คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กฤษฎิ์จิรัฐ คุณาจิรภรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจำเลยหักเงินจากค่านายหน้าแล้วนำส่งภาษีในชื่อนิติบุคคลอื่น
จำเลยหักเงินจำนวนหนึ่งออกจากเงินผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย แต่จำเลยนำส่งเงินจำนวนดังกล่าวแก่กรมสรรพากรโดยแจ้งว่าเป็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของบริษัท บ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีอัตราภาษีต่างจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทำให้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาน้อยกว่าความเป็นจริง เมื่อจำเลยได้หักเงินออกจากเงินค่านายหน้าเพื่อเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ของโจทก์แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาวุธปืนในรถของผู้กระทำผิด ถือเป็นอันตรายต่อเจ้าพนักงาน แม้ไม่ได้พกพาโดยตรง
ป.อ. มาตรา 140 วรรคสาม บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยมีอาวุธปืนต้องได้รับโทษหนักกว่าโทษตามที่กฎหมายบัญญัติในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง ก็เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้อาวุธปืนที่ยึดได้จากรถคันเกิดเหตุจะถูกซุกซ่อนอยู่ใต้ที่นั่งด้านหน้าข้างคนขับ จำเลยที่ 1 ไม่ได้พกติดตัวหรือวางในลักษณะพร้อมหยิบฉวยได้ทันทีก็ตาม แต่อาวุธปืนมีกระสุนปืนบรรจุอยู่ในรังเพลิงพร้อมใช้งานได้ทันที นับเป็นอันตรายต่อเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติตามหน้าที่ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9191/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, เงินทุนบริษัท, หน้าที่กรรมการ: ศาลฎีกายกฟ้องโจทก์ผู้ถือหุ้นเนื่องจากไม่มีอำนาจฟ้อง และพิพากษาให้จำเลยในฐานะกรรมการปฏิบัติตามหน้าที่
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าเงินพิพาทเป็นเงินที่ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นตามจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถือหุ้นของโจทก์ที่ 1 เงินพิพาทจึงถือเป็นเงินทุนของโจทก์ที่ 1 มิใช่เงินส่วนตัวของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 41 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น เมื่อโจทก์ที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด แล้ว การจัดการบริษัท ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นและกรรมการ ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 22 หมวด 4 ว่าด้วยบริษัทจำกัด
เมื่อโจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิฟ้องร้องจำเลยในฐานะกรรมการที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท โดยให้จำเลยปิดบัญชีหรือร่วมกันกับผู้มีอำนาจอื่นปิดบัญชีเงินฝากธนาคารและส่งมอบแคชเชียร์เช็คพร้อมส่งมอบ
เงินพิพาทหรือชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 41 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น จึงไม่ใช่บุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมิใช่กรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้อง อันจะเป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นต้องฟ้องแทน
หรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 41 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7150/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาหลังเกิดเหตุยังตรวจสอบได้ หากอยู่ในช่วงเวลา 10 ปีก่อน-หลังมีคำสั่งยึด/อายัด ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 22 วรรคห้า ให้ถือระยะเวลาสิบปีก่อนมีคำสั่งยึดหรืออายัดและภายหลังนั้นเป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบทรัพย์สินว่าเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ถูกตรวจสอบหรือผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือไม่ ดังนั้น ทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสองที่ได้มาหลังวันเกิดเหตุ แต่อยู่ในระยะเวลาสิบปีก่อนมีคำสั่งยึดหรืออายัดและภายหลังนั้น ย่อมเข้าหลักเกณฑ์ที่จะถูกตรวจสอบว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้คัดค้านที่ 1 หรือไม่ หากทรัพย์สินที่ได้มาหลังวันเกิดเหตุไม่เข้าหลักเกณฑ์ถูกตรวจสอบตามที่ผู้คัดค้านทั้งสองฎีกาแล้วย่อมขัดต่อเจตนารมณ์ในการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ดังที่ปรากฏในหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติที่ว่าต้องการให้การปราบปรามผู้กระทำความผิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสองชั่วคราว ครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2548 และมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวเพิ่มเติมอีกเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2548 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2548 และวันที่ 9 พฤษภาคม. 2550 ผู้คัดค้านทั้งสองนำสืบว่าได้รับทรัพย์สินที่ถูกยึดและอายัดมาในระหว่างปี 2540 ถึงปี 2550 จึงอยู่ในระหว่างระยะเวลาสิบปีก่อนมีคำสั่งยึดหรืออายัด ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเข้าหลักเกณฑ์ที่จะถูกตรวจสอบว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7123/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสุ่มตรวจยาเสพติดและหลักวิชาการสถิติ: การรับฟังผลการตรวจพิสูจน์
การที่ผู้เชี่ยวชาญการตรวจพิสูจน์ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสุ่มตรวจเมทแอมเฟตามีนที่บรรจุหีบห่อในอัตราร้อยละ 10 กระจายไปตามซองที่บรรจุอยู่ในมัด โดยไม่ได้นำปะปนกันเป็นวิธีการสุ่มตัวอย่าง ย่อมทำให้ตัวอย่างเม็ดวัตถุที่เก็บมาจากแต่ละซองสามารถเฉลี่ยเป็นตัวแทนของเม็ดวัตถุที่อยู่ในซองแต่ละซองในมัดดังกล่าวได้ทั้งหมด ตามหลักวิชาการวิจัยและสถิติ ดังนั้น ปริมาณสารเมทแอมเฟตามีนที่คำนวณได้ตามผลรายงานการตรวจพิสูจน์ด้วยวิธีดังกล่าว จึงเป็นไปตามหลักวิชาการวิจัยและสถิติที่รับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5270/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วม vs ผู้สนับสนุน: การกระทำที่ช่วยลำเลียงยาเสพติดโดยรู้เห็น
จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์นำหน้าคอยดูต้นทางให้จำเลยที่ 1 ขับรถกระบะนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งลูกค้า แม้เมทแอมเฟตามีนไม่ได้อยู่กับจำเลยที่ 2 ก็เป็นเรื่องข้อจำกัดทางกายภาพที่ต้องแบ่งหน้าที่กัน เมื่อจำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งแล้วร่วมมือช่วยเหลือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการลำเลียงเมทแอมเฟตามีนไปส่งลูกค้าให้สำเร็จและได้รับผลประโยชน์ตอบแทน จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ – ประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน – ผลผูกพันคำพิพากษา – การย้อนสำนวน
โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในอีกคดีหนึ่งฟ้องแย้งให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวรับผิดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยร่วมกระทำผิดสัญญาโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับที่กล่าวอ้างในคำฟ้องคดีนี้ ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้และคดีดังกล่าวจึงมีประเด็นอย่างเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคดีดังกล่าวว่าจำเลยร่วมดำเนินการก่อสร้างและส่งมอบงานให้แก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ในกรณีที่บริษัท ว. ไม่คืนหนังสือคํ้าประกันการปฏิบัติงานตามสัญญาและหนังสือคํ้าประกันการคืนเงินเบิกล่วงหน้าให้แก่กิจการร่วมค้า ส. และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์และจำเลยร่วมคู่ความในคดีนี้ต่างเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของโจทก์และจำเลยร่วมในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และคำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยร่วมในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แต่สำหรับจำเลยนั้น เมื่อจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าในคดีดังกล่าวศาลจะพิพากษาว่าจำเลยร่วมไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่คดียังไม่ถึงที่สุดโดยอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา หากในชั้นที่สุดศาลฟังข้อเท็จจริงเป็นประการใด ผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยร่วมในคดีนี้ด้วย และคดีนี้ยังมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำให้การของจำเลยต่อไปอีกว่า หนังสือค้ำประกันที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เป็นการค้ำประกันครอบคลุมความรับผิดในความเสียหายตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีใหม่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. การโอนสิทธิ และละเมิดจากการทำลายทรัพย์สิน
แม้ต้นปาล์มและต้นมะพร้าว โจทก์ทั้งสองจะปลูกไว้ แต่เมื่อเป็นไม้ยืนต้น จึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท ผลปาล์มและต้นมะพร้าวจึงเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 145 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปเอาผลปาล์ม แล้วเข้าไปตัดโค่นทำลายต้นมะพร้าว จะถือว่าทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายไม่ได้ โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยทั้งสอง ส่วนต้นกล้วยเป็นไม้ล้มลุก ไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ปลูกจึงเป็นเจ้าของต้นกล้วย จำเลยทั้งสองเข้าไปโค่นทำลาย ทั้งๆ ที่รู้แล้วว่าแม้จะปลูกอยู่ในที่พิพาทแต่ต้นกล้วยเหล่านั้นเป็นของโจทก์ทั้งสอง ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสองโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองและเป็นการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องและจำเลยทั้งสองต้องรับผิดในมูลละเมิดที่เกิดจากการกระทำของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จต้องเป็นข้อสำคัญในคดี เพื่อให้มีความผิดฐานเบิกความเท็จ การเบิกความถึงเหตุการณ์ก่อนดำรงตำแหน่งไม่มีผลถอดถอน
คดีที่จำเลยขอให้ถอดถอนโจทก์จากตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 129 เป็นเรื่องกล่าวหาการกระทำของโจทก์ขณะปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการมูลนิธิเป็นหลัก เมื่อได้ความว่าข้อความที่จำเลยเบิกความในคดีนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนโจทก์ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิ การที่จำเลยเบิกความจึงเป็นเพียงให้พฤติการณ์ของโจทก์ตามที่จำเลยกล่าวหาในขณะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิมีน้ำหนักน่าเชื่อถือเท่านั้น ลำพังพฤติการณ์ของโจทก์ตามที่จำเลยเบิกความยังไม่มีน้ำหนักพอให้รับฟังเป็นเหตุถอดถอนโจทก์ได้ ข้อความที่จำเลยเบิกความจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีที่จะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
เมื่อข้อความที่จำเลยเบิกความไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่าข้อความนั้นเป็นความเท็จหรือไม่อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความเสียหายจากการบริหารจัดการสหกรณ์: การเลือกตั้งที่ไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับไม่ใช่เหตุตัดอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องคดีเพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์และสมาชิกจากการบริหารจัดการของจำเลยทั้งยี่สิบสามจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ที่ฝ่ายจำเลยยกปัญหาว่าการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดปัจจุบันไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์เพื่อตัดอำนาจฟ้องโจทก์มิให้ฟ้องร้องบังคับคดีแก่ตน ฝ่ายจำเลยชอบที่จะขอให้นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ยับยั้งหรือเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 20 ขอให้นายทะเบียนสั่งให้คณะกรรมการดำเนินการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะแล้วตั้งคณะกรรมการดำเนินการชั่วคราวเข้าดำเนินการแทนตามมาตรา 21 หรือขอให้นายทะเบียนสหกรณ์ตีความข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่ององค์ประชุมตามมาตรา 58 ได้ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 45 เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนมีคำชี้ขาดเกี่ยวกับการตีความข้อบังคับของโจทก์ตามที่จำเลยกล่าวหาว่ามีการจัดให้มีการเลือกตั้งโดยไม่ชอบ ข้อกล่าวอ้างของฝ่ายจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจึงไม่อาจรับฟัง โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งยี่สิบสาม
of 14