พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7445/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีอาญา และการยอมความที่ไม่สมบูรณ์ในคดีฐานยักยอก
การที่จำเลยรับเงินค่าสินค้าจากลูกค้าของโจทก์ร่วมที่จังหวัดต่างๆ แล้วไม่โอนเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วมกับไม่มาชำระบัญชีกับโจทก์ร่วมที่อำเภอกระทุ่มแบน ดังนี้ ความผิดฐานยักยอกจึงอาจเกิด อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยรับเงินจากลูกค้าของโจทก์ร่วมแต่ละจังหวัดจนถึงสำนักงานของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นสถานที่ที่จำเลยต้องมาชำระบัญชีกับโจทก์ร่วม กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำความผิดต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป และเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆ กันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (3) และ (4) พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ เมื่อโจทก์ร่วมไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ สถานีตำรวจภูธรกระทุ่มแบน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรกระทุ่มแบนจึงมีอำนาจสอบสวน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์มิได้ระบุว่า ให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่ผู้ใด แต่ก็ระบุให้ พ. มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นการมอบอำนาจทั่วไป และต่อมาโจทก์ร่วมก็มอบอำนาจให้ พ. ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหายักยอก เมื่ออ่านประกอบกันโดยตลอดย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ พ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหาอะไรแล้ว การมอบอำนาจของโจทก์ร่วมที่ให้ พ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
หนังสือรับสารภาพเป็นเพียงเอกสารที่จำเลยรับว่า ไม่ได้นำเงินจำนวน 3,266,808 บาท ส่งคืนโจทก์ร่วม ยอมรับว่าได้กระทำผิดจริง และยอมชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์ร่วม โดยยินยอมให้ยึดถือที่ดินและรถยนต์ไว้ก่อน ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่า โจทก์ร่วมตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับตามป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
แม้หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์มิได้ระบุว่า ให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่ผู้ใด แต่ก็ระบุให้ พ. มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นการมอบอำนาจทั่วไป และต่อมาโจทก์ร่วมก็มอบอำนาจให้ พ. ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหายักยอก เมื่ออ่านประกอบกันโดยตลอดย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ พ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหาอะไรแล้ว การมอบอำนาจของโจทก์ร่วมที่ให้ พ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
หนังสือรับสารภาพเป็นเพียงเอกสารที่จำเลยรับว่า ไม่ได้นำเงินจำนวน 3,266,808 บาท ส่งคืนโจทก์ร่วม ยอมรับว่าได้กระทำผิดจริง และยอมชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์ร่วม โดยยินยอมให้ยึดถือที่ดินและรถยนต์ไว้ก่อน ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่า โจทก์ร่วมตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับตามป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7439/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลักทรัพย์โดยการบันทึกน้ำหนักเกินจริง ไม่เป็นฉ้อโกง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ลงบันทึกรายการน้ำหนักชิ้นงานที่ตกแต่งเสร็จแล้วให้สูงกว่าน้ำหนักชิ้นงานที่แท้จริงโดยมีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เพื่อเอาผงเงินและเศษชิ้นงานของโจทก์ร่วมไป ถือว่าเป็นการร่วมกันวางแผนโดยมีเจตนาลักทรัพย์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6266/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลาบังคับคดีตามสัญญาประกัน: การเปลี่ยนแปลงกฎหมายและการมีสำนวนค้างจำนวนมาก
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 ผู้ประกันผิดสัญญาไม่ส่งตัวจำเลยตามกำหนดนัด ศาลสั่งปรับผู้ประกันให้ชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำบังคับ ครบกำหนดระยะเวลาบังคับคดีสิบปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ในวันที่ 21 มีนาคม 2548 ในขณะที่ผู้ประกันผิดสัญญาประกันพนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (8) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการบังคับคดี ต่อมามีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีตามสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 34 โดยให้เพิ่มเติมความเป็นวรรคสองของมาตรา 119 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 กำหนดให้อำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ร้องซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมนับแต่วันดังกล่าว เมื่อปรากฏตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องต้องตรวจสอบสำนวนที่อยู่ในระหว่างบังคับคดีทั้งหมด และปรากฏว่ามีสำนวนที่ค้างการพิจารณาที่กรมบังคับคดีจำนวนมาก ประกอบกับคดีนี้ครบกำหนดระยะเวลาบังคับคดีในวันที่ 21 มีนาคม 2548 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียง 2 เดือนเศษ นับแต่ผู้ร้องมีอำนาจและหน้าที่ในการบังคับคดี แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีเมื่อสิ้นระยะเวลาบังคับคดีแล้วเป็นเวลานาน 4 ปีเศษ ก็เป็นเพราะมีสำนวนค้างการบังคับคดีเป็นจำนวนมาก ผู้ร้องจึงไม่อาจตรวจสอบได้ด้วยความรวดเร็ว ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ประกอบกับเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะออกคำสั่งขยายระยะเวลาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6265/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่า-ผู้ใช้: อานุภาพอาวุธปืน, การกระทำความผิดไม่สำเร็จ, ความรับผิดของผู้ใช้
อาวุธปืนของกลางที่จำเลยที่ 1 ใช้ยิงรถเป็นเพียงอาวุธปืนแก๊ปยาวประจุปาก เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 ยิงในขณะที่โจทก์ร่วมที่ 1 ขับรถสวนมา หากอาวุธปืนของกลางมีอานุภาพร้ายแรงจริงน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงมาก แต่จากรายงานการตรวจพิสูจน์สภาพรถบรรทุก ปรากฏความเสียหายเพียงมีร่องรอยถูกยิงด้วยกระสุนปืน 8 รอย รอยยุบแต่ละรอยดังกล่าวไม่ลึกมาก คงมีแต่ครอบพลาสติกของกรอบกระจกหน้าข้างขวาด้านในเพียงแห่งเดียวที่มีรูทะลุค่อนข้างลึก และมีกระจกบังลมหน้ารถแตกจากกระสุนปืน ส่วนบุคคลที่นั่งอยู่ในรถไม่ได้รับอันตรายจากกระสุนปืนเลย แสดงว่าอาวุธปืนของกลางไม่มีอานุภาพร้ายแรงนัก การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นที่ไม่สามารถบรรลุผลได้แน่แท้ เพราะเหตุอาวุธปืนซึ่งเป็นปัจจัยที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 81 วรรคแรก
