พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3759/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญา และผลของการถอนฟ้องต่อการดำเนินคดี
คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็ค ไม่ถือเป็นการยอมความ ไม่ระงับสิทธินำคดีอาญา
ข้อตกลงที่โจทก์ร่วมยอมลดหนี้ตามเช็คทั้งสองฉบับให้แก่จำเลย และยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้เสร็จในกำหนดเวลา 12 เดือน พร้อมด้วยดอกเบี้ย เมื่อผ่อนชำระเสร็จสิ้นแล้วโจทก์ร่วมจะถอนคำร้องทุกข์คดีนี้ให้จำเลยกับพวก ข้อตกลงนี้โจทก์ร่วมไม่ได้ยินยอมถอนคำร้องทุกข์ให้จนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไข เป็นการให้โอกาสแก่จำเลยผ่อนชำระหนี้โดยยอมให้เลื่อนการพิจารณาคดีไป ข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นการยอมความ จึงไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยอมความกันทางอาญาไม่ระงับคดี ย่อมไม่ถือว่าโจทก์สละสิทธิฟ้อง
คำว่า "ยอมความกัน" ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2) หมายถึงการยอมความในทางอาญาเท่านั้น มิได้หมายความว่า เมื่อมีการยอมความกันไม่ว่าจะในเรื่องใดแล้ว จะทำให้คดีอาญาต้องระงับไปด้วย เมื่อยังไม่มีข้อตกลงให้ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงยังไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีแพ่งไม่ทำให้คดีอาญาที่เกี่ยวข้องระงับ หากไม่มีการตกลงยุติการดำเนินคดีอาญา
คำว่า "ยอมความกัน" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) หมายถึงการยอมความในทางอาญาเท่านั้น มิได้หมายความว่าเมื่อมีการยอมความกันไม่ว่าจะในเรื่องใดแล้ว จะทำให้คดีอาญาต้องระงับไปด้วย เมื่อยังไม่มีข้อตกลงให้ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงยังไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์: วันเวลาเกิดเหตุ, สิทธิผู้เสียหาย, อายุความ, และความร่วมมือในการกระทำผิด
วันที่กระทำความผิดตามฟ้องจะตรงตามความเป็นจริงหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณา หามีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของฟ้องไม่
สัญญาว่าจ้างถ่ายแบบเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ท. ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัทโน๊ตพับลิชชิ่ง จำกัด แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา ท. จะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ทำละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้น ถ้ามีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้
โจทก์ถอนคำร้องทุกข์เพราะโจทก์ได้นำคดีไปฟ้องเองและศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว โจทก์ไม่ได้ถอนคำร้องทุกข์โดยเจตนาที่จะไม่เอาความผิดแก่จำเลยสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้น โดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้ และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 ปรากฏเพียงว่า เป็นผู้รับจ้างจากบริษัท ส. ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนโดยเฉพาะ อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน โดยไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 กับจำเลยที่ 15 มีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดคดีนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 กับที่ 9 และการกระทำของจำเลยที่ 15 จึงเป็นความผิดเฉพาะในส่วนของแต่ละฝ่ายเท่านั้นกล่าวคือ จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีความผิดฐานร่วมกันทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยการจัดพิมพ์หนังสืออันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ส่วนจำเลยที่ 15 มีความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า
สัญญาว่าจ้างถ่ายแบบเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ท. ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัทโน๊ตพับลิชชิ่ง จำกัด แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา ท. จะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ทำละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้น ถ้ามีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้
โจทก์ถอนคำร้องทุกข์เพราะโจทก์ได้นำคดีไปฟ้องเองและศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว โจทก์ไม่ได้ถอนคำร้องทุกข์โดยเจตนาที่จะไม่เอาความผิดแก่จำเลยสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้น โดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้ และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 ปรากฏเพียงว่า เป็นผู้รับจ้างจากบริษัท ส. ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนโดยเฉพาะ อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน โดยไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 กับจำเลยที่ 15 มีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดคดีนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 กับที่ 9 และการกระทำของจำเลยที่ 15 จึงเป็นความผิดเฉพาะในส่วนของแต่ละฝ่ายเท่านั้นกล่าวคือ จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีความผิดฐานร่วมกันทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยการจัดพิมพ์หนังสืออันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ส่วนจำเลยที่ 15 มีความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า: ความผิดร่วมกัน การแบ่งหน้าที่ และความรับผิดของกรรมการ
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายเกี่ยวกับวันเวลาเกิดเหตุว่า เมื่อประมาณต้นเดือนมีนาคม 2540 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งหมดได้ร่วมกันกระทำผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ ได้ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทภาพถ่าย โดยร่วมกันทำซ้ำ ดัดแปลง และนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับวันเวลาเกิดเหตุจึงครบถ้วนถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)แล้ว
วันที่กระทำความผิดตามฟ้องจะตรงตามความเป็นจริงหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณา หามีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของฟ้องไม่
