คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กฤษฎิ์จิรัฐ คุณาจิรภรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทินกระทบสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง - การแจ้งข้อมูลเท็จต่อผู้อำนวยการเลือกตั้ง
วันที่จำเลยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นวันภายหลังจากที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ออกใช้บังคับ ดังนี้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องอันฟังได้ว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้อำนวยการเลือกตั้ง โดยปกปิดเรื่องที่จำเลยเคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา แต่โดยผลของ พ.ร.บ.ดังกล่าวถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษหรือได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษามาก่อน จำเลยจึงมิใช่บุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 45 (5) แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 การกระทำของจำเลยย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งหรือประชาชน กรณีไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็ค-การแก้ไขและการฟ้องร้อง-อายุความ-การโอนและการฉ้อฉล-ผู้ทรงโดยชอบธรรม
เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือได้ ย่อมโอนเปลี่ยนมือกันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบเช็คในกรณีเช็คระบุชื่อ หรือด้วยการส่งมอบเช็คในกรณีเช็คผู้ถือ เช็คพิพาททั้ง 5 ฉบับ เป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดโดยมิได้ระบุชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินและมิได้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือออก จึงเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์เป็นผู้มีเช็คพิพาทไว้ในครอบครองโจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 เมื่อการแก้ไขวันเดือนปีในเช็คพิพาทเป็นการแก้ไขโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงยินยอม เช็คพิพาทจึงไม่เสียไปและใช้ได้ต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แก้ไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคแรก โดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดเวลาใช้เงินตามที่แก้ไขนั้น หาใช่เป็นเรื่องขยายอายุความฟ้องร้องไม่
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าคดีขาดอายุความ จำเลยต้องให้การโดยชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการขาดอายุความนั้นด้วยว่า คดีโจทก์เริ่มนับอายุความตั้งแต่เมื่อใดและขาดอายุความเมื่อใด การที่จำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว กล่าวคือ เช็คแต่ละฉบับลงวันที่เท่าใด โจทก์ใช้อุบายหลอกลวงให้จำเลยที่ 1 แก้ไขวันเดือนปีในเช็คเป็นวันที่เท่าใด โดยมิได้ให้การว่าอายุความนับตั้งแต่วันที่เท่าใด เช็คขาดอายุความแล้วตั้งแต่เมื่อใดและจะครบกำหนด 1 ปี วันใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า เช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการอ้างข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน ๆ ต้องห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยคบคิดกันฉ้อฉล และคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร เพียงแต่ให้การว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 โดยทุจริตร่วมกันได้นำเช็คมาฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ซึ่งไม่ชัดแจ้งว่าคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร รวมทั้งไม่สุจริตหรือทุจริตร่วมกันนำเช็คมาฟ้องอย่างไร จึงไม่มีประเด็นว่าคบคิดกันฉ้อฉล รวมทั้งใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ให้จำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเช็คหลังหมดอายุความไม่ถือเป็นการขยายอายุความ และการให้การเรื่องอายุความต้องชัดเจน
แม้เช็คพิพาทแต่ละฉบับจะถึงกำหนดใช้เงินแล้ว แต่การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คพิพาทแก้ไขวันที่เดือนปีในเช็คพิพาทโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทยินยอม เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง โดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดใช้เงินตามวันที่เดือนปีที่แก้ไขนั้น กรณีหาใช่เป็นการขยายอายุความออกไปอันขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 193/11 ดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปราบปรามยาเสพติดเพื่อขอโทษน้อยกว่าขั้นต่ำตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
แม้จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นและแถลงไม่ติดใจสืบพยานก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเห็นว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานสอบสวน จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์เพื่อให้ได้รับประโยชน์โดยรับโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้ตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 ได้ แม้ว่าจำเลยจะไม่ได้ยกข้อกฎหมายนี้ขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นมาก่อนก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการยิงแม้พลาดเป้า ความผิดพยายามฆ่า และการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่าแต่ผู้เสียหายหลบหลีกได้ทันจึงไม่ถึงแก่ความตาย และมีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายด้วย แต่พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้เสียหาย คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยชกต่อยผู้เสียหายซึ่งจำเลยนำสืบรับข้อเท็จจริงนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย แต่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 391 แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้การที่จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงโจทก์ร่วม กระสุนปืนถูกโจทก์ร่วมและยังทะลุพลาดถูก อ. ด้วยนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า อ. โดยพลาดซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ข้อหาพยายามฆ่าผู้เสียหายและมิได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่า อ. โดยพลาดจึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13056/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาฎีกาต้องมีเหตุสุดวิสัย หรือเหตุพิเศษก่อนสิ้นกำหนด มิเช่นนั้นฎีกาไม่รับพิจารณา
การขอขยายระยะเวลาฎีกาเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลมีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2552 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2552 ซึ่งเป็นการยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อสิ้นระยะเวลาฎีกาแล้ว ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้เฉพาะเมื่อมีเหตุสุดวิสัย ตามคำร้องดังกล่าวจำเลยอ้างเหตุว่าทนายจำเลยมิได้ร่วมรับฟังการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 และทางศาลแจ้งให้ทนายจำเลยทราบภายหลัง ประกอบกับทนายจำเลยต้องการเวลาในการจัดทำข้อมูลเพื่อให้แพทย์ประจำเรือนจำจังหวัดราชบุรีตรวจสอบว่าจำเลยเป็นอัมพฤกษ์ครึ่งตัวและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจริงหรือไม่ ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาภายในกำหนดฎีกาได้ คำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติข้างต้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาฎีกาถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2542 ตามคำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 16 ตุลาคม 2552 จึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้จำเลยฟัง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ดังนั้น การที่จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งล่วงเลยกำหนดฎีกาดังกล่าวแล้วจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12696/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษจากศาลเยาวชนฯ เข้ากับโทษในคดีอาญาอื่น ศาลฎีกาเห็นชอบตามกฎหมาย
ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก บัญญัตว่า "เมื่อความปรากฏแก่ศาลเองหรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกำหนดตามมาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทำความผิดอันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลัง ... บวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง ..." จะเห็นได้ว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิได้มีข้อบังคับว่าโทษในคดีก่อนที่ศาลรอการลงโทษไว้กับโทษในคดีหลังจะต้องเป็นโทษจากคำพิพากษาของศาลเดียวกัน แม้โทษในคดีก่อนที่ศาลรอการลงโทษไว้จะเป็นโทษตามคำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง บทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้มีข้อห้ามมิให้นำโทษที่ศาลรอการลงโทษไว้มาบวกกับโทษในคดีหลัง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นนำโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อนที่ศาลรอการลงโทษไว้มาบวกกับโทษจำคุกในคดีหลังนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12168/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วมกันและสิทธิในการไล่เบี้ยตามส่วน
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 กับโจทก์และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพราะโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้วจำนวน 17,000,000 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ตามส่วนเท่าๆ กัน จำนวน 8,500,000 บาท ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) และมาตรา 296เนื่องจากบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตราทั้งสองดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10388/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สี่แยกทางโทต้องหยุดรอทางเอก การคาดคะเนความเร็วรถผู้อื่นโดยไม่ปฏิบัติตามป้ายจราจร ถือเป็นความประมาท
ทางเดินรถของ ว. ลูกจ้างโจทก์เป็นทางโท รถในทางโทต้องยอมให้รถในทางเอกผ่านไปก่อนทั้งบริเวณสี่แยกเกิดเหตุมีป้ายจราจร "หยุด" ซึ่งบังคับให้รถในทางโทต้องหยุดรถเพื่อรอให้รถที่มาจากทางเอกผ่านพ้นสี่แยกไปก่อนจึงจะขับผ่านสี่แยกเกิดเหตุได้ แม้รถในทางโทจะมาถึงสี่แยกก่อนแต่ถ้าไม่สามารถขับผ่านสี่แยกไปด้วยความเร็วตามปกติและตามพฤติการณ์ในขณะนั้นได้โดยปลอดภัยแล้ว ก็ต้องปฏิบัติตามป้ายจราจรดังกล่าวโดยหยุดรถเพื่อรอให้รถในทางเอกผ่านไปก่อน ว. ซึ่งขับรถยนต์โดยสารประจำทางในทางโทที่มีป้ายจราจรหยุดจะคาดคะเนเอาเองว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถยนต์บรรทุกในทางเอกเห็นรถในทางโทมาถึงและใช้ทางแยกก่อนแล้ว จะต้องหยุดรถโดย ว. ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎและป้ายจราจรหาได้ไม่ การที่ ว. ขับรถผ่านเข้าไปในสี่แยกเกิดเหตุโดยคาดคะเนเอาเองว่าจำเลยที่ 1 จะต้องชะลอและหยุดรถรอให้ ว. ขับรถผ่านไปก่อนย่อมเป็นการเสี่ยงภัยก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย ทั้งเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎและป้ายจราจร ถือว่า ว. ประมาทเลินเล่อ เมื่อเกิดเหตุรถยนต์ชนกัน ว. จึงมีส่วนประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10189/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กและอนาจาร: พยานหลักฐานสนับสนุนคำเบิกความของผู้เสียหายเชื่อถือได้
จำเลยถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง และกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคแรก อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น บุคคลซึ่งมิใช่ผู้เสียหายสามารถกล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ว่า มีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดีได้กระทำความผิดขึ้น และเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดได้ ดังนั้น ต. เจ้าหน้าที่มูลนิธิคุ้มครองเด็กจึงสามารถกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยกระทำความผิดต่อผู้เสียหายได้ โดยไม่จำต้องอาศัยการมอบอำนาจจาก ภ. และ ฉ. แต่อย่างใดพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจทำการสอบสวนคดีได้ การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว
of 14