พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9601/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกและการชำระหนี้จำนอง: ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ชำระหนี้และแบ่งมรดกให้ทายาท
การที่จำเลยขอให้โจทก์ร่วมกันไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทในส่วนแบ่งที่โจทก์จะได้รับมรดกนั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้จำนองที่ดินพิพาทด้วย จึงไม่อาจร่วมไถ่ถอนจำนองได้ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องดำเนินการเพื่อนำที่ดินพิพาทมาแบ่งปันให้แก่ทายาทของเจ้ามรดกต่อไป โดยหากจำเลยต้องชำระหนี้จำนองที่ดินพิพาทแทนเจ้ามรดกไปเพียงใด ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวเอาจากโจทก์ตามส่วนที่โจทก์ได้รับมรดกต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8737/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิวาทสมัครใจทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกายกความผิดฐานชุลมุนต่อสู้ เน้นความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยตรง
ความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่รับอันตรายสาหัส โดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้ที่เข้าร่วมในการต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป ท่ามกลางความชุลมุนหรือสับสนวุ่นวาย โดยไม่ทราบว่าผู้ใดหรือฝ่ายใดเป็นผู้ทำร้าย คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อีกฝ่ายหนึ่งสมัครใจวิวาทต่อสู้กัน ไม่ว่าจะเกิดการชุลมุนหรือไม่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ย่อมมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ส่วนจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ที่ศาลล่างทั้งสองฟังว่าจำเลยทั้งห้ามีความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7355/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก อายุความ 10 ปี
โจทก์ (จำเลยในคดีนี้) ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ บ. ซึ่งเป็นบุตร น. เพื่อยุติข้อพิพาทเกี่ยวกับมรดกของ น. โดยตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีการตกลงแบ่งทรัพย์สินกันหลายรายการ และมีข้อตกลงให้โจทก์ (จำเลยในคดีนี้) รับผิดชอบชำระหนี้สินที่มีต่อธนาคาร และหนี้สินการค้าผลไม้ซึ่งหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนว่ารวมหนี้ที่มีต่อโจทก์ด้วย อันเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งในการยุติข้อพิพาท และ บ. ตกลงยอมรับและยุติข้อพิพาทด้วยข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ (จำเลยในคดีนี้) กับ บ. ดังกล่าวจึงมีส่วนหนึ่งที่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามป.พ.พ. มาตรา 374 รวมอยู่ด้วย เมื่อจำเลยตกลงยอมรับผิดชอบชำระหนี้การค้าผลไม้ซึ่งรวมหนี้ที่มีต่อโจทก์ด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้และการที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เท่ากับเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว
สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามป.พ.พ. มาตรา 374 ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามป.พ.พ. มาตรา 374 ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7355/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยเคยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ บ. บุตรของ น. ในคดีที่พิพาทกันเรื่องมรดกของ น. โดยตกลงแบ่งทรัพย์มรดกกันหลายรายการและมีข้อตกลงให้จำเลยรับชำระหนี้ของ บ. ที่มีต่อธนาคารและหนี้สินในการค้าผลไม้ซึ่งมีหนี้ที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้รวมอยู่ด้วย ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นประโยชน์แก่โจทก์ซึ่งไม่ได้เป็นคู่สัญญา จึงมีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ได้โดยตรงตามบทบัญญัติดังกล่าว
การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเท่ากับโจทก์แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ มิใช่กรณีโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเรียกค่าผลไม้ในฐานะผู้ประกอบการค้าซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) คดีของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเท่ากับโจทก์แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ มิใช่กรณีโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเรียกค่าผลไม้ในฐานะผู้ประกอบการค้าซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) คดีของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5813/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจารกับข่มขืนเป็นคนละกรรมต่างวาระ
การที่จำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจารถือได้ว่าความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยพรากผู้เสียหายที่ 1 ไป โดยมีเจตนาพรากไปเพื่อการอนาจารโดยไม่คำนึงว่าจะต้องมีการกระทำอนาจารตามเจตนาหรือไม่ ส่วนการที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 หลังจากนั้นเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งซึ่งมีเจตนากระทำชำเราเพื่อสำเร็จความใคร่ของตนเท่านั้น เจตนาจึงต่างกัน ต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง: โมฆะหากไม่ชัดเจน และไม่ต้องบอกราคาสินค้าหากไม่เป็นของมีค่า
ใบกำกับการส่งสินค้าหรือใบเสร็จรับเงินซึ่งจำเลยที่ 2 ออกให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ที่นำสินค้ามาส่ง มีข้อความจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 และลูกจ้างของโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้ส่งสินค้า แต่ด้านหน้าตอนท้ายของเอกสารดังกล่าวเพียงแต่มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า การส่งสินค้าควรประเมินราคาเพื่อประโยชน์ของท่านเอง และอีกตอนหนึ่งว่า โปรดสังเกตเงื่อนไขในการว่าจ้าง ร.ส.พ. ขนส่งสินค้าอยู่ด้านหลังนี้ ซึ่งด้านหลังของเอกสารดังกล่าวเป็นเงื่อนไขการว่าจ้าง มีเงื่อนไขตอนหนึ่งระบุว่า ข้อ 7 ค. การขนส่งพัสดุภัณฑ์อื่นๆ นอกจากที่ระบุไว้ในข้อ ก.และ ข. ผู้ส่งหรือผู้ว่าจ้างยินยอมให้ ร.ส.พ. ชดใช้ค่าเสียหายตามราคาที่เสียหายจริงแต่ไม่เกินวงเงิน 5,000 บาท ต่อเอกสารการขนส่ง 1 ฉบับ ข้อความด้านหน้าตอนท้ายของเอกสารดังกล่าวเป็นแต่เพียงคำเตือนหรือคำแนะนำให้ผู้ส่งสินค้าปฏิบัติ ไม่มีลักษณะเป็นข้อตกลงที่ชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดระหว่างผู้ขนส่งและผู้ส่ง ข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ตามมาตรา 625 แห่ง ป.พ.พ.
