พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความโดยการแปลงหนี้จากละเมิดเป็นหนี้กู้ยืม ทำให้สิทธิฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ
ผู้เสียหายยินยอมให้นำมูลหนี้ที่จำเลยทำละเมิดโดยการยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหายอันเป็นความผิดอาญาซึ่งยอมความได้มาเปลี่ยนเป็นมูลหนี้กู้ยืมระหว่างสามีจำเลยกับกรรมการผู้จัดการของผู้เสียหาย ถือว่าคู่กรณีได้ตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนมูลหนี้จากละเมิดเป็นหนี้กู้ยืม เปลี่ยนตัวลูกหนี้โดยสามีจำเลยเป็นลูกหนี้ซึ่งต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมแทนจำเลย และเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากบริษัทผู้เสียหายเป็นกรรมการผู้จัดการของผู้เสียหาย สิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายที่มีอยู่เดิมจึงต้องระงับสิ้นไป แม้จะปรากฏว่าไม่เคยมีการชำระเงินตามสัญญากู้ยืมดังกล่าว ก็ไม่มีผลทำให้การแปลงหนี้ใหม่ดังกล่าวเสียไปเพราะสิทธิเรียกร้องยังคงอยู่ กรณีฟังได้ว่าจำเลยและผู้เสียหายได้ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีต่อกันในทางอาญาโดยการแปลงหนี้ใหม่ จึงถือว่าได้มีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายไม่ถือเป็นการยอมความ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
ตามรายงานประจำวันธุรการไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าฝ่ายผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันที แต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องปฏิบัติต่อฝ่ายผู้เสียหายก่อน โดยต้องชำระเงินค่าเสียหายตามข้อตกลง เมื่อครบกำหนดสัญญาที่จำเลยตกลงชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้ ผู้เสียหายจึงไปร้องทุกข์ ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่า ถ้าจำเลยไม่ชำระเงินให้ตามที่ตกลง ฝ่ายผู้เสียหายก็ยังติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอยู่ แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยจะนำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางศาลและฝ่ายผู้เสียหายรับไปแล้ว ก็ไม่มีผลผูกพันฝ่ายผู้เสียหายให้เลิกคดีอาญากัน กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
การที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น แม้ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยกำหนดโทษจำเลยให้เหมาะสมกับความผิดได้ เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยสักครั้งหนึ่งเพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี ซึ่งน่าจะเป็นผลดีแก่จำเลยและสังคมโดยส่วนรวมมากกว่าที่จะจำคุกจำเลยไปเสียทีเดียว
การที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น แม้ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยกำหนดโทษจำเลยให้เหมาะสมกับความผิดได้ เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยสักครั้งหนึ่งเพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี ซึ่งน่าจะเป็นผลดีแก่จำเลยและสังคมโดยส่วนรวมมากกว่าที่จะจำคุกจำเลยไปเสียทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าโจทก์ร่วมตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันที แต่กลับมีเงื่อนไขให้จำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ร่วมจนครบถ้วนเสียก่อน โจทก์ร่วมจึงจะถอนคำร้องทุกข์ให้ แสดงว่าในระหว่างนั้นโจทก์ร่วมยังติดใจที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอยู่ ข้อตกลงระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยดังกล่าวหามีผลเป็นการยอมความอันทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างจำเลยกับผู้เสียหาย ส่งผลให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ
คดีความผิดต่อส่วนตัว ในวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ทนายจำเลยแถลงว่าจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้เสียหายและผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไป ศาลชั้นต้นหมายเรียกผู้เสียหายมาสอบถามหากไม่มาถือว่าผู้เสียหายยอมรับความจริงตามที่ทนายจำเลยแถลง ผู้เสียหายได้รับหมายแล้วไม่มาศาล จึงถือว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยจริง ถือว่าได้มีการทำยอมโดยถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปตามป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5157/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชดใช้หนี้ไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธินำคดีอาญาไม่ระงับ
ข้อตกลงตามเอกสารแนบท้ายฎีกาของจำเลย มีข้อความแต่เพียงว่าจำเลยยอมชดใช้หนี้ให้ผู้เสียหาย หากจำเลยไม่สามารถนำเงินมาคืนผู้เสียหายภายในกำหนด 3 เดือน ยินยอมให้ผู้เสียหายดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งมีผลเป็นเพียงจำเลยได้ตกลงกำหนดนัดวันเวลาที่จะชำระเงินคืนแก่ผู้เสียหาย หาได้มีข้อความใดๆ ที่มีลักษณะเป็นการยอมความกันโดยผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยโดยสิ้นเชิง จึงไม่ใช่เป็นการยอมความที่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าเสียหายหลังเกิดเหตุ ไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญายังไม่ระงับ
การที่จำเลยนำเงินไปวางที่สำนักงานบังคับคดี และที่ศาลชั้นต้นเพื่อใช้ราคาทรัพย์คืนแก่ผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย ย่อมเป็นแต่เพียงการบรรเทาผลร้ายแห่งคดี ไม่มีผลเป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายและการยอมความที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่ทำให้คดีอาญาฉ้อโกงและหลอกลวงผู้อื่นระงับ
ตามหลักฐานบันทึกการรับเงินที่จำเลยได้ชดใช้ให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายทั้งสี่ปรากฏว่าในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 มีการลงชื่อโดยภริยาของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 แม้จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่ใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 จึงไม่มีอำนาจยอมความแทนผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (5) บันทึกดังกล่าวไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ระงับไป คงมีผลเพียงให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปเฉพาะแต่ความผิดข้อหาฉ้อโกงที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายบางส่วนให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายทั้งสี่แล้วก็ไม่ทำให้ความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี ระงับตามไปด้วยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างจำเลยและผู้เสียหายในคดีฉ้อโกงทำให้สิทธิฟ้องอาญาและคำขอชดใช้ค่าเสียหายระงับ
การที่ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยและไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งทางแพ่งและทางอาญาอีกต่อไป ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ทั้ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินจากการฉ้อโกง: ผลกระทบของการถอนฟ้องคดีอาญาต่อคำขอทางแพ่ง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายความผิดฐานฉ้อโกงและหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจโจทก์ที่จะขอศาลให้สั่งจำเลยคืนเงินที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายทั้งสามได้ และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องทุกข้อหา ซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ด้วย แม้จะมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 341 ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาท ที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายทั้งสามตามที่โจทก์ขอมาได้
ก่อนยื่นฎีกา ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวโดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก คงขอให้บังคับได้เฉพาะผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ก่อนยื่นฎีกา ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวโดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก คงขอให้บังคับได้เฉพาะผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญาเกี่ยวกับเพศ ยอมความได้ ผู้เสียหายถอนฟ้อง ศาลลดโทษและรอการลงโทษ
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 3 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งไปฝึกและอบรมยังศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 จังหวัดสงขลา โดยให้ส่งจำเลยที่ 1 ไปฝึกและอบรมมีกำหนด 1 ปี 6 เดือน และส่งจำเลยที่ 2 ไปฝึกอบรมมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน จำเลยทั้งสองฎีกาโดยให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้เสียหายและมารดายื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์และขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำเลยทั้งสอง ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา กระทำอนาจาร และพาไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก, 278 และ 284 เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด สิทธิการนำคดีมาฟ้องของโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ให้จำหน่ายคดี ส่วนความผิดฐานร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นและพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารนั้น เมื่อผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจนเป็นที่พอใจ ทั้งมีความประสงค์ที่จะให้จำเลยที่ 1 และผู้เสียหายอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา จึงลงโทษปรับและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยทั้งสองไว้