คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินต้องเป็นไปตามแผนที่และบัญชีรายชื่อ หากเกินขอบเขตเป็นการละเมิด
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2532 บัญญัติไว้ชัดเจนว่าให้เวนคืนที่ดินภายในแนวเขตตามแผนที่และบัญชีรายชื่อท้ายพระราชบัญญัติเท่านั้น การที่ จำเลยที่ 4 นำชี้แนวเขตเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง เกินกว่ารูปแผนที่และจำนวนเนื้อที่ของที่ดินซึ่งระบุไว้ ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน ซึ่งต้องเวนคืน แม้จะยังอยู่ในระยะ 240 เมตร ตามที่ พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน-หนองงูเห่า พ.ศ. 2522 กำหนดไว้ ก็จะถือว่าที่ดินส่วนซึ่งจำเลยที่ 4 นำชี้เพิ่มถูกเวนคืนด้วยไม่ได้ จำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินส่วนนี้ ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยคดีของโจทก์ทั้งสองว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิเข้าไปยึดถือครอบครอง ซึ่งหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยเข้าครอบครองหรือดำเนินการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาท แสดงว่า โจทก์ทั้งสองมิได้สูญเสียที่ดินพิพาทไป โจทก์ทั้งสองจึง มิได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเท่ากับราคาที่ดินซึ่งโจทก์ ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอก จำเลยทั้งสี่ ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984-990/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนที่ดินเวนคืนเมื่อพ้น 5 ปี หากเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการและไม่มีคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
การตั้งอนุญาโตตุลาการ กำหนดค่าทำขวัญตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ก็เพื่อให้ระงับข้อพิพาท เมื่อไม่ได้มีการตกลงหรือชี้ขาดระงับข้อพิพาทแล้ว ก็เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จใน 5 ปีตามความ ใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ เมื่อพ้น 5 ปี แล้วถ้ามิได้เข้าทำประโยชน์ในที่ เจ้าของทีดินที่ถูกเวนคืนย่อมมี สิทธิที่ดินนั้นคืน ตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 ได้ ไม่จำต้องรอให้อนุญาโตตุลาการ ชี้ขาดต่อไป./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984-990/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนที่ดินเวนคืนเมื่อพ้น 5 ปี แม้ยังไม่ได้ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ
การตั้งอนุญาโตตุลาการ กำหนดค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ก็เพื่อให้ระงับข้อพิพาท เมื่อไม่ได้มีการตกลงหรือชี้ขาดระงับข้อพิพาทแล้ว ก็เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จใน 5 ปีตามความในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯเมื่อพ้น 5 ปีแล้วถ้ามิได้เข้าทำประโยชน์ในที่ เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนย่อมมีสิทธิขอที่ดินนั้นคืน ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 ได้ ไม่จำต้องรอให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนเพื่อกิจการค้าไม่ใช่สาธารณูปโภค กรรมสิทธิ์ไม่ตกเป็นของเจ้าหน้าที่
เวนคืนที่ดินของเอกชนเพื่อขยายกิจการของโรงงานเนื้อสัตว์นั้น ถือว่ากิจการของโรงงานเนื้อสัตว์เป็นการค้า ไม่ใช่ สาธารณูปโภคการเวนคืนที่ดินเพื่อการนี้ จึงหาใช่เพื่อสาธารณูปโภค ฉะนั้นการเวนคืน จึงเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 5 ฉะนั้นกรรมสิทธิในที่ดินที่เวนคืน จึงไม่ตกมาเป็นเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 10.
และในกรณีเช่นนี แม้จะฟ้องคดี พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนด 5 ปี ของวันประกาศใช้ พ.ร.บ. เวนคืนอสัง หาริมทรัพย์นั้นฯ ตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 32 ก็ดี ก็จะเอามาปรับแก่
กรณีเช่นนี้ ไม่ได้เพราะอายุความตามมาตราเหล่านี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อการเวนคืนได้กระทำโดยถูกต้อง./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนเพื่อกิจการค้าไม่ใช่สาธารณูปโภค การเวนคืนจึงไม่ถูกต้อง กรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ตกเป็นของเจ้าหน้าที่
เวนคืนที่ดินของเอกชนเพื่อขยายกิจการของโรงงานเนื้อสัตว์นั้นถือว่ากิจการของโรงงานเนื้อสัตว์เป็นการค้า ไม่ใช่สาธารณูปโภคการเวนคืนที่ดินเพื่อการนี้ จึงหาใช่เพื่อสาธารณูปโภคฉะนั้นการเวนคืน จึงเป็นการไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา5 ฉะนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เวนคืน จึงไม่ตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2477 มาตรา 10
และในกรณีเช่นนี้ แม้จะฟ้องคดี พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันพ้นกำหนด 5 ปี ของวันประกาศใช้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ตามมาตรา 32 แห่ง พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา 32 ก็ดีก็จะเอามาปรับแก่กรณีเช่นนี้ ไม่ได้เพราะอายุความตามมาตราเหล่านี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อการเวนคืนได้กระทำโดยถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิคืนเมื่อไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ & ผู้มีสิทธิรับคืน
ที่ดินมีโฉนดนั้นเมื่อถูกเวนคืนบางส่วนโดย พ.ร.ก.เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ ฯลฯ กรรมสิทธิย่อมตกไปเป็นของรัฐส่วนหนึ่งแล้วทันที โดยไม่ต้องทำพิธีรังวัดแบ่งแยกทางพนักงานเจ้าหน้าที่
ถ้าหากรัฐบาลจะต้องส่งคืนที่ดินที่ถูกเวนคืน ผู้ที่ศูนย์เสียทรัพย์นั้นไปเพราะการเวนคืนเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับคืน ไม่ใช่ผู้ถือโฉนดในตอนหลังเพราะตนรับโอนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเท่านั้น
หลักก.ม.ในเรื่องเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นที่รับนับถือกันตลอดมาแล้ว ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องระบุวัตถุประสงค์ไว้ ถ้าไม่ได้ใช้ทรัพย์ที่เวนคืนตามวัตถุประสงค์ก็จำต้องโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นกลับคืนให้ผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.ก.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดิน ฯลฯ เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ ฯลฯ ม.4 ที่ให้เจ้าพนักงานจำหน่ายขายที่ดินที่รับซื้อไว้ ซึ่งเหลือจากการสร้างสพานหรือถนนแล้วนั้น หมายความเฉพาะที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานต้องกำหนดราคาค่าทดแทนเป็นต้วเงินให้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืน: สิทธิคืนเป็นของผู้ถูกเวนคืนเดิม ไม่ใช่ผู้รับโอนภายหลัง
ที่ดินมีโฉนดนั้นเมื่อถูกเวนคืนบางส่วนโดยพ.ร.ก.เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ฯลฯ กรรมสิทธิ์ย่อมตกไปเป็นของรัฐส่วนหนึ่งแล้วทันที โดยไม่ต้องทำพิธีรังวัดแบ่งแยกทางพนักงานเจ้าหน้าที่
ถ้าหากรัฐบาลจะต้องส่งคืนที่ดินที่ถูกเวนคืน ผู้ที่สูญเสียทรัพย์สินนั้นไปเพราะการเวนคืนเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับคืน ไม่ใช่ผู้ถือโฉนดในตอนหลังเพราะตนรับโอนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเท่านั้น
หลักกฎหมายในเรื่องเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นที่รับนับถือกันตลอดมาแล้วในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องระบุวัตถุประสงค์ไว้ถ้าไม่ได้ใช้ทรัพย์ที่เวนคืนตามวัตถุประสงค์ก็จำต้องโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นกลับคืนให้ผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.ก.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯลฯ เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ฯลฯมาตรา 4 ที่ให้เจ้าพนักงานจำหน่ายขายที่ดินที่รับซื้อไว้ซึ่งเหลือจากการสร้างสะพานหรือถนนแล้วนั้นหมายความเฉพาะที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานต้องกำหนดราคาค่าทดแทนเป็นตัวเงินให้เท่านั้น
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2495)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหน้าที่ในการครอบครองที่ดินเวนคืนหลังจ่ายค่าทำขวัญ แม้เจ้าของที่ดินยังไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ซึ่งเป็นกระทรวงเจ้าหน้าที่ ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินที่ถูกเวนคืนโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยได้ทำสัญญาให้ไว้ จะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันรับเงินค่าทำขวัญซึ่งได้รับไปแล้ว บัดนี้เกินกำหนดเวลา จำเลยก็เพิกเฉย จึงขอให้ศาลขับไล่ อ้างสิทธิตามมาตรา 21 ตอนท้ายและมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 ดังนี้ แม้จำเลยจะต่อสู้ว่า ฝ่ายโจทก์มิได้เคยใช้ที่ดินแปลงนี้ จนเวลาล่วงพ้น 5 ปีเศษแล้ว จำเลยจึงขอคืน โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยจึงฟ้องคดียังอยู่ในระวห่างพิจารณา ก็ดีศาลก็ย่อมพิพากษาให้ขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินนั้นได้ โดยไม่ต้องสืบพยานฟังข้อต่อสู้ของจำเลยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและสิทธิการขับไล่ เมื่อผู้รับค่าทำขวัญไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตามกำหนด
โจทก์ซึ่งเป็นกระทรวงเจ้าหน้าที่ ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินที่ถูกเวนคืนโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยได้ทำสัญญาให้ไว้ จะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันรับเงินค่าทำขวัญซึ่งได้รับไปแล้ว บัดนี้เกินกำหนดเวลา จำเลยก็เพิกเฉยจึงขอให้ศาลขับไล่ อ้างสิทธิตามมาตรา 21 ตอนท้ายและมาตรา 33 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 ดังนี้ แม้จำเลยจะต่อสู้ว่า ฝ่ายโจทก์มิได้เคยใช้ที่ดินแปลงนี้จนเวลาล่วงพ้น 5 ปีเศษแล้ว จำเลยจึงขอคืน โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยจึงฟ้อง คดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาก็ดี ศาลก็ย่อมพิพากษาให้ขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินนั้นได้ โดยไม่ต้องสืบพยานฟังข้อต่อสู้ของจำเลยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ที่ดินเวนคืนเพื่อสาธารณูปโภค: การถมดิน ปลูกต้นไม้ ติดตั้งไฟฟ้าถือเป็นการใช้ประโยชน์ในที่ดินแล้ว
ที่ดินที่เวนคืนส่วนหนึ่งได้ทำเป็นถนนคอนกรีต นอกนั้นได้ถมดินปรับเป็นลานหญ้าปลูกต้นไม้ติดตั้งเสาโคมไฟฟ้าใน 5 ปี เพื่อขยายถนน ดังนี้ ถือว่า ได้ใช้ในการสาธารณูปโภคตามความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.เวนคืนฯ แล้ว
อนึ่งถนนตาม พ.ร.บ.ทางหลวงมิได้หมายเฉพาะส่วนที่เป็นถนนแท้ๆแต่ยังคลุมถึงที่ซึ่งเป็นส่วนอุปกรณ์ของถนนด้วย
of 3