พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11096/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายอมความของผู้เสียหายเป็นเหตุระงับความผิดอาญา แม้ภายหลังจะเปลี่ยนใจ
แม้ผู้เสียหายจะอ้างว่ายอมลงชื่อในเอกสารเพราะถูกจำเลยรบเร้า แต่ก็มิใช่ลงชื่อเพราะถูกกลฉ้อฉล หลอกลวง หรือถูกข่มขู่ การลงชื่อในเอกสารจึงสมบูรณ์เมื่อเอกสารดังกล่าวแสดงว่าผู้เสียหายตกลงยอมความกับจำเลยทั้งสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปทันทีที่ผู้เสียหายลงชื่อและเขียนข้อความในหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) การที่ผู้เสียหายยืนยันต่อศาลในภายหลังว่าความจริงแล้วยังติดใจเอาความแก่จำเลยทั้งสองและไม่ถอนคำร้องทุกข์นั้น หาทำให้สิทธินำคดีมาฟ้อง ซึ่งระงับไปแล้ว กลับเป็นไม่ระงับไปไม่ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยอมความระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายกระทบสิทธิโจทก์ และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
ปัญหาว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงยอมความกันอันทำให้ความผิดฐานฉ้อโกงระงับไปแล้วหรือไม่ ไม่ปรากฏในคำอุทธรณ์ แต่จำเลยเพิ่งอ้างในคำแถลงการณ์ในชั้นอุทธรณ์จึงไม่มีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
ข้อเท็จจริงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจ ฟังได้ว่าผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจนพอใจ ไม่ติดใจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ถือเป็นการยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
จำเลยลักปลายขั้วสลากเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัวของผู้เสียหายไปกรอกเลขให้ตรงกับรางวัลเลขท้ายประจำงวด นำไปหลอกเอาเงินรางวัลจากผู้เสียหายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เอาไปเสียซึ่งเอกสารผู้อื่น และใช้เอกสารสิทธิปลอม แม้จะเป็นการกระทำต่างฐาน แต่เป็นการกระทำเกี่ยวพันต่อเนื่องโดยมีเจตนาเดียวเพื่อเอาเงินจากผู้เสียหาย เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ปัญหาว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นเป็นกรรมเดียวหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อเท็จจริงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจ ฟังได้ว่าผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจนพอใจ ไม่ติดใจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ถือเป็นการยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
จำเลยลักปลายขั้วสลากเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัวของผู้เสียหายไปกรอกเลขให้ตรงกับรางวัลเลขท้ายประจำงวด นำไปหลอกเอาเงินรางวัลจากผู้เสียหายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เอาไปเสียซึ่งเอกสารผู้อื่น และใช้เอกสารสิทธิปลอม แม้จะเป็นการกระทำต่างฐาน แต่เป็นการกระทำเกี่ยวพันต่อเนื่องโดยมีเจตนาเดียวเพื่อเอาเงินจากผู้เสียหาย เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ปัญหาว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นเป็นกรรมเดียวหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5471/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายฐานบุกรุก และผลของการยอมความระหว่างโจทก์และจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2540 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกันตลอดมา โดยข้อเท็จจริงตามทางนำสืบได้ความว่าพยานโจทก์เห็นจำเลยบุกรุกในเวลากลางวัน ดังนั้น ความผิดฐานบุกรุกจึงเกิดขึ้นและสำเร็จตั้งแต่ขณะที่จำเลยเข้าไปในที่ดินในเวลากลางวันแล้ว การที่จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินอันเป็นการบุกรุกต่อเนื่องถึงเวลากลางคืนและวันต่อมาทั้งเวลากลางวันและกลางคืน จึงเป็นเพียงผลของการกระทำความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางวันเท่านั้น จะถือว่าจำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืนอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ไม่ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ดังนั้นเมื่อได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 แล้ว คดีนี้จึงเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ร่วมยื่นคำร้องว่าไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยและขอถอนคำแก้ฎีกาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ถือว่าโจทก์ร่วมและจำเลยยอมความกันแล้ว สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีข้อความว่า จำเลยจะชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวนเต็มตามฟ้องโดยผ่อนชำระเป็นรายเดือนจนกว่าจะครบถ้วนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี หากโจทก์ได้รับชำระครบถ้วนแล้ว โจทก์จะถอนฟ้องคดีนั้น เป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คเท่านั้น และตามข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันที จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมตามเช็คระงับไปแล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยมิได้ใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์ และหนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นก็ไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 คดีจึงไม่เลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล แม้ผู้เสียหายไม่ติดใจฟ้อง สิทธิโจทก์ยังไม่ระงับ