สัญญาว่าจ้างถ่ายแบบเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ท.ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัทโน๊ตพับลิชชิ่ง จำกัด แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา นางสาวทิพย์วรรณจะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ทำละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ นอกจากนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้นถ้ามีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้โจทก์เพิ่งทราบว่ามีการพิมพ์หนังสือนิตยสาร "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ซึ่งมีภาพถ่ายของ ท.ลงพิมพ์ไว้อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อเดือนมีนาคม 2540 และโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดตามกฎหมายเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2540คดีนี้ย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (3) เมื่อได้ความว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 14 มกราคม 2541 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ถอนคำร้องทุกข์เพราะโจทก์ได้นำคดีไปฟ้องเองและศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว โจทก์ไม่ได้ถอนคำร้องทุกข์โดยเจตนาที่จะไม่เอาความผิดแก่จำเลยสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 9 ที่ 15 และที่ 17 ถึงที่ 19 ตาม พ.ร.บ.บัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 27, 31, 69, 70, 74, 75, 76 และ 78 มาตรา 83 โดยวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท และให้ลงโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 เป็นการปรับบทมาตราที่บางมาตรามิใช่บทกำหนดความผิดและกำหนดโทษ และมิได้ระบุวรรคให้ถูกต้องนอกจากนี้จำเลยที่ 1 ที่ 9 และที่ 15 ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแยกจากกันแม้จะได้ความว่าเป็นบริษัทจำกัดในเครือเดียวกันหรือมีการถือหุ้นไขว้กันก็มิได้หมายความว่าจะต้องมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดด้วย ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้ และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 ปรากฏเพียงว่า เป็นผู้รับจ้างจากบริษัท ส.ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนโดยเฉพาะ อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน โดยไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 กับจำเลยที่ 15 มีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดคดีนี้การกระทำของจำเลยที่ 1 กับที่ 9 และการกระทำของจำเลยที่ 15 จึงเป็นความผิดเฉพาะในส่วนของแต่ละฝ่ายเท่านั้นกล่าวคือ จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีความผิดฐานร่วมกันทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยการจัดพิมพ์หนังสืออันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ส่วนจำเลยที่ 15 มีความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า
วันที่กระทำความผิดตามฟ้องจะตรงตามความเป็นจริงหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณา หามีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของฟ้องไม่
สัญญาว่าจ้างถ่ายแบบเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ท.ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัทโน๊ตพับลิชชิ่ง จำกัด แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา นางสาวทิพย์วรรณจะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ทำละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ นอกจากนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้นถ้ามีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้โจทก์เพิ่งทราบว่ามีการพิมพ์หนังสือนิตยสาร "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ซึ่งมีภาพถ่ายของ ท.ลงพิมพ์ไว้อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อเดือนมีนาคม 2540 และโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดตามกฎหมายเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2540คดีนี้ย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (3) เมื่อได้ความว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 14 มกราคม 2541 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ถอนคำร้องทุกข์เพราะโจทก์ได้นำคดีไปฟ้องเองและศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว โจทก์ไม่ได้ถอนคำร้องทุกข์โดยเจตนาที่จะไม่เอาความผิดแก่จำเลยสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 9 ที่ 15 และที่ 17 ถึงที่ 19 ตาม พ.ร.บ.บัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 27, 31, 69, 70, 74, 75, 76 และ 78 มาตรา 83 โดยวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท และให้ลงโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 เป็นการปรับบทมาตราที่บางมาตรามิใช่บทกำหนดความผิดและกำหนดโทษ และมิได้ระบุวรรคให้ถูกต้องนอกจากนี้จำเลยที่ 1 ที่ 9 และที่ 15 ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแยกจากกันแม้จะได้ความว่าเป็นบริษัทจำกัดในเครือเดียวกันหรือมีการถือหุ้นไขว้กันก็มิได้หมายความว่าจะต้องมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดด้วย ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้ และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 ปรากฏเพียงว่า เป็นผู้รับจ้างจากบริษัท ส.ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนโดยเฉพาะ อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน โดยไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 กับจำเลยที่ 15 มีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดคดีนี้การกระทำของจำเลยที่ 1 กับที่ 9 และการกระทำของจำเลยที่ 15 จึงเป็นความผิดเฉพาะในส่วนของแต่ละฝ่ายเท่านั้นกล่าวคือ จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีความผิดฐานร่วมกันทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยการจัดพิมพ์หนังสืออันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ส่วนจำเลยที่ 15 มีความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวกับการถอนคำร้องทุกข์คดีละเมิดลิขสิทธิ์และการพิพากษาคดีความผิด พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทป
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง เป็นความผิดอันยอมความได้ ตามมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ ผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์สำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับข้อความความผิดนั้นย่อมระงับไป ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ต้องจำหน่ายคดีสำหรับข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ดังกล่าว เสียจากสารบบความ
