พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10554/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีถึงที่สุดแล้ว การยื่นขอแก้ไขคำให้การ/ฟ้องแย้งภายหลังไม่ทำให้คดีเดิมอยู่ในระหว่างพิจารณา
คดีนี้เดิมโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองและ ณ. ร่วมกันรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ หลังจากศาลชั้นต้นนัดชี้สองสถานและนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตและพิพากษายกฟ้องโจทก์ คู่ความไม่อุทธรณ์ คดีส่วนที่ศาลพิพากษายกฟ้องจึงถึงที่สุด แม้จำเลยทั้งสองจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนซึ่งจำเลยทั้งสองยังฎีกาต่อมาก็ตาม แต่ขณะจำเลยทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งในคดีเดิม ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้งดการพิจารณาคดีไว้ก่อนโดยดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อมาและมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีถึงที่สุด คดีในส่วนที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งจึงเป็นคดีคนละส่วนไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์ ทั้งศาลฎีกาในคดีเดิมมีคำสั่งไม่รับคดีของจำเลยทั้งสองไว้พิจารณาเพราะเห็นว่าเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี ผลของคำสั่งศาลฎีกาย่อมไม่กระทบต่อคำพิพากษาในคดีเดิมที่ถึงที่สุดแล้ว ประกอบกับจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งอันเป็นข้อที่จำเลยทั้งสองทราบอยู่ก่อนแล้ว และยื่นภายหลังกำหนดเวลาตามกฎหมายเพื่อให้คดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณา พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวมีเจตนาที่ไม่สุจริต จึงไม่ถือว่าคดีตามฟ้องเดิมอยู่ในระหว่างพิจารณาอันเป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7001/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อต่อสู้ หากมีข้อพิพาทเรื่องหนี้ค่าเสียหาย จำเลยมิอาจหักกลบลบหนี้ได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินค่าสินค้าที่โจทก์ชำระไป เนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยอ้างว่าโจทก์มีหนี้ค่าเสียหายที่ต้องรับผิดต่อจำเลย จากการไม่ชำระค่าสินค้าและรับมอบสินค้าทั้งหมดภายในกำหนด แต่โจทก์ปฏิเสธความรับผิด เช่นนี้ถือว่าหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยมิได้ฟ้องแย้งเพื่อให้ได้ข้อยุติว่า โจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยหรือไม่ เพียงใด จำเลยจึงนำหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ซึ่งจำเลยอ้างเพียงฝ่ายเดียวมาหักกลบลบหนี้กับเงินค่าสินค้าของโจทก์ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5043/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกมูลหนี้สัญญาซื้อขายสองฉบับ ทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทอุทธรณ์ไม่ได้
แม้โจทก์จะฟ้องเป็นคดีเดียวกันและมีคู่สัญญาและสัญญาอย่างเดียวกัน แต่คำฟ้องของโจทก์แยกเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาสองสัญญาซึ่งมีมูลหนี้และที่มาคนละครั้งคนละคราว โดยสัญญาทั้งสองทำขึ้นห่างกันถึงห้าปี มูลหนี้ตามสัญญาฉบับที่สองเป็นการชดเชยราคาบ้านของโจทก์ที่ อ. รื้อออกไปขายแตกต่างกับครั้งแรกที่อ้างว่าเป็นการจะซื้อจะขายกันอย่างแท้จริง แม้จะมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน แต่โดยเนื้อหาแล้วสัญญาทั้งสองหาได้มีลักษณะเป็นการทำสัญญาที่ต่อเนื่องและเกี่ยวพันกันไม่ รวมทั้งพยานหลักฐานก็แยกออกได้เป็นคนละชุดกันจึงถือได้ว่ามีมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันได้ เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิด ขอให้ยกฟ้อง และเป็นการฟ้องเพื่อให้ปฏิบัติกาชำระหนี้ตามสัญญาคือให้โอนที่ดินสองแปลงตามคำฟ้องแก่โจทก์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์เป็นคำขอหลัก ส่วนคำขอให้จดทะเบียนทางภาระจำยอมเป็นคำขอต่อเนื่อง การคำนวณทุนทรัพย์ต้องแยกจากกันและต้องคำนวณตามราคาที่ดินในขณะที่ยื่นคำฟ้อง ประกอบกับคำฟ้องของโจทก์ก็ไม่ได้มีคำขอว่า ถ้าจำเลยโอนที่ดินตามคำฟ้องแก่โจทก์ไม่ได้ก็ให้ชำระเงินคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายอีกด้วย จึงไม่มีจำนวนเงินที่เรียกร้องที่จะนำมาใช้คำนวณเป็นทุนทรัพย์ขณะยื่นฟ้องคดีนี้อีก เมื่อมูลหนี้ตามสัญญาฉบับที่หนึ่งมีราคาที่ดินในขณะยื่นคำฟ้องอันถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นและในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาท ย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่มูลหนี้ตามสัญญาฉบับที่สองมีราคาที่ดินในขณะยื่นคำฟ้องอันถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นและในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องไล่เบี้ยค่าเสียหายจากบุคคลภายนอกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เริ่มนับแต่วันรู้ตัวผู้ต้องรับผิด
มาตรา 31 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หรือเกิดขึ้นเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่รถ เมื่อบริษัทได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัย บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลดังกล่าวได้ แต่การใช้สิทธิดังกล่าวต้องกระทำภายในหนึ่งปีนับแต่วันรู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิด หาได้บัญญัติว่าการใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก ต้องกระทำภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่คดีอาญาที่บุคคลภายนอกผู้ถูกฟ้องถึงที่สุดไม่ ดังนั้น โจทก์จึงต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิด ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า โจทก์รู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้ซึ่งต้องรับผิดเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2549 แต่นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 ซึ่งเกินหนึ่งปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21640-21641/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการค้ามนุษย์และค้าประเวณี: จำเลยสนับสนุนการกระทำผิดฐานค้ามนุษย์และค้าประเวณี ศาลฎีกาพิพากษาโทษ
จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่า จำเลยที่ 3 จะพาผู้เสียหายที่ 1 อายุ 14 ปีเศษ กับผู้เสียหายที่ 3 อายุ 14 ปีเศษและผู้เสียหายที่ 5 อายุ 17 ปีเศษ จากประเทศไทยเพื่อไปค้าประเวณีที่ประเทศมาเลเซีย การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อช่วยทำเอกสารบัตรผ่านแดนและเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายทั้งสามผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองจากประเทศไทยไปประเทศมาเลเซีย จึงเป็นการสนับสนุนให้จำเลยที่ 3 กระทำความผิดหาใช่เป็นตัวการไม่ แต่ต้องระวางโทษเท่ากับตัวการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคห้า และตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคสี่
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 พาผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จากประเทศไทยเพื่อไปค้าประเวณีที่ประเทศมาเลเซียนั้น ถือได้ว่ามีเจตนาเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปเพื่อการค้าประเวณีเท่านั้น และมิใช่เป็นการรับตัวผู้เสียหายทั้งสามไว้โดยทุจริต จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 312 ตรี แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้ก็ตาม แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225
การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อข่มขืนใจให้กระทำการค้าประเวณี ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ว่าเป็นการกระทำที่เป็นกรรมเดียวนั้นไม่ถูกต้อง เพราะแม้เป็นการกระทำในคราวเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะ จึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ จึงไม่อาจแก้ไขโทษได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 พาผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จากประเทศไทยเพื่อไปค้าประเวณีที่ประเทศมาเลเซียนั้น ถือได้ว่ามีเจตนาเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปเพื่อการค้าประเวณีเท่านั้น และมิใช่เป็นการรับตัวผู้เสียหายทั้งสามไว้โดยทุจริต จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 312 ตรี แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้ก็ตาม แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225
การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อข่มขืนใจให้กระทำการค้าประเวณี ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ว่าเป็นการกระทำที่เป็นกรรมเดียวนั้นไม่ถูกต้อง เพราะแม้เป็นการกระทำในคราวเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะ จึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ จึงไม่อาจแก้ไขโทษได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21294/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสินค้า: การบอกเลิกสัญญาจัดจำหน่ายที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิของคู่สัญญา
ผู้ร้องและผู้บริหารของผู้ร้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อเมอร์เซเดส - เบนซ์ เป็นอย่างดี ก่อนที่ผู้ร้องลงนามทำสัญญาการจัดจำหน่ายกับผู้คัดค้านนั้น ผู้ร้องมีโอกาสพิจารณาข้อสัญญาต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนและย่อมรู้ว่ามีข้อสัญญาใดบ้างที่เอารัดเอาเปรียบผู้ร้องหรือทำให้ผู้ร้องต้องรับภาระเกินกว่าที่พึงคาดหมายได้ตามปกติ ทั้งย่อมตระหนักถึงความเสี่ยงทางธุรกิจอันเนื่องมาจากการถูกบอกเลิกสัญญา รวมถึงความคุ้มค่าในการลงทุนและผลประโยชน์ที่จะได้รับจากสัญญาการจัดจำหน่าย จึงได้มีการลงนามทำสัญญากับผู้คัดค้าน และเมื่อพิจารณามาตรา 4 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ซึ่งบัญญัติว่า "ข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง" แต่กรณีของผู้ร้องไม่ได้ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบหรือจำยอมก่อนจะเข้าทำสัญญากับผู้คัดค้านแต่อย่างใด สัญญาข้อ 14 (1) ก็ให้สิทธิแก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายที่จะบอกเลิกสัญญาได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 386 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. ที่บัญญัติว่า "ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง" ถือได้ว่าผู้ร้องมีเสรีภาพและสมัครใจเข้าทำสัญญากับผู้คัดค้านบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน ข้อสัญญาข้อ 14 (1) ในสัญญาการจัดจำหน่ายไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้ผู้ร้องปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติหรือเป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ผู้คัดค้านได้เปรียบผู้ร้อง จึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21165/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดี, ความรับผิดของกรรมการ, การจำนอง และการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหนี้
พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 บัญญัติให้สหกรณ์ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมาตรา 51 บัญญัติให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์จะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือผู้จัดการทำการแทนก็ได้ ข้อบังคับของโจทก์ข้อ 65 ก็มีข้อความทำนองนี้ โดยในวรรคสอง กำหนดให้คณะกรรมการต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง มติของคณะกรรมการดำเนินการ และมติของที่ประชุมใหญ่ รวมทั้งในเรื่องการฟ้องและดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ สำหรับหนังสือมอบอำนาจของโจทก์นั้น มีคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 จำนวน 15 คน เป็นผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจ เมื่อพิจารณาประกอบกับ ป.พ.พ. มาตรา 71 พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 และข้อบังคับของโจทก์ที่ใช้บังคับในขณะที่มีการมอบอำนาจ ไม่ปรากฏว่าจะต้องให้กรรมการดำเนินการของโจทก์ทุกคนลงลายมือชื่อเพื่อกระทำการแทนและให้มีผลผูกพันโจทก์ ดังนั้น แม้ต่อมาศาลปกครองขอนแก่นพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยของสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืน ทำให้ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งยังคงมีผลอยู่ โดยตัดสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการดำเนินการของ บ. ซึ่งส่งผลให้การสมัครรับเลือกตั้งของ บ. ไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย บ. ไม่มีฐานะเป็นประธานกรรมการดำเนินการของโจทก์ในขณะที่ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ตนเองและหรือ ส. กรรมการดำเนินการของโจทก์อีกคนหนึ่งเป็นตัวแทนรับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจก็ตาม แต่กรรมการดำเนินการของโจทก์ที่ยังเหลืออยู่อีก 14 คน ยังมีจำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเสียงข้างมากที่จะดำเนินการแทนโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 71 และถือว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแล้ว การดำเนินการของ ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของโจทก์และผู้แต่งตั้งทนายความจึงชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับ และหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง อายุความในมูลละเมิดมีกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่มาตรา 74 บัญญัติว่า ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้ ดังนั้น กรณีละเมิดทำให้โจทก์รับความเสียหายโดยมีคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 24 ของโจทก์ทั้งคณะถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ถึงที่ 17 ในคดีนี้ แม้จำเลยดังกล่าวจะเป็นผู้แทนของโจทก์อยู่ในขณะนั้น และได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าวก็ตาม แต่ไม่อาจถือได้ว่าการรู้นั้นเป็นการรู้ของโจทก์แล้วอันจะทำให้อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 ของโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการชุดใหม่รู้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 และได้ฟ้องเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง อายุความในมูลละเมิดมีกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่มาตรา 74 บัญญัติว่า ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้ ดังนั้น กรณีละเมิดทำให้โจทก์รับความเสียหายโดยมีคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 24 ของโจทก์ทั้งคณะถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ถึงที่ 17 ในคดีนี้ แม้จำเลยดังกล่าวจะเป็นผู้แทนของโจทก์อยู่ในขณะนั้น และได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าวก็ตาม แต่ไม่อาจถือได้ว่าการรู้นั้นเป็นการรู้ของโจทก์แล้วอันจะทำให้อายุความเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 ของโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการชุดใหม่รู้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 25 ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 และได้ฟ้องเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19348/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หัวหน้าโครงการมีหน้าที่ดูแลต้นไม้ในพื้นที่รับผิดชอบ แม้กรมป่าไม้เป็นผู้ปลูก การปล่อยปละละเลยถือเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
จำเลยเป็นหัวหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำดอกกรายโดยมีบ้านพักปลูกอยู่ในโครงการ ไม้ยูคาลิปตัสที่ตัดปลูกอยู่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำ แม้กรมป่าไม้จะเป็นผู้ปลูก โดยพฤตินัยจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำก็ต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาต้นยูคาลิปตัสดังกล่าว เพราะเป็นต้นไม้ของทางราชการ มิใช่วัชพืชหรือต้นไม้ไม่มีค่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ จำเลยจะอ้างว่ากรมป่าไม้ต้องมีหน้าที่ดูแลเพราะกรมป่าไม้เป็นผู้ปลูกไม่ได้ เพราะสถานที่ปลูกอยู่ในเขตโครงการอ่างเก็บน้ำที่จำเลยเป็นหัวหน้าและมีหน้าที่ควบคุมดูแลอยู่ หาใช่อยู่ในสถานที่ของกรมป่าไม้แต่อย่างใดไม่ และกรมป่าไม้ไม่ได้มีหน่วยงานดูแลอยู่ในที่เกิดเหตุ ดังนั้น เมื่อจำเลยจ้างหรือใช้ให้ บ. ไปตัดไม้ยูคาลิปตัสของกลาง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17827/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะผู้ถือหุ้นกับผู้แทนจำเลย: ฟ้องซ้อนหรือไม่เมื่อผู้แทนถูกหมายเรียกในคดีอาญา
จำเลยที่ 4 เป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งซึ่งรวมเข้าเป็นบริษัทจำเลยที่ 1 ฐานะของจำเลยที่ 4 จึงต้องอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 1015 คือ แยกต่างหากจากนิติบุคคลจำเลยที่ 1 ส่วนการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ถูกพนักงานงานสอบสวนหมายเรียกให้ไปแก้ข้อกล่าวหาหรือถูกศาลหมายเรียกให้ไปต่อสู้คดีหลังจากจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ก็เป็นเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้แทนนิติบุคคลตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง หาทำให้จำเลยที่ 4 ที่เป็นผู้แทนนิติบุคคลกลายเป็นบุคคลคนเดียวกับนิติบุคคลจำเลยที่ 1 อันเป็นการลบล้างหลักกฎหมายในมาตรา 1015 ไปได้ไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 มีข้อเท็จจริงเดียวกันกับข้อเท็จจริงที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แต่เมื่อจำเลยที่ 4 เป็นบุคคลแยกต่างหากจากนิติบุคคลจำเลยที่ 1 และไม่ใช่บุคคลที่ถูกโจทก์ฟ้องในคดีก่อน ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13570/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องตามสัญญาและการวินิจฉัยชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่คลาดเคลื่อน
การที่อนุญาโตตุลาการตีความว่าคู่สัญญามีเจตนาที่แท้จริงและแน่นอนว่าจะให้มีการใช้อนุญาโตตุลาการภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายไทยในการระงับข้อพิพาท และตีความให้ใช้ พ.ร.บ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันบังคับนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบของอนุญาโตตุลาการและมิใช่เป็นการใช้อำนาจนอกขอบเขตอำนาจ ทั้งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) แต่ผู้คัดค้านพิมพ์ปีที่ยื่นข้อเรียกร้องเป็น ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) อนุญาโตตุลาการจึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า นับตั้งแต่การชำระเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จนถึงวันที่ผู้เรียกร้อง (ผู้คัดค้าน) ยื่นข้อเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2547 สิทธิเรียกร้องของผู้เรียกร้อง (ผู้คัดค้าน) ไม่ขาดอายุความ แต่ความจริงผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ซึ่งสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2548 แล้ว ผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 จึงขาดอายุความ เมื่อคู่พิพาทตกลงให้ใช้กฎหมายไทยในการระงับข้อพิพาทและข้อพิพาทนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างทำของซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ มาตรา 193/34 (1) การชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 เป็นการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วน ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14 (1) และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น อายุความการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงสิ้นสุดวันที่ 16 พฤษภาคม 2548 เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงเป็นอันขาดอายุความ ผู้ร้องมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นเรื่องอายุความโดยผิดหลงเช่นนี้หากมีการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีเหตุให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเสียตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 (2) (ข) และกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 45 (1) ผู้ร้องจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้
ผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) แต่ผู้คัดค้านพิมพ์ปีที่ยื่นข้อเรียกร้องเป็น ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) อนุญาโตตุลาการจึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า นับตั้งแต่การชำระเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จนถึงวันที่ผู้เรียกร้อง (ผู้คัดค้าน) ยื่นข้อเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2547 สิทธิเรียกร้องของผู้เรียกร้อง (ผู้คัดค้าน) ไม่ขาดอายุความ แต่ความจริงผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ซึ่งสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2548 แล้ว ผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 จึงขาดอายุความ เมื่อคู่พิพาทตกลงให้ใช้กฎหมายไทยในการระงับข้อพิพาทและข้อพิพาทนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างทำของซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ มาตรา 193/34 (1) การชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 เป็นการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วน ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14 (1) และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น อายุความการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงสิ้นสุดวันที่ 16 พฤษภาคม 2548 เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงเป็นอันขาดอายุความ ผู้ร้องมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นเรื่องอายุความโดยผิดหลงเช่นนี้หากมีการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีเหตุให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเสียตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 (2) (ข) และกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 45 (1) ผู้ร้องจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้