จำเลยกระทำอนาจารจับหน้าอกผู้เสียหายในร้านอาหารซึ่งมีลูกค้านั่งรับประทานอาหารอยู่ที่โต๊ะอื่นด้วย และมี น. พนักงานร้านอาหารนั้นเห็นจำเลยจับหน้าอกผู้เสียหายขณะ น. เสิร์ฟอาหารอยู่โต๊ะอื่น จึงเป็นการกระทำต่อหน้าธารกำนัล และมิใช่ความผิดฐานกระทำอนาจารที่จะยอมความได้ ตาม ป.อ. มาตรา 281 ประกอบมาตรา 278 แม้ผู้เสียหายแถลงไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ก็ยังไม่ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ระหว่างพิจารณาคดีอาญา ความระงับของสิทธิฟ้อง และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 โจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยตกลงกันได้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ร่วมขอถอนคำร้องทุกข์ และศาลชั้นต้นได้ส่งสัญญาประนีประนอมยอมความและรายงานกระบวนพิจารณาให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แล้ว เมื่อคดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและคดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ร่วมจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่ดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวกลับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาให้ยกฟ้อง จึงเป็นการไม่ชอบ กรณีดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ร่วมไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดยอมความได้และการกำหนดโทษในคดีค้ามนุษย์ ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อกำหนดโทษตามกฎหมายที่ยังไม่ระงับ
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก และ พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 อันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีระวางโทษเท่ากัน จึงให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก แต่ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้เสียหายทั้งสามต่างยื่นคำร้องว่า แต่ละคนได้รับค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 จนเป็นที่พอใจแล้วจึงไม่ประสงค์จะว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไปซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคท้าย บัญญัติว่า "ความผิดตามวรรคแรกฯ เฉพาะกรณีที่กระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปีเป็นความผิดอันยอมความได้" เมื่อผู้เสียหายทั้งสามซึ่งต่างก็มีอายุเกินสิบห้าปีแล้วทั้งสิ้น จึงเท่ากับยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในระหว่างฎีกา สิทธิของโจทก์ในการนำความผิดฐานนี้มาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 มาตรา 5 และ 7 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยศาลล่างทั้งสองต่างมิได้กำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 ไว้ คดีของจำเลยที่ 1 จึงอาจต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษในความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาโดยโจทก์ร่วม (ผู้เสียหาย) ทำให้สิทธิในการฟ้องระงับ
คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสาม โดยโจทก์และจำเลยทั้งสามไม่คัดค้าน แสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายประสงค์ที่จะถอนคำร้องทุกข์นั่นเอง แต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้องเนื่องจากคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วมเช่นนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8640/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความโดยมีเงื่อนไขชำระหนี้ การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา
เมื่อโจทกและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ถ้าจำเลยชำระเงินครบถ้วนแล้ว โจทก์จะดำเนินการถอนฟ้องคดียักยอกที่ศาลชั้นต้นที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยไว้ ทั้งโจทก์ไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญากับจำเลยอันเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับบริษัท ป. อีกต่อไป จึงเป็นการยอมความโดยมีเงื่อนไขที่ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เสียก่อน โจทก์จึงจะไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย การยอมความในลักษณะเช่นนี้จะมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปต่อเมื่อจำเลยชดใช้เงินให้แก่โจทก์ครบตามจำนวนแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยนำเงินมาวางที่ศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์มีความผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องคดียักยอกที่ศาลชั้นต้นให้แก่จำเลยตามข้อตกลง กรณีจึงเป็นผลเป็นการยอมความในคดีอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษความผิดต่อเด็ก: พิจารณาบทหนักสุดและผลการยอมความของผู้เสียหาย
จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวง ทั้งสามฐานความผิดเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวง อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไปทั้งทางแพ่งและทางอาญา ถือเป็นการยอมความกันตามกฎหมาย เมื่อความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดอันยอมความได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไปทั้งทางแพ่งและทางอาญา ถือเป็นการยอมความกันตามกฎหมาย เมื่อความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดอันยอมความได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)