พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจ การเปลี่ยนแปลงวิธีการนับอายุตามกฎหมาย และผลต่อสภาพการจ้าง
ป.พ.พ. บรรพ 1 (เดิม) ไม่ได้บัญญัติวิธีการนับอายุของบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องนับอายุตามเกณฑ์ในมาตรา 158 (เดิม) คือไม่นับวันแรกที่เป็นวันเกิดรวมเข้าด้วย ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2509 กำหนดวิธีนับอายุบุคคลเป็นไปตาม ป.พ.พ. ที่บังคับใช้ในขณะนั้นและจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตาม ต่อมา พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 3 ให้แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. บรรพ 1 และบรรพ 3 โดย (3) ให้ใช้บทบัญญัติท้าย พ.ร.บ.นี้เป็นบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2535 ซึ่งมาตรา 16 (ใหม่) บัญญัติวิธีการนับอายุของบุคคลไว้เป็นการเฉพาะว่า "การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด" คือต้องนับวันเกิดเป็น 1 วัน เต็ม มติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร 0025/ว 42 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2538 ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2509 แล้วให้นับอายุของบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 16 (ใหม่) ซึ่งใช้บังคับในปัจจุบันกล่าวคือให้นับอายุของบุคคลนับแต่วันเกิด
เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 16 (ใหม่) บัญญัติการนับอายุบุคคลไว้โดยเฉพาะแล้วจึงต้องใช้บังคับตามมาตรา 16 (ใหม่) การเปลี่ยนแปลงการนับวิธีการนับอายุของบุคคลเกิดขึ้นจากกฏหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมตามข้างต้นซึ่งนำมาใช้ในการวินิจฉัยตีความคุณสมบัติและการพ้นตำแหน่งของจำเลยที่ 1 ด้วย วิธีการนับอายุของบุคคลที่ปลี่ยนไปด้วยผลของกฏหมาย แม้จะมีผลกระทบต่อระยะเวลาการพ้นจากตำแหน่งและออกจากงานก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสมพันธ์ พ.ศ.2543
โจทก์เกิดวันที่ 1 ตุลาคม 2493 ต้องนับอายุโจทก์นับแต่วันเกิดคือวันที่ 1 ตุลาคม 2493 เป็น 1 วัน เต็ม โจทก์จึงมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5 (ใหม่) อันมีผลให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและออกจากงานด้วยเหตุเกษียณอายุในวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตราฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 มาตรา 9 (3), 11 และข้อบังคับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ฉบับที่ 4 ข้อ 19 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2553 กรณีไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 16 (ใหม่) บัญญัติการนับอายุบุคคลไว้โดยเฉพาะแล้วจึงต้องใช้บังคับตามมาตรา 16 (ใหม่) การเปลี่ยนแปลงการนับวิธีการนับอายุของบุคคลเกิดขึ้นจากกฏหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมตามข้างต้นซึ่งนำมาใช้ในการวินิจฉัยตีความคุณสมบัติและการพ้นตำแหน่งของจำเลยที่ 1 ด้วย วิธีการนับอายุของบุคคลที่ปลี่ยนไปด้วยผลของกฏหมาย แม้จะมีผลกระทบต่อระยะเวลาการพ้นจากตำแหน่งและออกจากงานก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสมพันธ์ พ.ศ.2543
โจทก์เกิดวันที่ 1 ตุลาคม 2493 ต้องนับอายุโจทก์นับแต่วันเกิดคือวันที่ 1 ตุลาคม 2493 เป็น 1 วัน เต็ม โจทก์จึงมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5 (ใหม่) อันมีผลให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและออกจากงานด้วยเหตุเกษียณอายุในวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตราฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 มาตรา 9 (3), 11 และข้อบังคับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ฉบับที่ 4 ข้อ 19 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2553 กรณีไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกและการตรวจสอบโดยศาล
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการมรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาท ศาลเป็นเพียงผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อยเท่านั้นส่วนวิธีการจัดการเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดก ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงย่อมมีสิทธิและอำนาจในการนำที่ดินบางส่วนของทรัพย์มรดกไปจดทะเบียนให้เช่าเองได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตจากศาล แม้คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องดำเนินการให้เช่าที่ดินบางส่วนของทรัพย์มรดกจะเป็นคำสั่งที่เกินเลยประเด็นแห่งคดีก็ตาม แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้คัดค้านที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้น หากผู้คัดค้านเห็นว่าตนเองได้รับความเสียหายจากการจัดการมรดกของผู้ร้อง ผู้คัดค้านชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องร้องให้ผู้ร้องรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13566/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ตรงกัน ศาลฎีกาพิพากษายกกลับคำวินิจฉัยเดิม
จำเลยที่ 1 เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเป็นบุคคลคนเดียวกับคริสตจักรในการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งเป็นโบสถ์และที่ดินที่ตั้งโบสถ์ของคริสตจักรใจสมาน เมื่อจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาอุทิศที่ดินและอาคารให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่จะเอาไปจำหน่ายจ่ายโอนไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจหรือมีพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 เอาไปขายให้โจทก์ จึงเป็นโมฆะ แม้โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทโดยผลของคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วก็ไม่มีผล โจทก์จึงไม่ใช่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาท ดังนั้น โจทก์จะเอาคำพิพากษาศาลฎีกามาบังคับขับไล่ผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองให้ออกไปจากที่ดินและอาคารพิพาทโดยถือว่าเป็นบริวารของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ เนื่องจากที่ดินและอาคารพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองครอบครองใช้ประโยชน์อยู่โดยมีสิทธิ ผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองจึงสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้เห็นได้ว่า ผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองไม่ใช่บริวารของจำเลยที่ 1 คำพิพากษาศาลฎีกาจึงไม่มีผลผูกพันผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13421/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้ศาลแรงงานภาค 2 จะไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือไม่ แต่เมื่อคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีเหตุเลิกจ้างรวมถึงเหตุที่โจทก์ประมาทเลินเล่อในหน้าที่อย่างร้ายแรงด้วยซึ่งไม่เป็นความจริง ขอให้บังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ และคำให้การของจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์เป็นหัวหน้าชุดขนเงินแต่ไม่ได้ตรวจสอบความเรียบร้อยของถุงใส่เงิน ปล่อยให้บุคคลภายนอกโดยสารมาด้วยและมีพฤติการณ์ส่อว่าร่วมมือกับลูกจ้างอื่นเอาเงินสดในถุงใส่เงินของจำเลยไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) (2) และ (3) โดยไม่ต้องจ่ายเงินตามฟ้องแก่โจทก์ดังนี้เมื่อพิจารณาตามคำฟ้องและคำให้การแล้วคดียังต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (3) หรือไม่ การที่ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาคดีโดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ จึงเป็นการพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานภาค 2 ฟังมาเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวได้ จึงวินิจฉัยประเด็นนี้ให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค 2 วินิจฉัยอีก เมื่อโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทำหน้าที่ควบคุมการขนส่งเงินจากศูนย์บ้านบึงไปยังศูนย์โรงโป๊ะ โดยโจทก์มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าชุดและมีพนักงานอื่นในทีมอีก 2 คน คือ พนักงานขับรถและพนักงานคุ้มกัน สภาพการทำงานพนักงานในชุดจะต้องดำเนินการตรวจเช็คถุงใส่เงินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย และตรวจสอบหมายเลขที่ซีลปิดถุงใส่เงินให้ถูกต้อง แล้วลำเลียงขนถุงใส่เงินขึ้นรถเพื่อขนส่งไปยังศูนย์โรงโป๊ะ โจทก์มีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของพนักงานในชุดให้เป็นไปโดยถูกต้องเพื่อคุ้มครองดูแลเงินในครอบครองให้ถึงที่หมายปลายทางด้วยความปลอดภัย โจทก์ปล่อยให้พนักงานขับรถตรวจสอบถุงเงินเอง ส่วนโจทก์ให้พนักงานคุ้มกันอ่านหมายเลขซีลปิดถุงให้ฟังเท่านั้น และโจทก์ปล่อยให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่พนักงานในชุดขนเงินร่วมเดินทางไปด้วย ในที่สุดตรวจสอบจากกล้องวงจรปิดพบว่าบุคคลอื่นที่ร่วมเดินทางมาด้วยขณะทำหน้าที่เป็นพนักงานปิดซีลปากถุงใส่เงินได้เปิดช่องโหว่ปากถุงไว้ 1 ช่อง ขนาดใหญ่พอที่จะสามารถล้วงเอาเงินในถุงออกไปได้โดยไม่ได้ใช้เหล็กร้อยปิดปากถุงไปทั้งหมด การที่เงินในถุงใส่เงินที่อยู่ในความควบคุมดูแลของโจทก์ได้หายไปจึงเกิดจากโจทก์ไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่และไม่ควบคุมดูแลการทำงานของพนักงานในชุดอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาความปลอดภัยในทรัพย์ที่อยู่ภายใต้ความดูแลตามหน้าที่ ถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13160/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานบัญชี: ความไว้วางใจและความรับผิดชอบต่อหน้าที่
โจทก์เป็นพนักงานบัญชีและการเงินมีหน้าที่จ่ายและรับคืนเงิน การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ต้องอาศัยความละเอียด รอบคอบ ซื่อสัตย์ และได้รับความไว้วางใจจากนายจ้าง แม้จะได้ความว่าการที่โจทก์นำเงินไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านจะไม่เป็นการผิดระเบียบของจำเลย แต่การนำเงินของจำเลยไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านของโจทก์โดยไม่ได้นำมาคืนจนกระทั่งเวลาผ่านไปเกือบ 5 เดือน และโจทก์นำมาคืนให้เมื่อจำเลยตรวจพบและทวงถาม ทั้งยังอ้างเหตุความหลงลืม อันแสดงถึงความไม่รอบคอบและไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ จำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมมีเหตุผลที่จะหวาดระแวงและไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานต่อไป ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12650-12651/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารและการงดสืบพยาน: กรณีเอกสารไม่ใช่สำเนา และจำเลยประวิงคดี
ตาม ป.อ. มาตรา 1 (7) "เอกสาร" หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น ส่วน "สำเนา" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 หมายถึง ข้อความหรือภาพที่ผลิตซ้ำจากต้นแบบหรือต้นฉบับ ดังนั้นตามคำจำกัดความของคำว่า "เอกสาร"ภาพถ่ายกระดาษก็อาจเป็นต้นฉบับเอกสารได้ถ้าผู้กระทำได้กระทำเพื่อให้ปรากฏความหมายไม่ว่าจะเป็นด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างใด ๆ ก็ตาม จากลักษณะเอกสารหมาย จ.1 นอกจากจะมีส่วนที่พิมพ์เป็นตัวหนังสือและตัวเลขด้วยเครื่องพิมพ์ดีดแล้ว ยังมีข้อความเขียนกำกับแสดงความหมายเป็นตัวเลขและตัวหนังสือทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้วย เอกสารหมาย จ.6 แผ่นแรกก็เขียนเป็นตัวหนังสือกับตัวเลขด้วยปากกา และอีกสี่แผ่นแนบท้ายก็เป็นแบบแปลนการก่อสร้างที่มีทั้งตัวเลขและตัวหนังสือกำกับซึ่งแบบแปลนดังกล่าวแม้จะดูว่าถ่ายมาจากแบบแปลนอีกฉบับหนึ่งก็ตาม แต่ตัวเลขและตัวหนังสือที่กำกับก็แสดงโดยชัดแจ้งว่าผู้กระทำประสงค์จะกระทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผังหรือแผนแบบอย่างอื่น ตามความหมายของคำว่า "เอกสาร" ดังนั้นเอกสารหมาย จ.1 และ จ.6 จึงเป็นต้นฉบับเอกสาร มิใช่สำเนาซึ่งชอบที่ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
การขอเลื่อนคดีนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคหนึ่ง วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า "...ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามขอ เว้นแต่การขอเลื่อนการนั่งพิจารณานั้นมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่อนุญาตจะทำให้เสียความยุติธรรม" แต่จากรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสอง และทนายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีอันเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นงดสืบพยานจำเลยทั้งสองได้ความว่า ก่อนหน้านั้น ในช่วงนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีด้วยเหตุผลต่าง ๆ มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้นนัดสืบพยานจำเลย จำเลยทั้งสองก็ขอเลื่อนคดีติดต่อกันอีกถึง 3 ครั้ง ซึ่งก่อนวันนัดดังกล่าว ศาลได้กำชับให้จำเลยทั้งสองเตรียมพยานมาให้พร้อม หากขอเลื่อนคดีอีกจะพิจารณาสั่งโดยเคร่งครัดแล้ว แต่พอถึงวันนัดจำเลยทั้งสองก็ยังขอเลื่อนคดีเพราะเหตุเพิ่งตั้งทนายความเข้ามาใหม่อีก พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองย่อมฟังได้ว่าเป็นการประวิงคดีให้ชักช้า ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง ที่จะงดสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลื่อนคดีและให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
