พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7445/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีอาญา และการยอมความที่ไม่สมบูรณ์ในคดีฐานยักยอก
การที่จำเลยรับเงินค่าสินค้าจากลูกค้าของโจทก์ร่วมที่จังหวัดต่างๆ แล้วไม่โอนเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วมกับไม่มาชำระบัญชีกับโจทก์ร่วมที่อำเภอกระทุ่มแบน ดังนี้ ความผิดฐานยักยอกจึงอาจเกิด อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยรับเงินจากลูกค้าของโจทก์ร่วมแต่ละจังหวัดจนถึงสำนักงานของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นสถานที่ที่จำเลยต้องมาชำระบัญชีกับโจทก์ร่วม กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำความผิดต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป และเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆ กันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (3) และ (4) พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ เมื่อโจทก์ร่วมไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ สถานีตำรวจภูธรกระทุ่มแบน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรกระทุ่มแบนจึงมีอำนาจสอบสวน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์มิได้ระบุว่า ให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่ผู้ใด แต่ก็ระบุให้ พ. มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นการมอบอำนาจทั่วไป และต่อมาโจทก์ร่วมก็มอบอำนาจให้ พ. ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหายักยอก เมื่ออ่านประกอบกันโดยตลอดย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ พ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหาอะไรแล้ว การมอบอำนาจของโจทก์ร่วมที่ให้ พ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
หนังสือรับสารภาพเป็นเพียงเอกสารที่จำเลยรับว่า ไม่ได้นำเงินจำนวน 3,266,808 บาท ส่งคืนโจทก์ร่วม ยอมรับว่าได้กระทำผิดจริง และยอมชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์ร่วม โดยยินยอมให้ยึดถือที่ดินและรถยนต์ไว้ก่อน ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่า โจทก์ร่วมตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับตามป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
แม้หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์มิได้ระบุว่า ให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่ผู้ใด แต่ก็ระบุให้ พ. มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นการมอบอำนาจทั่วไป และต่อมาโจทก์ร่วมก็มอบอำนาจให้ พ. ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหายักยอก เมื่ออ่านประกอบกันโดยตลอดย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ พ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหาอะไรแล้ว การมอบอำนาจของโจทก์ร่วมที่ให้ พ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
หนังสือรับสารภาพเป็นเพียงเอกสารที่จำเลยรับว่า ไม่ได้นำเงินจำนวน 3,266,808 บาท ส่งคืนโจทก์ร่วม ยอมรับว่าได้กระทำผิดจริง และยอมชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์ร่วม โดยยินยอมให้ยึดถือที่ดินและรถยนต์ไว้ก่อน ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่า โจทก์ร่วมตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับตามป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างดำเนินคดีอาญา ส่งผลให้คดีความผิดต่อส่วนตัวระงับตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265, 341 ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 เป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้อง ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว ระหว่างพิจารณาศาลอุทธรณ์ภาค 5 คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องอ้างว่า จำเลยได้บรรเทาผลร้ายให้แก่โจทก์แล้ว คณะกรรมการโจทก์มีมติให้ถอนฟ้องจำเลยและไม่ติดใจว่ากล่าวคดีนี้อีก จำเลยไม่คัดค้านและท้ายคำร้องลงลายมือชื่อจำเลยไว้ด้วย คำร้องขอถอนฟ้องโจทก์เป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญาในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10653/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนคำร้องทุกข์ของผู้เยาว์ที่มีความรู้สึกผิดชอบดีแล้ว และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา
เมื่อผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ที่มีความรู้สึกผิดชอบดีแล้วก็มีสิทธิยื่นคำร้องทุกข์หรือถอนคำร้องทุกข์เองได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นอ้างได้ แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8732/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์มีผลระงับสิทธิฟ้องคดีลิขสิทธิ์ และขอบเขตการถอนคำร้องทุกข์ครอบคลุมถึงผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