สินค้ากระดาษอัดรูปและฟิลม์สีที่โจทก์ว่าจ้างให้ขนส่งมีราคาสูง ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่นตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่จำต้องบอกราคาหรือสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในราคาสินค้าที่แท้จริงซึ่งเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
สินค้ากระดาษอัดรูปและฟิลม์สีที่โจทก์ว่าจ้างให้ขนส่งมีราคาสูง ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่นตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่จำต้องบอกราคาหรือสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในราคาสินค้าที่แท้จริงซึ่งเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง: ข้อความในเอกสารต้องชัดเจนและผู้ส่งต้องตกลงด้วย มิฉะนั้นเป็นโมฆะตามกฎหมาย
ใบกำกับการส่งสินค้าหรือใบเสร็จรับเงินซึ่งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ที่นำสินค้ามาส่ง มีข้อความจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 และลูกจ้างของโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้ส่งสินค้าไว้ด้วย แต่เอกสารดังกล่าวด้านหน้าตอนท้าย ของเอกสารดังกล่าวเพียงแต่มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า การส่งสินค้าควรประเมินราคาเพื่อประโยชน์ของท่านเอง และอีกตอนหนึ่งว่า โปรดสังเกตเงื่อนไขในการว่าจ้าง ร.ส.พ. ขนส่งสินค้าอยู่ด้านหลังนี้ ซึ่งด้านหลังของเอกสารดังกล่าวเป็นเงื่อนไขการว่าจ้างร.ส.พ.ขนส่งสินค้าและมีเงื่อนไขตอนหนึ่งระบุว่าการขนส่งพัสดุภัณฑ์อื่นๆ นอกจากที่ระบุไว้ในข้อ ก.และ ข. ผู้ส่งหรือผู้ว่าจ้างยินยอมให้ ร.ส.พ. ชดใช้ค่าเสียหายตามราคาที่เสียหายจริงแต่ไม่เกินวงเงิน 5,000 บาท ต่อเอกสารการขนส่ง 1 ฉบับ ข้อความด้านหน้าตอนท้ายของเอกสารดังกล่าวเป็นแต่เพียงคำเตือนหรือคำแนะนำให้ผู้ส่งสินค้าปฏิบัติ ไม่มีลักษณะเป็นข้อตกลงที่ชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดระหว่างผู้ขนส่งและผู้ส่งจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 สินค้าประเภทกระดาษอัดรูปและฟิลม์สีที่โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ขนส่งมีราคาสูง แต่ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่นตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่จำต้องบอกราคาหรือสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในราคาสินค้าที่แท้จริงซึ่งเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 61
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการลักทรัพย์: การกระทำที่แสดงเจตนาตั้งแต่แรกเพื่อเอาทรัพย์ผู้อื่นไปโดยทุจริต มิใช่ฉ้อโกง
จำเลยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปตั้งแต่ต้น การที่จำเลยเอาสุราต่างประเทศใส่ในลังน้ำปลาแล้วนำไปชำระเงินกับพนักงานแคชเชียร์ของผู้เสียหายเท่ากับราคาน้ำปลา เป็นเพียงกลอุบายของจำเลยเพื่อเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปโดยทุจริตเท่านั้น โดยพนักงานแคชเชียร์ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหายมิได้มีเจตนาส่งมอบการครอบครองสุราต่างประเทศให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3515/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงคนหางานต่างประเทศ: ความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม พิจารณาจากเจตนาและผู้เสียหาย
การกระทำความผิดฐานหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำที่มีเจตนามุ่งกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งมิได้พิจารณาจากการที่จำเลยกับพวกจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตต่อเนื่องกันหรือไม่ ซึ่งเป็นความผิดอีกส่วนหนึ่ง
การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้กับคดีก่อนมีวันกระทำความผิดต่างกันความผิดฐานหลอกลวงคนหางานจำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วยการกระทำของจำเลยกับพวกแม้จะเป็นการหลอกลวงด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกัน มีดำเนินการและจ่ายเงินให้แก่จำเลยกับพวกเหมือนกัน แต่จำเลยกับพวกหลอกลวงต่อบุคคลต่างราย เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้กับคดีก่อนมีวันกระทำความผิดต่างกันความผิดฐานหลอกลวงคนหางานจำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วยการกระทำของจำเลยกับพวกแม้จะเป็นการหลอกลวงด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกัน มีดำเนินการและจ่ายเงินให้แก่จำเลยกับพวกเหมือนกัน แต่จำเลยกับพวกหลอกลวงต่อบุคคลต่างราย เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3187/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การครอบครองเดิมของเจ้าของก่อนการซื้อขาย และการยอมรับสิทธิโดยคู่กรณี
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ป. ต่อมา ป. ได้ขายให้โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2500 กรณีเช่นนี้จึงไม่ใช่การแย่งการครอบครองที่จะต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อที่ดินเป็นของผู้อื่นเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 เองจึงไม่มีประเด็นพิพาทเรื่องการแย่งการครอบครอง