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้วินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีสำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวจนเสร็จสิ้นพร้อมกับได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาไปให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเพื่ออ่านให้คู่ความฟังแล้ว จึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6 และ 34 โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ อันเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การบรรยายฟ้องคำว่า "วิดีโอเทปภาพยนตร์" ดังกล่าว เป็นการบรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ซึ่งโจทก์ก็ได้บรรยายในคำฟ้องนั้นแล้วว่าวิดีโอเทปภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อันเป็นข้อกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มีข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดครบถ้วนแล้ว มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นอกจากกรณีที่ได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง?" ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องรับโทษตามมาตรา 34 เห็นได้ชัดว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด แต่ผู้ประกอบกิจการนั้นประกอบกิจการไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน จำเลยมีอายุเพียง 20 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด จำเลยไม่สามารถลงทุนมีร้านประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปอันเป็นกิจการที่ต้องใช้เงินมากตามฟ้องได้ จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างและมารับจ้างทำงานในร้านโฮมวีดีโอที่กรุงเทพมหานคร มิได้เป็นเจ้าของร้านโฮมวีดีโอหรือเป็นเจ้าของกิจการร้านดังกล่าวหรือเป็นผู้ประกอบกิจการร้านนั้น จำเลยเป็นเพียงผู้นำภาพยนตร์วิดีโอเทปซึ่งตนรู้อยู่ว่ามีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของผู้เสียหายออกให้เช่า เสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ต้องไปขออนุญาตจากนายทะเบียนในการประกอบกิจการดังกล่าวก่อน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้วินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีสำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวจนเสร็จสิ้นพร้อมกับได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาไปให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเพื่ออ่านให้คู่ความฟังแล้ว จึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6 และ 34 โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ อันเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การบรรยายฟ้องคำว่า "วิดีโอเทปภาพยนตร์" ดังกล่าว เป็นการบรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ซึ่งโจทก์ก็ได้บรรยายในคำฟ้องนั้นแล้วว่าวิดีโอเทปภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อันเป็นข้อกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มีข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดครบถ้วนแล้ว มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นอกจากกรณีที่ได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง?" ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องรับโทษตามมาตรา 34 เห็นได้ชัดว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด แต่ผู้ประกอบกิจการนั้นประกอบกิจการไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน จำเลยมีอายุเพียง 20 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด จำเลยไม่สามารถลงทุนมีร้านประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปอันเป็นกิจการที่ต้องใช้เงินมากตามฟ้องได้ จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างและมารับจ้างทำงานในร้านโฮมวีดีโอที่กรุงเทพมหานคร มิได้เป็นเจ้าของร้านโฮมวีดีโอหรือเป็นเจ้าของกิจการร้านดังกล่าวหรือเป็นผู้ประกอบกิจการร้านนั้น จำเลยเป็นเพียงผู้นำภาพยนตร์วิดีโอเทปซึ่งตนรู้อยู่ว่ามีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของผู้เสียหายออกให้เช่า เสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ต้องไปขออนุญาตจากนายทะเบียนในการประกอบกิจการดังกล่าวก่อน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีฉ้อโกงทำให้สิทธิในการฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ
ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงและลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ในระหว่างจำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกา โจทก์ร่วมและจำเลยต่างยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีขอถอนคำร้องทุกข์แก่จำเลย ศาลชั้นต้นนัดพร้อมและสอบถามคู่ความ โจทก์ร่วมและจำเลยแถลงรับกันว่า จำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว ไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย ขอถอนคำร้องทุกข์โจทก์ไม่ค้าน ถือได้ว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ตกลงยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่ได้ ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยอมความในคดีฉ้อโกง: สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีการชำระเงินและถอนคำร้องทุกข์
ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงและลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ในระหว่างจำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกา โจทก์ร่วมและจำเลยต่างยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีขอถอนคำร้องทุกข์แก่จำเลย ศาลชั้นต้นนัดพร้อมและสอบถามคู่ความ โจทก์ร่วมและจำเลยแถลงรับกันว่า จำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว ไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย ขอถอนคำร้องทุกข์ โจทก์ไม่ค้าน ถือได้ว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ตกลงยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่ได้ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความทางแพ่งไม่กระทบสิทธิฟ้องคดีอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 352 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุกจำเลย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยที่ศาลแรงงานเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างได้กระทำละเมิดต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมผ่อนชำระหนี้เงินให้แก่ผู้เสียหายเป็นงวด ๆ หากจำเลยผิดนัดชำระงวดใด งวดหนึ่ง ยอมให้ผู้เสียหายบังคับคดีได้ทันที และผู้เสียหายไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดจากจำเลยอีก สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง ซึ่งไม่มีข้อตกลงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญาสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)