ตามบันทึกถอนการร้องทุกข์เอกสารหมาย จ.14 ระบุข้อความว่า "...ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับ ว. ผู้ต้องหา และผู้เกี่ยวข้องอื่นอีกต่อไป..." คำว่าผู้เกี่ยวข้องอื่น นั้น มีความหมายได้ว่า อาจเป็นตัวการร่วมกันหรือเป็นผู้จ้างวาน ใช้หรือเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวก็ได้ การถอนคำร้องทุกข์นั้นย่อมเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายไม่ประสงค์ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดทุกคน ที่พยานโจทก์เบิกความว่า กรณีเป็นการถอนคำร้องทุกข์เฉพาะสำหรับ ว. ซึ่งเป็นเยาวชนเท่านั้น จึงขัดกับข้อความในบันทึกถอนการร้องทุกข์ดังกล่าวย่อมรับฟังไม่ได้ เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 66 ของ พระราชบัญญัติดังกล่าว การถอนคำร้องทุกข์ดังกล่าวย่อมมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7296/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความที่ไม่สมบูรณ์และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา: เงื่อนไขการไม่ประจาน vs. การสละสิทธิ
รายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าฝ่ายโจทก์ร่วมตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยตลอดไป แต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องปฏิบัติต่อโจทก์ร่วม โดยจำเลยจะต้องไม่นำเรื่องส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปประจานต่อสาธารณะอีกต่อไป แสดงว่าโจทก์ร่วมจะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยไม่นำเรื่องส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปพูดให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยได้ประกาศต่อที่ประชุมใหญ่บริเวณหมู่บ้านว่า โจทก์ร่วมไปขโมยปลา และประกาศเสียงตามสายในหมู่บ้านให้ชาวบ้านนำไข่เน่าไปปาหน้าบ้านโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ย่อมเห็นได้ชัดว่า ถ้าจำเลยนำเรื่องส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปประจานต่อสาธารณะ โจทก์ร่วมยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ร่วม กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายกระทบสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดีอาญา ความผิดอันยอมความได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยมีคำร้องของผู้เสียหายแนบท้ายมีความว่า จำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหายเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความแก่จำเลย โจทก์รับสำเนาแล้วมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์คัดค้านว่าคำร้องของผู้เสียหายไม่เป็นความจริงหรือไม่ถูกต้องประการใด เมื่อคำร้องดังกล่าวมีข้อความสรุปได้ว่า ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป จึงมีลักษณะเช่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์
แม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องจะเป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงซึ่งยอมความไม่ได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก, 80, 83 โจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาที่ว่าจำเลยกระทำในลักษณะเป็นการโทรมหญิงจึงยุติไป ในชั้นนี้หากฟังว่าจำเลยกระทำความผิดก็ลงโทษจำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก เท่านั้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281 เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แล้ว ย่อมมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองยอมระงับไปในตัว ไม่มีผลบังคับอีกต่อไป
แม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องจะเป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงซึ่งยอมความไม่ได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก, 80, 83 โจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาที่ว่าจำเลยกระทำในลักษณะเป็นการโทรมหญิงจึงยุติไป ในชั้นนี้หากฟังว่าจำเลยกระทำความผิดก็ลงโทษจำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก เท่านั้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281 เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แล้ว ย่อมมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองยอมระงับไปในตัว ไม่มีผลบังคับอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานทำให้แพร่หลายซึ่งสิ่งลามกและหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา โดยการส่งเอกสารและภาพถ่ายทางไปรษณีย์
ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาเป็นความผิดอันยอมความได้หรือเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์โดยชอบแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในข้อหานี้จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
การที่จำเลยส่งเอกสารที่มีข้อความประณามว่าโจทก์ร่วมมีชู้และพฤติกรรมทางเพศของโจทก์ร่วม ภาพถ่ายเปลือยกายของโจทก์ร่วม ภาพถ่ายและแถบบันทึกเสียงการร่วมเพศของโจทก์ร่วมกับจำเลยอันเป็นสิ่งลามกทางไปรษณีย์ไปยังราษฎรในหมู่บ้านที่เกิดเหตุ ถือได้ว่าเป็นการทำให้แพร่หลายโดยมีเจตนาเพื่อการแจกจ่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำให้แพร่หลายซึ่งสิ่งลามก แม้ราษฎรในหมู่บ้านที่เกิดเหตุได้รับเอกสาร รวมทั้งภาพถ่ายและแถบบันทึกเสียงจะไม่ได้อ่านเอกสารหรือดูภาพถ่ายหรือฟังแถบบันทึกเสียง ก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จในความผิดฐานทำให้แพร่หลายซึ่งสิ่งลามกตาม ป.อ. มาตรา 287 (1)
การที่จำเลยส่งเอกสารที่มีข้อความประณามว่าโจทก์ร่วมมีชู้และพฤติกรรมทางเพศของโจทก์ร่วม ภาพถ่ายเปลือยกายของโจทก์ร่วม ภาพถ่ายและแถบบันทึกเสียงการร่วมเพศของโจทก์ร่วมกับจำเลยอันเป็นสิ่งลามกทางไปรษณีย์ไปยังราษฎรในหมู่บ้านที่เกิดเหตุ ถือได้ว่าเป็นการทำให้แพร่หลายโดยมีเจตนาเพื่อการแจกจ่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำให้แพร่หลายซึ่งสิ่งลามก แม้ราษฎรในหมู่บ้านที่เกิดเหตุได้รับเอกสาร รวมทั้งภาพถ่ายและแถบบันทึกเสียงจะไม่ได้อ่านเอกสารหรือดูภาพถ่ายหรือฟังแถบบันทึกเสียง ก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จในความผิดฐานทำให้แพร่หลายซึ่งสิ่งลามกตาม ป.อ. มาตรา 287 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974-975/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราโดยมีอาวุธปืนเป็นความผิดไม่ยอมความ แม้ผู้เสียหายถอนฟ้อง
แม้ผู้เสียหายที่ 2 จะเบิกความว่า ผู้เสียหายที่ 2 เห็นจำเลยที่ 1 ถืออาวุธปืนเฉพาะตอนอยู่หน้าร้าน ขณะที่อยู่ในห้องผู้เสียหายที่ 2 ไม่ทันสังเกต แต่ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ให้การว่าขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 จำเลยที่ 1 เก็บอาวุธปืนไว้ใต้ที่นอนที่ผู้เสียหายที่ 2 นอนอยู่ และได้บอกผู้เสียหายที่ 2 ด้วยว่ามีกระสุนปืน 4 นัด ซึ่งการเก็บอาวุธปืนพกไว้ใกล้ชิดกับตัวเช่นนั้นเป็นการมีอาวุธปืนอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 1 และฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราโดยมีอาวุธปืนแล้ว ซึ่งความผิดดังกล่าวไม่เป็นความผิดอันยอมความได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 281 แม้มารดาและผู้เสียหายที่ 2 มาถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ก็ไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15505/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน: การหลอกลวงเฉพาะกลุ่มไม่เข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
ป.อ. มาตรา 343 บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน" คำว่า "ประชาชน" หมายถึงบุคคลทั่วไปไม่จำกัดตัวว่าเป็นผู้ใด แต่คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกซึ่งเป็นคนต่างด้าวและคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านซึ่งจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น โดยคนต่างด้าวดังกล่าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยชั่วคราว แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาหลอกลวงเฉพาะคนต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวเท่านั้น อันเป็นการจำกัดตัวผู้ถูกหลอกลวงว่าเป็นผู้ใดมิใช่หลอกลวงบุคคลทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 คงมีความผิดตามมาตรา 341 ตามที่จำเลยให้การรับสารภาพเท่านั้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของผู้เสียหายทั้งหกว่าจำเลยได้ชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายทั้งหกแล้ว และผู้เสียหายทั้งหกไม่ติดใจดำเนินคดีนี้แก่จำเลยอีก ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวย่อมระงับไปตาม .ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13412/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีฉ้อโกงของผู้เสียหายทำให้สิทธิการฟ้องคดีอาญาและคำขอเรียกค่าเสียหายระงับ
ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และการที่โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ย่อมเป็นผลให้คำขอในส่วนแพ่งในความผิดฐานฉ้อโกงที่โจทก์ได้ขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 คืนหรือให้เงินแก่โจทก์ร่วมตกไปด้วย ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 43 และ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2528 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิยื่นคำขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 คืนหรือใช้เงินในความผิดฐานร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ จึงต้องยกคำขอในส่วนแพ่งของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียด้วย