เหตุผลที่จำเลยทั้งสองยกขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลฎีกากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น จำเลยทั้งสองลอกมาจากคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองแทบทั้งสิ้น โดยไม่มีข้อความตอนใดเลยที่โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาที่ไม่มีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การขอเลื่อนคดีนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคหนึ่ง วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า "...ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามขอ เว้นแต่การขอเลื่อนการนั่งพิจารณานั้นมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่อนุญาตจะทำให้เสียความยุติธรรม" แต่จากรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสอง และทนายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีอันเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นงดสืบพยานจำเลยทั้งสองได้ความว่า ก่อนหน้านั้น ในช่วงนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีด้วยเหตุผลต่าง ๆ มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้นนัดสืบพยานจำเลย จำเลยทั้งสองก็ขอเลื่อนคดีติดต่อกันอีกถึง 3 ครั้ง ซึ่งก่อนวันนัดดังกล่าว ศาลได้กำชับให้จำเลยทั้งสองเตรียมพยานมาให้พร้อม หากขอเลื่อนคดีอีกจะพิจารณาสั่งโดยเคร่งครัดแล้ว แต่พอถึงวันนัดจำเลยทั้งสองก็ยังขอเลื่อนคดีเพราะเหตุเพิ่งตั้งทนายความเข้ามาใหม่อีก พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองย่อมฟังได้ว่าเป็นการประวิงคดีให้ชักช้า ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง ที่จะงดสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลื่อนคดีและให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
เหตุผลที่จำเลยทั้งสองยกขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลฎีกากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น จำเลยทั้งสองลอกมาจากคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองแทบทั้งสิ้น โดยไม่มีข้อความตอนใดเลยที่โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาที่ไม่มีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12353/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีประกันสังคม: คำสั่งยึดทรัพย์สินและการไม่ต้องอุทธรณ์ก่อนฟ้อง
ในกรณีที่นายจ้างไม่พอใจคำสั่งเป็นหนังสือของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่ให้ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของนายจ้างซึ่งไม่นำส่งเงินสมทบหรือเงินเพิ่ม หรือนำส่งจำนวนไม่ครบ อันเป็นการสั่งตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง ต้องด้วยข้อยกเว้นไม่ต้องอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ก่อนตามมาตรา 85 วรรคหนึ่ง
แม้ระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2548 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 50 วรรคสาม ข้อ 35 จะกำหนดว่าในกรณีที่มีคำสั่งอายัดเงิน ผู้ต้องส่งเงินตามคำสั่งอายัดจะปฏิเสธไม่ส่งมอบเงินหรือต้องการโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ตนให้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมตามแบบคำร้องท้ายระเบียบนี้ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้นก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่กระทรวงแรงงานกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ที่จะต้องส่งเงินตามคำสั่งอายัดที่จะยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งอายัดเงินนั้นหรือไม่ก็ได้ และภายใต้กฎเกณฑ์เช่นไร ไม่เกี่ยวกับขั้นตอนการฟ้องคดี จึงยกมาเป็นข้อตัดอำนาจโจทก์ไม่ให้ฟ้องคดีไม่ได้
เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่ใช่กรณีที่มีบทบัญญัติให้ต้องร้องเรียกต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ก่อนที่จะนำคดีมาสู่ศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
แม้ระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2548 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 50 วรรคสาม ข้อ 35 จะกำหนดว่าในกรณีที่มีคำสั่งอายัดเงิน ผู้ต้องส่งเงินตามคำสั่งอายัดจะปฏิเสธไม่ส่งมอบเงินหรือต้องการโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ตนให้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมตามแบบคำร้องท้ายระเบียบนี้ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้นก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่กระทรวงแรงงานกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ที่จะต้องส่งเงินตามคำสั่งอายัดที่จะยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งอายัดเงินนั้นหรือไม่ก็ได้ และภายใต้กฎเกณฑ์เช่นไร ไม่เกี่ยวกับขั้นตอนการฟ้องคดี จึงยกมาเป็นข้อตัดอำนาจโจทก์ไม่ให้ฟ้องคดีไม่ได้
เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่ใช่กรณีที่มีบทบัญญัติให้ต้องร้องเรียกต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ก่อนที่จะนำคดีมาสู่ศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10942-10943/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของคู่สัญญาเช่าและการชดใช้ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ความรับผิดของผู้เช่าและผู้ให้เช่า
แม้จำเลยที่ 2 จะแปรรูปเป็นบริษัทไปแล้วแต่มาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 และหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติก็ยังกำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นรัฐวิสาหกิจอยู่เช่นเดิม เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การยืนยันมาตั้งแต่แรกว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 4 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจึงเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดไม่ได้ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง
ในการทำสัญญาเช่า การที่จำเลยร่วมผู้ให้เช่าตกลงกับจำเลยที่ 2 ผู้เช่าว่าจำเลยร่วมตกลงยอมรับผิดต่อผู้โดยสารในรถยนต์ที่นำมาให้เช่าและบุคคลภายนอกในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดขับรถยนต์ที่เช่าไปก่อความเสียหายขึ้น เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 ไม่ถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมไม่มีผลบังคับตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 และไม่ใช่ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนในอันจะถือว่าเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ก็ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นในครั้งนี้ เมื่อเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก การที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่ว่าจ้างโดยขับรถยนต์กระบะที่เช่าไปก่อความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองได้ กรณีไม่ใช่เป็นสัญญาเฉพาะตัวโดยตรง ดังนั้น แม้จำเลยร่วมไม่ใช่ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ในอันที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ย แต่ก็ถือว่าจำเลยที่ 2 อาจฟ้องจำเลยร่วมเพื่อใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงเข้ากรณี ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) ก ที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหาย หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระให้จำเลยร่วมและจำเลยที่ 3 ชำระแทนเป็นการไม่ชอบเนื่องจากกรณีไม่ใช่ผู้ค้ำประกัน
ในการทำสัญญาเช่า การที่จำเลยร่วมผู้ให้เช่าตกลงกับจำเลยที่ 2 ผู้เช่าว่าจำเลยร่วมตกลงยอมรับผิดต่อผู้โดยสารในรถยนต์ที่นำมาให้เช่าและบุคคลภายนอกในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดขับรถยนต์ที่เช่าไปก่อความเสียหายขึ้น เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 ไม่ถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมไม่มีผลบังคับตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 และไม่ใช่ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนในอันจะถือว่าเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ก็ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นในครั้งนี้ เมื่อเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก การที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่ว่าจ้างโดยขับรถยนต์กระบะที่เช่าไปก่อความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองได้ กรณีไม่ใช่เป็นสัญญาเฉพาะตัวโดยตรง ดังนั้น แม้จำเลยร่วมไม่ใช่ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ในอันที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ย แต่ก็ถือว่าจำเลยที่ 2 อาจฟ้องจำเลยร่วมเพื่อใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงเข้ากรณี ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) ก ที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหาย หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระให้จำเลยร่วมและจำเลยที่ 3 ชำระแทนเป็นการไม่ชอบเนื่องจากกรณีไม่ใช่ผู้ค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10665/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสาธารณูปโภค ผู้จัดสรรต้องจัดทำตามโฆษณา และภาระจำยอมเกี่ยวกับสาธารณูปโภค
จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในโครงการกับผู้ซื้อพร้อมกับแจกใบโฆษณาให้แก่ผู้ซื้อด้วย ใบโฆษณาจึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายด้วย จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาโดยจัดทำสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้ได้ขนาดตามที่ได้โฆษณา
ใบโฆษณาที่ระบุว่า คันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการสูง 3.50 เมตร (สูงกว่าระดับทางหลวงสายเอเซีย 1.50 เมตร) กว้าง 16 เมตร ปลูกก่อไผ่เป็นรั้วล้อมรอบตามแนวคันดินกั้นน้ำ ประกอบกับหนังสือของสำนักงานที่ดินจังหวัด ที่ระบุว่า หากทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการสูง 3.50 เมตร กว้าง 16 เมตร จะไม่มีการรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ซื้อแปลงอื่น ๆ เนื่องจากเขตคันดินที่เจ้าของโครงการจัดแบ่งที่ดินไว้มีขนาดกว้างประมาณ 20 ถึง 30 เมตร ดังนั้น จึงอยู่ในวิสัยและความรับผิดที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินโครงการให้ได้ขนาดตามที่ได้โฆษณาไว้ในใบโฆษณา ส่วนถนนสายใหญ่และถนนซอยในโครงการนั้น ข้อเท็จจริงได้ความจากเจ้าพนักงานที่ดินตอบในหนังสือฉบับเดียวกันว่า หากจะขยายถนนสายใหญ่และถนนซอยกว้างประมาณ 40 เมตร และ 20 เมตร ตามลำดับ จะทำให้รุกล้ำที่ดินของผู้ซื้อรายอื่น ๆ การจะบังคับให้จำเลยขยายถนนสายใหญ่และถนนซอยให้มีขนาดกว้างตามใบโฆษณาย่อมกระทบต่อขนาดที่ดินของผู้ซื้อที่ดินในโครงการซึ่งผู้ซื้อที่ดินแต่ละรายได้เข้าครอบครองเป็นส่วนสัดและทำประโยชน์ในที่ดินเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้ว กรณีเช่นนี้ถือว่าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่ต้องขยายถนนให้มีขนาดกว้างตามใบโฆษณา
จำเลยได้รับอนุญาตให้ทำการค้าที่ดินตามหนังสืออนุญาต โดยจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป และมีการทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนนและทะเลน้ำจืดในโครงการ ตามแผนผังการแบ่งแยกที่ดิน มีลักษณะเป็นการจัดให้มีสาธารณูปโภค ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และโดยผลของประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวในข้อ 30 วรรคหนึ่ง ทำให้คันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนน และทะเลน้ำจืดในโครงการตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและเป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป จะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ จำเลยผู้จัดสรรที่ดินย่อมตกอยู่ในบังคับของบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแม้จำเลยจะไม่ได้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินก็ตามเพราะเป็นคนละเรื่องกัน เมื่อที่ดินที่เป็นคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนน และทะเลน้ำจืดในโครงการตกเป็นภาระจำยอมแก่ผู้ซื้อที่ดินในโครงการ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้ เนื่องจากจากการจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิทำกำแพงล้อมรอบทะเลน้ำจืดเพราะเป็นการผิดสัญญา และยังเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตาม มาตรา 1390
ใบโฆษณาที่ระบุว่า คันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการสูง 3.50 เมตร (สูงกว่าระดับทางหลวงสายเอเซีย 1.50 เมตร) กว้าง 16 เมตร ปลูกก่อไผ่เป็นรั้วล้อมรอบตามแนวคันดินกั้นน้ำ ประกอบกับหนังสือของสำนักงานที่ดินจังหวัด ที่ระบุว่า หากทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการสูง 3.50 เมตร กว้าง 16 เมตร จะไม่มีการรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ซื้อแปลงอื่น ๆ เนื่องจากเขตคันดินที่เจ้าของโครงการจัดแบ่งที่ดินไว้มีขนาดกว้างประมาณ 20 ถึง 30 เมตร ดังนั้น จึงอยู่ในวิสัยและความรับผิดที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินโครงการให้ได้ขนาดตามที่ได้โฆษณาไว้ในใบโฆษณา ส่วนถนนสายใหญ่และถนนซอยในโครงการนั้น ข้อเท็จจริงได้ความจากเจ้าพนักงานที่ดินตอบในหนังสือฉบับเดียวกันว่า หากจะขยายถนนสายใหญ่และถนนซอยกว้างประมาณ 40 เมตร และ 20 เมตร ตามลำดับ จะทำให้รุกล้ำที่ดินของผู้ซื้อรายอื่น ๆ การจะบังคับให้จำเลยขยายถนนสายใหญ่และถนนซอยให้มีขนาดกว้างตามใบโฆษณาย่อมกระทบต่อขนาดที่ดินของผู้ซื้อที่ดินในโครงการซึ่งผู้ซื้อที่ดินแต่ละรายได้เข้าครอบครองเป็นส่วนสัดและทำประโยชน์ในที่ดินเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้ว กรณีเช่นนี้ถือว่าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่ต้องขยายถนนให้มีขนาดกว้างตามใบโฆษณา
จำเลยได้รับอนุญาตให้ทำการค้าที่ดินตามหนังสืออนุญาต โดยจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป และมีการทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนนและทะเลน้ำจืดในโครงการ ตามแผนผังการแบ่งแยกที่ดิน มีลักษณะเป็นการจัดให้มีสาธารณูปโภค ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และโดยผลของประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวในข้อ 30 วรรคหนึ่ง ทำให้คันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนน และทะเลน้ำจืดในโครงการตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและเป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป จะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ จำเลยผู้จัดสรรที่ดินย่อมตกอยู่ในบังคับของบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแม้จำเลยจะไม่ได้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินก็ตามเพราะเป็นคนละเรื่องกัน เมื่อที่ดินที่เป็นคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนน และทะเลน้ำจืดในโครงการตกเป็นภาระจำยอมแก่ผู้ซื้อที่ดินในโครงการ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้ เนื่องจากจากการจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิทำกำแพงล้อมรอบทะเลน้ำจืดเพราะเป็นการผิดสัญญา และยังเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตาม มาตรา 1390
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10597/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างฟ้องเพิกถอนคำสั่งจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ต้องวางเงินตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายก่อน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง" และวรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้" เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างอันเป็นคำสั่งตามมาตรา 124 และเมื่อโจทก์ต้องการฟ้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวโดยอ้างว่าการส่งเอกสารของจำเลยให้แก่โจทก์เพื่อไปชี้แจงข้อเท็จจริงไม่ชอบด้วยมาตรา 143 ซึ่งไม่ว่าจะเป็นจริงและรับฟังได้ตามข้ออ้างของโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มีคำขอเพิกถอนคำสั่งของจำเลยซึ่งสั่งตามมาตรา 124 ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องวางเงินตามมาตรา 125 วรรคสาม ทันทีที่ยื่นฟ้อง ทั้งการที่ศาลแรงงานภาค 9 ให้เวลาโจทก์นำเงินมาวางศาลนับแต่โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2555 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 นับเป็นผลดีแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่วางเงินภายในกำหนดตามที่ศาลสั่งเป็นเหตุให้ศาลแรงงานภาค 9 มีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว