คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 39 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6152/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์และการรับของโจร: แม้ถอนฟ้องคดีอาญาฐานยักยอก สิทธิฟ้องฐานรับของโจรยังคงมีอยู่
ช.เช่ารถยนต์ของผู้เสียหายไปขับแล้วไม่ส่งคืนโดยเจตนาจะนำไปขาย เป็นความผิดฐานยักยอก ต่อมาผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ ช.ฐานยักยอกทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ช. ย่อมระงับไป ส่วนความผิดฐานยักยอกยังคงอยู่จำเลยรับรถยนต์ไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นของร้าย มีความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาและการระงับความผิดทางแพ่ง: การโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่เป็นไปตามสัญญา
โจทก์ร่วมแจ้งความว่าจำเลยที่ 2 ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1ให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยที่ 2 ยืนยันในชั้นสอบสวนว่าสามารถปฏิบัติการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาจะซื้อจะขายให้โจทก์ร่วมได้เมื่อได้รับชำระเงินงวดสุดท้ายจากโจทก์ร่วม พนักงานสอบสวนจึงเห็นว่ากรณียังไม่แน่ชัดว่าจะเป็นความผิดตามที่โจทก์ร่วมกล่าวหาจึงบันทึกเป็นหลักฐานไว้ในรายงานประจำวันซึ่งมีผลเป็นเพียงบันทึกเบื้องต้นหาได้เป็นความเห็นชัดเจนเด็ดขาดว่าเป็นเพียงความรับผิดทางแพ่งแต่ประการใดไม่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ร่วมตามที่ได้ยืนยันตกลงกับโจทก์ร่วมไว้ในเอกสารดังกล่าวฉะนั้น การที่โจทก์ร่วมมาร้องทุกข์มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาด้วยเหตุที่ความจริงแล้วจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาให้แก่บุคคลอื่นไปและไม่สามารถนำมาโอนให้แก่โจทก์ร่วมได้อีก ย่อมเป็นกรณีที่มีมูลความผิดทางอาญาที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจและชอบที่จะดำเนินการสอบสวนเป็นคดีอาญาได้ ข้อความที่ปรากฏในเอกสารรายงานประจำวันดังกล่าวข้างต้นมีผลเป็นเพียงจำเลยได้ตกลงกำหนดนัดวันเวลาที่จะไปโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์ให้โจทก์ร่วมและรับชำระเงินงวดสุดท้ายจากโจทก์ร่วมอันเป็นเพียงการยืนยันจะปฏิบัติตามนิติสัมพันธ์ที่ก่อไว้ตามสัญญาจะซื้อจะขายเดิมเท่านั้น หาได้มีข้อความใด ๆที่มีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความระงับสิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ร่วมแต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4065/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายและการระงับการดำเนินคดี
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยไม่ค้าน คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อปรากฏตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมและจำเลยสามารถตกลงกันได้แล้ว โดยจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมจนพอใจแล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีนี้แก่จำเลยอีกต่อไป ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ติดใจว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยและประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์นั่นเอง แต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้องเพราะคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วม สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4065/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาโดยโจทก์ร่วมผู้เสียหาย และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยไม่ค้าน คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด ดังนั้นเมื่อปรากฏตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมและจำเลยสามารถตกลงกันได้แล้ว โดยจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหาย ให้แก่โจทก์ร่วมจนพอใจแล้ว โจทก์ร่วมจึงไม่ติดใจที่จะ ดำเนินคดีนี้แก่จำเลยอีกต่อไป ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ติดใจว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยและประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์นั่นเองแต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้องเพราะคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วมสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดทางอาญาจากความผิดอาญาแผ่นดินเป็นความผิดต่อส่วนตัว ทำให้โจทก์มีสิทธิถอนฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 83, 362,365 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานบุกรุก ตาม ป.อ.มาตรา 365(3)อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน จำเลยอุทธรณ์ หากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็ต้องถือว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 365(3)อันเป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว โจทก์หามีสิทธิขอถอนฟ้องจำเลย ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยนั้นชอบแล้ว แต่ต่อมาภายหลังเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 362 อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงแก้ไข ก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดและตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์อ้างว่า โจทก์และจำเลยตกลงกันได้ โจทก์จึงไม่ประสงค์จะดำเนินคดีนี้กับจำเลยต่อไป จำเลยไม่คัดค้านและท้ายคำร้องดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อจำเลยไว้ด้วย ดังนี้ตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ข้างต้นเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ขอถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดินที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขเป็นความผิดต่อส่วนตัว และการยอมความระงับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา83,362,365ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่2มีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365(3)อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดินหากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดินมิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวโจทก์หามีสิทธิขอถอนฟ้องจำเลยที่2ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3ได้ไม่แต่ต่อมาภายหลังเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่2มีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวเมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดและตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์อ้างว่าโจทก์และจำเลยที่2ตกลงกันได้โจทก์จึงไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยที่2ต่อไปจำเลยที่2ไม่คัดค้านและท้ายคำร้องดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วยคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์จึงเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยที่2ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งถอนฟ้องคดีอาญา และผลกระทบของการถอนฟ้องโดยโจทก์ร่วม
จำเลยยื่นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาแล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะสั่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์และจำหน่ายคดีในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการถอนฟ้องคดีอาญา – ความผิดต่อส่วนตัว
จำเลยยื่นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาแล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะสั่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์และจำหน่ายคดีในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิถอนฟ้องคดีอาญา – ศาลอนุญาตได้ก่อนคดีถึงที่สุดหากจำเลยไม่คัดค้าน ทำให้สิทธิฟ้องระงับ
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ศาลฎีกาจึงให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา และเมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกาแล้ว ย่อมไม่จำต้องสั่งคำร้องขอถอนฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด ศาลอนุญาตได้เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน สิทธิฟ้องระงับ
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวโจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้เมื่อจำเลยไม่คัดค้านศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)ศาลฎีกาจึงให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกาและเมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกาแล้วย่อมไม่จำต้องสั่งคำร้องขอถอนฎีกาของจำเลย
of 42