การที่จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงรถบรรทุกดังกล่าวถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่อาจเล็งเห็นได้ว่าอาจเกิดการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นได้ เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นที่ไม่สามารถบรรลุผลได้แน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นความรับผิดทางอาญาตามความผิดที่เกิดขึ้นจากการใช้ตาม ป.อ. มาตรา 87 วรรคแรก
การที่จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงรถบรรทุกดังกล่าวถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่อาจเล็งเห็นได้ว่าอาจเกิดการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นได้ เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นที่ไม่สามารถบรรลุผลได้แน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นความรับผิดทางอาญาตามความผิดที่เกิดขึ้นจากการใช้ตาม ป.อ. มาตรา 87 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีอาญาต้องใช้ดุลพินิจตามพยานหลักฐานในสำนวน ไม่ยึดข้อเท็จจริงจากคดีก่อน และความผิดฐานเบิกความเท็จ
ในการพิพากษาคดีอาญาหาได้มีบทบัญญัติของกฎหมาย ให้ศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในคดีอื่นดังเช่นที่บัญญัติไว้สำหรับคดีแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ไม่ แม้โจทก์ทั้งสามกับบริษัท ส. ซึ่งมีจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการ จะเป็นคู่ความเดียวกันและพยานหลักฐานของจำเลยจะเป็นชุดเดียวกันกับจำเลยเคยอ้างและนำสืบในคดีอาญาก่อนมาแล้วก็ตาม เพราะในคดีอาญาศาลจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง จะไม่พิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำความผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยคดีนี้โดยฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีอาญาก่อนซึ่งถึงที่สุด โดยมิได้วินิจฉัยตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนคดีนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ เป็นการขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (5) และมาตรา 227 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5118/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันในคดียาเสพติด: การลงโทษและจำนวนกรรม
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ (ก) เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 18 มีนาคม 2552 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 98 เม็ด (หน่วยการใช้) โดย 8 เม็ด (หน่วยการใช้) น้ำหนักสุทธิ 0.71 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์จำนวนเท่าใดไม่ปรากฏชัดและ 90 เม็ด (หน่วยการใช้) น้ำหนักสุทธิ 7.99 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1.206 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย (ข) วันที่ 18 มีนาคม 2552 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 8 เม็ด (หน่วยการใช้) ดังกล่าวให้แก่ ช. ในราคา 1,600 บาทและ (ค) วันที่ 18 มีนาคม 2552 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 90 เม็ด (หน่วยการใช้) ดังกล่าวให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อในราคา 18,000 บาท ดังนี้ฟ้องโจทก์แสดงโดยชัดเจนแล้วว่า จำเลยกระทำความผิดสามกรรมต่างวาระกัน ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้อง เท่ากับจำเลยยอมรับแล้วว่า ได้กระทำความผิดสามกรรมต่างกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4789/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ แม้คดีแพ่งยังไม่ถึงที่สุด ถือเป็นความผิด
แม้ขณะจำเลยที่ 1 โอนขายที่ดิน คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลก็ตาม แต่ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 มิได้บัญญัติให้เจ้าหนี้หมายถึงบุคคลผู้ชนะคดีและคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น หากหมายถึงเจ้าหนี้ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิฟ้องให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินไปโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อว่าเมื่อโจทก์ชนะคดีแพ่งแล้ว โจทก์อาจไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4177/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานมีอาวุธปืนต้องพิสูจน์ลักษณะอาวุธและใบอนุญาต แม้จำเลยรับสารภาพ
แม้จำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์สืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้อาวุธปืนดังกล่าวมาเป็นของกลาง และโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความว่าอาวุธปืนดังกล่าวเป็นอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ ทั้งมิได้นำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนดังที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4093/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในความผิด พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ การกระทำความผิดคือการประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต แผ่นภาพยนตร์ไม่ใช่ทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิด
ความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนต์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง, 79 และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง, 82 สาระสำคัญของการกระทำความผิดอยู่ที่จำเลยประกอบกิจการโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ดังนั้น แผ่นวีซีดีภาพยนต์ แผ่นดีวีดีภาพยนต์ และแผ่นวีดิทัศน์ (วีซีดีคาราโอเกะ) ของกลางดังกล่าว จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด อันจะพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 และให้คืนแก่เจ้าของ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของกรรมการบริษัทที่ลงชื่อในเช็คที่ไม่มีเงินเพียงพอ แม้ฟ้องว่าจำเลยร่วมกันกระทำผิด
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันออกเช็คสั่งจ่ายเงินเพื่อมอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามทางนำสืบโจทก์ปรากฏว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่บริษัท ว. เป็นผู้ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ที่บริษัทดังกล่าวเป็นผู้กู้จากผู้เสียหาย โดยมีจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท ดังนั้นไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะที่กระทำแทนบริษัท จำเลยที่ 1 ก็คงมีความรับผิดทางอาญาเช่นเดียวกัน เพราะการดำเนินกิจการของบริษัทย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัท เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ก็ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกับบริษัทออกเช็คโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวได้โดยไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกันกระทำความผิดกับบริษัท ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณากับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงหาใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญไม่