้ตามเช็คทุกฉบับ รวมตลอดถึงโทษทางอาญาที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาในวันนัดที่เลื่อนไป จึงไม่มีการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลย ไม่มีการผ่อนผันลดจำนวนหนี้ลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของมูลหนี้ ต่อมาโจทก์ร่วมไม่ยอมรับเช็คธนาคาร (แคชเชียร์เช็ค) ที่จำเลยนำมามอบให้ และขอให้จำเลยผ่อนชำระหนี้งวดละไม่น้อยกว่า 150,000 บาท จำเลยยืนยันจะชำระหนี้ตามที่แถลงไว้ โจทก์ร่วมขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา จำเลยถอนคำให้การรับสารภาพพร้อมกับให้การปฏิเสธขอสู้คดีต่อไป ซึ่งศาลชั้นต้นสืบพยานของทั้งสองฝ่ายจนจบสิ้นกระแสความ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงเจตนาของโจทก์ร่วมและจำเลยว่าไม่ประสงค์ให้รายงานกระบวนพิจารณามีผลผูกพันให้โจทก์ร่วมและจำเลยต้องปฏิบัติตามโดยฝ่ายใดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นอย่างอื่นไม่ได้ รายงานกระบวนพิจารณาจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)